Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2544
ขายประกันชีวิตก็ต้องมีเครื่องปาล์ม             
โดย ไพเราะ เลิศวิราม
 

   
related stories

สาระ ล่ำซำ "ผมไม่ใช่คนเก่งเรื่องไอที แต่ชอบที่จะเรียนรู้"
เส้นทาง ไอที

   
www resources

โฮมเพจ เมืองไทยประกันภัย

   
search resources

เมืองไทยประกันชีวิต, บจก.
สาระ ล่ำซำ




อาชีพนักขายประกันชีวิตไม่จำเป็น ต้องหอบหิ้วแฟ้มเอกสารจำนวนมาก เพื่อนำเสนอขายประกันชีวิตรูปแบบต่างๆ ให้กับลูกค้าอีกต่อไป

ทุกวันนี้ สารภี มีมาก และตัวแทนประกันอีกเกือบ 700 คน สามารถ วิเคราะห์ตัวแบบประกัน เพื่อนำเสนอประกันชีวิตในรูปแบบต่างๆ ให้กับ ลูกค้าได้ทันที ด้วยการคำนวณจากข้อมูลที่บรรจุอยู่ในเครื่องปาล์มขนาด เท่าฝ่ามือชิ้นนี้

ระบบงานที่ออกแบบมาสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์มือถือ PDA (Personal Digital Assistant) เหล่านี้ไม่เพียงแต่บรรจุข้อมูลตัวแบบประกัน ชีวิต 42 รูปแบบ แต่พวกเขายังสามารถออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อเข้าถึงฐานข้อมูลภายในองค์กร ตรวจสอบความคืบหน้าในการออกกรมธรรม์ของลูกค้าจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชิ้นนี้ รวมทั้งข้อมูลข่าวสาร ที่เกี่ยวกับการประกันชีวิต

ความสะดวกสบายที่ตัวแทนขายประกัน ชีวิตเหล่านี้ได้รับ นับเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ตัวแทน ประกันไม่จำเป็นต้องเดินทางเข้าสำนักงาน ซึ่ง เอื้อประโยชน์ต่อรูปแบบการทำงานของพนักงาน ขายประกันชีวิต ที่ต้องเดินทางออกไปพบลูกค้า เป็นประจำ

ธุรกิจประกันชีวิต เป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่ได้รับผลจากการเปลี่ยนแปลงของการเปิดเสรี ธุรกิจประกันชีวิตที่นอกจากจะมีคู่แข่งเพิ่มขึ้น แล้ว ยังรวมไปถึงคู่แข่งข้ามชาติที่เข้ามาลงทุน โดยเฉพาะในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ บริษัทประกัน ภัยของไทยหลายแห่งจำเป็นต้องเปิดทางให้ บริษัทข้ามชาติเข้ามาถือหุ้นเพื่อความอยู่รอด

ด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้เมืองไทยประกัน ชีวิต จำเป็นต้องพัฒนาตัวเองให้ทันกับการ เปลี่ยนแปลงเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับการแข่ง ขันที่จะทวีความรุนแรงขึ้น และเครื่องมือชิ้น หนึ่ง ก็คือ การนำไอทีมาช่วยในการทำงานของตัวแทนประกันชีวิต

สาระ ล่ำซำ รองกรรมการผู้จัดการบริษัทเมืองไทยประกันชีวิต เชื่อว่า สิ่งที่จะทำให้เมืองไทยประกันชีวิตอยู่ในสนามการแข่ง ขันได้ จำเป็นต้องมีการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายข้อมูลข่าวสาร หรือ network information ที่ รวดเร็ว และนี่ก็คือ ที่มาของโครงการ Mr.Smart

แนวคิดของการนำอุปกรณ์พีดีเอ หรือ เครื่องปาล์มเข้ามาใช้งานของตัวแทนประกันชีวิตนั้น เป็นเรื่องของการใช้ประโยชน์ในเรื่อง ของข้อมูลข่าวสาร ในเรื่องของการเพิ่มประสิทธิภาพในการขายของตัวแทนประกันโดย ตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงพฤติ-กรรมการขายของพนักงานขายประกันชีวิต

