Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2544
ถนนที่เคยเดินของ "สถาพร กวิตานนท์"             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
 


   
search resources

สถาพร กวิตานนท์




ตามแผนเดิม สถาพร กวิตานนท์จะต้องอยู่รับราชการไปจนเกษียณอายุในตำแหน่งเลขาธิการบีโอไอ ในวันที่ 30 กันยายนที่จะถึงนี้

แต่เขาตัดสินใจยื่นใบลาออกก่อนถึงวันเกษียณอายุเพียงไม่ถึง 3 เดือน โดยมีผลเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม

บางคนวิเคราะห์ว่าการลาออกของเขา มีสาเหตุเพราะไม่สามารถปรับตัวเข้ากับแนวทางการทำงานของรัฐบาลใหม่ ภายใต้การนำของพรรคไทยรักไทยได้ เพราะเป็นการลาออกหลังมีการจัดตั้งรัฐบาลเพียงไม่กี่เดือน

แต่หลายคนก็เชื่อว่าเหตุผลที่แท้จริงคือ เขาต้องการจะออกไปใช้ชีวิตในช่วงนี้อย่างสงบสักระยะหนึ่ง เพื่อทุ่มเทสมาธิในการเขียน หนังสือประวัติชีวิตตัวเอง ที่ได้ตั้งชื่อเรื่องไว้แล้วว่า "ถนนที่เคยเดิน"

สถาพรรับราชการมาแล้วเป็นเวลาถึงกว่า 40 ปี เขานับเป็นข้าราชการคนหนึ่งที่มีชีวิตราชการค่อนข้างโลดโผน เพราะต้องเข้า ไปสัมผัสกับความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ที่เข้ามาสู่ระบบราชการไทยอยู่ ตลอดเวลา

"ผู้จัดการ" เคยกล่าวถึงสถาพรไว้ว่าเขาถือเป็น Technocrat คนแรกๆ ของสังคมธุรกิจไทย

สถาพรมีพื้นเพเป็นคนนครสวรรค์ ถือเป็นคนต่างจังหวัดที่มีใจรักการเรียนรู้ตั้งแต่เด็ก

"ภาษาอังกฤษผมดีตั้งแต่เด็ก เพราะว่าผมชอบ ผมเรียนภาษา อังกฤษตั้งแต่ ม.1 แต่ผมเรียนส่วนตัวมาตั้งแต่ประถม 2 ที่นครสวรรค์ ผมได้ครูภาษาอังกฤษดีคนหนึ่ง เพราะฉะนั้นพอ ม.1 เริ่มเรียนนี่ ความ รู้ภาษาอังกฤษผมเท่ากับมัธยม 3 ข้อสอบมัธยม 6 นี่ผมทำได้แล้ว" เขาสะท้อนให้เห็นความใฝ่รู้ที่มีติดตัวมาตั้งแต่ยังเรียนชั้นประถม

เขาเดินทางเข้ามาเรียนต่อในกรุงเทพฯ หลังจบมัธยมปีที่ 6 (มัธยมศึกษาปีที่ 3 ในระบบปัจจุบัน) จากนครสวรรค์ โดยครั้งแรกตั้งใจจะเข้ามาเรียนต่อมัธยมปลายที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ตามทัศนคติของคนต่างจังหวัด ในยุคปี 2500 แต่เขาสอบไม่ผ่าน ซึ่งถือเป็น ความผิดหวังครั้งแรกของเขา "ผมก็ว่าผมเรียนดี ใครๆ ก็ไม่เชื่อว่า ผม สอบไม่ได้ อาจเป็นเพราะเป็นเด็กบ้านนอก เลยตื่นเต้นกับบรรยากาศ"

แต่การสอบเข้าเตรียมอุดมไม่ได้ กลับส่งผลดีให้กับสถาพร เพราะหลังจากนั้นเขาได้ตัดสินใจไปเรียนกวดวิชา ซึ่งสามารถย่นระยะ เวลาให้เขาเรียนจบมัธยม 7 และ 8 ได้ภายในปีเดียว เร็วกว่าพรรคพวกในรุ่นเดียวกันที่สอบเข้าเตรียมอุดมได้ถึง 1 ปี

เขาตัดสินใจเข้าศึกษาต่อที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี 2501

"สมัยนั้น ทุกคนอยากจะไปเรียนวิศวะ เรียนแพทย์ อาจจะเป็น เพราะระบบการศึกษาของเรา ที่เข้าใจว่าคนเก่งต้องเรียนวิทยาศาสตร์ ผมเป็นคนชอบคำนวณ แต่ลึกๆ เป็นคนไม่ชอบทางด้านวิทยาศาสตร์ ผมไม่ค่อยชอบอะไรที่ทำด้วยมือ ก็เลยอยู่เฉยๆ ไม่ได้ไปสอบจุฬาฯ พรรคพวกไปสอบจุฬากันได้บ้างตกบ้าง แต่ผมอยู่เฉยๆ ชอบอ่านหนังสือพวกสังคมศาสตร์ ก็เลยเลือกเรียนเศรษฐศาสตร์"

หลังจบปริญญาตรีเศรษฐศาสตร์ จากธรรมศาสตร์ เขาได้เข้า ไปเป็นลูกจ้างกรมบัญชีกลางอยู่ประมาณ 10 เดือน ก่อนที่จะย้ายมาอยู่สภาพัฒน์

ที่สภาพัฒน์ เขาทำงานได้เพียงปีเดียว ก็สามารถสอบชิงทุนไปเรียนต่อปริญญาโททางด้านเศรษฐศาสตร์ ที่สหรัฐอเมริกา

