Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2544
djuice งานสร้างภาพลักษณ์             
โดย ไพเราะ เลิศวิราม
 


   
www resources

Djuice Homepage

   
search resources

โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น, บมจ.




โมบายอินเทอร์เน็ตจะให้โทรศัพท์มือถือ กาวไปสู่โลกการสื่อสารข้อมูล แต่เวลานี้อาจเป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้น

การเปิดตัวอย่างอลังการของ "djuice" บริการโมบายอินเทอร์เน็ต พอร์ทัล ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อรองรับบริการอินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือให้สามารถค้นหา ข้อมูล และเลือกใช้บริการต่างๆ บนอินเทอร์ เน็ตได้โดยตรง

นับเป็นอีกสีสันหนึ่งที่เกิดขึ้นในโลกของโมบายอินเทอร์เน็ต ที่ยังเป็นแค่จุดเริ่มต้น ของการให้บริการ ที่ยังไม่สามารถประเมินได้ ว่าจะประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด

อย่างที่รู้กันดีว่า ประเด็นสำคัญของบริการประเภท non voice application ของ บริการโมบายอินเทอร์เน็ตนั้นอยู่ที่ "เนื้อหา" และบริการเป็นสำคัญ

ถึงแม้ว่าผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือของไทย ทั้งดีแทค และเอไอเอส จะพัฒนาเครือข่ายด้วยการนำระบบ WAP มาให้บริการ ตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่จนถึงบัดนี้ก็ยังไม่มีข้อมูล หรือบริการใดที่เรียกได้ว่าโดนใจผู้ใช้บริการ หรือเรียกว่าเป็น killer application ที่จะสร้าง แรงจูงใจให้เกิดการใช้งานอย่างแพร่หลาย

ไม่ว่าจะเป็นเอไอเอสหรือดีแทคต่างก็พยายามหาวิธีในการสร้างเนื้อหา ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาเอง สนับสนุนให้ content provider พัฒนาเนื้อหาให้ รวมทั้งการว่าจ้างพัฒนาเนื้อหาให้ตามที่ต้องการ

สำหรับดีแทค ข้อได้เปรียบอย่างหนึ่ง ของผู้ให้บริการรายนี้อยู่ที่การอาศัยประสบ การณ์ของเทเลนอร์ พันธมิตรข้ามชาติมาช่วย พัฒนาเนื้อหา และนี่ก็คือที่มาของการผลักดัน เว็บไซต์ djuice ขึ้นในเมืองไทย

djuice ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่เทเลนอร์พัฒนาขึ้น เพื่อรองรับกับบริการโมบายอิน เทอร์เน็ต ให้เป็นแหล่งข้อมูล และเชื่อมโยงการใช้งานระหว่างโทรศัพท์เคลื่อนที่และข้อมูล แหล่งต่างๆ ในอินเทอร์เน็ต ซึ่งถูกใช้อย่างแพร่หลายมาแล้วในหลายประเทศที่เทเลนอร์ เข้าไปลงทุน เพื่อผลักดันให้เป็น Global brand ซึ่งดีแทคสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทันที โดยมีการเพิ่มเนื้อหาและบริการ ให้เหมาะสม กับความต้องการของกลุ่มผู้ใช้คนไทย

ฐานข้อมูลที่เป็นเนื้อหาของ djuice จะ มีทั้งหมด 10 หมวดหมู่ประกอบไปด้วยหมวด หลักๆ เช่น อีเมล เกม การทำนายดวงชะตา ประจำวัน บริการข่าวสาร ข้อมูลกีฬา

อย่างไรก็ตาม ดีแทคก็ยังไม่สามารถคาดหวังรายได้จากบริการโมบายอินเทอร์เน็ต ได้มากนัก นอกจากการใช้เป็นหัวหอกในการเสริมสร้าง brand ของดีแทคให้มีความโดดเด่นและแข็งแรงยิ่งขึ้น จากภาพลักษณ์ ในเรื่องความทันสมัยของ djuice