"เราจำเป็นต้องเปลี่ยนพฤติกรรมของ การขายประกันชีวิต จากรูปแบบของการขาย แบบดั้งเดิม ซึ่งเป็นลักษณะของ push sale เป็นหลัก แต่จากสภาพของเศรษฐกิจที่เลวร้าย และการเปิดเสรีประกันภัย ตัวแทนก็ต้องเป็น มืออาชีพมากขึ้น และการประกันจำนวนปีมาก พอสมควร"

สาระพบว่า ปัญหาส่วนหนึ่งของการขายประกันชีวิตในเวลานี้อยู่ที่ตัวแทนขายประกันมักใช้สายสัมพันธ์ส่วนตัวมาเป็นตัวช่วย ในการขาย นอกจากตัวแทนเหล่านี้มักจะขาย ประกันชีวิตในแบบที่ตัวเองถนัด ทำให้รูปแบบ ของประกันชีวิตถูกจำกัดอยู่ไม่กี่แบบ ทั้งๆ รูป แบบของประกันชีวิตได้ถูกออกแบบมาเป็นจำนวนมาก เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการ ที่หลากหลาย

ผลที่ตามมาก็คือ รูปแบบของประกัน ชีวิตที่เสนอขายที่ตัวแทนถนัดอยู่ไม่กี่แบบ อาจ ไม่สอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า ซึ่งจะมีความแตกต่างกันไป

"เมื่อถึงเวลาที่ลูกค้าต้องลดค่าใช้จ่าย ประกันชีวิตจะถูกตัดออกไปเป็นลำดับแรก" สาระบอก

ทางออกของเขาก็คือ การเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมของพนักงานขายเหล่านี้ ให้สามารถ วิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า และนี่คือสาเหตุที่เขาเลือกใช้เครื่องปาล์ม หรือพีดีเอมา ใช้งานกับตัวแทนขาย

สาระเชื่อว่า ความคล่องตัวและคุณ สมบัติของเครื่องปาล์ม หรือพีดีเอ ที่สามารถ พกพาไปไหนได้สะดวก จะช่วยลดปัญหาและอุดช่องว่างในการขายประกันให้มีขีดความสามารถในการให้บริการได้ดียิ่งขึ้น

ความสะดวกที่ได้รับจากอุปกรณ์ชิ้นนี้ ซึ่งระบบการทำงานที่ออกแบบมาเพื่อการใช้งาน ของตัวแทนของเมืองไทยประกันชีวิต ถูกพัฒนา ขึ้นโดยบริษัทพอยท์เอเซีย ดอทคอม ประเทศไทย ที่ร่วมกับล็อกซอินโฟ ในการวางระบบของ Mr.Smart ว่าไปแล้วนับเป็นโชคดีอย่างหนึ่งของ เมืองไทยประกันชีวิตที่สามารถใช้ประโยชน์ใน เรื่องเหล่านี้จากเครือข่ายธุรกิจทางด้านเทคโน โลยีที่จะช่วยให้การนำไอทีมาใช้ภายในไม่ยาก ลำบากนัก

ตัวแทนขายประกันเหล่านี้ สามารถใช้ ประโยชน์จากโปรแกรมการวิเคราะห์ข้อมูล ที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลความต้องการของลูกค้า

"สิ่งที่เราพยายามทำ คือ การสอนให้ ตัวแทนรู้จักวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า ให้สอดคล้องกับตัวแบบของประกันชีวิตที่มีอยู่ จำนวนมาก"