ชีวิตราชการของสถาพร เริ่มพบกับความตื่นเต้น หลังจบปริญญาโท แล้วกลับเข้ามาทำงานที่สภาพัฒน์อีกครั้งในปี 2510

งานหลักชิ้นแรกที่เขาได้เข้าไปสัมผัสคือ ส่วนงานวางแผน เอกชน ซึ่งเป็นส่วนงานใหม่ที่ตั้งขึ้นเพื่อสร้างความแข็งแรงให้กับภาค เอกชนในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจกำลังอยู่ระหว่างการก่อร่างสร้างตัวในยุคนั้น และถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เขาต้องเข้ามาคลุกคลีกับภาคเอกชน ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นพลังขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจอันสำคัญในภายหลัง

"ทุกวันนี้ ผมเจรจาต่อรองทางธุรกิจเป็น ผมคิดแบบนักธุรกิจ เป็น"

จากส่วนงานวางแผนเอกชน ต่อมาได้ถูกพัฒนารูปแบบขึ้นเป็น คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.) ในปี 2524 สถาพรก็มีบทบาทสำคัญในฐานะที่เป็นเลขานุการ กรอ.

ปี 2527 สถาพรถูกย้ายจากสภาพัฒน์ มาอยู่ที่สำนักงานคณะ กรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ในฐานะรองเลขาธิการ และได้ขึ้นเป็นเลขาธิการในปี 2534

ตลอดชีวิตการรับราชการ นอกจากเขาจะได้มีโอกาสทำงานใกล้ชิดกับภาคเอกชนมากกว่าข้าราชการคนอื่นๆ แล้ว งานราชการ ของสถาพรมักจะวนเวียนอยู่กับการเริ่มต้นสร้างสิ่งใหม่ๆ เข้าไปในระบบ

ที่สภาพัฒน์เขาอยู่กองวางแผนเอกชน ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็น กรอ.

ย้ายมาบีโอไอ เขาอยู่ในช่วงข้อต่อของการลดค่าเงินบาทเมื่อ ปี 2527 เขามีส่วนในการเปลี่ยนนโยบายการส่งเสริมการลงทุนจากผลิต เพื่อทดแทนการนำเข้า มาเป็นการผลิตเพื่อส่งออก

หลังประเทศประสบวิกฤติจากการลอยตัวค่าเงินบาทอีกครั้งในปี 2540 เขาตัดสินใจประกาศนโยบายให้การส่งเสริมการลงทุนจาก ต่างชาติที่ถือหุ้นเกินกว่า 50% เพื่อดึงเม็ดเงินเข้าประเทศ

"ชีวิตราชการจริงๆ ไม่มีอะไร มันเป็นงานซึ่งมันไปเรื่อยๆ ทีนี้ เรื่องที่เราทำแล้วมันสนุก มันเป็นราชการแบบใหม่ แนวใหม่"

นอกจากงานราชการ ซึ่งเป็นงานประจำแล้ว ชีวิตในส่วนที่ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับงานการเมืองของสถาพร ก็มีสีสันไม่น้อยไปกว่ากัน

เขาเคยได้รับการเสนอชื่อเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ในช่วงก่อนปี 2516 เคยเป็นหน้าห้องของสุนทร หงส์ลดารมภ์ ในฐานะรองนายกรัฐมนตรี รัฐบาลของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ในปี 2518

ในช่วงปลายรัฐบาล พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เมื่อปี 2523 เขาได้เข้าเป็นรองโฆษกรัฐบาล และมีส่วนร่วมอยู่ในการประกาศขึ้นราคาน้ำมันลิตรละ 3 บาท ซึ่งเป็นชนวนสำคัญที่ทำให้ พล.อ.เกรียง ศักดิ์ต้องประกาศลาออกจากตำแหน่งต่อมาในภายหลัง

แต่บทบาทสำคัญที่สุดของเขา กลับโดดเด่นมากภายหลังการ ปฏิวัติของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ภายใต้การนำของ พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ และพล.อ.สุจินดา คราประยูร ในปี 2534 เพราะเขาได้ถูกแต่งตั้งให้เป็นเลขานุการ นายกรัฐมนตรี อานันท์ ปันยารชุน และอยู่ในบทบาทของตัวประสานงานระหว่างรัฐบาลกับฝ่ายทหารอยู่เกือบ 2 ปี

ประสบการณ์เหล่านี้ ทำให้เขารู้ซึ้งถึงการวางตัวให้มีช่องห่างระหว่างการเป็นข้าราชการประจำกับนักการเมืองเป็นอย่างดี

"ผมไม่เคยกลัวการเมือง ผมไม่เคยประจบนักการเมือง และผมไม่เคยกลัวว่านักการเมืองจะมาปลดผม หรือทำอะไรผม ไม่เคยกลัวเลย ผมคิดว่าถ้าเราทำในสิ่งที่มันถูกต้อง ใครก็ทานเราไม่ได้"

ก่อนยื่นใบลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการ บีโอไอ เขาเคยได้รับการเสนอชื่อจาก ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การคลัง ให้ไปเป็นประธานคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ ไทย แทนอมเรศ ศิลาอ่อนที่จะหมดวาระลงในสิ้นเดือนนี้แต่เขาปฏิเสธ

ด้วยประสบการณ์ที่ผ่านมากว่า 40 ปี ของเขา คงไม่ยากนักหากเขาคิดจะเดินเข้าไปอยู่ในองค์กรเอกชนใหญ่ๆ ที่ใดก็ได้สักที่หนึ่ง

ซึ่งน่าเชื่อว่า ณ ขณะนี้ เขาอาจมีสถานที่อยู่ในใจแล้ว

("ผู้จัดการ" ปีที่ 17 ฉบับที่ 198 เดือนมีนาคม 2543)

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us