Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2544
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่า ธปท.คนใหม่ ในภาวะการเงินที่ล่อแหลม             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
 


   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
ปรีดิยาธร เทวกุล, ม.ร.ว.




การประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตร ประเภท 14 วัน จากระดับ 1.5% เป็น 2.5% ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินอย่างเป็นรูปธรรมครั้งแรก ภายหลังการเข้ารับตำแหน่งผู้ว่าการธนาคาร แห่งประเทศไทย (ธปท.) คนที่ 20 ของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล

การประกาศครั้งนี้ เกิดขึ้นในวันที่ 8 มิถุนายน หลังมีพระบรม ราชโองการ แต่งตั้งให้เป็นผู้ว่าการ ธปท.ไม่ถึงสัปดาห์ โดยให้มีผลทันที ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยอินเตอร์แบงก์ในระบบมีการขยับเพิ่มสูงขึ้นตาม

"ตอนนี้เมืองไทยเป็นเมืองที่ผิดมนุษย์มนาประหลาดมาก โดย ทั่วไปอินเตอร์แบงก์จะอยู่ระหว่างเงินกู้และเงินฝาก ผมเคยทำงานแบงก์มา 20 ปี ไม่มีแม้แต่วันเดียวที่อินเตอร์แบงก์ต่ำกว่าเงินฝาก โครง สร้างอินเตอร์แบงก์ที่เหมาะสมจะอยู่ระหว่างดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝาก จะไม่มีความเครียดในการให้กู้ของธนาคารพาณิชย์ ไม่มีความเครียด ในการจัดการเงินของเรา แปลกแต่จริงเราปล่อยให้อินเตอร์แบงก์ต่ำกว่าเงินฝากมากว่า 2 ปีแล้ว" ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวในการแถลงนโยบายอย่างเป็นทางการ ครั้งแรกหลังเข้ารับตำแหน่ง

ดูเหมือนประเด็นอัตราดอกเบี้ย จะเป็นประเด็นที่ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร มีความวิตกกังวลค่อนข้างมากในช่วงแรกของการเข้ารับตำแหน่ง เพราะการที่อัตราดอกเบี้ยอินเตอร์แบงก์อยู่ในระดับต่ำกว่าอัตราดอก เบี้ยเงินฝากนั้นส่งผลหลายประการ

ประการแรก ธนาคารพาณิชย์ โดยเฉพาะจากต่างชาติสามารถ เข้ามากู้เงินจากตลาดอินเตอร์แบงก์ เพื่อนำไปปล่อยกู้ต่อในอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่ามาก ส่งผลให้ธนาคารเหล่านี้ปฏิเสธที่จะรับเงินฝากจากประชาชนทั่วไป ที่มีต้นทุนสูงกว่า

ประการต่อมา มีการนำเงินกู้จากตลาดอินเตอร์แบงก์ไปเก็งกำไรค่าเงินบาทในตลาดต่างประเทศ ส่งผลให้เกิดการไหลออกของเงินทุน และมีผลต่อเนื่องถึงดุลชำระเงินที่เริ่มจะเกินดุลลดลง และจะ มีผลถึงฐานะเงินทุนสำรองระหว่างประเทศในอนาคต

ฐานะเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ คือ สิ่งที่ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร มีความเป็นห่วงมากที่สุด เขาถึงกับประกาศเป็นเป้าหมายหลักในการ เปลี่ยนแปลงนโยบายการเงิน หลังจากเข้ารับตำแหน่ง

"จะมีการเปลี่ยนแนวนโยบายการเงิน ถ้าถามว่าทำไมจะต้องมีการเปลี่ยน ต้องขอปูพื้นก่อน สำหรับนโยบายทางการเงินเวลาใช้มีเป้าหมายสุดท้าย 2 เรื่องใหญ่ๆ คือ 1. เพื่อสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ และ 2. เพื่อรักษาความมั่นคงของเศรษฐกิจ หรืออีกนัยคือรักษาทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ ถ้าทุนสำรองแข็งแรง ค่าเงิน บาทก็จะมีเสถียรภาพ"

ปัจจุบันฐานะเงินทุนสำรองระหว่างประเทศเริ่มสั่นคลอน หลังจากมั่นคงต่อเนื่องกันมาถึง 2 ปี ด้วยเหตุผลสำคัญคือ ยอดการ เกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่ขยายตัวในอัตราที่ลดลง

ในปี 2541-2542 ประเทศไทยมียอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดประมาณ 1.3-1.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ก่อนที่ลดลงเหลือ 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2543 และในปีนี้ ได้มีการคาดการณ์ไว้ว่ายอด เกินดุลบัญชีเดินสะพัดจะลดลงเหลือเพียง 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น

สาเหตุสำคัญก็เนื่องมาจากภาวะการส่งออกที่ลดลง จนกระทั่ง ในบางเดือนไทยต้องประสบกับปัญหาการขาดดุลการค้า เพราะประเทศคู่ค้าสำคัญคือสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่นมีปัญหาทางเศรษฐกิจ