ทันทีที่ตัวแทนขายประกันเหล่านี้ได้ข้อมูลความต้องการของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของระยะเวลาในการคุ้มครอง กำลังในการผ่อนชำระเบี้ยประกัน รวมทั้งระยะเวลาที่ลูกค้าต้องการคืนเงินประกัน เมื่อข้อมูลเหล่านี้ ถูกคีย์เข้าเครื่องพีดีเอ กระบวนการทำงานของ ระบบจะทำหน้าที่ประเมินหารูปแบบของประกันภัยที่เหมาะสม คำนวณออกมาเป็นตัวเงิน จากนั้นก็พิมพ์เป็นใบเสนอขายออกมาให้ ลูกค้าได้ทันที

"ตัวแทนประกันจะสามารถคำนวณออกมาเป็นเงินได้ทันที ยิ่งเป็นตัวแทนใหม่ ยังไม่รู้ว่าต้องเสนอข้อมูลอย่างไร ก็สามารถเรียกดู ข้อมูล และนำเสนอได้ว่า ควรจะเป็นแบบไหน"

สาระมองว่า ในอนาคตเมื่อมีกฎหมาย ที่เอื้ออำนวย เช่น การมีกฎหมายลายเซ็นอิเล็ก ทรอนิกส์ และพัฒนาการของเทคโนโลยีที่เหมาะสม อย่างระบบโทรศัพท์มือถือ GPRS ที่ทำให้การสื่อสารข้อมูลของโทรศัพท์เคลื่อนที่รวดเร็วขึ้น จะช่วยในการติดต่อสื่อสารระหว่าง ตัวแทนขายประกัน ผลที่ตามมาก็คือ คุณภาพ ในการออกกรมธรรม์จะเร็วยิ่งขึ้น

นอกเหนือจากโปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูล ลูกค้า ที่เป็นบริการพื้นฐานทั่วไปแล้ว ซึ่งอยู่ใน ระบบ off line สิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือฐานข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นของตัวแทนประกัน ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลโรงพยาบาล เบอร์โทรศัพท์ สาขาของ เมืองไทยประกันชีวิตที่อยู่ใกล้ลูกค้ามากที่สุด

"ผลที่เกิดขึ้นก็คือ ตัวแทนประกันเหล่า นี้จะไม่ต้องแบกสมุดคู่มือ หรือเอกสารให้หนัก อีกต่อไป ลูกค้าเองก็จะเกิดความรู้สึกเชื่อมั่นมากขึ้น" สาระบอก

ในขณะที่ระบบ off line จะเป็นเรื่องของ ข้อมูลพื้นฐานทั่วไปแก่ตัวแทนประกันที่ดึงข้อมูล จากระบบภายในตัวเครื่องมาใช้ได้ทันที ระบบ online จะทำขึ้นเพื่อให้ตัวแทนประกันชีวิตได้ใช้ประโยชน์ในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างเครื่อง พีดีเอ และฐานข้อมูลของบริษัท ในลักษณะของ การสื่อสารสองทาง (two way communication)

ภายใต้ระบบออนไลน์ เครื่องปาล์มของ ตัวแทนขายเหล่านี้จะสามารถเชื่อมโยงกับระบบฐานข้อมูลหลักของบริษัท ซึ่งจะทำให้ตัว แทนขายสามารถตรวจสอบความคืบหน้าของเอกสารต่างๆ ในการขาย เช่น สถานะของใบกรมธรรม์ การส่งเบี้ยประกันของลูกค้า การเคลมเงิน ฐานข้อมูลลูกค้า งานต่ออายุประกัน ของลูกค้า การจ่ายค่าสินไหมของลูกค้า ในด้านของหัวหน้าทีมขายที่จะสามารถ update ข้อมูลยอดขายของลูกน้องในสังกัดได้ทันที

นอกเหนือจากข้อมูลที่จำเป็นของตัวแทนประกันแต่ละรายแล้ว ยังรวมไปถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เกี่ยวกับการประกันชีวิต ทั้งในไทย และในภูมิภาคเอเชีย ข่าวสารการรวมกิจการที่จะถูกส่งมาให้กับตัวแทน

