Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2544
ซิลวีโอ แบร์ลูสโกนี ผู้กุมอำนาจเบ็ดเสร็จของอิตาลี             
โดย รุ่งมณี เมฆโสภณ
 


   
search resources

ซิลวีโอ แบร์ลูสโกนี




เขาผู้นี้ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในผู้ที่ร่ำรวยที่สุดในโลก

เมื่อวันที่ 11 มิถุนายนที่ผ่านมา เขาได้ สาบานตนเข้ารับตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี คนใหม่ของอิตาลี หลังจากได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม

ครั้งนี้นับเป็นครั้งที่สองที่เขาขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีอิตาลี

เขาคือ ซิลวีโอ แบร์ลูสโกนี (Silvio Berlusconi)

ความน่าสนใจของแบร์ลูสโกนีไม่ได้อยู่เพียงว่า เขาเป็นนักการเมืองที่ร่ำรวยที่สุด ในอิตาลีเท่านั้น แต่เขายังเป็นเจ้าพ่อสื่อรายใหญ่ในอิตาลี และจากการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครั้งล่าสุดนี้ นอกจากอาณาจักร สื่อส่วนตัวแล้ว เขายังได้กุมอำนาจสื่อของรัฐไว้ในมืออีกด้วย

อำนาจในมือเหล่านี้นี่เองที่ทำให้แบร์ลูสโกนีไม่ธรรมดา!

ภาพลักษณ์ของแบร์ลูสโกนีผู้ที่กุมอำนาจเบ็ดเสร็จของอิตาลีเวลานี้ คือ ชายวัย 64 ปี ที่ประณีตตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า ผู้ประกาศพร้อมที่จะลดภาษี ปราบปรามอาชญากรรม ปฏิรูประบบราชการ และสร้างงานให้กับชาวอิตาลีทั้งมวล

******

ซิลวีโอ แบร์ลูสโกนี เกิดวันที่ 29 กันยายน 2479 ที่นครมิลาน

แบร์ลูสโกนีดูจะมีหัว "เซ็งลี้" มาแต่เล็กแต่น้อย ช่วงวัยรุ่นเขาเคยเป็นเด็กเก็บตั๋ว หน้าโรงละครหุ่น และขณะที่เรียนอยู่ชั้น มัธยมปลาย เขาได้รับจ้างทำการบ้านให้เพื่อนนักเรียนด้วยกัน โดยค่าจ้างจะว่ากันไปตามเนื้องาน คือถ้ารายงานชิ้นไหนได้คะแนนดี เขาก็จะคิดราคาเต็ม แต่ถ้ารายงานชิ้นไหนได้คะแนนไม่ดี แบร์ลูสโกนีก็จะให้บริการฟรี - ไม่คิดเงิน!

ระหว่างเรียนกฎหมายที่ University of Milan แบร์ลูสโกนีหาเงินเรียนจากการขาย เครื่องดูดฝุ่น และรับถ่ายรูปตามงานต่างๆ

แบร์ลูสโกนีจบมหาวิทยาลัยเมื่ออายุ 25 ปี

หลังจากจบมหาวิทยาลัยแล้ว ธนาคาร ที่พ่อของเขาทำงานอยู่ได้เสนองานให้ เขาปฏิเสธงานแต่ขอกู้เงินแทน เพื่อนำไปลงทุนในบริษัทก่อสร้างซึ่งเขาตั้งชื่อว่า Edilnord

Edilnord ซึ่งก่อตั้งในปี 2505 กลายเป็นบริษัทที่ประสบความสำเร็จ ในด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ พอปี 2512 แบร์ลูส โกนีก็ได้ก่อสร้างโครงการ Milano 2 ทางตอนเหนือชานเมืองมิลาน ซึ่งต่อมาเป็นที่พัก อาศัยของคนเรือนหมื่น

แบร์ลูสโกนีสารภาพว่า เขาได้อิทธิพล จากเรื่อง "ยูโทเปีย - Utopia" ของเซอร์ ทอมัส มอร์ (Sir Thomas More) ทำให้แบร์ลูสโกนีฝันที่จะสร้างเมืองที่สมบูรณ์แบบ

จากนั้นไม่นาน เขาก็ได้ก้าวเข้าสู่วงการสื่อ...

