Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2544
วันฉัตร ผดุงรัตน์ ผู้สร้างชุมชนในโลกออนไลน์             
โดย ไพเราะ เลิศวิราม
 

   
related stories

ข้อมูลบุคคล วันฉัตร ผดุงรัตน์

   
search resources

วันฉัตร ผดุงรัตน์
pantip.com




บรรดานักท่องเว็บทั้งหน้าเก่าและหน้า ใหม่น้อยรายที่จะไม่รู้จักชื่อของ pantip.com ผู้ริเริ่มทำให้สังคมไทยรู้จักกับคำว่า เว็บบอร์ด และวันนี้เขายังคงมุ่งมั่นทำหน้าที่นี้ต่อไป

ถึงแม้ว่าวันฉัตรจะไม่ใช่ผู้ที่สร้างความ ร่ำรวยในโลกดอทคอม เหมือนกับอีกหลายคนที่สามารถช่วงชิงโอกาสในยุคที่ฟองสบู่ดอทคอมยังเฟื่องฟู ขายเว็บทำเงินเข้ากระเป๋า ได้มากมาย แต่เขากลับได้ชื่อว่าเป็นผู้ริเริ่มทำให้สังคมไทยรู้จักกับคำว่าเว็บบอร์ด

วันฉัตร ก็เหมือนอีกหลายคนที่โชค และความสำเร็จ ในบางครั้งก็ได้มาจากความ บังเอิญ

ก่อนหน้านี้ วันฉัตรร่วมกับเพื่อนทำธุรกิจนำเข้าชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ความคิดในการทำเว็บไซต์ของเขาต้องการทำเป็น electronic magazine ไว้สำหรับเผยแพร่ข้อมูลด้านคอมพิวเตอร์ และเป็นที่มาของ ชื่อ pantip.com แหล่งรวมอุปกรณ์คอมพิว เตอร์ที่รู้จักกันดีในหมู่นักเล่นคอมพิวเตอร์ ก็มาจากเหตุผลเหล่านี้

ช่วงเริ่มต้นเว็บไซต์ pantip.com ก็เหมือนอีกหลายเว็บต้องผ่านการลองผิดลองถูก ผลปรากฏว่า แมกกาซีนออนไลน์ ที่เขาลงมือจัดทำเนื้อหากลับไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร วันฉัตรจึงนำระบบอินเตอร์แอคทีฟ มาใช้ เพื่อหวังว่าจะปรับปรุงให้เว็บไซต์มีความน่าสนใจมากขึ้น

ระบบอินเตอร์แอคทีฟที่ว่านี้ ก็ไม่ได้เป็นโปรแกรมที่ถูกออกแบบมาให้มีการทำงาน ที่พิเศษ หรือซับซ้อนแต่อย่างใด เป็นเพียงโปรแกรม Guess books ที่สามารถหาดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์จากต่างประเทศทั่วไป

"แทนที่จะให้คนที่เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ แล้วลงชื่อให้หน่อย ก็เปลี่ยนเป็นว่า ถ้ามีสินค้าประกาศขายก็ให้มาลงได้ที่นี่" ด้วยโปรแกรมอินเตอร์แอคทีฟแบบง่าย ได้กลาย เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของความเป็นสื่อกลาง ของการแลกเปลี่ยนความรู้ในเวลาต่อมา

แต่จุดเริ่มที่แท้จริงของการทำเว็บบอร์ด หรือการตั้งกระทู้ที่กลายเป็นเอกลักษณ์ และทำชื่อเสียงให้กับ pantip.com ก็ได้มาจากการที่วันฉัตรได้รับอีเมลแนะนำและความ รู้ในการทำเพลงประกอบลงในเว็บไซต์จากนายแพทย์ท่านหนึ่ง

จากคำตอบที่ได้รับเพียงแค่ 2 ย่อหน้าจากนายแพทย์ผู้นั้น ทำให้เขาพบว่า ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์นั้นไม่ได้จำกัดอยู่กับ คนใดคนหนึ่ง

"ผมเรียนคอมพิวเตอร์และทำงานคอมพิวเตอร์มาตลอด แต่ผมกลับได้คำตอบ จากนายแพทย์ บอกได้ว่าความรู้คอมพิวเตอร์ ไม่ได้อยู่กับตัวนักคอมพิวเตอร์ แต่มันอยู่กับทุกคน มันกว้างมาก"

วันฉัตรคิดต่อจากนั้น เขามองว่าความรู้ที่เขาได้รับจากนายแพทย์คนนั้น ไม่ควรจะจำกัดอยู่แค่ตัวเขา "ผมมาคิดทำอย่างไรที่จะทำให้คนจำนวนมากได้อ่านคำตอบดีๆ ที่มีใครสักคนมาแชร์ความรู้ให้"

จากประกายความคิดเหล่านี้เองทำให้วันฉัตรตัดสินใจเปลี่ยนจากแมกกาซีน อิเล็กทรอนิกส์มาเป็นเว็บบอร์ด กระทู้คำถาม ที่มีไว้สำหรับแลกเปลี่ยนความรู้ด้านคอมพิว เตอร์ระหว่างกัน ที่เขาประยุกต์มาจากเว็บบอร์ดในต่างประเทศ

ด้วยจำนวนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่เพิ่ม ขึ้น บวกกับความสนใจของผู้คนที่หลากหลาย ขึ้น จากกระทู้คำถามและคำตอบที่มีแต่เรื่อง ของเทคโนโลยีก็เริ่มขยายผลไปสู่กระแสมุมใหม่ๆ ที่ถูกตั้งเป็นกระทู้เพิ่มเติมเข้ามา

