Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2544
อวสาน ไทยโมเดิร์นพลาสติค             
โดย ฐิติเมธ โภคชัย
 


   
search resources

ไทยโมเดิร์นพลาสติคอินดัสทรี, บมจ.




ใครจะไปเชื่อว่าบริษัทผลิตบรรจุภัณฑ์ พลาสติกรายใหญ่สุดของประเทศ อย่างไทยโมเดิร์นพลาสติค อินดัสทรี ถึงกาลอวสานในลักษณะจบไม่สวย หลังจากดำเนินงานผิดพลาด

เส้นทางสู่หายนะที่ประสบผลขาดทุนย่อยยับซึ่งเกิด ขึ้นกับบริษัทไทยโมเดิร์นพลาสติค อินดัสทรี ผู้ผลิตบรรจุ ภัณฑ์พลาสติกแห่งตระกูลปัณณมณีโชติ เป็นเรื่องที่ไม่น่าเชื่อ ในสายตานักลงทุนที่มองศักยภาพและการเติบโต

เท่านั้นยังไม่พอฐานะทางการเงินและการก่อกำเนิด ของกลุ่มธุรกิจที่เริ่มต้นแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่หลังจาก เศรษฐกิจอยู่ในฟองสบู่ตระกูลปัณณมณีโชติกลับเริ่มดัน ธุรกิจเพื่อต้องการก้าวขึ้นเป็นผู้นำในประเทศและภูมิภาค

ความทะเยอทะยานจึงเป็นหลุมพลางให้บริษัทถึง กาลอวสานเมื่อไม่สามารถเอาตัวรอดจากวิกฤติเศรษฐกิจได้

ไทยโมเดิร์นพลาสติค อินดัสทรี ก่อตั้งขึ้นกลางปี 2526 ด้วยทุนจดทะเบียน 25 ล้านบาท เพื่อทำการผลิตและจำหน่ายแผ่นพลาสติก บรรจุภัณฑ์พลาสติก และเป็นผู้แทน จำหน่ายวัสดุปูพื้นพีวีซี

เริ่มแรกบริษัทเป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจจิตต์อร่าม ที่ ประกอบด้วยบริษัทต่างๆ 10 บริษัท ซึ่งกลุ่มธุรกิจดังกล่าวเริ่ม ดำเนินงานในรูปห้างหุ้นส่วนจำกัดภายใต้ "ห้างจิตต์อร่าม พาณิช" โดยมีจิตต์อร่าม ปัณณมณีโชติ เป็นผู้ก่อตั้งเมื่อ 47 ปี ที่ผ่านมา เพื่อดำเนินธุรกิจเป็นผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติก กระดาษ อุปกรณ์การพิมพ์และเครื่องจักร

กิจการของจิตต์อร่ามประสบความสำเร็จขึ้นตาม ลำดับ จนในปี 2513 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท ป.จิตต์อร่าม จนกระทั่งถึงปี 2526 จึงจัดตั้งไทยโมเดิร์นพลาสติค อินดัส ทรีขึ้นมาเพื่อรองรับการเติบโต โดยมีตระกูล ปัณณมณีโชติเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่

การดำเนินงานของบริษัทเป็นไปใน ลักษณะธุรกิจครอบครัวโดยมีจิตต์อร่ามเป็น แม่ทัพ ตามด้วยน้อมจิตรภรรยาของเขา และบรรดาลูกๆ ได้แก่ อร่าม, จิตรา และพาณิชย์ ส่งผลให้อำนาจการตัดสินใจเป็นไปในลักษณะ ผูกขาด

อย่างไรก็ตาม การเติบใหญ่ก็ยังเดิน หน้าไปเรื่อยๆ ที่สำคัญในปี 2530 บริษัทได้รับ รางวัลจากหน่วยงานรัฐบาลว่าเป็นผู้ส่งออก ยอดเยี่ยมประเภทอุตสาหกรรมส่งออกด้าน ผลิตภัณฑ์ใหม่ซึ่งมีอนาคต

ปีถัดมาผลิตสินค้าชนิดใหม่ คือ แผ่น พลาสติกพีวีซี และเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 4,000 ตันต่อปี และนี่คือจุดเริ่มต้นแห่งการ ขยายธุรกิจซึ่งตระกูลปัณณมณีโชติไม่ได้คาด คิดมาก่อนเลยว่าความหายนะกำลังคืบคลาน เข้ามา

