Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2544
จากบริษัทเกิดใหม่ ไปสู่องค์กรธุรกิจแบบสากลบทบาทของ Venture Capital             
โดย สมศักดิ์ ดำรงสุนทรชัย
 


   
www resources

www.gsb.stanford.edu

   
search resources

Venture Capital




ปัจจัยมากมายได้เป็นตัวกำหนดและมีบทบาทในการขับเคลื่อน ผู้ประกอบการหน้าใหม่ให้ผันตัวเองไปสู่บริษัทที่มีการจัดการ แบบสากล แต่กระบวนการที่นำไปสู่ความเป็นมืออาชีพเกิดขึ้นได้อย่างไรนั้น ยังเป็นสิ่งที่น้อยคนนักจะสามารถเข้าใจอย่างถ่องแท้

บริษัทชั้นนำของโลกในยุคปัจจุบันไม่ ว่าจะเป็น Cisco, Intel หรือ Yahoo ต่างผ่านกระบวนการบ่มเพาะโดย venture capital โดยระดับการพัฒนาจากบริษัทหน้าใหม่ไปสู่การเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ ที่มีโครงสร้างภายในองค์กรซับซ้อนเหล่านี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะที่เม็ดเงินจำนวนมากที่บริษัทเหล่านี้สร้าง ให้เกิดขึ้นในช่วงเศรษฐกิจขยายตัวก็ไหลกลับไปสู่ venture capital ด้วยเช่นกัน

คำถามว่าด้วยบทบาทของ venture capital คืออะไร ซึ่งนับเป็นสิ่งใหม่ในแวดวงการศึกษาด้านธุรกิจ เป็นสิ่งที่รอคอยคำตอบมาเนิ่นนาน ทั้งนี้ก็เพื่อความกระจ่างในการเข้าใจผลกระทบและอิทธิพลของ venture capital ที่นับวันดูจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับแวดวงธุรกิจมากขึ้นทุกที

Thomas Hellmann และ Manju Puri อาจารย์ประจำ บัณฑิตวิทยาลัยบริหารธุรกิจ แห่งมหาวิทยาลัย Stanford ได้ทำการวิจัยศึกษา บทบาทและอิทธิพลที่ venture capital มีต่อบริษัทที่ก่อตั้งใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเกี่ยวเนื่องระหว่างเงินลงทุนต่อการจัดการองค์กรภายใน รวมถึงการจัดรูปแบบภายในคณะผู้บริหาร

ในรายงานผลการวิจัยชื่อ "Venture Capital and the Professionalization of Start-up Firms" พวกเขาพยายามหาคำตอบเกี่ยวกับบทบาทของ venture capital โดยการศึกษาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจริงในโลกธุรกิจปัจจุบัน

ประเด็นเหล่านี้มีความน่าสนใจก็เพราะ ในอดีตนั้น สถาบันการเงินหรือผู้ลงทุนซึ่งเป็นเจ้าของเม็ดเงินนั้น จะให้ความสนใจต่อพฤติ-กรรมทางการเงินในฐานะที่เป็นดัชนีบ่งชี้ความ สามารถของบริษัท โดยไม่คำนึงถึงการพัฒนา ทรัพยากรบุคคลมากนัก

แต่ในรายงานของ Puri ชี้ว่า "ผู้คนใน Silicon Valley คิดว่าการเข้ามามีส่วนร่วมของ venture capital แตกต่างไปจากรูปแบบการลงทุนดั้งเดิม เพราะพวกเขาเข้ามามีส่วนสนับ สนุนมากกว่าปัจจัยทางการเงิน" กระนั้นก็ดี Puri ซึ่งดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ด้านการเงิน ยังไม่สามารถหาหลักฐานที่เป็นระบบ มาอธิบายได้ว่าบทบาทที่กล่าวถึงนี้คือสิ่งใด

