Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2544
ม.ล. สุภสิทธิ์ ชุมพล ผู้เชื่อมต่อ             
 


   
search resources

สุภสิทธิ์ ชุมพล, ม.ล.




ในจำนวนมืออาชีพที่เข้าร่วมงานกับกลุ่มซีพี ม.ล.สุภสิทธิ์ เป็นคนหนึ่งที่กำลังมีบทบาทมากๆ ต่อการเชื่อมโยงจากธุรกิจดั้งเดิมของกลุ่มซีพีไปสู่โลกการค้าบนอินเทอร์ เน็ตที่กำลังเริ่มต้นอย่างเป็นจริงจัง

ม.ล.สุภสิทธิ์ ได้กลายเป็นผู้สร้างความร่วมมือกันระหว่างองค์ธุรกิจชั้นนำของ ไทย กลุ่มซีพี เครือซิเมนต์ไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารไทยพาณิชย์ บริษัทยูคอม ที่รวมกันเป็นพันธมิตรในการสร้างตลาดกลาง อิเล็กทรอนิกส์

ผลงานในครั้งนี้ นอกจากจะเป็น "ดีล" ของการร่วมมือทางธุรกิจที่เกิดขึ้นเป็น ครั้งแรกของสังคมไทยเท่านั้น ยังเป็นกระบวน การเรียนรู้ในมิติใหม่ของการทำธุรกิจในโลกของ e-business ที่องค์กรธุรกิจทุกแห่งกำลังเริ่มขึ้นอย่างเข้มงวด

เขายังถูกเลือกสำหรับเข้าสู่การทำงาน ในระดับนโยบายของภาครัฐ ในฐานะของกรรมการบอร์ดการบินไทย ที่กลุ่มซีพีกำลังเข้าไปมีบทบาทอย่างเข้มข้นในรัฐบาลของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร

ม.ล.สุภสิทธิ์ เกิดเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ.2505 วัย 39 ปีไม่เต็มของเขา เมื่อเทียบกับผู้บริหารอื่นของกลุ่มซีพีแล้ว นับว่าอยู่ในวัยไล่เลี่ยกับศุภชัย เจียรวนนท์ ซึ่งเกิดในปี 2510 ผู้ซึ่งมีบทบาทอย่างมากต่อพัฒนา การไปสู่การสร้าง e-business ของกลุ่มซีพี

เขาจบปริญญาโทด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Exeter University ประเทศอังกฤษ เริ่มงานครั้งแรกที่ธนาคารเชส แมนฮัตตัน (เอเชีย) ตำแหน่งสุดท้ายก่อนลาออกในปี 2525 คือ รองผู้อำนวยการฝ่าย Mer-chant banking

ม.ล.สุภสิทธิ์เป็นผู้หนึ่งที่ได้ชื่อว่า มีประสบการณ์ทำงานของเขาคร่ำหวอดอยู่กับงานด้านการเงินมาตลอด เคยเป็นผู้ประสานงานระหว่างกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ กับหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาลไทย ในช่วงปี 2525-2527

จากนั้นก็เข้าทำงานที่ UBS Warburg รับผิดชอบธุรกิจด้านวาณิชธนกิจ ซึ่งเป็นช่วง ที่เขาได้บ่มเพาะความรู้และผ่านงานสำคัญๆ ดูแลโครงการใหญ่ๆ หลายโครงการ เคยร่วม แก้ปัญหาด้านการเงิน และแปลงสภาพหนี้ของสถาบันการเงินหลายแห่ง เช่น ธนาคารรัตนสิน ธนาคารนครธน ในช่วงวิกฤติการเงิน ของประเทศในเอเชีย

ในจำนวนนี้รวมถึงการปรับโครงสร้าง หนี้ให้กับกลุ่มยูคอม และบริษัทแทค เป็นที่ปรึกษาด้านแยงกี้บอนด์ในไทย และหลายประเทศในเอเชีย รวมถึงการควบรวมกิจการ และธุรกรรมด้านการเงิน ให้กับบริษัทเอกชน และรัฐวิสาหกิจหลายแห่งของไทย เช่น การสื่อสารแห่งประเทศไทย

สิ่งเหล่านี้ไม่ได้บ่มเพาะประสบการณ์ ด้านการเงินเท่านั้น แต่ยังให้แง่มุมใหม่ของการที่องค์กรจะต้องปรับตัวเข้าสู่การทำธุรกิจ อีคอมเมิร์ซ และเป็นเหตุผลที่ทำให้เขาเลือกแสวงหาประสบการณ์ใหม่ในโลกการค้าบนอินเทอร์เน็ต

"อีคอมเมิร์ซเป็นเรื่องของการจัดการ ข้อมูล การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับ การดำเนินธุรกิจ ผมเชื่อว่านี่คือ big issue ที่ ทุกคนต้องปรับตัว" ม.ล.สุภสิทธิ์เล่าถึงอิทธิพล ของอีคอมเมิร์ซที่จะเข้าไปเปลี่ยนแปลงกลไก ของธุรกิจ