ปี 2533 เป็นตัวแทนจำหน่ายพีวีซีปูพื้น ของฮันยาง เคมิคอล (ประเทศไทย) ซึ่งเป็น เครือข่ายของฮันยาง เคมิคอล บริษัทปิโตรเคมี ใหญ่สุดของเกาหลี ซึ่งประสบความสำเร็จ อย่างมากจนต้องเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 120 ล้านบาทในปีถัดมา เพื่อนำไปลงทุนในบริษัท เบสท์แพ็ค 10 ล้านบาท ทำให้มีสัดส่วนการถือ หุ้น 40%

ต้นปี 2535 เป็นช่วงเวลาที่เศรษฐกิจ ไทยเติบโตอย่างมาก ไทยโมเดิร์นพลาสติค จึงไม่รีรอที่จะเข้าเทกโอเวอร์เบสท์แพ็ค 100% ด้วยการใช้เงินเพียง 15 ล้านบาท

กลางปีเดียวกันเข้าซื้อหุ้นฮันยาง เคมิคอล (ประเทศไทย) จากผู้ถือหุ้นเดิมมูลค่า 14.17 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนการถือหุ้น 15% จากนั้นเข้าเทกโอเวอร์บริษัทไทยโพลีแฟบลิเค-ชั่น อินดัสทรี มูลค่า 20 ล้านบาท และในเวลา เดียวกันเข้าซื้อบริษัทจิตต์-มิต เซก้า คิดเป็น มูลค่า 6 ล้านบาท แต่ถือหุ้นในสัดส่วน 51%

แนวคิดการลงทุนรูปแบบดังกล่าว นอก จากจะเป็นการสร้างฐานธุรกิจให้ครบวงจร ซึ่ง ก่อให้เกิดข้อได้เปรียบในการแข่งขัน (compa-rative advantage) ในอุตสาหกรรมพลาสติก

ธุรกิจของตระกูลปัณณมณีโชติถึงจุด สูงสุดสังเกตได้จากยอดขายในช่วงปี 2534-2536 เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วยมูลค่า 253.32 ล้าน บาท, 474.17 ล้านบาท และ 619.93 ล้านบาท ตามลำดับ โดยมีกำไรสุทธิ 42.38 ล้านบาท, 68.85 ล้านบาท และ 84.87 ล้านบาทตามลำดับ

ด้วยเหตุผลนี้บริษัทจึงตัดสินใจเพิ่มทุน จดทะเบียนเป็น 150 ล้านบาทพร้อมกับเข้าจด ทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ช่วงต้นปี 2536 แต่ อำนาจการบริหารยังอยู่ในมือของตระกูลเดิม

แม้ว่าตัวธุรกิจของไทยโมเดิร์น พลาสติคจะยังคงเติบโตทั้งยอดขายและกำไร แต่บริษัทในเครือกลับเป็นตรงกันข้าม ดังนั้น หลังเป็นบริษัทมหาชนเพียงปีเดียวบริษัท ตัดสินใจขายเงินลงทุนในไทยโพลีแฟบลิเคชั่น และจิตต์-มิต เซก้า ออกไปด้วยเหตุผลขาดทุน มาโดยตลอด

ปีถัดมาขายเงินลงทุนของเบสท์แพ็ค เนื่องจากเกิดปัญหาด้านต้นทุนแรงงานและราคาวัตถุดิบสูงขึ้น ขณะเดียวกันกลับเพิ่มทุน เป็น 585 ล้านบาท พร้อมด้วยการซื้อที่ดินที่ จ.เชียงใหม่ และในปี 2539 ซื้อที่ดินที่ จ.ระยอง และเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 24,000 ตันต่อปี

แม้ว่าบริษัทจะเติบโตขึ้นตามลำดับ แต่การก่อหนี้ก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัวจาก ระดับหลักร้อยล้านบาทจนไต่ขึ้นเป็นหลักพัน ล้านบาทท่ามกลางความไม่ชอบมาพากลของผู้ บริหาร

นี่คือยุครุ่งเรืองยุคสุดท้ายของไทย โมเดิร์นพลาสติคก่อนที่วิกฤติจะเกิดขึ้นประกอบกับการแกว่งตัวของราคาเม็ดพลาสติกก่อ ให้เกิดความเสี่ยงต่อธุรกิจ เนื่องจากต้นทุน การผลิตประมาณ 60-70% มาจากเม็ดพลาสติก

