Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2544
วิทิต ลีนุตพงษ์ ดิ้นรนเพื่ออยู่รอดของยนตรกิจ             
 

   
related stories

ข้อมูลบุคคล วิทิต ลีนุตพงษ์

   
search resources

ยนตรกิจ กรุ๊ป
วิทิต ลีนุตพงษ์




วิทิต ลีนุตพงษ์ เป็นลูกคนที่ 9 ของอรรถพร ลีนุตพงษ์ เจ้าของตำนาน ผู้สร้างยนตรกิจ ซึ่งเพิ่งเสียชีวิตลงเนื่องจากหัวใจล้มเหลว เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

เขาเป็น 1 ใน "ลีนุตพงษ์" รุ่นที่ 2 ซึ่ง เป็นกำลังสำคัญของยนตรกิจ กรุ๊ปอยู่ในขณะนี้

เขาพยายามอย่างยิ่ง ที่จะสืบทอดธุรกิจต่อจากรุ่นพ่อ และอาของเขา อรรถพร-อรรถพงษ์ ลีนุตพงษ์ ที่ก่อร่างสร้างอาณาจักร "ยนตรกิจ" จากร้านขายอะไหล่รถยนต์เก่า ซึ่งเป็นเพียงห้องแถวเล็กๆ ย่านเชียงกง เมื่อ 50 ปีก่อน จนกลายเป็นผู้ผลิต และจำหน่ายรถยนต์จากยุโรปรายใหญ่ที่สุดของประเทศไทยในปัจจุบัน

แม้เขาจะไม่ใช่ลูกชายคนโต แต่กลับ มีบทบาทโดดเด่นกว่าพี่น้องหลายคน

บทบาทสำคัญที่สุด คือการวางแนวทางให้ยนตรกิจในยุคปัจจุบัน ยังคงความเป็น ผู้นำสำหรับการขายรถยนต์จากยุโรปอยู่ ต่อไป ท่ามกลางการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้น โดย เฉพาะจากการเข้ามาลงทุนของค่ายรถเจ้า ของแบรนด์ด้วยตัวเองในประเทศไทย

ตลาดรถยนต์ของไทยขณะนี้ หากเปรียบเทียบกับช่วงที่ยนตรกิจเติบโตเต็มที่ ในช่วงทศวรรษปี 2530-2539 จะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

ตลาดปัจจุบัน เป็นตลาดที่มีการแข่งขันกันสูง เพราะถือเป็นตลาดเปิดที่ผู้เล่นทุกคนสามารถกระโดดเข้ามาแข่งขันกันได้อย่าง เต็มที่ ไม่เป็นเพียงการแข่งขันระหว่างค่ายยุโรปกับญี่ปุ่นเหมือนเช่นในอดีต

และแม้แต่ค่ายรถยุโรปด้วยกัน ก็ยังต้องแข่งขันกันเอง โดยมีผู้นำเข้าอิสระเป็นตัวแทรกซ้อน

ปีนี้อาจจะเป็นปีที่วิทิตเหนื่อยน้อยลง เมื่อเทียบกับเมื่อ 3 ปีก่อน ซึ่งเป็นช่วงที่เขาต้องวิ่งวุ่น เพื่อหาคู่ค้ารายใหม่ หลังจากที่บีเอ็มดับบลิว ที่เป็นคู่ค้ากันมานานกว่า 20 ปี ตัดสินใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเอง

2 ปีก่อน เขาแก้ปัญหานั้นได้ เมื่อ สามารถเจรจากับโฟล์ค สวาเกน กรุ๊ป เยอรมนี ให้เข้ามาเป็นคู่ค้ารายใหม่ได้สำเร็จ

แต่เขาก็ยังคงเหนื่อยต่อไป เพราะการ จะสร้างแบรนด์รถยนต์ให้ติดตลาดได้นั้น ต้อง ใช้ระยะเวลา

แม้ว่าทั้งโฟล์ค และออดี้ จะเป็น แบรนด์ที่คนไทยรู้จักกันดีอยู่แล้ว และเขาก็เคยเป็นตัวแทนขายรถทั้ง 2 ยี่ห้อนี้ แต่เนื่อง จากการทำตลาดรถทั้ง 2 ยี่ห้อ ในช่วงหลาย ปีก่อนหน้า ไม่มีความต่อเนื่องเหมือนกับที่เขาทำให้กับบีเอ็มดับบลิว ดังนั้นเวลานี้ จึงต้องเสียเปรียบอยู่บ้าง

เพราะเปรียบเสมือนต้องสร้างตลาดขึ้นมาใหม่ ในขณะที่ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมยังไม่เอื้ออำนวย

ณ วันนี้ แม้วิทิตจะเหนื่อย แต่เขาก็คงภูมิใจอยู่ลึกๆ เพราะขณะนี้ยนตรกิจยังสามารถยืนอยู่ และยืนอยู่ได้อย่างมั่นคง ในขณะที่ผู้ค้ารถยนต์คนไทยรายอื่นๆ ยังซวนเซ และหลายรายล่มสลายลงไปแล้ว