"ถ้าเอกสารของลูกค้าที่ตัวแทนส่งมาให้ ที่บริษัทไม่ครบ ระบบก็จะแจ้งไปที่ตัวแทนได้ทันที ไม่ต้องรอให้ตัวแทนเหล่านี้เข้ามาที่บริษัท"

การอำนวยความสะดวกให้ตัวแทนสามารถออนไลน์เครื่องพีดีเอเข้ากับระบบฐานข้อมูลจึงเป็นเรื่องที่จำเป็น ซึ่งตัวแทนเหล่านี้จะสามารถถ่ายโอนข้อมูลจากฐานข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่จัดเตรียมไว้ได้ทั่วประเทศในราคา 3 บาท

นอกจากนี้ ตามสำนักงานสาขาของเมืองไทยประกันชีวิต จะจัดเตรียมโมเด็มและ คู่สาย เพื่อให้ตัวแทนขายประกันชีวิตถ่ายโอนข้อมูลส่วนตัวของเขาจากฐานข้อมูลได้ฟรี

การนำอุปกรณ์พีดีเอมาใช้งานนี้ไม่ได้ ใช้ประโยชน์ผลักดันให้ตัวแทนประกันชีวิตนำเสนอรูปแบบประกันให้เหมาะสมกับความ ต้องการของลูกค้าที่แท้จริงเท่านั้น ในอีกด้าน หนึ่ง ตัวแทนประกันเหล่านี้จะทำหน้าที่เป็นผู้รวบรวมข้อมูล ที่จะนำมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่สอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริง

สาระยกตัวอย่างในการเสนอขายของตัวแทนขายประกันเหล่านี้ จะมีหน้าที่ในการสำรวจความต้องการของลูกค้า เช่นว่า ลูกค้า เพศ อายุ การศึกษา ลูกค้ากลุ่มไหนที่ชอบหรือไม่ชอบประกันในรูปแบบใด ข้อมูลที่ได้รับจะถูกส่งไปยังแผนกวิจัยและพัฒนา (R&D) ของบริษัท เพื่อทำหน้าที่วิเคราะห์ว่า ควรจะออกแบบบริการรูปแบบใดให้สอดคล้องกับความต้องการเหล่านี้

การใช้ประโยชน์จากพีดีเอเป็นเพียงเฟสแรกของการดำเนินงานเท่านั้น เฟสที่สอง ที่จะตามมาก็คือ การอัพเกรดฐานข้อมูล และ โปรแกรม เพื่อให้สอดรับกับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งในเรื่องของกฎหมาย

ปัจจุบันมีตัวแทนประกันชีวิตที่เป็นสมาชิกจดทะเบียนในโครงการ Mr.Smart 700 ราย ในจำนวนนี้เป็นตัวแทนประกันชีวิต 300 รายที่ได้รับแจกเครื่องพีดีเอจากบริษัทฟรี ซึ่ง บริษัทจะพิจารณาจากตัวแทนที่มียอดขายสูง สุด ส่วนที่เหลืออีก 400 รายนั้นจัดซื้อด้วยตัวเอง หากบางรายที่ไม่มีเงินซื้อสด บริษัทจะใช้วิธีให้ตัวแทนเหล่านี้กู้เงิน และจัดหาไฟแนนซ์ให้

"เราต้องดูว่าตัวแทนคนนี้เขาขายเป็น อย่างไร เพราะคนที่จะซื้อกับเรา ก็เป็นสมาชิก ในโครงการด้วย"

ตามเป้าหมายของบริษัท ก็คือ การที่ต้องมีตัวแทนขายประกัน 10% ของตัวแทนขาย ประกันของบริษัทที่มีอยู่ 10,000 ราย นั่นก็คือ การที่มีตัวแทนขายประกัน 1,000 คนที่ใช้ Mr.Smart ภายในสิ้นปีนี้ ดังนั้นจะเหลือตัวแทน ขายประกันอีก 300 รายที่จะเปลี่ยนมาใช้พีดีเอ