"brand ของ djuice จะเป็นเรื่องของความทันสมัย ที่จะถูกใช้เป็นหัวหอกในการสร้างภาพลักษณ์ให้กับตัวดีแทค" สมวงศ์ พงศ์สถาพร รองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติ การสายงาน Commercial Unit บอก และเมื่อ เป็นเช่นนี้แล้ว ดีแทคจึงทุ่มงบประมาณเพื่อมุ่งเน้นการสร้างภาพลักษณ์ความทันสมัย ของ brand ของ djuice มากกว่าการเป็นเว็บไซต์ทั่วไป

ประเด็นสำคัญที่จะทำให้ "เนื้อหา" ยังไม่สามารถขยายไปได้มากกว่านี้ อยู่ที่การ แบ่งรายได้ระหว่างผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ และผู้พัฒนาเนื้อหา ที่ยังไม่มีสูตรที่ลงตัว ที่ ทำได้อย่างมากในเวลานี้ก็คือ การรับจ้างพัฒนาเนื้อหาตามที่โอเปอเรเตอร์โทรศัพท์มือถือต้องการเท่านั้น

เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ถึงแม้ว่าจะมีผู้สนใจ พัฒนาเนื้อหาสำหรับโมบายอินเทอร์เน็ต แต่ ก็ยังไม่มากพอที่จะทำให้เกิดเนื้อหา หรือบริการใหม่ๆ ที่มีความแตกต่าง และหลากหลายมากไปกว่านี้

การพัฒนาเนื้อหาบนโมบายอินเทอร์เน็ตนั้น จำเป็นต้องอาศัยรูปแบบเฉพาะตัว ที่จำเป็นสอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้ใช้ เนื้อที่อันถูกจำกัดของหน้าจอโทรศัพท์มือถือ รวมทั้งอัตราค่าใช้บริการที่ต้องเป็นสูตรที่เหมาะสม

อย่างไรก็ตาม ธนา เธียรอัจฉริยะ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด เชื่อว่า การแบ่ง รายได้กับ content provider เป็นแค่จุดเริ่มต้น ยังต้องรอการเติบโต แต่โดยหลักการ แล้ว การแบ่งรายได้ระหว่างผู้ให้บริการ และ con-tent provider จะเกิดขึ้นแน่นอน "ผมเชื่อว่าทุกคนจะได้ประโยชน์ร่วมกัน"

ในไม่ช้านี้แนวโน้มของเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่กำลังมุ่งไปสู่การเพิ่มความ เร็วในการสื่อสารข้อมูล ภายในปีนี้ทั้งเอไอเอส แทค หรือแม้แต่รายใหม่อย่างซีพีออเรนจ์เอง ก็เตรียมที่จะนำระบบ GPRS ซึ่งเป็นเทคโนโลยี 2.5G เข้ามาให้บริการ

โอเปอเรเตอร์เหล่านี้ก็หวังว่า ด้วยเทคโนโลยีของระบบ GPRS ที่จะทำให้ขีดความสามารถของการให้บริการเพิ่มขึ้น ไม่ว่า จะเป็นความเร็วในการส่งข้อมูล เนื้อที่ในการ ส่งข้อมูลที่มากขึ้น ค่าบริการที่คิดตามจำนวน ของข้อมูล จะผลักดันให้ความนิยมในตัวของ บริการโมบายอินเทอร์เน็ตมีมากขึ้น

การเปิดตัว djuice ก็เป็นส่วนหนึ่งของ การเตรียมพร้อมสำหรับการนำระบบ GPRS เข้ามาให้บริการ ตามที่ธนาคาดการณ์ไว้ จะมี บริการเสริมเพิ่มขึ้น 2 ประเภท คือ บริการเตือนผู้ใช้ และการนำเสนอข้อมูลในลักษณะของภาพกราฟิก ซึ่งจะเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการได้มากขึ้น

ดังนั้นไม่ว่าลูกค้าจะมีอยู่ไม่มากและ ตลาดยังเป็นแค่จุดเริ่มต้น ดีแทคและเอไอเอส เองก็จำเป็นต้องควานหากลยุทธ์ที่จะผลักดัน ให้ปริมาณความต้องการมีมากขึ้นเพื่อรองรับ พัฒนาการของเทคโนโลยีของโทรศัพท์มือถือ ที่พัฒนาในเรื่องของการสื่อสาร "ข้อมูล"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us