Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2544
แบงก์เฟรม ซอฟต์แวร์อัจฉริยะ             
โดย ฐิติเมธ โภคชัย
 


   
www resources

โฮมเพจ อิออนเทค
โฮมเพจ บริษัท ที.เอ็น. อินฟอร์เมชั่น ซิสเท็มส์ จำกัด
www.javabanking.com

   
search resources

อิออนเทค




ทุกวันนี้ธนาคารเปิดให้บริการใหม่ๆ แทบจะทุกเดือน ด้วยการสร้างสรรค์กลยุทธ์เพื่อสนองตอบผู้บริโภค หากธนาคารไหนดำเนินการได้ก่อนคู่แข่ง หมายถึง ชัยชนะรออยู่ข้างหน้า

ปัจจุบันความสำคัญของอินเทอร์เน็ต ได้มีผลกระทบต่อการดำเนินงานธุรกิจธนาคาร พาณิชย์ในประเทศไทย แต่มีคำถามหลายข้อ ที่ธนาคารเหล่านั้นต้องนำไปขบคิด โดยเฉพาะจะใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตได้อย่างไร จากนั้นจะประสานระบบอินเทอร์เน็ตเข้ากับ เทคโนโลยีดั้งเดิมที่มีอยู่ได้อย่างไร หรือมี ทางเลือกอื่นที่กำลังใช้งานอยู่ในปัจจุบันให้มี ประสิทธิภาพอย่างไร

ปัจจุบันบรรดาบริษัทซอฟต์แวร์มอง เห็นจุดสำคัญการเปลี่ยนแปลงของธนาคาร หลายแห่งถึงภาพการเกิดขึ้นในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการ เงินและการตลาด แต่สิ่งที่เกิดขึ้นอย่างกว้าง ขวาง คือการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure)

การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว มีเหตุผล ง่ายๆ ก็เพื่อต้องการเพิ่มศักยภาพทางการ แข่งขันธุรกิจธนาคาร โดยรูปแบบการแข่งขัน มาจากด้านสินค้าและบริการ โดยธนาคาร แต่ละแห่งพยายามนำเสนอสินค้าและบริการ ใหม่ๆ ให้รวดเร็วยิ่งขึ้นเพื่อครอบคลุมกลุ่ม ลูกค้าเป้าหมาย

อีกด้านหนึ่งการแข่งขันในเชิงการเข้า หาลูกค้าโดยอาศัยช่องทางใหม่ๆ เช่น retail banking, internet banking หรือ mobile banking ที่เข้ามามีบทบาทต่อการดำเนินธุรกิจ และในอนาคตจะมีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เข้ามา อีกมากมาย

สิ่งเหล่านี้ได้เป็นแรงกดดันให้มีการ แข่งขันมากขึ้น แต่สิ่งที่เกิดขึ้น ก็คือ ทำอย่างไร ที่ธนาคารพาณิชย์จะมีระบบเทคโนโลยีมา สนับสนุนกิจกรรมที่เกิดขึ้นและกำลังเกิดขึ้น เพราะถึงแม้ว่า ปัจจุบันฝ่ายการตลาดของ ธนาคารจะมีกลยุทธ์และความคิดสร้างสรรค์ ที่จะออกผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ แต่การ นำไปเสนอลูกค้าจำเป็นต้องมีระบบเทคโนโลยี เข้ามาเสริม

ล่าสุด ซอฟต์แวร์สัญชาติไอร์แลนด์ ที่ เรียกว่า "แบงก์เฟรม" (BankFrame) พัฒนา ขึ้นโดยบริษัทอิออนเทค (eontec) กลายเป็น ซอฟต์แวร์ที่กำลังเข้ามามีบทบาทต่อวงการธนาคารทั่วโลก

