เจริญ สิริวัฒนภักดี วัยเกือบ 60 ปี ถือกำเนิดในย่านการค้าเสี่ยงโชคเก่าแก่ของสังคมไทยย่านทรงวาด
ด้วยการศึกษาขั้นต่ำ สุด แต่ประสบการณ์ในโมเดลธุรกิจเก่าแก่ของ ไทยที่โชกโชน
เขาจึงกลายเป็นคนสุดท้ายที่มีโอกาสมากมาย
เจริญเข้าสู่วงการธุรกิจสุราด้วยการชักนำของเถลิง เหล่าจินดา แห่งกลุ่มสุราทิพย์
ผู้ซึ่งต่อมาเป็นปรปักษ์กับตระกูลเตชะไพบูลย์ ซึ่งถือเป็นเจ้าพ่อในวงการนี้มายาว
นาน ในปี 2525 เมื่อเถลิงผ่านการต่อสู้อย่างโชกโชน ก็เหนื่อยล้าลาจากวงการไป
เจริญก็เข้าสวมแทนและสามารถเอาชนะกลุ่มเตชะ ไพบูลย์ โดยเข้ายึดครองกลุ่มสุรามหาราษฎร
อย่างสิ้นเชิงในปี 2530
ในขณะเดียวกันนั้น พ่อตาของเขา ก็เข้ายึดกิจการบริษัทเงินหลักทรัพย์จากตระกูลเตชะไพบูลย์อีกสายหนึ่ง
ต่อมาเมื่อเตชะไพบูลย์สายนั้น (คำรณ เตชะไพบูลย์) มีปัญหาในการบริหารธนาคารมหานคร
เจริญและพ่อตา ซึ่ง มีสองขาทางธุรกิจที่หนุนเนื่องกัน (ธุรกิจสุราและการเงิน)
และกำลังเริ่มยิ่งใหญ่ในปี 2530 ก็เข้ายึดครองกิจการ การเงิน ทั้งธนาคารและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ไว้
ทั้งๆ ที่ธุรกิจการธนาคารสำหรับ สังคมไทย ถูกปิดตายสำหรับคนนอกมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง
จากจุดนี้จึงถือว่า เจริญ สิริวัฒนภักดี สร้างอาณาจักรที่มั่นคงและโหมโรงการ
ขยายตัวอย่างเชี่ยวกรากในเวลาจากนั้นมา
เขาเป็นเจ้าของโรงงานสุรากว่า 10 โรงทั่วประเทศ ภายใต้สัมปทานผูกขาดและ
แถมพกด้วยการเป็นเจ้าของสถาบันการเงินและธนาคารที่ดูเหมือนว่าได้มาง่ายเกินไป
ในปี 2530 เจริญ สิริวัฒนภักดี อาศัย กลวิธีแบบเก่าขยายอาณาจักรประสบความสำเร็จ
ถือเป็นคนล่าสุดของสังคมธุรกิจยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สองเลยทีเดียว ความสำเร็จของเขาที่ยิ่งใหญ่ในสายตาของคนในวงการ
ไม่ใช่การมีสัมปทานผูกขาดในธุรกิจสุรา หรือการซื้อที่ดิน ซื้อหุ้น เก็งกำไร
จนกลายเป็นคนที่มีเงินสดมากที่สุดคนหนึ่งเท่า นั้น หากเป็นเจ้าของธุรกิจธนาคาร
เจริญ สิริวัฒนภักดี กลับมองธนาคาร เป็นเพียงเครื่องมือในการระดมเงินจากสาธารณชนมาขยายธุรกิจซื้อมาขายไปเท่านั้น
เขาพอใจจะมีเงินสดมาก ตามคติ พ่อค้ายุคดั้งเดิม เพื่อเสริมสร้างความมั่งคั่งส่วนตัว
มากกว่าสร้างความสามารถ ในการแข่งขันและความมั่นคงของอาณา จักรธุรกิจของเขาโดยรวม
(นี่คือโมเดลความคิดส่วนใหญ่แบบเก่าของผู้ประกอบการเอเชีย) บางคนบอกว่า เขาไม่เข้าใจธุรกิจธนาคารอย่างลึกซึ้ง
ว่ามันมีความหมายยิ่งใหญ่เพียงใด เขาจึงไม่ทะนุถนอม
ในที่สุดสมบัติที่มีค่าที่สุด ซึ่งเขาอาจจะไม่เข้าใจเพียงพอ ก็ไม่สามารถรักษาไว้ได้
อย่างไรก็ตาม เขาก็อาศัยความชำนาญเดิมในธุรกิจโมเดลเก่าของประเทศไทยเดินหน้าธุรกิจต่อไปได้
ธุรกิจสุราดั้งเดิม แม้ว่าระบบสัมปทานแบบเดิมกำลังจะปิดฉากลง แต่เขาก็สามารถใช้เครือข่ายการค้าแบบเดิม
ซึ่งฝังรากในตลาดล่างกับเครือข่ายการค้า ในชุมชนซึ่งถือว่าเป็นเครือข่ายการค้าที่เข้มแข็งที่สุดเครือข่ายหนึ่งในสังคมไทย
ภายใต้ระบบเอเย่นต์ ที่เข้มแข็งนั้นเดินหน้า ธุรกิจต่อไป
จากนั้นก็ต่อเนื่องเข้าสู่ธุรกิจเบียร์ (เบียร์ช้าง และเบียร์คาร์ลสเบอร์ก)
ซึ่ง เสริมกับค้าสุราได้อย่างกลมกลืน ภายใต้โครงสร้างการแข่งขันที่ดุเดือดของธุรกิจนี้
นำเอาโมเดลการค้าสุรามาทำให้ความสามารถในการแข่งขันอยู่ได้
เจริญ สิริวัฒนภักดี จะเป็นคนสุดท้ายที่ใช้โมเดลการค้าเดิมในระบบอุปถัมภ์ค้ำจุนธุรกิจของเขาต่อเนื่องยาว
นานมาประมาณ 2 ทศวรรษ แต่จากนี้ไปจะเป็นเรื่องน่าติดตามอย่างยิ่ง