ด้วยเหตุนี้เอง สาระเชื่อว่า การนำ พีดีเอมาใช้งานของเมืองไทยประกันชีวิต ทำให้ พวกเขาเป็น "case ที่ใหญ่ที่สุด" ของบริษัทประกันชีวิตในเวลานี้

ก่อนหน้านี้ สาระเพิ่งกลับจากการไป พูดเรื่องของแนวคิด และผลของการนำอุปกรณ์ พีดีเอมาใช้ในธุรกิจประกันชีวิต ในเอเชียฟอรั่ม และอีกไม่นาน เขาก็ต้องเดินทางไปประเทศแคนาดาเพื่อพูดในเรื่องเดียวกัน

สาระบอกว่า โครงการเหล่านี้ส่วนหนึ่ง มาจากความพร้อมของทีมงาน และผู้นำของ องค์กรที่เห็นความสำคัญของการนำไอทีมาใช้

"ความรู้ไอทีผมไม่มาก แต่ผมมีทีมที่แข็งมาก และเป็นสิ่งที่ทุกคนให้ความสำคัญ ทุกคนโฟกัสตรงนี้ มันเป็นสิ่งที่เราต้องเห็น จริงๆ แล้ว เราไม่ได้หลับหูหลับตา แต่ดูความ เหมาะสม"

ประเด็นสำคัญของการนำ Mr.smart มาใช้งาน ไม่ได้อยู่ที่การเตรียมพร้อมในเรื่อง ของตัวอุปกรณ์ปลายทางเท่านั้น แต่สิ่งที่สำคัญ ไม่แพ้กัน ก็คือ การที่ต้องมีระบบหลังบ้าน หรือ back office ที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบฐานข้อมูลภายในที่ต้องมีความพร้อม และสำหรับโครงการ Mr.Smart เป็นเรื่องของการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายข้อมูลข่าวสาร network information

การ re-engineering องค์กรภายในของเมืองไทยประกันชีวิตที่ทำในช่วงปี 2540 ไม่ใช่เรื่องของการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงาน ภายใน แต่ยังเป็นการวางรากฐานที่สำคัญให้กับโครงการ Mr.Smart

"มีคนถามว่า ทำไมเราลงทุนไปตั้งเยอะ ในเวลานั้น แต่ถ้าเราไม่ทำในวันนั้น การทำเรื่อง Mr.Smart จะลำบากมาก" สาระบอก

สาระยกตัวอย่างการปรับปรุงระบบไอที หลัก (core system) ของระบบงานประกันชีวิต ด้วยการนำเอาซอฟต์แวร์ caphil ของแคนาดา มาทำงานบนเครื่อง เอสเอส/400 รวมถึงการปรับปรุงระบบการทำงานภายในหรือ work flow ทั้งหมด

ส่วนที่สอง คือ การล้างระบบฐานข้อมูล เป็นโครงการต่อเนื่องที่ทำมาตั้งแต่ปี 2540 และ อยู่ระหว่างการพัฒนาไปสู่ระบบ data ware- housing ซึ่งจะทำให้ประโยชน์จากฐานข้อมูลมี มากขึ้นเมื่อมาผนวกกับฐานข้อมูลที่ได้รับจากตัวแทนขาย

ผลจากการปรับปรุงระบบฐานข้อมูลใน ครั้งนั้น เท่ากับเป็นการวางรากฐานให้กับการใช้งานของเครื่องพีดีเอ ที่จะต้องเชื่อมต่อและส่งผ่านข้อมูลกับฐานข้อมูลของบริษัท หากไม่มี ระบบฐานข้อมูลเหล่านี้ เท่ากับว่าการถ่ายโอนข้อมูลก็จะไม่สะดวก

"ยอมรับว่า ปี 2540 เป็นปีที่อึดอัดมาก ฝ่ายขายบอกว่าเราเอาเงินกี่ร้อยล้านไปลงทุนทำอะไร ยังไม่เห็นผลเลย แต่มาวันนี้เราเห็นแล้วว่าผลที่เกิดขึ้นคืออะไร"

