Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2544
อภิรักษ์ โกษะโยธิน strategy move             
 

   
related stories

ข้อมูลบุคคล อภิรักษ์ โกษะโยธิน

   
www resources

โฮมเพจ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่

   
search resources

จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่, บมจ.
อภิรักษ์ โกษะโยธิน




นับเป็นเวลา 1 ปีพอดี กับตำแหน่ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัทแกรมมี่เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ของอภิรักษ์ โกษะโยธิน อดีตกรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟริโต-เลย์ ที่ผันตัวเองมาสู่การเป็นมืออาชีพในธุรกิจบันเทิง

ด้วยประสบการณ์ความเป็นมืออาชีพ ที่เกี่ยวข้องอยู่กับสายงานโฆษณาประชา สัมพันธ์ สายงานด้านการตลาด การสร้างตลาดให้กับเป๊ปซี่ และความสำเร็จในการทำ ตลาดฟริโต-เลย์ มันฝรั่งที่เข้ามาตีตลาดในไทย และสามารถครองตลาดได้เพียงผู้เดียวในเวลานี้

อภิรักษ์จึงเป็นผู้หนึ่งที่ถูกคาดหมาย ว่า เขาจะสามารถประยุกต์ประสบการณ์เดิม เข้ากับธุรกิจเอ็นเตอร์เทนเมนต์ ที่มีฐานลูกค้า วัยรุ่น และมีไลฟ์สไตล์การทำธุรกิจที่ไม่แตกต่างกันได้ไม่ยากนัก

แรงขับดันที่สำคัญของแกรมมี่ ไม่ได้อยู่ที่เพียงแค่ความต้องการรักษาฐานที่มั่นใน ธุรกิจเดิม ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจเพลง ธุรกิจมีเดีย ที่มีตั้งแต่วิทยุ ทีวี ละคร ที่แกรมมี่ต้องแสวง หาโอกาสใหม่ๆ เพื่อสร้างความครอบคลุมมากที่สุดเท่านั้น

แต่แกรมมี่กำลังก้าวไปสู่สภาพแวด ล้อมใหม่ทางธุรกิจ อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี ความจำเป็นที่ต้องก้าวล่วงเข้าสู่โลกของอินเทอร์เน็ต เพื่อก้าว ไปสู่การเป็นผู้สร้าง Asian content ในระดับภูมิภาค

ประสบการณ์ของการทำงานในองค์ กรธุรกิจข้ามชาติ ที่ต้องรับผิดชอบการทำตลาดในระดับภูมิภาคของอภิรักษ์ จึงเป็นส่วน สำคัญต่อยุทธศาสตร์ของแกรมมี่นับจากนี้

โจทย์ข้อแรกของอภิรักษ์ ก็คือ การ นำพาแกรมมี่ให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของ เทคโนโลยีที่กำลังขับเคลื่อนจากสื่อในโลกใบ เก่าเข้าสู่สื่อใหม่อย่างอินเทอร์เน็ต ที่แกรมมี่ได้ผ่านจากจุดเริ่มต้นไปแล้วกับการสร้างเว็บ ไซต์ eotoday.com และ uclicktaday.com และกำลังก้าวไปสู่การทำเว็บไซต์ asian melody.com

โจทย์ข้อถัดมา คือ การก้าวเข้าสู่การ เป็น "เอเชียนมีเดียเอ็นเทอร์เทนเมนท์คอมปานี" ซึ่งแกรมมี่ใช้เวลามาแล้ว 2-3 ปี ในการ รุกเข้าสู่ตลาดไต้หวัน และสิ่งที่แกรมมี่ต้องทำมากกว่านั้น ก็คือ การกำหนดเป้าหมายของยุทธศาสตร์ให้มีความชัดเจนมากขึ้น

โจทย์ข้อสาม ก็คือ การสร้าง content ใหม่ๆ ป้อนในตลาดที่แกรมมี่ยังเข้าไปมีบทบาทไม่มาก เช่น ในธุรกิจภาพยนตร์

ธุรกิจทั้ง 3 ส่วนนี้ ไม่ได้มีเป้าหมายอยู่ที่การรักษาตลาดภายในประเทศเท่านั้น แต่ทั้งหมดนี้จะถูกผูกโยงกับยุทธศาสตร์ของการสร้าง content ในระดับภูมิภาค

การร่วมมือกับพันธมิตรข้ามชาติ จึงเป็นสิ่งที่แกรมมี่กำลังสร้างการเรียนรู้อย่างหนักในเวลานี้ การร่วมมือกับบริษัท mercuric จากสิงคโปร์เป็นส่วนหนึ่งเพื่อเรียนรู้เทคโนโลยี ในเรื่องของการดาวน์โหลดและเก็บเงินบนอินเทอร์เน็ต วิวัฒนาการใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นกับธุรกิจเพลง

รวมทั้งเว็บไซต์ listen.com จากสหรัฐ อเมริกา ในการใช้ประโยชน์จาก content ข้ามชาติ เพื่อนำไปสู่การทำเว็บไซต์ระดับภูมิภาค "asianmelody.com" เพื่อใช้เป็นสื่อใหม่ในการเผยแพร่ content ในระดับกว้าง

ในธุรกิจภาพยนตร์ นอกเหนือจากการร่วมผลิต (co-production) กับบริษัทผลิต ภาพยนตร์ในฮ่องกงและฮอลลีวู้ดแล้ว การทำ ตลาดของหนังแต่ละเรื่องจะถูกกำหนดไว้ตั้งแต่เบื้องต้นว่า จะผลิตสำหรับการป้อนตลาด ต่างประเทศในรูปแบบของ Asian content