อย่างไรก็ตาม บริษัทได้พยายามรักษา ศักยภาพตนเองไว้ด้วยการเพิ่มกำลังการผลิต ให้เป็น 34,690 ตันต่อปี ในปี 2540 แต่ความขัดแย้งในองค์กรก็เริ่มปะทุขึ้นมาเช่นเดียวกัน เมื่อจิตราได้ลาออกจากการเป็นกรรมการและ กรรมการบริหาร ขณะเดียวกัน บริษัทได้ซื้อที่ดินที่ จ.นครราชสีมา เพื่อรองรับการเติบโตในอนาคต

ในที่สุดต้นปี 2541 บริษัทไม่สามารถ รักษาสถานภาพของตนเองเอาไว้ได้จึงได้ทำ การยกเลิกการผลิตและจำหน่ายสินค้าประเภท แผ่นพลาสติกและพรมปูพื้นพีวีซี และได้ปิด โรงงาน เนื่องจากเศรษฐกิจตกต่ำเพื่อรักษา สภาพคล่องทางการเงิน

กลางปีเดียวกันตลาดหลักทรัพย์ห้ามซื้อขายหลักทรัพย์ เนื่องจากบริษัทปฏิบัติไม่ชอบด้วยกฎหมายกรณีเปิดเผยข้อมูลทางการเงินของปี 2540 ไม่ตรงความจริง โดยผู้สอบบัญชีของบริษัทรายงานว่าไม่ได้รับคำ อธิบายและข้อมูลที่เพียงพอจากฝ่ายบริหาร เช่น หลักฐานการซื้อที่ดิน

อย่างไรก็ตาม ผลการดำเนินงานในปี ดังกล่าวขาดทุนสุทธิ 3,809.79 ล้านบาท และขาดทุนสะสม 5,403.76 ล้านบาท และหนี้สิน หมุนเวียนรวมสูงกว่าสินทรัพย์หมุนเวียนรวมถึง 6,723.83 ล้านบาท

เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างล่มสลาย กลางปี 2541 เจ้าหนี้รายใหญ่ของไทยโมเดิร์นพลาสติค ก็ร้องต่อศาลแพ่งขอฟื้นฟูกิจการและได้ตั้งเซ้าท์ สาทร แพลนเนอร์เป็นผู้ทำแผนฟื้นฟู

ภารกิจของเซ้าท์ สาทร แพลนเนอร์ คือ ติดตามหนี้ซึ่งมีสูงเกือบ 8,000 ล้านบาท คืนให้เจ้าหนี้

"เราคาดว่าจะติดตามหนี้ได้ประมาณ 4.5% ของมูลหนี้ทั้งหมด คาดว่าใช้เวลาไม่นาน มาก" สุทธิชัย เลาหวิโรจน์ แห่งเซ้าท์ สาธรบอก

นอกจากนี้แล้ว เงื่อนไขหนึ่ง คือการ ขายธุรกิจหลักของไทยโมเดิร์นพลาสติคออกไป และผู้ที่ตัดสินใจซื้อไป คือ กลุ่มบริษัทตะวัน ออกโปลีเมอร์อุตสาหกรรม โดยเข้าซื้อโรงงาน ของไทยโมเดิร์นพลาสติคที่ จ.ระยอง มูลค่า 240 ล้านบาท

ประเด็นที่กลุ่มตะวันออกโปลีเมอร์มอง เห็น คือมูลค่าในธุรกิจหลักของไทยโมเดิร์น พลาสติค "พวกเขามีโรงงานที่มีเครื่องจักรทัน สมัย แม้ว่าจะประสบปัญหาเรื่องสภาพคล่อง ก็ตาม ซึ่งเราจะลงทุนเพิ่มอีก 100 ล้านบาท ใน การปรับปรุงเครื่องจักร" ภวัตน์ วิทูรปกรณ์ ประธานกลุ่มตะวันออกโปลีเมอร์ชี้ "เราซื้อ เฉพาะโรงงาน เราไม่ได้ซื้อบริษัท"

กรณีการขายธุรกิจออกไปผู้ทำแผน มองว่า อาจจะดีกว่าเจ้าหนี้จะมาลองเสี่ยง หากจะลงทุนเพิ่มแต่อนาคตไม่รู้ว่าอีกนาน แค่ไหนจะได้เงินคืนกลับมาอีก กับการที่ขาย สินทรัพย์ออกไปเนื่องจากธุรกิจนี้สามารถเดิน ต่อไปได้