ผลตอบรับที่ชัดเจน ก็คือ ยอดขายประกันที่เพิ่มขึ้น ที่แม้ว่าจะเร็วเกินไปสำหรับ การวัดผลในเรื่องของตัวเลข แต่สาระได้ยกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมที่เกิดขึ้น ก็คือ การเป็นใบเบิกทางชั้นดีในการขายให้กับพวกเขา โดยเฉพาะการสร้างความเชื่อมั่น

"มันเป็น first impression บางคนเรายังไม่ต้องเสนอขาย ลูกค้าเห็นแล้วประทับใจ ดูแล้วเป็นมืออาชีพ ทำให้ปิดการขายได้เร็วขึ้น อย่างนี้มีเยอะมาก" สาระบอก

แต่สิ่งที่พวกเขาต้องการมากกว่านั้นคือ ความยั่งยืนของกรมธรรม์ที่จะได้รับการต่ออายุ มากขึ้น และนี่ก็คือการเตรียมความพร้อม สำหรับการแข่งขัน

สำหรับสาระแล้ว การตลาดในวันนี้จำเป็นต้องอาศัยความรวดเร็วของข้อมูลมาใช้เป็นเครื่องมือในการตัดสินใจ และองค์กรเหล่านั้นจำเป็นต้องรู้วิธีการจัดการองค์กรและ การใช้ประโยชน์ในเรื่องของความรู้

การนำไอทีมาใช้งานสำหรับสาระแล้ว ไม่ใช่เรื่องของการเป็นเครื่องมือที่ใช้สนับสนุน ระบบการทำงานภายในเท่านั้น แต่เป็นเรื่องการ ตลาดโดยตรง และโครงการ Mr.Smart เป็นการ นำไอทีไปใช้ประโยชน์กับฝ่ายการตลาด ซึ่งเป็น ด่านแรกในการเสนอบริการถึงมือลูกค้าจำเป็น ต้องได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและเกิดประสิทธิภาพ มากที่สุด

เป้าหมายต่อไป ก็คือการนำระบบ call center อันเป็นส่วนหนึ่งของระบบการบริหาร ลูกค้าสัมพันธ์ CRM หรือ Customer Relation Management อันจะเป็นเป้าหมายในอนาคต

พื้นที่บริเวณด้านล่างสำนักงานใหญ่ของ เมืองไทยประกันชีวิต ได้ถูกจัดแบ่งสำหรับใน เรื่องของการนำไอทีมาใช้งาน

ห้องคลีนิค เป็นส่วนงานที่ทำขึ้นสำหรับ รองรับโครงการ Mr.Smart ให้กับผู้อบรมไปแล้ว แต่ยังไม่เข้าใจหรือติดปัญหาจะเข้ามาสอบ ถาม แต่ละวันจะมีผู้ที่เข้ามาขอคำแนะนำเฉลี่ย 8-10 คน

ก่อนหน้านี้จะมีการฝึกอบรมและการ ซัปพอร์ตให้กับผู้ที่เข้าโครงการ Mr.Smart ทั้งใน กรุงเทพฯ และสาขาในจังหวัดใหญ่ๆ ปัจจุบันการฝึกอบรมทำไปแล้วทั้งหมด 9 ชั้นเรียน แต่ละชั้นจะมีตัวแทนขายที่เข้าอบรม 30-40 คน และใช้เวลา 2 วัน ต่อ 1 ชั้นเรียน

ในขณะที่ห้องถัดไป แต่มีเนื้อที่ใหญ่กว่า มีชื่อเรียกว่า "ห้องไซเบอร์" เป็นห้องที่ถูกจัดเตรียมไว้ให้ตัวแทนขายประกันในการใช้งาน ภายในบรรจุเครื่องพีซี 8 เครื่อง ในจำนวนนี้มีพีซี 2 เครื่อง ที่มีไว้สำหรับพนักงานขายโดยตรง เช่น โปรแกรมพาวเวอร์พอยต์ที่เตรียมไว้ให้กับตัวแทนในการนำเสนอการขายให้กับลูกค้าองค์กร