การปรับปรุงองค์กร เพื่อสร้างมาตร-ฐานใหม่ของการทำงานเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับก้าวต่อไปของอนาคตในช่วง 3 ปี นับจากนี้

อภิรักษ์ใช้เวลาตลอด 3 เดือนแรกใน การระดมสมองกรรมการผู้จัดการเพื่อหาจุดแข็ง จุดอ่อนของโอกาสข้างหน้า และอุปสรรค ตามทฤษฎีของการจัดการ เพื่อใช้ในการวาง ทิศทางของบริษัทในระยะสั้น และในระยะ 3 ปีข้างหน้า

ขณะเดียวกัน แกรมมี่ได้ลงมือจ้างบริษัทไพร้ซวอเตอร์เฮาส์ คูเปอร์ เข้ามาเป็นที่ปรึกษา เพื่อช่วยในการจัดองค์กร และนับได้ว่า เป็นความมุ่งมั่นในการเรียนรู้เพื่อสร้าง มาตรฐานการบริหาร และการจัดการมาใช้กับธุรกิจบันเทิง

"ที่ผ่านมาเราเคยมีที่ปรึกษาแต่เป็นเฉพาะเรื่อง ครั้งนี้จึงเป็นครั้งแรกที่เราจ้างที่ปรึกษาเข้ามาช่วย"

การมองภาพรวมขององค์กร กลายเป็นเรื่องที่จำเป็นสำหรับองค์กร ที่มีบริษัทลูก กระจายอยู่ถึง 30 กว่าแห่ง เป็นเรื่องจำเป็น ที่จะต้องมีการประสานงาน มีทิศทางและเป้าหมายที่ชัดเจนมากขึ้นกว่าเดิม

การเพิ่มตำแหน่งใหม่ในระดับผู้บริหารขึ้นมา 3 แห่ง ก็เพื่อเป้าหมายเหล่านี้ corporate marketing มีหน้าที่ดูแลการตลาด ในภาพรวมทั้งหมด ในขณะที่ chief creative officer เป็นตำแหน่งที่ถูกตั้งขึ้นเพื่อดูแลงานทางด้านครีเอทีฟทั้งหมดขององค์กร

ในขณะที่ chief operation officer หรือ coo ทำหน้าที่ในการประสานงานภาพรวมทั้งหมดของธุรกิจเพลง ที่จะถูกจัดเป็นหมวดหมู่ และมีเป้าหมายในการทำตลาดที่ชัดเจนมากขึ้น

ถึงแม้ว่าแกรมมี่จะพยายามแสวงหาโอกาสและพื้นที่ใหม่ในอาณาจักรธุรกิจบันเทิง แต่อุตสาหกรรมเพลงยังคงจุดแข็ง และเป็นธุรกิจหลัก ที่ทำรายได้ให้กับแกรมมี่ 60% เป็น เรื่องจำเป็นที่ต้องสร้างความสามารถในการแข่งขันให้เพิ่มขึ้นกว่าเดิม

การว่าจ้างบริษัท บอสตัน คอนซัลติ้ง กรุ๊ป เข้ามาเป็นที่ปรึกษาเรื่องธุรกิจเพลง ซึ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในธุรกิจบันเทิงแห่งนี้ก็ด้วยเหตุผลเหล่านี้ ภาระหน้าที่ของบอสตัน จะเริ่มตั้งแต่การจัดองค์กรคือ ตั้งแต่การวางแผน การผลิต การกระจายสินค้า

การนำเอาระบบบริหารคลังสินค้า หรือ supply chain management มาใช้ปรับปรุง "distribution center" เป็นส่วนหนึ่งที่มาจากผลการศึกษาที่จะมาช่วยให้การวาง แผนการผลิต การออกเทป รวมถึงการจัดเก็บสินค้าคงคลัง การบริหาร การกระจายสินค้า ที่จะถูกทำขึ้นอย่างเป็นระบบ

การสร้าง corporate brand ได้ถูกกำหนดขึ้นในคราวเดียวกัน การจ้างบริษัทเอ็นเตอร์ไพรซ์ ไอจี เป็นเครือของ WPP จะเข้ามาดูในเรื่องของ corporate branding ถือเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องสร้างความชัดเจน ควบคู่ไปกับการจัดโครงสร้างองค์กร

"บริษัทในเครือของแกรมมี่มีตั้ง 30 กว่าบริษัท มีแบรนด์อยู่เต็มไปหมด ตรงนี้นอกเหนือจากการจัดองค์กร"

อภิรักษ์ เปรียบเทียบวิธีการสร้าง brand ที่จะมีความคล้ายคลึงกับไทม์วอร์-เนอร์องค์กรต้นแบบที่มีซีเอ็นเอ็นเป็น brand ด้านข่าว ในขณะที่ HBO เป็น brand ด้านภาพยนตร์ ดิสนีย์ brand ที่เป็นเรื่องของการ์ตูน และเด็ก

ไม่ว่า brand ของแกรมมี่จะออกมาเป็นอย่างไร และเป้าหมายของการไปสู่ asian content ที่จะต้องเห็นผลภายใน 3 ปี จะลุล่วงเพียงใด แต่นี่คือ ก้าวสำคัญของธุรกิจ มีเดียเอ็นเตอร์เทนเมนต์ของแกรมมี่และความ เป็นมืออาชีพของอภิรักษ์ ที่กำลังเริ่มต้นขึ้น อย่างเข้มข้น

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us