Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2544
"บัตรเครติต" อันตรายของหนุ่มสาว             
โดย ฐิติเมธ โภคชัย
 


   
search resources

Credit Card




ครั้งหนึ่งบัตรเครดิตเคยถูกโปรโมตว่า เป็นดั่งเสรีภาพแห่งการจับจ่ายใช้สอยอันไร้ขีดจำกัด กำลังเป็นตัวการสำคัญในการเพาะบ่มนิสัย การบริโภคเกินตัว และตัดโอกาสในการเก็บออม ทำให้หนุ่มสาวต้องยอมสร้างหนี้ใหม่เพื่อหมุนคืนหนี้เก่า

ภัยอันตรายที่เกิดจากการเป็นหนี้ แบบนี้จะมีมากน้อยแค่ไหน พิจารณาได้จาก กรณีหนุ่มสาวสหรัฐฯ ที่ครั้งหนึ่งยอมปล่อยตัว ปล่อยใจใช้จ่ายแบบไม่ยั้งคิด ก่อนที่จะตระ- หนักได้เองในที่สุดว่าหนี้สินที่มีอยู่พอกพูนเกิน กว่าจะบริหารจัดการได้หมด จึงต้องหาทาง ออกด้วยวิธีง่ายๆ โดยการยื่นขอเป็นบุคคล ล้มละลายต่อศาล

เคที สปิแวก นักศึกษาวิชาเอกจิตวิทยา จากมหาวิทยาลัยอิโมรี่ ในเมืองแอตแลนตา ไม่เคยลืมประสบการณ์ครั้งแรกในการสมัคร เป็นสมาชิกผู้ถือบัตรเครดิต ขณะที่เธอที่ยังเป็น แค่นักศึกษาปีหนึ่งเมื่อฤดูใบไม้ร่วงของปี 1997

"ฉันคิดว่า ได้เงินฟรีๆ มาตั้ง 500 เหรียญ" จากเดิมที่เคยมีบัตรเครดิตอยู่เพียง หนึ่งใบ และจำนวนบัตรเพิ่มขึ้นรวดเร็วจนกลายเป็น 14 ใบ ภายใน 3 ปี แถมมีหนี้เพิ่มขึ้น 9,000 เหรียญสหรัฐ ด้วยเหตุเพราะใช้บัตรซื้อของทุกอย่าง นับจากพิซซ่าจนถึงเสื้อผ้า

"ฉันรูดเงินจากบัตรเครดิตไป 3,000 เหรียญในระหว่างที่เดินทางไปอิตาลี เมื่อฤดูร้อนที่แล้ว" และตอนนี้นักศึกษาสาวซีเนียร์วัย 22 ปีรายนี้ มีหนี้สินติดค้าง 7,500 เหรียญสหรัฐ แถมยังทำงานพาร์ตไทม์ 2 แห่ง เพื่อหา เงินผ่อนชำระหนี้สินเหล่านี้

สปิแวกเป็นหนึ่งในหมู่นักศึกษาจำนวน นับหมื่นๆ ราย ที่ท่วมท้นไปด้วยปัญหาหนี้สิน บัตรเครดิตซึ่งพองตัวใหญ่โตยังกับลูกบอลลูน และมีนักศึกษาอยู่จำนวนมากจนน่าตกใจ ที่กำลังอยู่ระหว่างยื่นขอเป็นบุคคลล้มละลาย ทางการเงิน เพื่อตัดภาระการผ่อนจ่ายหนี้สิน ซึ่งมีอยู่มากมายจนเกินความสามารถที่จะจ่าย คืนได้

"การล้มละลายของเด็กหนุ่มสาว จำนวนมาก ถือเป็นประสบการณ์ครั้งสำคัญ ก่อนที่คนเหล่านี้จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่" อลิสซา เบท วอร์เรน ศาสตราจารย์วิชากฎหมาย จาก มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ซึ่งเป็นผู้เผยผลศึกษาแนวโน้มแบบนี้มาตั้งแต่ปีที่แล้ว กล่าว

