Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2544
ธนินท์ เจียรวนนท์ Strategist             
 


   
www resources

โฮมเพจ เครือเจริญโภคภัณฑ์

   
search resources

เครือเจริญโภคภัณฑ์
ธนินท์ เจียรวนนท์




เขาเป็นผู้นำคนเดียวในสังคมธุรกิจไทย ที่สร้างอาณาจักรธุรกิจจากเล็กๆ จนยิ่งใหญ่ระดับภูมิภาคที่สำคัญ ที่มีความสามารถในการปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงระดับโลก ภูมิภาค และสังคมไทยอย่างดี

เครือเจริญโภคภัณฑ์ เป็นเพียงกลุ่มธุรกิจกลุ่มเดียวที่พัฒนาธุรกิจสอดคล้องกับโอกาสใหม่ของสังคมไทยอย่างต่อเนื่องในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ชนิดที่ไม่มีธุรกิจใดในประเทศทำได้

ทั้งนี้ต้องยอมรับความสามารถของผู้นำ - ธนินท์ เจียรวนนท์

ธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกลุ่มซีพี มีประสบการณ์การเรียนรู้ระดับโลก 2 ช่วงที่สำคัญมาก สำหรับวางรากฐานและพัฒนาธุรกิจที่เป็นจริง และเป็นธุรกิจพื้นฐานที่สุดของภูมิภาคนี้และของโลก

ครั้งแรกในช่วงต้นทศวรรษ 2510 คือการเรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตทางการเกษตรที่สำคัญจากตะวันตก โดยเฉพาะการร่วมมือกับ Aber Arcers แห่งสหรัฐฯ ในการพัฒนาพันธุ์ไก่ อันเป็นรากฐานและองค์ประกอบสำคัญของอุตสาหกรรมการผลิตอาหารครบวงจรในช่วงที่ผ่านมา อันเป็นที่มาของโมเดลการผลิตที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพสูง สามารถสร้างเครือข่ายการผลิตที่กว้างขวางจากระดับประเทศ สู่ระดับภูมิภาค

ในช่วง 20 ปีจากนั้น ก็คือการเรียนรู้และพัฒนาการผลิตอย่างเข้มข้นอยู่เสมอจากเจ้าของเทคโนโลยีระดับเล็กและกลางของโลก ด้วยการประยุกต์ที่เข้ากับสังคมเกษตรของไทย และภูมิภาคได้อย่างกลมกลืน จนเป็นการปฏิวัติการผลิตอาหารที่สำคัญในระดับภูมิภาคไป

อีกช่วงหนึ่งที่สำคัญมากคือ ช่วงพัฒนาการเรียนรู้เทคโนโลยีการจัดการ ตั้งแต่การได้มาซึ่งโครงการสร้างระบบโทรศัพท์ 3 ล้านเลขหมาย ในเขตเมืองหลวง ในต้นทศวรรษที่ 2530 ด้วยการร่วมทุนกับ Bell Atlantic แห่งสหรัฐฯ การร่วมมือครั้งนี้ ซีพีไม่ได้เป็นเจ้าของเทคโนโลยี และไม่มีทางจะพัฒนาเป็นเจ้าของเทคโนโลยีการสื่อสารได้ แต่การร่วมทุนครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการมองที่ผลตอบแทนอย่างสูง และรวดเร็วมากกว่าอุตสาหกรรมอาหารแล้วก็คือ ได้เรียนรู้เทคโนโลยีการจัดการกับระบบสื่อสาร ที่มองอย่างมีเเผน แต่ในที่สุดก็ได้พัฒนาการเรียนรู้อย่างถึงแก่นขององค์กรใหญ่ระดับโลก ซึ่งก็คือเทคโนโลยีหรือโนว์ฮาวว่าด้วยการจัดการ ซึ่งถือว่าเป็นเทคโนโลยีขั้นสูงของธุรกิจ เพื่อความอยู่รอด เพื่อการปรับตัวและรักษาความสามารถในการแข่งขันในอนาคต

ซึ่งนับว่าเป็นการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสถานการณ์อย่างมาก

ปัจจุบันกลุ่มซีพี เป็นกลุ่มธุรกิจที่มีเครือข่ายมาก กระจายทั่วไปในระดับภูมิภาค การบริหารยุคนี้ได้ผ่านมาตรฐานการบริหารงาน การผลิต บุคคล และการเงินทั่วๆ ไป แล้วไปสู่การบริหารเครือข่ายอย่างมีประสิทธิภาพ

วันนี้เขามีพันธมิตรระดับโลก ซึ่งเป็นแนวคิดที่แตกต่างจากอดีต ซีพีในวันนี้มีความสัมพันธ์กับ Bell Atlantic ธุรกิจสื่อสารระดับต้นๆ ของโลกจากสหรัฐฯ KfW สถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในเยอรมนี หรือ Allianz บริษัทประกันอันดับต้นๆ ของโลกจาก เยอรมนี การเรียนรู้จากพันธมิตรระดับโลก ซึ่งพวกเขานับว่าอยู่แนวหน้าในความชำนาญด้านการจัดการเชิงยุทธ์ การวางยุทธศาสตร์ และการปรับตัวเชิงยุทธศาสตรเ์พื่อรองรับกับสังคมธุรกิจโลกที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

นี่คือสิ่งที่ธนินท์มีมากกว่านักธุรกิจรุ่นเดียวกับเขาหรือรุ่นต่อๆ มา ที่ให้ความสำคัญในเรื่อง "สายสัมพันธ์" กับอำนาจรัฐแบบเดิมอย่างเข้มข้น แม้ว่าซีพีและธนินท์จะให้ความสำคัญในสิ่งนั้นอยู่ไม่น้อย (โดยให้ความสัมพันธ์กว้างขึ้นในระดับภูมิภาค) แต่เขาก็มีสิ่งที่มากกว่าสิ่งนั้นในเชิงสาระของความเป็นธุรกิจอีกมาก" ข้อความบางตอนจาก 50 ผู้จัดการ ปีที่แล้ว)

อย่างไรก็ตาม ธนินท์ได้พัฒนา "การบริหารสายสัมพันธ์" ในระดับสูงไปอีกขั้นหนึ่ง ซึ่งแตกต่างจาก "สายสัมพันธ์" ในระบบอุปถัมภ์ นั่นคือ การเข้าถึงนโยบายการปรับตัวเข้ากับยุทธศาสตร์ใหม่ของประเทศ

ธนินท์ได้ส่งตัวแทนเข้าไปอยู่ในกระบวนการตัดสินใจเชิงนโยบายของรัฐอย่างต่อเนื่อง กระจายตามจุดต่างๆ ในขณะที่โมเดลการพัฒนาการบริหารประเทศที่ดำเนินอย่างไร้ทิศทาง

แต่กลับค้นคิดโมเดลใหม่ ที่เป็นระบบครั้งแรกซึ่งถือเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญ ธนินท์ เจียรวนนท์ เป็นผู้นำธุรกิจใหญ่คนแรกๆ ที่เข้าถึงและเดินหน้าเข้าสู่กระบวนการสร้างโมเดลนั้นด้วยตนเอง ด้วยการให้ความสำคัญกับยุทธศาสตร์ใหม่ของประเทศ ซึ่งสัมพันธ์กับความสามารถในการแข่งขันในระดับโลก

นี่ถือว่าเป็นความสามารถเชิงผู้นำองค์กรใหญ่ที่สำคัญ และต่อเนื่องที่สุดของสังคมไทยเลยทีเดียว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us