Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2543
Executive Resource Management             
 





องค์กรธุรกิจหลายแห่งไม่ได้มีแผนพัฒนาผู้บริหารที่เอาจริงเอาจังเพียงพอทั้งที่รู้กันดีว่าผู้บริหารระดับสูงที่แข็งแกร่งเป็นสิ่งสำคัญมากทีเดียว

นี่คือประเด็นที่ผู้เขียน Executive Resource Management นำเสนอ ให้คิดและยังชี้แนวทางพัฒนาผู้นำองค์กรที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้คำว่าการพัฒนาทรัพยากรฝ่ายบริหาร ผู้เขียนบอกการวางแผนพัฒนาทรัพยากรบริหารก็มีหลักคิด 5 ประการดังนี้

1. การเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ทางธุรกิจ บริษัทส่วนใหญ่มักโยนแผนพัฒนาผู้บริหารให้เป็นงานของฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ แต่องค์กรชั้นนำจะต้องตระหนักถึงความสำคัญของการเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ธุรกิจขององค์กรกับยุทธศาสตร์ทรัพยากรฝ่ายบริหารด้วย

2. การลงทุนขององค์กรในการพัฒนาผู้บริหาร องค์กรชั้นนำต่างลงทุนอย่างมากทั้งในแง่เวลา ความตั้งใจ และเงินในการพัฒนากิจกรรมต่างๆ ที่สามารถยกระดับความสามารถของผู้บริหาร

3. ระดับของการเป็นเจ้าของกิจการของผู้บริหาร ในหลายๆ บริษัท ผู้บริหารระดับสูงมีส่วนเป็นเจ้าของกิจการน้อยมาก หรือไม่มีส่วนเป็นเจ้าของกิจการที่ได้วางแผนพัฒนาและบริหารกิจการเลย

4. การผนวกประสานระบบทรัพยากรมนุษย์ต้องทำงานร่วมทีมกับ พนักงานระดับสูงในการระบุแจกแจงถึงขีดความสามารถที่ผู้นำจำเป็นต้องมี เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างยุทธศาสตร์การพัฒนาผู้บริหารต่อไป

5. สะท้อนภาพตามความเป็นจริง แผนการและกระบวนการพัฒนา ผู้บริหารต้องสะท้อนถึงฐานคติที่ตรงกับความเป็นจริงรวมทั้งในด้านที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยมนุษย์ และสภาพทางการเมืองด้วย การบริหารทรัพยากรฝ่ายบริหาร ไม่ใช่เรื่องของการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์เท่านั้น

จากประเด็นข้างต้นทั้งห้านี้ ผู้เขียนเสนอกรอบแนวทางอีก 13 ขั้นตอนในการบริหารแผนทรัพยากรฝ่ายบริหาร โดยแจกแจงไปทีละบทๆ พร้อมกับเสนอตารางและตัวอย่างประกอบมากมาย ตัวอย่างเช่น ในขั้นตอนที่ 1 ก็คือการพัฒนายุทธศาสตร์ทรัพยากรฝ่ายบริหาร ซึ่งผู้เขียนแนะนำว่าบริษัทควรสำรวจทบทวนยุทธศาสตร์ของบริษัทอย่างรอบคอบ โดยลองถามตัวเองว่า ยุทธศาสตร์ที่มีอยู่นั้น มีความเชื่อมโยงอย่างเป็นเหตุเป็นผลหรือไม่กับวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ รวมทั้ง การสรรหาผู้บริหารตำแหน่งสำคัญๆ การตัดสินใจด้านการพัฒนาองค์กร ไม่เพียงแต่ระบุถึงแรงกดดันของธุรกิจระยะสั้นแต่ต้องมองถึงความต้องการขององค์กรในระยะยาวด้วย

เมื่อทบทวนในประเด็นเหล่านี้แล้ว องค์กรย่อมสามารถพัฒนากรอบยุทธศาสตร์ทรัพยากรฝ่ายบริหารได้โดยอิงกับการตัดสินใจ 3 ประการคือ

(1) การตัดสินใจสร้างหรือซื้อ ซึ่งเป็นเรื่องที่องค์กรจะหาผู้มีแววดีจากภายนอกหรือสร้างจากภายในองค์กร

(2) การตัดสินใจซื้อตัว เน้นที่ว่าองค์กรจะซื้อตัวผู้บริหารที่มีฝีมือเยี่ยมในอุตสาหกรรมที่ทำอยู่ หรือหาตัวบุคคลจากอุตสาหกรรมอื่นเข้ามา และ

(3) การตัดสินใจเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับความเร็วและแนวทางของบริษัทการพัฒนาผู้นำด้านการบริหารในอนาคต

เป็นหนังสือที่อ่านง่ายเพราะผู้เขียนอธิบายแต่ละบทตอนโดยมีตาราง แผนผัง รวมทั้งแบบสอบถาม ช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจการพัฒนายุทธศาสตร์ทรัพยากรฝ่ายบริหารได้ง่าย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us