เครื่องพีซีที่เหลือมีไว้สำหรับให้ตัวแทน ขายประกันหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นระบบอินเทอร์เน็ตแบบใช้การ์ด โดยผู้ใช้จะต้อง ซื้อการ์ดไอคูลสำหรับการใช้งานและเมื่อต้อง การพิมพ์สี จะเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

บริเวณด้านหน้าของสำนักงานที่จะมีพีซีคอมพิวเตอร์ 10 ตัว ที่เชื่อมต่อเข้ากับฐาน ข้อมูลของบริษัท ตั้งเรียงรายไว้ให้ตัวแทนขายประกันสามารถตรวจสอบข้อมูลได้จากเครื่องเหล่านี้ เช่น สถานะของกรมธรรม์และการออก เอกสารต่างๆ โดยไม่ต้องเข้าไปยังสำนักงาน แต่สามารถมาใช้ที่สำนักงานใหญ่หรือสำนักงาน สาขาบางแห่งที่มีระบบนี้เตรียมไว้ให้

ในบริเวณไม่ไกลกัน จะมีตู้"ไอคูล" ตู้คีออสที่มีไว้สำหรับให้บริการอินเทอร์เน็ตสาธารณะแบบใช้บัตร ที่พัฒนาขึ้นโดยบริษัท พอยต์เอเซียติดตั้งไว้สำหรับให้ตัวแทนประกันได้ใช้งาน

เดิมทีเมืองไทยประกันชีวิตจะเพิ่มโปรแกรมในการให้ตัวแทนขายประกันสามารถ ส่งผ่านข้อมูลกับฐานข้อมูลของบริษัท ผ่านระบบอินทราเรทที่ติดตั้งในตู้ไอคูล

นอกเหนือจากงานประจำที่ต้องดูแลใน เรื่องการวางแผนงาน ในฐานะแกนนำในโครง การ Mr.Palm นับตั้งแต่เดือนเมษายน ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นโครงการ Mr.Palm ทุกวันนี้ สาระต้องใช้เวลาส่วนหนึ่งในการตอบคำถามที่ส่งผ่านทางอีเมล

"ข้อเสนอมีเยอะ ส่วนใหญ่จะชม คำด่า ยังไม่มี" สาระเล่าเขาเชื่อว่า ผลตอบรับที่ดีนั้น มาจากจุดมุ่งหมายของการนำอุปกรณ์พีดีเอมา ใช้งานให้เป็นเครื่องมือชิ้นหนึ่งช่วยทั้งในการขาย และเป็นมืออาชีพมากขึ้น โดยเฉพาะอย่าง ยิ่ง ในอนาคตสินค้าจะเป็นเรื่องของการลงทุน และสลับซับซ้อนมากขึ้น จำเป็นที่ตัวแทนขายประกันเหล่านี้จะเรียนรู้การใช้ไอที

สำหรับสาระแล้ว อีคอมเมิร์ซไม่ได้หมายถึงการสร้างเว็บไซต์เพื่อใช้เป็นช่องทาง ในการขายประกันให้กับลูกค้า เพราะความซับซ้อนของรูปแบบประกันชีวิตที่มีความหลาก หลาย ยังจำเป็นต้องใช้วิธีการขายผ่านตัวแทน ประกันเหมือนเดิม แต่ไอทีจะเป็นเครื่องมือที่จะช่วยเพิ่มความสะดวกให้กับตัวแทนขายประกันให้ได้รับความสะดวกยิ่งขึ้น

"มันไม่มีภาพตอนจบของไอที เพราะ ว่า ถ้าจบมันก็ไม่พัฒนาแล้ว" สาระกล่าวใน ที่สุด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us