"ตอนแรกก็มีปัญหา เพราะพวกแรก บอกเอาไว้คุยเรื่องคอมพิวเตอร์อย่างเดียว แต่อีกพวกก็บอกว่า เรื่องการเมืองเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ ทำไมจะคุยไม่ได้" วันฉัตรตัดสินใจ แก้ปัญหาด้วยการแตกออกเป็น 2 ห้อง

จากกระทู้คอมพิวเตอร์ กลายมาเป็น ห้องเทคนิคัลแชท จากสภากาแฟมาเป็นห้อง ราชดำเนิน ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีสำหรับบรรดาคอการเมือง และกลายเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย ที่แม้กระทั่งนักการเมืองในยุคหนึ่ง ยังต้องใช้เว็บไซต์ pantip.com ไว้ตรวจสอบกระแส และใช้เป็นเวทีในการตอบข้อข้องใจกับผู้คน

ทุกวันนี้มีผู้เข้าชมเว็บไซต์ pantip.com 5 แสน page view ต่อวัน เพิ่มจากต้นปี 2543 ที่มีอยู่ 2 แสน page view ต่อวัน จากห้องกระทู้ที่มี 2 ห้อง เพิ่มเติมเป็นห้องกระทู้ต่างๆ ตามความสนใจของผู้ใช้ที่ครอบคลุมในแง่มุม แตกต่างกันไป

จากเงินทุน 2 แสนบาท ที่วันฉัตรบอกกับตัวเองว่า "เงินก้อนนี้หมดเมื่อไรก็จะ เลิกเมื่อนั้น" ไม่เพียงแต่จะอยู่รอดได้มาจนถึง วันนี้เท่านั้น แต่สามารถหล่อเลี้ยงตัวเขา และ ทีมงานเกือบ 10 คน จากรายได้ค่าโฆษณาที่เป็นรายได้ทางเดียวของพวกเขา

สำหรับวันฉัตรแล้ว ความเป็น pantip .com ในวันนี้ เป็นเรื่องของความบังเอิญ บวก กับโอกาสที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจที่เปิดโอกาสสำหรับผู้ประกอบการรายย่อยอย่างเขา แจ้งเกิดได้ในโลกธุรกิจออนไลน์ หากเป็นเหตุการณ์ปกติแล้ว โอกาสเหล่านี้ย่อมตกอยู่ในมือของธุรกิจขนาดใหญ่

"จริงๆ แล้ว มันเป็นจังหวะที่เขาไม่อยากมองอะไร ธุรกิจนี้ไม่ใช่ธุรกิจที่ลึกลับซับซ้อนจนขนาดที่ธุรกิจใหญ่ๆ จะมองไม่เห็น แต่เป็นเพราะเขาไม่อยากมองอะไรแล้วจริงๆ มากกว่า"

ถึงแม้ว่าวันฉัตรจะเป็นหนึ่งในผู้ที่ก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาในยุคดอทคอม ที่ผู้คนส่วน ใหญ่มักจะมีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้า พร้อม ที่จะแสวงหาโอกาสใหม่ๆ สำหรับการรุกไปข้างหน้าอยู่เสมอ ตรงกันข้ามกับบุคลิกส่วนตัวของเขาที่ค่อนข้างเรียบง่าย นอกเหนือจาก สำนักงานเล็กๆ ที่แบ่งเช่ามาจากคนรู้จักในซอยสุทธิสาร ทุกวันนี้เขายังขับรถยนต์เล็กๆ คันเดิม

วันฉัตรยอมรับ ว่า ในยุคเฟื่องฟูของธุรกิจดอทคอม เขาเคยถูกทาบทามขอซื้อเว็บไซต์จากผู้สนใจ 2-3 ราย

"ผมไม่เคยฟังข้อเสนอซื้อของใครเลย ผมอาจจะคิดแปลกกว่าคนอื่น เพราะผมก็แค่เขียนโปรแกรมเว็บบอร์ด ความยาวโปรแกรม 2 หน้ากระดาษ แต่ทรัพย์สินที่สำคัญของเว็บไซต์นี้ อยู่ที่ความรู้ และข้อมูลที่พวกเขาผลัดกันมาตั้งกระทู้แลก เปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน"

สำหรับวันฉัตร เว็บไซต์ pantip.com ไม่ใช่ทรัพย์สินส่วนตัวของเขา แต่เป็นของผู้ใช้ บริการ เป็นของทุกคนที่เข้ามาร่วมกันตั้งกระทู้ แลกความคิดเห็น

"ถามถึงพัฒนาการหลักๆ ไม่ได้มีก้าว กระโดดเลย หลังจากที่เอาอินเตอร์แอคทีฟมาใช้ ที่เหลือคือการขยายตัวของผู้ใช้บริการ"

แรงขับดันเดียวของวันฉัตร ก็คือ การ สร้างชุมชนแห่งนี้ให้มีเนื้อหามากขึ้นเท่านั้น "จากร้านกาแฟ มีตลาดสด มีโรงเรียน มีวัด มีอำเภอ มี link ไปที่อื่นๆ เปรียบเสมือนเป็นห้องสมุดประจำตำบล มีที่ให้ชาวบ้านเอาสินค้ามาแลก"

"สำหรับผมแล้ว ผมรู้สึกว่ามันเป็นไปได้ ถึงแม้ว่าขนาดของธุรกิจ ไม่ได้เป็นหลัก ล้าน แต่มันหล่อเลี้ยงองค์กรได้ ลูกค้ายังมีความสุขกับการใช้บริการ"

และนี่ก็คือ แง่มุมบางส่วนของเว็บไซต์ ที่เกิดขึ้นมาจากกระทู้สั้นๆ และกลายมาเป็นชุมชนออนไลน์ที่ยังคงยืนหยัดอยู่จน ทุกวันนี้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us