ในการวิจัยครั้งนี้ Hellmann และ Puri เริ่มด้วยการสำรวจว่า ใครคือผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่ง CEO ในบริษัทเกิดใหม่เหล่านี้ ระหว่างผู้ก่อตั้งบริษัท หรือผู้บริหารมืออาชีพที่ได้รับการว่าจ้างมาจากแหล่งอื่น ซึ่งจากจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่พวกเขาทำการศึกษาพบว่า เมื่อบริษัทรับเงินลงทุนจาก venture แล้ว ผู้ก่อตั้งบริษัทมีแนวโน้มที่จะถูกปลดออกจากตำแหน่งบริหาร ในเวลาอันรวดเร็วกว่าบริษัททั่วไป โดยตำแหน่งบริหารนี้จะถูกแทนที่ด้วยมืออาชีพที่เจ้าของเงินลงทุนมั่นใจมากกว่า

การวิจัยยังชี้ให้เห็นด้วยว่า บริษัทซึ่งมี venture capital ให้การสนับสนุนมีแนวโน้มที่จะจ้างงานในตำแหน่งรองประธานบริหารดูแล เรื่องการขายและการตลาด รวดเร็วกว่าบริษัท ตั้งใหม่โดยทั่วไป เพราะตำแหน่งดังกล่าวมีฐานะสำคัญในการขับเคลื่อนกระบวนการพาณิชยกรรมให้เกิดขึ้น ซึ่งจะเป็นการก่อให้เกิดรายได้ขึ้นในบริษัท

Hellmann และ Puri พยายามที่จะศึกษา รูปแบบและพฤติกรรมของ venture capital ว่า เป็นไปในลักษณะที่ปรับเปลี่ยนไปตามสถานะของบริษัทเกิดใหม่หรือไม่อย่างไร ซึ่งพบว่า หากเป็นบริษัทเกิดใหม่ที่ยังไม่มีสัญญาณแห่งความสำเร็จใดๆ ในระยะใกล้แล้ว venture capital มีบทบาทอย่างสำคัญในการสรรหาและชักชวนบุคคลให้มาดำรงตำแหน่ง CEO แต่เมื่อบริษัทเริ่มมีผลิตภัณฑ์ ความสำคัญของ venture capital ในส่วนนี้จะลดลง กระทั่งเกือบ จะไม่มีความสำคัญอีกเลย เมื่อบริษัทได้เปลี่ยน ไปสู่การเป็นบริษัทมหาชน

ด้วยเหตุที่ข้อมูลเกี่ยวกับ venture capital มีอยู่อย่างจำกัด แหล่งข้อมูลที่ Hell-mann และ Puri ใช้ในการศึกษาครั้งนี้จำนวนหนึ่งจึงเป็นฐานข้อมูลที่ Stanford Project on Emerging Companies : SPEC ได้พัฒนาขึ้นมาในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา

Hellmann ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ด้านการบริหารเชิงกลยุทธ์ ซึ่งร่วมทำการวิจัยระบุว่า "ข้อได้เปรียบจากการใช้ฐานข้อมูลเหล่านี้อยู่ที่ โอกาสที่เราจะได้พิจารณาบทบาทของ venture capital ในมิติที่กว้างขวาง จากกลุ่มตัวอย่างที่มีมากกว่า 173 แห่งใน Silicon Valley รวมถึงประวัติทางการเงินของบริษัทเหล่านี้ ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากในการทำความเข้าใจปรากฏการณ์ต่างๆ"

ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยในครั้งนี้ จะพัฒนาเป็นส่วนหนึ่งของหนังสือวิชาการที่เรียก ขานกันในแวดวงว่า "the theory of the firm" ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ Hellmann และ Puri ได้รับทุนจาก National Science Foundation ให้ทำการศึกษาวิจัยอีก 2 กรณี โดยจะศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบจาก venture capital และการศึกษาความแตกต่างระหว่างบริษัทที่มีธนาคารเป็นผู้ให้การสนับสนุนกับบริษัทที่มี venture capital อิสระหนุนหลังด้วย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us