เขาใช้เวลาในการพูดคุยกับธนินท์ และศุภชัยไม่นานก็ตัดสินใจมาร่วมงานกับกลุ่มซีพี ซึ่งเวลานั้นความคิดของเขาคือ ตั้งบริษัทเอง หรือการเข้าทำงานกับองค์กรขนาด ใหญ่ และนำพาบริษัทเข้าสู่ธุรกิจอินเทอร์เน็ต

สำหรับซีพี การเลือก ม.ล.สุภสิทธิ์ มาเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงขับเคลื่อนองค์กรเข้าสู่ e-business ไม่ได้อยู่ที่การพัฒนาในเรื่องของเทคโนโลยีหรือการขยายไปสู่ธุรกิจใหม่ในโลก ดอทคอม แต่เป็นเรื่องของการสร้างกระบวน การเรียนรู้ที่มีความหมาย และมีนัยสำคัญของ การทำธุรกิจ

ในจำนวน 4 กลุ่มธุรกิจจาก 38 โครง การที่ถูกคัดเลือกมาสำหรับการเริ่มต้นประกอบด้วย e-Procurement, Multi Access Portal, Retailers Exchange และ Food Exchange

สองโครงการแรกที่ได้นำร่องไปแล้ว คือ e-procurement ที่เป็นเรื่องของการจัดตั้ง ตลาดกลางการซื้อขายและประมูลสินค้าและ บริการแบบธุรกิจต่อธุรกิจ และโครงการ Multi Access Portal หรือ MAP เป็นการสร้างมาตรฐานร่วมของระบบสื่อสาร สื่อโทร คมนาคมที่แตกต่างกันในการเข้าถึงข้อมูลเดียวกัน ที่มีกลุ่มทีเอเป็นแกนนำ

การสร้างตลาดการค้าอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อทำให้กระบวนการของระบบจัดซื้อ e-pro-curement ซึ่งเป็นมิติใหม่ของการทำธุรกิจเกิดขึ้นได้จริง จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยการร่วมมือในระดับกว้างจากองค์กรธุรกิจที่ต้องเรียนรู้ร่วมกัน

การดึงองค์กรขนาดใหญ่ 6 แห่งเข้าร่วมเป็นพันธมิตร ภายใต้ชื่อบริษัทพันธวณิช นอกจากจะสร้างความยอมรับจากผู้ซื้อและผู้ขายของการเข้าสู่ตลาดการค้าอิเล็กทรอนิกส์ และการใช้โครงข่ายสื่อสารร่วมกัน ก็ด้วยเหตุผลเหล่านี้

นอกจากตัวของ ม.ล.สุภสิทธิ์ ทีมงาน ส่วนใหญ่ในระดับบริหารที่ถูกคัดเลือกมาก็ล้วนแต่เป็นอดีตวาณิชธนากรที่เคยร่วมงานกันมา และเมื่อไม่กี่เดือนนี้ พวกเขาก็เพิ่ง ย้ายจากอาคารฟอร์จูนไปอยู่ที่สำนักงานใหม่ บนอาคารแคปิตอล ริมถนนวิทยุ

ส่วนตัวของ ม.ล.สุภสิทธิ์ ไม่ใช่คนหลง ใหลในเทคโนโลยี "ผมเป็นคนโบราณ แต่ความคิดทันสมัย" การใช้งานในเรื่องของอินเทอร์เน็ต จึงเป็นเรื่องของความจำเป็น ใช้ เป็นแหล่งในการค้นหาข้อมูล ไม่ใช่เพื่อการติดต่อสื่อสาร

"ผมใช้ information มาตลอด แต่จะใช้ต่อเมื่อผมอยากได้ข้อมูล เพราะผมเป็นคนรู้จักใช้ข้อมูล รู้ว่า ควรจะไปหาที่ไหน ดูได้อย่างไร" ทั้งหมดนี้ล้วนแต่มาจากประสบ การณ์ของการเป็น investment bank ที่ต้องคลุกคลีอยู่กับข้อมูล

ทุกวันนี้ ม.ล.สุภสิทธิ์ยังคงสไตล์ของ วาณิชธนากร สวมใส่เสื้อผ้าชั้นดีที่แม้จะดูผ่อน คลายลงไปบ้าง เวลาส่วนใหญ่ที่นอกเหนือไป จากเอเซียฟรีวิลล์ ต้องปลีกเวลาบางส่วนไปกับการนั่งทำงานเป็นบอร์ดการบินไทย เพื่อดูแล ด้านการจัดองค์กร และการเงินของสายการบินที่กำลังเดินหน้าไปสู่การปรับองค์กรอย่างเข้มข้น

และนี่ก็คือ ความท้าทายในโลกธุรกิจ ใบใหม่ทั้งสำหรับตัวเขา และกลุ่มซีพีที่ต้องผ่านกระบวนการเรียนรู้ในทุกมิติ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us