ดิ้นรนเพื่ออยู่รอด ของยนตรกิจวิทิต ลีนุตพงษ์

วิทิต ลีนุตพงษ์ เป็นลูกคนที่ 9 ของอรรถพร ลีนุตพงษ์ เจ้าของตำนาน ผู้สร้างยนตรกิจ ซึ่งเพิ่งเสียชีวิตลงเนื่องจากหัวใจล้มเหลว เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

เขาเป็น 1 ใน "ลีนุตพงษ์" รุ่นที่ 2 ซึ่ง เป็นกำลังสำคัญของยนตรกิจ กรุ๊ปอยู่ในขณะนี้

เขาพยายามอย่างยิ่ง ที่จะสืบทอดธุรกิจต่อจากรุ่นพ่อ และอาของเขา อรรถพร-อรรถพงษ์ ลีนุตพงษ์ ที่ก่อร่างสร้างอาณาจักร "ยนตรกิจ" จากร้านขายอะไหล่รถยนต์เก่า ซึ่งเป็นเพียงห้องแถวเล็กๆ ย่านเชียงกง เมื่อ 50 ปีก่อน จนกลายเป็นผู้ผลิต และจำหน่ายรถยนต์จากยุโรปรายใหญ่ที่สุดของประเทศไทยในปัจจุบัน

แม้เขาจะไม่ใช่ลูกชายคนโต แต่กลับ มีบทบาทโดดเด่นกว่าพี่น้องหลายคน

บทบาทสำคัญที่สุด คือการวางแนวทางให้ยนตรกิจในยุคปัจจุบัน ยังคงความเป็น ผู้นำสำหรับการขายรถยนต์จากยุโรปอยู่ ต่อไป ท่ามกลางการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้น โดย เฉพาะจากการเข้ามาลงทุนของค่ายรถเจ้า ของแบรนด์ด้วยตัวเองในประเทศไทย

ตลาดรถยนต์ของไทยขณะนี้ หากเปรียบเทียบกับช่วงที่ยนตรกิจเติบโตเต็มที่ ในช่วงทศวรรษปี 2530-2539 จะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

ตลาดปัจจุบัน เป็นตลาดที่มีการแข่งขันกันสูง เพราะถือเป็นตลาดเปิดที่ผู้เล่นทุกคนสามารถกระโดดเข้ามาแข่งขันกันได้อย่าง เต็มที่ ไม่เป็นเพียงการแข่งขันระหว่างค่ายยุโรปกับญี่ปุ่นเหมือนเช่นในอดีต

และแม้แต่ค่ายรถยุโรปด้วยกัน ก็ยังต้องแข่งขันกันเอง โดยมีผู้นำเข้าอิสระเป็นตัวแทรกซ้อน

ปีนี้อาจจะเป็นปีที่วิทิตเหนื่อยน้อยลง เมื่อเทียบกับเมื่อ 3 ปีก่อน ซึ่งเป็นช่วงที่เขาต้องวิ่งวุ่น เพื่อหาคู่ค้ารายใหม่ หลังจากที่บีเอ็มดับบลิว ที่เป็นคู่ค้ากันมานานกว่า 20 ปี ตัดสินใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเอง

2 ปีก่อน เขาแก้ปัญหานั้นได้ เมื่อ สามารถเจรจากับโฟล์ค สวาเกน กรุ๊ป เยอรมนี ให้เข้ามาเป็นคู่ค้ารายใหม่ได้สำเร็จ

แต่เขาก็ยังคงเหนื่อยต่อไป เพราะการ จะสร้างแบรนด์รถยนต์ให้ติดตลาดได้นั้น ต้อง ใช้ระยะเวลา

แม้ว่าทั้งโฟล์ค และออดี้ จะเป็น แบรนด์ที่คนไทยรู้จักกันดีอยู่แล้ว และเขาก็เคยเป็นตัวแทนขายรถทั้ง 2 ยี่ห้อนี้ แต่เนื่อง จากการทำตลาดรถทั้ง 2 ยี่ห้อ ในช่วงหลาย ปีก่อนหน้า ไม่มีความต่อเนื่องเหมือนกับที่เขาทำให้กับบีเอ็มดับบลิว ดังนั้นเวลานี้ จึงต้องเสียเปรียบอยู่บ้าง

เพราะเปรียบเสมือนต้องสร้างตลาดขึ้นมาใหม่ ในขณะที่ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมยังไม่เอื้ออำนวย

ณ วันนี้ แม้วิทิตจะเหนื่อย แต่เขาก็คงภูมิใจอยู่ลึกๆ เพราะขณะนี้ยนตรกิจยังสามารถยืนอยู่ และยืนอยู่ได้อย่างมั่นคง ในขณะที่ผู้ค้ารถยนต์คนไทยรายอื่นๆ ยังซวนเซ และหลายรายล่มสลายลงไปแล้ว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us