"ตลาดหลักของแบงก์เฟรมคือธนาคาร และสถาบันการเงินที่จำเป็นต้องนำซอฟต์แวร์นี้ มาใช้ปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการแก่ ลูกค้าผ่านช่องทางประเภทต่างๆ ให้รวดเร็ว มากขึ้น" เฮลมุท วังเก้ รองกรรมการผู้จัดการ ที.เอ็น.อินฟอร์เมชั่น ซิสเท็มส์ ตัวแทนจำหน่าย ซอฟต์แวร์แบงก์เฟรมในไทยกล่าว

หลายปีที่ผ่านมา การติดต่อระหว่าง ธนาคารกับลูกค้ามีรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากลูกค้ามีความต้องการผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่มีความหลากหลายขึ้นกว่าเดิม

ขณะเดียวกัน ยังต้องการเข้าถึงข้อมูล ผ่านช่องทางการสื่อสารต่างๆ เช่น อินเทอร์ เน็ต อุปกรณ์การสื่อสารไร้สาย ระบบคอล เซ็นเตอร์ เอทีเอ็ม หรือการติดต่อตรงกับสาขา ธนาคาร

"ซอฟต์แวร์แบงก์เฟรมได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อให้ธนาคารสามารถตอบสนอง ความต้องการของลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น" ชาย แต่บรรพกุล กรรมการบริหารที.เอ็น.อินฟอร์ เมชั่น ซิสเท็มส์บอก

การดำเนินธุรกิจไม่ใช่เรื่องง่ายดายอีก ต่อไป เพราะกำลังเข้าสู่ยุคการแข่งขันไร้พรม แดนแรงกดดันที่มีต่อธนาคารพาณิชย์จึงมีสูง ความท้าทายของธนาคารในปัจจุบัน คือ สินเชื่อไม่ขยายตัว แข่งขันรุนแรงและกำไร จากส่วนต่างหดตัว "ทุกวันนี้ ธนาคารเปิดให้ บริการใหม่ๆ แทบทุกเดือน" วังเก้ชี้

นั่นหมายถึง ธุรกิจธนาคารแข่งขันด้าน ความเร็วสำหรับการออกผลิตภัณฑ์และบริการ ส่วนลูกค้าก็จะพยายามพัฒนาตนเองให้ก้าว ไปพร้อมกับเทคโนโลยี เนื่องจากในอดีตลูกค้า เป็นผู้ถูกเลือกจากธนาคาร ปัจจุบันลูกค้าเริ่ม ชอปปิ้งได้มากขึ้น "พวกเขามีโอกาสเลือกใช้ ธนาคาร ใครให้ราคาและบริการดีที่สุดจะชนะใจลูกค้า" ชายเล่า

ซอฟต์แวร์แบงก์เฟรมเป็นผลิตภัณฑ์ ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นให้มีความคล่องตัวใน การใช้งานสูง ใช้งานง่ายและให้บริการได้อย่าง รวดเร็วโดยการทำงานของแบงก์เฟรมจะเกิดขึ้นจากการประกอบระบบกระบวนงาน ของธนาคารต่างๆ ที่เขียนขึ้นมาอยู่ก่อนแล้ว โดยใช้ภาษา Java "ธนาคารสามารถนำไปใช้งาน ได้ทันทีในทุกแพลทฟอร์ม หรือดัดแปลงให้ เหมาะสมก่อนนำไปใช้งานต่อไป" แฟรงค์ แม็คแครกเก้น ผู้จัดการฝ่ายสนับสนุนด้าน เทคนิคของอิออนเทคอธิบาย

นั่นหมายถึง แบงก์เฟรมเป็นเส้นทาง ลัดสู่การให้บริการด้านการธนาคารแบบหลาย ช่องทาง (Multi-channel Banking) ซึ่งธนาคาร พาณิชย์ไทยมีความพร้อมที่จะใช้ซอฟต์แวร์ แบงก์เฟรม เนื่องจากไม่ใช่ครั้งแรกที่ธนาคาร จะใช้เทคโนโลยี

"เราใช้เทคโนโลยีมารุ่นหนึ่งแล้ว ตอน นี้ธนาคารกำลังจะเข้าไปในเทคโนโลยีอีกยุค หนึ่ง" ชายเล่า "ฉะนั้นพวกเขามีประสบการณ์ ของการนำเทคโนโลยีเข้ามาและไม่ใช่การลอง ผิดลองถูกอีกต่อไป"