ปี 2517 แบร์ลูสโกนีได้ก่อตั้ง Tele-milano เคเบิลทีวีที่ให้บริการกับผู้ที่อาศัยอยู่ในโครงการ Milano 2 และต่อมา ในปี 2521 เขาได้ลงทุนเป็นเงิน 2 ล้าน 5 แสนดอลลาร์สหรัฐ เพื่อแข่งขันกับสถานีโทรทัศน์ของรัฐ (Radiotelevisione Italiana - RAI) ที่เดิมทีรัฐเคยผูกขาดแต่ผู้เดียว โดยเริ่มจากระดับท้องถิ่น กระทั่งในปี 2523 มีการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับสื่อ แบร์ลูสโกนีจึงได้ตั้งสถานีโทรทัศน์ ช่อง 5 (Canale 5) ซึ่งสามารถรับชมได้ทั่วอิตาลี ช่องนี้มีทั้งรายการเกมโชว์ของอิตาลีและภาพยนตร์โทรทัศน์ชุดใหม่ จากสหรัฐ อเมริกา ที่ไม่เคยฉายในอิตาลีมาก่อน อย่างเช่น Dallas

หลังจากนั้น แบร์ลูสโกนีก็ขยับเข้าไป ทำธุรกิจโฆษณาสื่อโทรทัศน์ ในเวลาไม่นาน Publitalia 80 บริษัทโฆษณาของเขาก็ได้กลายเป็นบริษัทโฆษณาที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป ทำรายได้ถึง 2 พัน 5 ร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี

ช่วงนั้นเอง Fininvest ซึ่งเป็น Holding Company ของเขาที่ตั้งขึ้นในปี 2518 ได้ซื้อกิจการสถานีโทรทัศน์เอกชนอีก 2 แห่ง คือ Rete 4 และ Italia Uno

จุดนี้เองที่ทำให้โทรทัศน์อิตาลีซึ่งเคยผูกขาดโดยรัฐเพียงรายเดียว กลายมาถูกผูก ขาดโดยสองราย (duopoly) คือโดยรัฐและ โดยแบร์ลูสโกนี!

แบร์ลูสโกนีไม่ได้หยุดอยู่แค่สื่อโทรทัศน์ ต่อมาเขาได้ขยายอาณาจักรของเขาไปยังธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ ซึ่งสำนักพิมพ์ที่ใหญ่ ที่สุดของเขาคือ Mandadori สิ่งพิมพ์ที่เป็น "ธง" ของเขาคือ Il Giornale

ไม่เพียงแต่เท่านั้น แบร์ลูสโกนียังได้ซื้อทีมฟุตบอล A.C. Milan

ปัจจุบัน เขาก็ยังดำรงตำแหน่งประธานของ A.C. Milan

อาณาจักรธุรกิจที่ขยายตัวไปอย่างกว้างขวางของแบร์ลูสโกนีนี้เอง ทำให้ดูประหนึ่งว่าธุรกิจต่างๆ ของเขาได้แทรกซึมไปสู่วิถีชีวิตของคนอิตาลี จนมีการบัญญัติศัพท์ใหม่ขึ้นมาล้อเลียนว่า "ลัทธิแบร์ลูสโกนี- Berlusconism"

เป็นที่ทราบกันดีว่า ผู้ที่มีบทบาทสำคัญเกื้อกูลให้แบร์ลูสโกนีสามารถสร้างอาณาจักรสื่อได้สำเร็จก็คือ อดีตนายกรัฐมน ตรี เบตตีโน กราซี (Bettino Craxi) ซึ่งแบร์ลูสโกนีรู้จักมักคุ้นมาตั้งแต่สมัยเรียนมหาวิทยาลัย

แบร์ลูสโกนีเองไม่เคยปิดบังความสัมพันธ์ระหว่างเขากับกราซี ลูกชายของกราซี เองก็มีตำแหน่งอยู่ในบอร์ดของ A.C. Milan ขณะที่เบตตีโนและแอนนา กราซีก็รับเป็นพ่อแม่อุปถัมภ์ให้กับลูกของแบร์ลูสโกนีทั้งสองคน

ล่าสุด เมื่อเดือนที่แล้ว นิตยสาร Forbes จัดให้แบร์ลูสโกนี รวยเป็นอันดับที่ 29 ของโลก มีทรัพย์สิน 1 หมื่น 3 ร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ กว่า 4 แสน 6 หมื่น 3 พันล้านบาท

ถึงแม้ชาวอิตาลีส่วนใหญ่จะชื่นชมความสามารถทางธุรกิจของแบร์ลูสโกนี แต่ก็มีคนส่วนหนึ่งตั้งคำถามว่าทำไมเขาถึงร่ำรวยรวดเร็วนัก!!

ในเรื่องนี้ แบร์ลูสโกนีตอบว่า การดำเนินธุรกิจของเขาตลอดมานั้นโปร่งใส ไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โทรทัศน์ หรือว่าฟุตบอล...

ความสำเร็จเหล่านี้ล้วนได้มาด้วยเลือดเนื้อ หยาดเหงื่อและน้ำตา!

