Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2544
NEW INVASION             
โดย วิรัตน์ แสงทองคำ
 





ร้านค้าริมถนนหลักของเมืองหลวงและเมืองใหญ่ ที่แวดล้อมด้วยชุมชน กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรากฐานครั้งใหญ่ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ต่อเนื่องและรุนแรง ด้วยโมเมนตั้ม

นั่นคือการขยายตัวอย่างบ้าคลั่งของร้านค้าที่มีลักษณะเครือข่าย มาแทนที่เจ้าของกิจการขนาดเล็ก 1 คูหา หรือขนาด กลาง 2-3 คูหา มันเป็นสถานการณ์ เกิดท่ามกลางความพยายาม ส่งเสริมผู้ประกอบการรายเล็กและรายกลาง ภายใต้แผนการของ รัฐในการอัดฉีดเงินลงสู่ชุมชนและท้องถิ่น ครั้งใหญ่ที่ไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน

ท้ายที่สุดเงินเหล่านั้นจำนวนไม่น้อยอาจจะกลับมาที่ร้านสะดวกซื้อของเครือข่ายธุรกิจขนาดใหญ่ โดยเฉพาะธุรกิจ ระดับโลก

จากนี้ไปชุมชนชั้นรองๆ จะเกิดปรากฏการณ์ความคึกคักอย่างไม่เคยมีมาก่อน ด้วยความเคลื่อนไหวทางยุทธศาสตร์ 2 มิติ

มิติแรก รัฐบาลชุดปัจจุบัน ตามแผนการคิดระดับโครง สร้าง ด้วยการจัดการสมัยใหม่ มีส่วนสร้างพลังการเปลี่ยนแปลง อย่างสำคัญในชุมชนด้วยการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบชุมชนอย่างจริงจังและตรงไปตรงมาครั้งใหญ่ ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม

เป้าหมายก็คือ กระตุ้นให้ชุมชนพึ่งตนเอง สร้างผลผลิต ของตนเองที่มีบุคลิก ซึ่งเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เป็นลูกโซ่ที่มี พลังต่อเนื่องมาก (รายละเอียดเกี่ยวกับนโยบายรักษาพยาบาล 30 บาท กองทุนหมู่บ้าน โครงการหนึ่งสินค้า หนึ่งตำบล และธนาคารประชาชน ฯลฯ ไม่จำเป็นต้องขยายความในที่นี้)

แผนการดังกล่าวจะต้องพัฒนาความคิด การจัดการ และ แก้ไขความผิดพลาดทั้งหลาย ใช้เวลาไม่น้อยทีเดียว ในการสร้าง ชุมชนให้เข้มแข็งขึ้น และกลายเป็นแหล่งบริโภคสินค้าแหล่งใหญ่ ที่สุด และต่อเนื่องมั่นคง

ผมก็มีความเชื่อมั่นผลสัมฤทธิ์ของแผนการนี้ในระยะปานกลาง

อีกมิติหนึ่งของความเคลื่อนไหวธุรกิจค้าปลีก ที่เปิดฉาก แข่งขันอย่างดุเดือดในปริมณฑลเมืองใหญ่ ภายใต้คู่แข่งขันจาก ต่างชาติที่มีเทคโนโลยี การจัดการที่ดี และแหล่งเงินทุนราคาถูก (อาทิ MAKRO และ TESCO เจ้าของธุรกิจซูเปอร์สโตร์ขนาดใหญ่ ของต่างชาติ ยึดครองตลาดนี้ไว้อย่างสิ้นเชิง) ธุรกิจเหล่านี้กำลัง มีแนวทางการขยายตัวที่ชัดเจน 2 ประการที่น่าสนใจ

หนึ่ง - ขยายเครือข่ายร้านค้าไปยังชุมชนบริวารมากขึ้นๆ สอง - ลดขนาดพื้นที่ของ outlet ให้เล็กลงให้เหมาะกับตลาด และเข้าถึงตลาดอย่างละเอียดมากขึ้น

7-Eleven โมเดลร้านสะดวกซื้อของญี่ปุ่นในเครือข่ายของ ซีพี ซึ่งประธานบริษัทสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลชุดนี้อย่างเข้มข้นที่สุด ชนิดที่เขาไม่เคยสนับสนุนรัฐบาลไหน เช่นนี้มาก่อน กำลังขยายตัวอย่างไม่หยุด ใช้เวลา เพียง 10 ปี โดยภายในสิ้นปีนี้จะมี 7-Eleven ทั่ว ประเทศถึง 1,700 แห่ง และจะเพิ่มเป็น 3,000 แห่ง ในอีก 7 ปีข้างหน้า ซึ่งเชื่อกันว่าแทรกตัวเข้าระดับ ตำบลแล้ว