ส่วนปัจจุบันความรุนแรงของปัญหา หนี้สินล้นพ้นตัวในหมู่เด็กวัยรุ่นและนักศึกษา มีอยู่มากมายแค่ไหน สามารถพิจารณาได้จาก ข้อมูลผลศึกษาของวอร์เรน ซึ่งระบุว่า มีเด็ก วัยรุ่นและนักศึกษาในวิทยาลัยที่มีอายุ 25 ปี และที่มีอายุต่ำกว่านั้น ได้ยื่นขอเป็นบุคคล ล้มละลายเพิ่มขึ้น 51% ในช่วงศตวรรษ 1990 ซึ่งเป็นตัวเลขที่โดดจาก 60,180 รายเมื่อปี 1991 มาเป็น 118,000 รายในปี 1999 และสัดส่วน การยื่นขอล้มละลายของเด็กหนุ่มสาวเหล่านี้ คิดเป็น 7% จากคดีฟ้องร้องล้มละลายทั้งหมด ในสหรัฐฯ

ปัญหาของเรื่องนี้สมควรจะต้องโทษ ไปที่บรรดาบริษัทผู้ออกบัตรเครดิต ซึ่งโหม บุกตลาดและปล่อยให้บัตรเครดิตไหลท่วม ผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเด็กวัยรุ่น และนักศึกษา ซึ่งยังไม่มีวุฒิภาวะมากพอจะควบคุมการใช้ จ่ายของตัวเอง

ในผลศึกษาล่าสุดที่เกี่ยวกับลูกหนี้ที่มีสถานะเป็นนักศึกษาของ เนลลี เมย์ ซึ่งเป็น ยักษ์ใหญ่ที่ปล่อยกู้ในมหาวิทยาลัย พบว่า ลูก หนี้ที่เป็นนักศึกษาซึ่งถือบัตรเครดิต 4 ใบ หรือ มากกว่านั้น จะมีอยู่ 32% ในปี 2000 หนี้สิน เฉลี่ยต่อหัวของนักศึกษาจากการใช้บัตรเครดิต ตั้งแต่ปี 1998 โดดขึ้นสู่ 46% โดยเป็นหนี้สิน เฉลี่ยต่อหัว 2,748 ดอลลาร์ และเกือบ 1 ใน 10 มีหนี้เฉลี่ยต่อหัวเกินกว่า 7,000 เหรียญสหรัฐ

เหตุผลที่นักศึกษาเป็นหนี้สินบัตร เครดิตเพิ่มขึ้นมากมายเช่นนี้ เป็นเพราะว่านับ แต่กลางทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา ตลาดผู้บริโภคกลุ่มผู้ใหญ่อิ่มตัวเต็มที่แล้ว บริษัท บัตรเครดิตจึงต้องขยายเป้าหมายการทำธุรกิจ ไปยังกลุ่มนักศึกษา แม้คนเหล่านี้จะยังไม่มี งานประจำ มีเพียงรายได้ที่ใช้หมดไปวันๆ และยังไม่เคยเป็นหนี้มาก่อน

พวกบริษัทบัตรเครดิตยังคิดเข้าข้าง ตัวเองว่า นักศึกษาเป็นลูกค้าที่พวกเขาสามารถ ดึงเข้าร่วมเป็นสมาชิกบัตรเครดิตได้ไม่ยาก ด้วยการใช้ของกระจอกๆ ราคาถูกเป็นสิ่งล่อ ใจ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อยืดทีเชิ้ต เหยือกกาแฟ ตั๋วคอนเสิร์ต และตั๋วเครื่องบินไป-กลับ

แต่สิ่งที่ดีเยี่ยมยิ่งกว่านั้นคือ บริษัท สามารถฟันกำไรอัตราดอกเบี้ย เพราะมีแนว โน้มว่า นักศึกษาจะกู้ยืมสูงขึ้นจนเกือบเต็มวง เงิน แต่จะชำระเฉพาะค่าธรรมเนียมรายเดือน