จากนี้ไปธนาคารจะต้องเลือกใช้เทคโน โลยีมากขึ้น เนื่องจากสิ่งที่ลงทุนไปนั้นสอด คล้องกับการดำเนินธุรกิจมากน้อยเพียงใด และหลายแบงก์ทำในทิศทางเดียวกัน คือ ตัว ระบบหรือซอฟต์แวร์ให้ตรงกับความต้องการ ของลูกค้าที่กำลังมองถึงสิ่งที่ธนาคารจะให้ อะไรได้มากขึ้นและด้วยต้นทุนต่ำสุด

การพัฒนาและนำระบบแบงก์เฟรมไป ใช้งาน สามารถทำผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต บนเว็บไซต์ JavaBanking.com ซอฟต์แวร์และทูลส์ของแบงก์เฟรมมีคุณสมบัติด้านการให้ บริการผ่านหลายช่องทางและเป็นระบบที่แยก ส่วนประกอบย่อยๆ บนมาตรฐาน EJB (Enter-prise Java Bean) ที่ขยายขีดความสามารถ ของระบบรองรับการเติบได้ในอนาคต ทำให้ ธนาคารประกอบโมดูลย่อยที่กระจายกันอยู่ เพื่อนำมาใช้งานได้เร็ว

หลังจากแบงก์เฟรมเริ่มเป็นที่รู้จักของ ธนาคารในไทย เกิดความสงสัยขึ้นโดยเฉพาะ การทำงานร่วมกับเทคโนโลยีเดิม ปัญหานี้จะ หมดไปเพราะข้อดีของแบงก์เฟรม คือ ไม่ใช่โยนเทคโนโลยีเก่าออกไปและนำของใหม่เข้ามา

"แบงก์เฟรมสามารถใส่เข้าไปและค่อยๆ ยกระดับได้โดยไม่ต้องรื้อระบบเก่า ออกไปทั้งหมด" ชายกล่าว

ปัจจุบันธนาคารชั้นนำหลายแห่งอาศัยประโยชน์จากเทคโนโลยี เพื่อการเสริมแผนการลงทุนในธุรกิจลูกค้ารายย่อยและสถาบัน การเปลี่ยนนี้กำลังกลายเป็นจุดแข็ง และธนาคารต้องเดินไปตามทางนี้เพื่อความอยู่รอด

เชื่อหรือไม่ว่า ปัจจุบันประเทศที่ส่งออก ซอฟต์แวร์มากที่สุดในโลกไม่ใช่อเมริกา แต่ เป็นประเทศไอร์แลนด์จากการสำรวจของ CNN และอิออนเทคก็เป็นหนึ่งในนั้น โดยก่อ ตั้งบริษัทขึ้นในปี 1994 จากกลุ่มอดีตผู้บริหาร ธนาคารในยุโรป เพื่อออกมาพัฒนาซอฟต์แวร์ และทูลส์ประเภท component-based บน มาตรฐานจาวาแบบหลายช่องทางที่ปรับขยาย ขีดความสามารถได้สำหรับธนาคารและสถาบันการเงิน ปัจจุบันอิออนเทคมีศูนย์รวม ระบบการธนาคารที่นำกลับมาใช้งานได้ใหม่ (Reusable Banking Processes) ที่ใหญ่ที่สุด ในโลก

ด้านที.เอ็น.อินฟอร์เมชั่น ซิสเท็มส์เป็น บริษัทในเครือไทยสงวนวานิช ก่อตั้งขึ้นในปี 1989 ภายใต้ชื่อที.เอ็น.-นิกซ์ดอร์ฟ คอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างนิกซ์ดอร์ฟ คอม พิวเตอร์ เอจีกับไทยสงวนวานิช 2489 และเปลี่ยนชื่อ เป็น ที.เอ็น.อินฟอร์เมชั่น ซิสเท็มส์ ในปี 1996

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us