ขณะเดียวกันค่าเงินบาทที่อ่อนตัว ก็กระตุ้นให้มีการเร่งซื้อเงิน ดอลลาร์เพื่อนำไปชำระหนี้ต่างประเทศ

เป็นสถานการณ์ที่ล่อแหลมต่อการเกิดวิกฤติทางการเงินรอบใหม่ หากผู้กำหนดนโยบายไม่รีบเข้าไปจัดการกับปัญหา

แต่ดูเหมือนหลังจากการประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร เสียงสะท้อนที่ออกมาจากหลายๆ ฝ่าย โดยเฉพาะจากสถาบันการเงินต่างชาติมีทิศทางที่ไม่เห็นด้วย โดยให้เหตุผลว่าเป็นการดำเนินนโยบายที่สวนทางกับภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกที่แนวโน้ม ของอัตราดอกเบี้ยกำลังลดลง และการใช้นโยบายดอกเบี้ยสูงจะเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของภาคธุรกิจ

"สายนโยบายการเงินคงไม่เห็นด้วยกับผม แต่ผมเป็นคนตั้งใจ ทำ แล้วสักพักค่อยมาดูกัน ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มีตั้ง 108 วิธี ลองเดิน กับผมไปสักพักหนึ่ง ผมยังเชื่อว่าถูก ใน 2-3 อาทิตย์ก็เชื่อว่าถูก และผมจะพยายามติดตามตัวเอง และติดตามเครื่องชี้ต่างๆ ถ้าไม่ได้ผลก็ ต้องเปลี่ยนแปลง ขอทดลองให้ดูก่อนอีกสัก 2 เดือน "ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวในตอนหนึ่งของการพบปะพนักงาน ธปท.เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน

อีกสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้น ในการประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยในตลาด ซื้อคืนพันธบัตร คือได้เกิดความผันผวนขึ้นในตลาดการเงินค่อนข้าง มาก

ถึงขนาดที่คนในตลาดมีการคาดการณ์ต่อว่า ธปท.จะมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินขนานใหญ่ตามออกมา เช่น การเข้าควบคุมการไหลออกของเงินทุน ตลอดจนการลดอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงตามมาตรฐานบีไอเอส

ดร.อัมมาร สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณ จากทีดีอาร์ไอ ถึงกับกล้าฟันธงลงไปเลยว่าการประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อ คืนพันธบัตร คือ การปูทางไปสู่การเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนกลับมาใช้แบบคงที่เหมือนเมื่อก่อนปี 2540

แต่การคาดการณ์ทั้งหมด ได้ถูกปฏิเสธโดยสิ้นเชิง ทั้งจากตัว ม.ร.ว.ปรีดิยาธรเอง รวมทั้ง ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลัง ไปจนถึง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

ขณะนี้ การขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ผ่านพ้นมาเป็นเวลากว่า 1 เดือน ฝุ่นควันในตลาดการเงินเริ่มสงบลงบ้างแล้ว

และเวลาอีกไม่ถึง 1 เดือนหลังจากนี้ ก็จะรู้แล้วว่านโยบายการ เงินที่ผู้ว่า ธปท.ได้มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ครั้งนี้ จะได้ผลเพียงใด

ตลาดเงิน 1 เดือน หลังมีผู้ว่า ธปท.คนใหม่

29 พฤษภาคม - คณะรัฐมนตรี มีมติปลด ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล ออกจากตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และแต่งตั้ง ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ดำรงตำแหน่งแทน

30 พฤษภาคม - ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ว่าที่ผู้ว่าการ ธปท. ให้สัมภาษณ์ว่า หลังจากมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เข้ารับตำแหน่งแล้ว จะเรียกประชุมเจ้าหน้าที่ ธปท.และที่ปรึกษา เพื่อกำหนดนโยบายการเงินใหม่ โดยเฉพาะนโยบายดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งใช้มานานเกินไปแล้ว ทำให้มีเงินทุนไหลออก และเงินทุนไม่ไหลเข้า ซึ่งต้องทบทวน