"พวกแบงก์กำลังมองหาผู้กู้ยืมที่ยอม จ่ายแพงแบบไม่อั้น" วอร์เรนกล่าว

แต่บริษัทบัตรเครดิตเถียงคอเป็นเอ็นว่า การเสนอบัตรให้ลูกค้าผู้ใหญ่ในกลุ่มวัยรุ่น ไม่ใช่จะเป็นเพียงธุรกิจที่ดีอันหนึ่งเท่านั้น แต่ ยังดีสำหรับเด็กๆ อีกด้วย "ความจริงสมาชิก อุตสาหกรรมบัตรเครดิตหลายราย จะเกี่ยว ข้องกับการให้ความรู้เด็กๆ ในเรื่องการบริหาร จัดการเงินๆ ทองๆ" เคเธอริน กัมมิงส์ รอง ประธานด้านกิจการลูกค้า จากมาสเตอร์การ์ด อินเตอร์เนชั่นแนล อิงค์กล่าว แถมอ้างด้วยว่า โครงการนำร่องอุตสาหกรรมเงินกู้เริ่มต้นเมื่อ ปีก่อนใน 15 มหาวิทยาลัย ได้ว่าจ้างนักศึกษา ให้ความรู้ในเรื่องการบริหารจัดการทางการเงิน แก่เพื่อนๆ ของพวกตัวด้วย

ด้านมหาวิทยาลัยต่างๆ ผู้บริหาร สถานศึกษาหลายราย ยอมรับว่ามหาวิทยาลัย ของพวกเขาสอนวิชาเศรษฐกิจในบ้านตัวเอง แก่นักศึกษา ชนิดที่เรียกว่าไม่เอาไหนทีเดียว

"เราบอกนักศึกษาหญิงแต่เพียงว่า "อย่าเป็นหนี้เป็นสิน" แต่ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับ ภัยอันตรายของการเป็นหนี้เลย" วีวิส แมนเดล คณบดีของคณะการบริหารจัดการโรงเรียน จากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐนิวยอร์ก ที่บัฟเฟลโล ยูนิเวอร์ซิตี้กล่าว

แมนเดลยอมรับด้วยว่า ผู้บริหารมหา วิทยาลัยต่างมีส่วนในการเปิดทางสะดวกให้บริษัทบัตรเครดิตเข้าเจาะตลาดนักศึกษาภาย ในมหาวิทยาลัย เพราะบริษัทบัตรเครดิต จะสนับสนุนการทำกิจกรรมให้แก่มหาวิทยาลัยอยู่ เสมอ เช่น กรณี ซิตี้การ์ด เอ็มบีเอ็นเอ คอร์ป ซึ่งเป็นบริษัทบัตรเครดิตที่ให้เงินทุนแก่โครงการ ที่ปรึกษาศิษย์เก่าที่ยูนิเวอร์ซิตี้ ออฟ ออตตาวา

เด็กไทยต้องตายเดี่ยว

ไม่ว่าจะเป็นคนหนุ่มสาวสหรัฐฯ หรือ ที่ไหนในโลก ต่างเป็นเพียงผู้อยู่ในวัยที่มีความ คิดง่ายๆ ว่า แม้ตัวเองจะมีรายได้จากการมีงานทำเพียงน้อยนิด แต่มั่นใจว่าจะมีความสามารถมากพอในการจ่ายหนี้สินที่เกิดจากการใช้จ่ายผ่านวงเงินบัตรเครดิตที่ได้รับมาแค่เท่าหรือ 2 เท่าของเงินเดือนที่ได้รับอยู่ในแต่ละเดือน

