Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2544
จุลกร สิงหโกวินท์ กำลังรับใช้ชาติ             
 


   
search resources

จุลกร สิงหโกวินท์




ชื่อเสียงของเขาในฐานะมือปืนรับจ้าง ก็ดี หรือมืออาชีพทางการเงิน ก็ดี ย่อมมิได้เกิดขึ้นเพียงเพราะโชคช่วย หากย่อมเป็นผลมาจากศักยภาพและฝีมือในการบริหารจัดการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในองค์กรและบริบทสังคมที่เต็มไปด้วยความขัดแย้ง

ความสามารถในการประสานประโยชน์ของจุลกร สิงหโกวินท์ เป็นเรื่องราวที่ประจักษ์ชัดมาเนิ่นนานนับตั้งแต่เขา ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารเอเชีย ในช่วงปลายของปี 2535 แม้กลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่จะมีปัญหาขัดแย้งอย่างมาก ก็ตาม และยังนำพาให้เกิดการเจรจากับ ABN AMRO เพื่อให้สถาบันการเงินจากต่างประเทศรายนี้เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในธนาคารเอเชีย ในเวลาต่อมา

ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจและช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของธนาคารเอเชียที่กำลังเจรจาให้ธนาคารเอบีเอ็น แอมโรเข้าถือหุ้นใหญ่นั้น ชื่อของจุลกร สิงหโกวินท์ ในฐานะกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ธนาคารเอเชียย่อมเป็นจุดโฟกัส ที่ปรากฏอยู่ตามหน้าหนังสือพิมพ์ ทีวีแทบทุกวัน

แต่ทุกวันนี้จุลกรแทบจะไม่ปรากฏต่อ หน้าสื่อมวลชน เนื่องมาจากมีภารกิจงาน "หลวง" มากกว่างานในธนาคารต้นสังกัด

ภาพดังกล่าวเกิดขึ้นชัดเจนหลังจากเขาตัดสินใจรับตำแหน่งประธานสมาคมธนาคารไทย ที่มีหน้าที่คอยประสานงานระหว่างธนาคารพาณิชย์ไทยและรัฐบาล เพราะเขาอยู่ในฐานะ "แม่บ้านแบงก์สัญชาติ ไทย"

และยิ่งจุลกรได้เข้าไปเป็นหนึ่งในคณะกรรมการบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย หรือ TAMC ดูเหมือนว่าเวลาแต่ละวันของเขาหมดไปกับงานราชการ อย่างไรก็ตามเขายังพอมีเวลาเข้าไปในตึกหุ่นยนต์อยู่ดี

จุลกรไม่รู้สึกลำบากใจต่อกระบวน การทำงานภายในธนาคารเอเชีย เนื่องจากการดำเนินธุรกิจได้เข้าที่เข้าทางไปนานแล้ว สอดรับกับจุลกรที่มีผู้ช่วยในแต่ละสายงานคอยดูแลจนเขาแทบไม่ต้องลงมือทำด้วยตนเอง ทุกสิ่งทุกอย่างก็ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง

กรณีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการบริหารความสัมพันธ์ระหว่างจุลกร และทีมงานของเขา เป็นอย่างดีในอีกมิติหนึ่ง ซึ่งตลอดเวลาที่ผ่านมา จุลกรก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้บริหารที่สามารถสร้างความกลมกลืนและ "ความเป็นเพื่อน" ให้เกิดขึ้นในองค์กร โดยไม่ยึดติดกับระบบการบริหารแบบขุนนางมากนัก ภายใต้แนวความคิดว่าด้วย "Knowledge Management" ซึ่งส่งเสริมให้จุลกรมีเวลามากพอที่จะสรุปและตกผลึกความคิด เพื่อการคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น

บทบาทใหม่ๆ ที่จุลกรได้รับทั้งในฐานะประธานสมาคมธนาคารไทย และกรรมการในบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย จึงอาจจะเป็นเวทีที่เปิดให้จุลกรมีโอกาสได้แสดงความสามารถอย่างกว้างขวางอีกครั้ง หลังจากที่กระบวนการจัดทัพในธนาคารเอเชียดูจะเสร็จสิ้นไปแล้ว

จุลกรจบปริญญาตรีเศรษฐศาสตร์จาก London School of Economics และปริญญาโทบริหารธุรกิจจาก Wharton School of Finance

เขาทำงานที่ธนาคารกรุงเทพเป็นเวลา 11 ปี และเข้าร่วมงานกับธนาคารเอเชียใน ปี 2518 และได้รับการโปรโมตเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ในปี 2535

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us