BOOTS ร้านสุขภาพและความงาม แห่งอังกฤษใช้เวลาเพียง 4 ปี สามารถขยายสาขาในเมืองหลวงและเมืองใหญ่ไปแล้วประมาณ 70 แห่ง เชื่อกันว่าจะเพิ่มสาขาต่อเนื่องเป็นดาวบริวารต่อไป เมื่อไม่นานมานี้ ก็ประกาศจะลดขนาดพื้นที่ร้านให้เล็กลง ตอบสนองกับการขยาย พื้นที่ง่าย เร็ว และเข้าถึงชุมชนมากขึ้น

การเคลื่อนไหวของเซ็นทรัล นอกจากจะน่าติดตามในฐานะห้างเก่าแก่ของคนไทยแล้ว ยังเป็นภาพสะท้อนของการปรับตัวของธุรกิจค้าปลีกของไทยด้วย เซ็นทรัล ชะลอตัวในการขยาย ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ในเมืองหลวง โดยเริ่มปักหลักในต่างจังหวัดมากขึ้น พร้อมๆ กับการซอยย่อยเป็นร้านค้าสินค้าเฉพาะประเภท และเป็นร้านค้าขนาดเล็กลงมา เพื่อแทรกตัวตามศูนย์การค้าก่อน จากนั้นก็จะขยายตัวกว้างขึ้นๆ ร้านค้าเฉพาะอย่าง อาทิ POWER BUY (เครื่องไฟฟ้า) SUPER SPORT (อุปกรณ์กีฬา) JUST25 (สินค้าราคาถูก) RED DOT (เสื้อผ้า) B2S (หนังสือเครื่องเขียน เทป วิดีโอ) Homework (สินค้าตกแต่งบ้าน)

TOPS ร้านขายสินค้าอาหารของดัตช์ ซึ่งร่วมทุนกับ เซ็นทรัล ก็กำลังขยายตัวจากศูนย์การค้า เข้าสู่ปั๊มน้ำมันของ CONOCO ภายใต้ชื่อ Jiff kitchen by Tops อีก 120 แห่งทั่วประเทศ

ทั้งนี้ยังไม่รวมเชนต่างประเทศที่เป็นร้านค้าเล็กๆ ซึ่งลงยึดทำเลตึกแถวไปแล้ว จำนวนไม่น้อย เช่น SHOWTIME, BOCKLUSTER ฯลฯ ซึ่งตึกแถวริมถนนในเมืองหลวงเริ่มเปลี่ยน แปลงมากแล้ว โดยเฉพาะถนนที่มีอาคารสำนักงานจำนวนมาก ร้านค้ารูปแบบที่เราเคยเห็นมานั้น กำลังจะเป็นร้านค้าสำหรับชีวิตคนทันสมัยมากขึ้น โดยเป็นร้านที่มี brandname ระดับโลก มาแทน เช่นเดียวกับถนนหลักในเมืองใหญ่ของโลก

สิ่งที่เกิดขึ้นและกำลังจะเกิดขึ้นขยายวงออกไปอย่างกว้างขวางก็คือ

‘ ผู้ประกอบการร้านโชว์ห่วย ร้านฮาร์ด แวร์ ร้านเช่าวิดีโอ หรืออื่นๆ ของผู้ประกอบการ รายย่อยที่หลากหลายจำนวนมากของคนไทยได้ล่มสลาย และกำลังล่มสลายเป็นลูกระนาด

‘ คนไทย ตั้งแต่ระดับกลาง และกำลัง ไล่ลงสู่ระดับชุมชน รวมทั้งชุมชนที่กำลังถูกผลักดัน ให้มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างจริงจัง มากขึ้นด้วย ชุมชนเหล่านี้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตไปสู่ความทันสมัยมากขึ้น เข้าสู่ Modern Trade เป็นลูกค้ากลุ่มใหญ่ กลุ่มใหม่ของธุรกิจขนาดใหญ่ ซึ่งไม่น่าแปลกใจว่าธุรกิจค้าปลีก เป็นธุรกิจเดียวที่ยอดขายเติบโตต่อเนื่องในช่วงวิกฤติการณ์ที่ผ่านมา เป็นแรงเหวี่ยงที่รุนแรงมาก

คำถามมีว่า พลังชุมชนที่กำลังจะต่อสู้เพื่อความอยู่รอด พึ่งตนเอง และสร้างความเข้มแข็งขึ้นตามยุทธศาสตร์ใหม่ของประเทศนั้น จะมีปฏิสัมพันธ์ (ทั้งต่อสู้ และร่วมมือ) อย่างเหมาะสมอย่างไร กับ NEW INVASION นี้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us