ขณะที่คนหนุ่มสาวเหล่านี้จะคิดตัวเลข ค่าใช้จ่ายคร่าวๆ เพียงว่าจะมีภาระจ่ายดอก เบี้ยเล็กน้อย 1% ต่อเดือน บวกค่าธรรมเนียม การใช้วงเงิน 2% เบ็ดเสร็จแล้วต้องจ่ายรวม กันโดยเฉลี่ย 2.8-3.5% แต่ไม่ได้มากมายเมื่อ เทียบกับเงินเดือนที่มีอยู่

ในประเทศไทย บริษัทผู้ให้บริการบัตร เครดิตที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน อย่างจีอี แคป ปิตอลที่รับบริหารลูกหนี้บัตรเครดิตยี่ห้อ "เซ็น ทรัล การ์ด" และบริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด ที่เป็นผู้ออกบัตรเครดิต ยี่ห้อ "อิออน" กำลังเบียดตัวเองสู่หนุ่มสาวที่ เพิ่งจบการศึกษาและมีรายได้น้อยนิดจากการ ทำงาน แต่ต้องการจับจ่ายแบบไม่สิ้นสุด

ล่าสุด จีอี แคปปิตอลร่วมมือกับเทสโก้ โลตัส ออกบัตรเครดิตเพื่อกลุ่มเป้าหมาย ผู้ที่มีรายได้ต่ำ เพียงแค่มีเงินเดือนประจำ 5,000 บาท ก็สามารถทำบัตรได้เลย ขณะที่มาสเตอร์ การ์ดจับมือกับอิออน แต่ผู้ที่ถือบัตรได้ต้องมี เงินเดือนประจำ 7,000 บาท

นอกจากนี้ กฎเกณฑ์กำกับดูแลและความคิดล้าหลังของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่สร้างความไม่ชัดเจนจนทุกวันนี้ว่า หน่วยงานใดเป็นผู้กำหนดเงื่อนไขการทำธุรกิจ โดยตรง หรือหน่วยงานใดเป็นผู้ปกป้องดูแลผลประโยชน์ให้ผู้บริโภคได้กลายเป็นปัจจัย สำคัญที่สนับสนุนโอกาสให้ผู้ให้บริการบัตร เครดิตกลุ่มนี้ ปลอดจากการกำกับดูแลโดยหน่วยงานทางการ และไม่มีแม้กระทั่ง กฎเกณฑ์รายได้ขั้นต่ำต่อเดือนของผู้มีสิทธิทำ บัตรเครดิต ดังเช่นที่ ธปท. บังคับใช้กับผู้ทำ บัตรเครดิตที่ออกโดยสถาบันการเงิน ซึ่งต้องมี รายได้ต่อเดือนอย่างน้อย 15,000 บาท

โดยก่อนหน้านี้สำนักงานคณะกรรม การคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เคยร้องขอให้ ธปท. เข้ากำกับดูแลการทำธุรกิจของผู้ให้ บริการบัตรเครดิตที่ไม่ใช่สถาบันการเงินเป็น การชั่วคราว แต่ ธปท. ยืนยันว่าตัวเองไม่ สามารถทำหน้าที่นี้ได้ เนื่องจากเป็นการทำ ธุรกิจการให้บริการผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เกิด จากนิติบุคคลที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน ดังนั้น ธปท. จึงไม่มีหน้าที่กำกับดูแลการทำธุรกิจ ของผู้ประกอบการกลุ่มนี้โดยตรง

อนุวัฒน์ ธรมทัช เลขาธิการ สคบ. กล่าวว่า จนถึงปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใด ที่ทำหน้าที่รับผิดชอบกำกับดูแลการทำธุรกิจ บัตรเครดิตของนิติบุคคลที่ไม่ใช่สถาบันการเงินโดยตรง เว้นแต่จะควบคุมอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ผู้ให้บริการคิดกับผู้ใช้บัตรเครดิตต้องไม่เกิน MLR+10% ต่อปี

แต่การควบคุมอัตราดอกเบี้ยของ ธปท. แทบไม่ได้ช่วยลดปัญหาผู้บริโภคต้องจ่ายแพง ลงได้แม้แต่น้อย เพราะผู้ให้บริการมีลู่ทางใน การหารายได้เพิ่มเติมจากการให้บริการด้วย การบวกเพิ่มเติมในรูปค่าธรรมเนียมการใช้บัตร

