เขาเป็นผลผลิตของนักการเงิน หรือ MBA จากสหรัฐฯ รุ่นแรกๆ ที่มีอิทธิพลต่อโมเดลการบริหารธุรกิจไทยมายาวนานประมาณ
2 ทศวรรษ ในยุคสังคมการเงินทรงอิทธิพลอย่างยิ่งในสังคมไทย แต่เขาก็เป็น เพียงคนเดียวในกลุ่มนั้นที่ออกมาสู่ภาคการผลิตหลักของสังคมไทย
ภายใต้การบริหารด้วยโมเดลทางการเงินเป็นแรงขับเคลื่อนเครือ ซิเมนต์ไทยให้ขยายตัวอย่างมหัศจรรย์ในช่วง
20 ปีที่ผ่านมา
ชุมพล ณ ลำเลียง ผ่านประสบการณ์ ใช้โมเดลทางการเงินบริหารอุตสาหกรรมผูกขาดของประเทศ
ภายใต้ฐานของสถาบันอันเข้มแข็งอย่างยิ่งของสังคมนี้
แม้โดยรวมการเติบโตอย่างต่อเนื่อง จะถือเป็นความสำเร็จต้นแบบของธุรกิจสมัย
ใหม่ในยุคที่ผ่านมา สามารถปรับตัวองค์กรที่มีความอุ้ยอ้าย ให้ขยับไปข้างหน้าอย่างต่อ
เนื่อง โดยอาศัยการเป็นผู้บริหารยาวนานที่สุด คนหนึ่งในภาคธุรกิจในฐานะลูกจ้าง
ที่ได้ลอง ผิดลองถูกในช่วง 2 ทศวรรษมานี้
ในโมเดลทางการเงิน เขาก็พยายามแสวงหาโมเดลการพัฒนาอุตสาหกรรมของสังคมภายใต้กรอบของอุตสาหกรรมหลักของ
ประเทศ มันเป็นความต่อเนื่องทางประวัติ ศาสตร์ที่ดูมั่นคง แต่ก็ยังมองไปในอนาคต
ก็ยังหาคำตอบที่ลงตัวค่อนข้างยากเหมือนกัน
อุตสาหกรรมซีเมนต์เกิดขึ้นเพื่อพัฒนาประเทศไทยในยุคสงครามโลกครั้งที่ 1
เนื่องจากมีปัญหาการนำเข้าสินค้าซีเมนต์ ในที่สุดโมเดลอุตสาหกรรมเพื่อทดแทนการ
นำเข้าครอบงำสังคมในยุคการคุ้มครองอุตสาหกรรมต่างๆ เอาไว้ยาวนานต่อเนื่องมา
ชุมพล ณ ลำเลียง อาศัยความเป็นนักการเงินสามารถกู้เงินจากต่างประเทศในต้นทุนต่ำ
มาขยายกิจการในยามเศรษฐกิจเติบโตอย่างมากเนื่องจากดีมานด์ภายในประเทศ เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรม
ผลิตสินค้า ใช้เอง ในลักษณะ Mass production โดยอาศัยเทคโนโลยีที่เราไม่มี
เป็นของจากต่างประเทศ จนมาถึงการยอมเป็นเครือข่ายของธุรกิจระดับโลก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมรถยนต์
เมื่อการคุ้มครองจบลง การแข่งขันในโลกกว้างเกิดขึ้นประหนึ่งเพียงข้ามคืน
พร้อมกับปัญหาการใช้โมเดลการเงินขับเคลื่อนมาตลอดอย่างเกินความสมดุล เครือซิเมนต์ไทยต้องกลับมาทบทวนตนเองครั้งใหญ่อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน
ชุมพล มีทั้งโชคดีและโชคร้าย
โชคดีที่เขามีโอกาสลองผิดลองถูกมากมาย ไม่ว่าการขายสินค้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ
ความพยายามสร้างอุตสาห-กรรมรถยนต์ ที่ในที่สุดค้นพบว่ามีปัญหาทาง ยุทธศาสตร์อย่างมาก
แม้ว่าอุตสาหกรรมหนักอย่างกระดาษ และปิโตรเคมี ซึ่งกำลังดูมีอนาคตนั้น ล้วนต้องพึ่งพาเทคโนโลยีต่าง
ประเทศมากทีเดียว
ในขณะที่อุตสาหกรรมซีเมนต์ซึ่งถือว่า เครือซิเมนต์ไทยพึ่งพาโนว์ฮาวต่างประเทศน้อยที่สุด
และเครือซิเมนต์ไทยมีประสบ การณ์มากที่สุด ก็กำลังประสบปัญหาการแข่งขันที่รุนแรงมากที่สุดเท่าที่มีมา
เขาโชคไม่ดี ที่ต้องเหนื่อยกับการขยายตัวและปรับฐานความคิดภายใต้แรงกด
ดันอยู่ตลอดเวลา ความพยายามในวันนี้ การปรับโครงสร้างยังอยู่ภายใต้แรงบีบคั้นพอสมควรทีเดียว
การก้าวเข้าสู่การแข่งขันระดับภูมิภาค กับยักษ์ใหญ่อุตสาหกรรมระดับโลกเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
ชุมพล ณ ลำเลียง มองสิ่งนี้ทะลุพอสมควรในช่วงก่อนวิกฤติ แต่ดูเหมือน เขาได้ตระเตรียมสิ่งต่างๆ
ยังไม่พร้อมพรัก คู่แข่งขันระดับโลกก็เข้ามาในบ้านเสียก่อน
ภาพยุทธศาสตร์ของเครือซิเมนต์ไทย ยังต้องวาดให้ชัดเจนอีกต่อไป การปรับตัวจากนี้ย่อมอยู่นอกเหนือโมเดลทางการเงิน
หากอยู่ที่ "ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ" ในมิติใหม่ ภาคการผลิตที่เป็นจริง
ในยุคใหม่ที่การแข่งขันไม่มีขีดจำกัด