"แม้ว่าไทยโมเดิร์นพลาสติคจะมีเงินสด ที่ดีขึ้นก็ตาม แต่บอกไม่ได้ว่าอีกนานแค่ไหน ที่จะดีขึ้น ขณะเดียวกันเราเร่งขายเพื่อนำเงิน มาให้เจ้าหนี้ เพราะพวกเขามีความต้องการ ถือเงินมากกว่าถือหนี้ คงต้องมองความสำคัญ ว่าเจ้าหนี้ไม่อาจรออนาคตและไม่รู้ว่าจะเกิด อะไรขึ้น" สุทธิชัยอธิบาย

ทางด้านกลุ่มตะวันออกโปลีเมอร์ การลงทุนครั้งนี้ถือเป็นการขยายธุรกิจออกไปแต่ก็ยังอยู่ในสายอุตสาหกรรมที่ตนเองมีความถนัดอยู่ หลังจากประสบความสำเร็จ ในธุรกิจ ผลิตยางฉนวน Aeroflex และจำหน่ายพลาสติกแผ่น และพื้นปูกระบะ Aeroliner

"เป็นการขยายฐานธุรกิจเข้าสู่วงการ บรรจุภัณฑ์พลาสติก เราหวังว่าการเติบโต ภายใน 4 ปีข้างหน้าไม่ต่ำกว่า 20% ต่อปี" ภวัตน์กล่าว

ผลของการซื้อโรงงานที่ จ.ระยอง ซึ่ง เป็นธุรกิจหลักของไทยโมเดิร์นพลาสติค ถือ เป็นการขยายธุรกิจในแนวลึกด้านพลาสติก อย่างต่อเนื่องโดยการก้าวเข้าสู่การผลิต ภาชนะบรรจุภัณฑ์พลาสติกชนิดต่างๆ และดูเหมือนว่ากลุ่มตะวันออกโปลีเมอร์มีความ มั่นใจต่อการลงทุนครั้งนี้มาก

"อีก 2 ปีข้างหน้าเราจะมียอดขาย 500-600 ล้านบาท"

กลุ่มบริษัทตะวันออกโปลีเมอร์ อุตสาหกรรม ก่อตั้งขึ้นในปี 2503 ภายใต้ชื่อ ยางอรุณ โดยมีซิวซี แซ่ตั้ง เป็นผู้ก่อตั้ง ต่อมา ในปี 2520 เปลี่ยนชื่อเป็นตะวันออกโปลีเมอร์ อุตสาหกรรม

กลุ่มธุรกิจนี้มีธุรกิจหลักในอุตสาห-กรรมยางและพลาสติก และในปี 2538 ได้ ขยายจากการผลิตแผ่นพลาสติกกึ่งสำเร็จรูป สู่สินค้าสำเร็จรูป Aeroliner ซึ่งเป็นพื้นปูกระบะ

ในปีที่ผ่านมาได้ร่วมทุนกับผู้ประกอบ การจากมาเลเซียเพื่อผลิตสินค้า Security Seal และ Precision Plastic Products ด้วยการสร้าง โรงงานใหม่ ส่งผลให้ปัจจุบันบริษัทมีกำลังการ ผลิตทั้งสิ้น 20,000 ตันต่อปี ทำให้กลายเป็น ผู้ผลิตพลาสติกรายใหญ่แห่งหนึ่งในเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้

ความเหมือนของไทยโมเดิร์นพลาส- ติคกับกลุ่มตะวันออกโปลีเมอร์ คือ เป็นธุรกิจ ครอบครัว แต่สิ่งที่แตกต่างกันในปัจจุบันกลุ่ม ตระกูลปัณณมณีโชติของไทยโมเดิร์นพลาสติค กำลังถูกหน่วยงานของทางการตรวจสอบ พฤติกรรมในส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารงาน โดยมีเจตนาเพื่อลวงให้บริษัทหรือผู้ถือหุ้น ขาดประโยชน์อันควรได้

ขณะที่กลุ่มตระกูลวิทูรปกรณ์แห่ง ตะวันออกโปลีเมอร์กำลังเดินไปข้างหน้า เพื่อหาความสำเร็จให้กับตนเอง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us