"บางรายคิดค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมอัตรา ดอกเบี้ยสูงถึง 43% ต่อปี แต่ธปท.ก็จัดการ อะไรไม่ได้ เพราะค่าธรรมเนียมที่บวกเพิ่มเข้า มาถือเป็นคนละส่วนกับดอกเบี้ย" เลขาธิการ สคบ. กล่าว

แม้ สคบ.จะมีอำนาจดำเนินคดีกับ ผู้ประกอบการแทนผู้บริโภคที่ถูกเอารัดเอา เปรียบจากการทำสัญญาก็ตาม แต่กับกรณี ผู้ให้บริการบัตรเครดิตที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน นั้น สคบ.ถึงกับส่ายหน้า เพราะไม่มีอำนาจ คุ้มครองผู้บริโภครายใดจากกรณีนี้

เจ้าหน้าที่สคบ. กล่าวว่า เมื่อเป็นการ ให้บริการบัตรเครดิตแบบนี้ ไม่มีกฎหมาย ใดมารองรับแล้ว ย่อมกลายเป็นธุรกิจที่ปลอด จากการกำกับดูแลของทางการ และ สคบ. ก็ไม่สามารถคุ้มครองใครได้มากนัก นอกจาก จะให้ผู้เสียหายแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อดำเนินคดีไปตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยผู้ให้บริการและผู้รับบริการต้อง ฟ้องร้องกันเอาเอง

"เราทำได้อย่างมากก็แค่ปรามๆ ไป ยังผู้ประกอบการเท่านั้น แต่ถ้าเขาไม่ฟัง เรา ก็ทำอะไรไม่ได้ ส่วนหนึ่งผู้บริโภคก็สมัครใจ ใช้บริการเอง แต่เราเชื่อว่าเมื่อบัตรเครดิต กลายเป็นธุรกิจที่ต้องเปิดเสรีแล้ว จะทำให้ มีการแข่งขันกันเพิ่มขึ้น ซึ่งน่าจะช่วยให้ดอก เบี้ยถูกลง และผู้บริโภคจะได้เปรียบมากขึ้น"

สำหรับจำนวนการร้องเรียนจากผู้บริโภคที่ระบุว่า ถูกเอารัดเอาเปรียบจากการ คิดอัตราดอกเบี้ย ค่าปรับการผิดนัดชำระหนี้ ในอัตราที่สูงเกินควร แถมยังต้องเป็นผู้จ่าย ค่าใช้จ่ายจากจดหมายทวงถามหนี้ให้แก่บริษัท ผู้ให้บริการบัตรเครดิต ในเดือนสิงหาคม ปีก่อน มี 4 ราย แบ่งเป็นคำร้องเรียนกรณีใช้ บริการจากจีอี แคปปิตอล 2 ราย และจาก อิออนการ์ดอีก 2 ราย และนับแต่ต้นปีนี้เป็น ต้นมา สคบ.ได้รับคำร้องเรียนเพิ่มเติมจาก กรณีใช้บัตรเซ็นทรัล การ์ด 2 ราย

ตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไป ธปท. กำหนดให้ประวัติการชำระหนี้ของผู้ถือบัตรเครดิตต้องบรรจุไว้เป็นข้อมูลของเครดิตบูโร แม้ยังไม่ชัดเจนว่าคนหนุ่มสาวที่ถือบัตรเครดิตดังกล่าวจะเลือกวิธียื่นขอล้มละลายเช่นเดียวกับ คนหนุ่มสาวในสหรัฐฯ หรือไม่ แต่ประวัติการ ผิดนัดชำระหนี้ด้วยกรณีนี้ ก็สามารถเป็นตัว ทำลายเครดิตความน่าเชื่อถือทางการเงินได้ ไม่ยากเช่นกัน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us