แบร์ลูสโกนีเข้าสู่แวดวงการเมืองอิตาลีท่ามกลางความปั่นป่วนทางการเมือง... ปี 2536 เขาได้ตั้งพรรค Forza Italia ซึ่งมาจากเสียงเชียร์ฟุตบอล ที่ตรงกับภาษาอังกฤษ ว่า "Go Italy" แบร์ลูสโกนีใช้เครื่องมือทุกอย่างที่เขามี ไม่ว่าจะเป็นบริษัทโฆษณาหรือ สื่อ จนได้รับชัยชนะ เป็นนายกรัฐมนตรีหลังการเลือกตั้งในเดือนมีนาคม 2537 แต่แล้วก็ไม่สามารถรักษาอำนาจไว้ได้เขาเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่เพียง 7 เดือนเท่านั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเลือกพันธมิตรทางการเมืองผิด และอีกส่วนหนึ่งเนื่องจากธุรกิจของเขาไปพัวพันกับการคอร์รัปชัน

อย่างไรก็ตาม ครั้งนั้นเขาก็ได้รับบทเรียนทางการเมืองอย่างมาก ซึ่งนักวิเคราะห์มองว่าส่วนใหญ่มาจากความผิดพลาดของตัวเขาเอง

แบร์ลูสโกนีเป็นคนใฝ่รู้...

รอกโก บุตตีกลีโอเน (Rocco Butti- glione) ศาสตราจารย์ด้านปรัชญาและผู้นำ Christian Democratic Union ได้พูดถึงการพบกันครั้งแรกระหว่างเขากับแบร์ลูสโกนี ในปี 2521 ซึ่งตอนนั้น แบร์ลูสโกนีเพิ่งจะเข้าสู่วงการโทรทัศน์และคิดว่าจะต้องเรียนรู้เพิ่ม ขึ้นเกี่ยวกับสังคมและการเมืองอิตาลี บุตตีกลีโอเนต้องแปลกใจเมื่อแบร์ลูสโกนี ขอร้องให้เขาช่วยสอนเกี่ยวกับประชาธิปไตยและการปกครองให้

ความใฝ่รู้คือตัวตนที่แท้จริงของแบร์ลูสโกนี!

คำถามที่เกิดขึ้นเวลานี้สำหรับนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของอิตาลี เห็นจะเป็นเรื่องที่เขากุมอำนาจในอิตาลีไว้อย่างเบ็ดเสร็จ ไม่ว่าจะเป็นอำนาจทางการเมือง อำนาจทาง เศรษฐกิจ หรือว่าอำนาจสื่อ อย่างไรก็ตาม นี่เป็นคำถามที่ซิลวีโอ แบร์ลูสโกนีไม่ต้องการ ที่จะตอบ

แบร์ลูสโกนีอ้างว่า เขาได้ลาออกจาก การเป็น CEO ของ Fininvest ตั้งแต่เมื่อปี 2537 แต่กระนั้น เขาก็ยังเป็นเจ้าของอยู่ เขาเคยพูด ว่า ศัตรูพยายามทำลายบริษัทของเขาด้วยการสร้างแรงกดดันต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแรงกดดันทางศาล ทางด้านภาษี หรือทางด้านการเมือง ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่ แท้จริงสำหรับเขาก็คือ การบิดเบือนและการ หักหลังทางการเมือง แบร์ลูสโกนีเชื่อว่า พวก ที่เคลื่อนไหวโจมตีอาณาจักรธุรกิจของเขานั้น ต้องการที่มีอิทธิพลต่อเขาทางการเมือง

จูลีอาโน แฟร์รารา (Giuliano Ferrara) อดีตที่ปรึกษาส่วนตัวของแบร์ลูสโกนีบอกว่า นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของอิตาลีแสวงหาอำนาจ แต่ไม่ได้คิดถึงประโยชน์ของตัวเอง เป็นเพียงแค่ความต้องการส่วนตัว แรงจูงใจที่แท้จริงของแบร์ลูสโกนีคือ ต้องการความรัก!

แต่ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด...

วันนี้ซิลวีโอ แบร์ลูสโกนีกลายเป็นนักการเมืองอาชีพแบบเต็มตัว

ปีแอร์แฟร์ดีนันโด กาซีนี (Pierferdi-nando Casini) ผู้นำ Christian Democratic Center ซึ่งเป็นพันธมิตรคนหนึ่งของแบร์ลูส โกนีเชื่อว่า แบร์ลูสโกนีจะไม่ผิดพลาดซ้ำรอย เดิมอีก เพราะในที่สุด เขาก็เข้าใจแล้วว่า การบริหารประเทศแตกต่างจากการบริหารบริษัทขนาดใหญ่ กาซีนีกล่าวด้วยว่า ตอนที่ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีครั้งแรก แบร์ลูสโกนีไม่อดทนต่อความซับซ้อนของการมีชีวิตสาธารณะ แต่มาถึงเวลานี้ เขาเรียนรู้แล้วว่า คนเราไม่สามารถตัดทุกปมทิ้งด้วยดาบได้!

มาลุ้นกันสิคะว่า คราวนี้แบร์ลูส โกนีจะไปได้สักกี่น้ำ!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us