31 พฤษภาคม - ผลตอบแทนจากการลงทุนในตลาดตราสารหนี้ ตั้งแต่วันที่ 28-30 พ.ค. เริ่มมีอาการผันผวน โดยผลตอบแทนจากการลงทุนในพันธบัตร อายุ 5 ปี สูงถึง 1.5% และพันธบัตรอายุ 1 ปี สูงขึ้น 1% สูงที่สุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤติขึ้นในปี 2540 ขณะเดียวกันนักลงทุนเริ่มชะลอการ ลงทุน เพื่อรอดูนโยบายการเงินของผู้ว่า ธปท.คนใหม่ ในตลาดเงิน เกิดอาการขาดสภาพคล่อง ส่งผลให้ ธปท.ต้องอัดฉีดเงินเข้าไปประมาณ 2 หมื่นล้านบาท ผ่านตลาดซื้อคืนพันธบัตร (อาร์/พี) ประเภท 1 วัน, 7 วัน และ 14 วัน เพื่อทำให้อัตราดอกเบี้ยระยะสั้น ไม่ตึงตัว - บริษัทสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ส (เอสแอนด์พี) บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือชื่อดังของสหรัฐฯ ได้ออกมาวิจารณ์นโยบายขึ้น อัตราดอกเบี้ยว่า จะทำให้การฟื้นตัวที่เริ่มเกิดขึ้นของภาคธุรกิจไทย ต้องล่าช้าออกไปและเป็นผลร้ายต่อพอร์ตสินเชื่อของสถาบันการเงิน - ดร.เทียนฉาย กีระนันทน์ อาจารย์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.ฉลองภพ สุสังกรกาญจน์ ประธานมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการ พัฒนาประเทศไทย และดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ในฐานะกรรมการ นโยบายการเงิน ชุดที่แต่งตั้งโดย ม.ร.ว.จัตุมงคล ได้ยื่นใบลาออกจากตำแหน่ง

1 มิถุนายน - ธนาคารดีบีเอส ไทยทนุ ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนจาก 3% เป็น 3.5% และเงินฝากประจำ 24 เดือน เพิ่มจาก 3.5% เป็น 4% โดยให้เหตุผลว่าแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยกำลังเพิ่มสูงขึ้น

4 มิถุนายน - ม.ร.ว.ปรีดิยาธร แถลงข่าวอย่างเป็นทางการ ภายหลังมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่า ธปท. โดยยืนยัน จะมีการเปลี่ยนแปลงแนวนโยบายการคลัง โดยมีเป้าหมายเพื่อการสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ และเพื่อรักษาความมั่นคงของเศรษฐกิจ หรืออีกนัยคือรักษาความมั่นคงของทุนสำรองระหว่างประเทศ เนื่องจากเห็นว่าโครงสร้างอัตราดอกเบี้ยในช่วงที่ผ่านมามีความผิดปกติ เพราะอัตราดอกเบี้ยอินเตอร์แบงก์อยู่ในระดับต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ซึ่งส่งผลให้เกิดการไหลออกของเงินทุน และมีผลต่อเนื่องถึง ฐานะทุนสำรองระหว่างประเทศ

5 มิถุนายน - ธนาคารในต่างประเทศขายเงินดอลลาร์ เนื่องจากเกิดความวิตกกังวลว่า ธปท.จะใช้นโยบายควบคุมเงินทุนไหลออก ส่งผลให้ค่าเงินบาท แข็งขึ้นสูงสุดในรอบ 2 เดือน

6 มิถุนายน - ม.ร.ว.ปรีดิยาธร ในฐานะผู้ว่า ธปท. ได้เข้าหารือกับ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอย่างเป็นทางการเป็น ครั้งแรก โดยยืนยันจะยึดหลักการใช้นโยบายการคลังเป็นตัวเร่งการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ ส่วนนโยบายการเงินจะส่งเสริมให้กำลังใจ สถาบันการเงิน ให้มีการปล่อยสินเชื่อเข้าสู่ระบบ ขณะเดียวกัน ทางคณะกรรมการธนาคารเอเชีย ได้มีการประชุมเพื่อพิจารณาทิศทางอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก

8 มิถุนายน - ธปท.ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร (อาร์/พี) ประเภท 14 วัน จากระดับ 1.5% ต่อปี เป็น 2.5% ต่อปี โดยให้มี ผลทันที

11 มิถุนายน - ภาวะตลาดตราสารหนี้เริ่มผันผวน เพราะนักลงทุนต้องการรอดูทิศทางอัตราดอกเบี้ยที่ชัดเจน ส่งผลกระทบต่อบริษัทที่ต้องการระดมทุน ผ่านตลาดหุ้นกู้ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะบริษัทที่เตรียมออกหุ้นกู้ 3 แห่ง คือ บริษัทโรงผลิตกระแสไฟฟ้าขนอม บริษัทเซ็นทรัลพัฒนา และบริษัท แคลคอมพ์ ต้องชะลอออกหุ้นกู้ดังกล่าวไปก่อน

13 มิถุนายน - มีการหารือร่วมกันระหว่างผู้ว่า ธปท.และสมาคมธนาคารไทย โดยประเด็นที่มีการพูดคุยกันคือเรื่องกับนโยบายการเงิน อัตราดอกเบี้ย และการขยายสินเชื่อ

14 มิถุนายน - กรรมาธิการการคลัง การธนาคารและสถาบันการเงิน และคณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจพาณิชย์และอุตสาหกรรม ของวุฒิสภาได้มี การประชุมร่วมกันและได้เชิญ ดร.วีรพงษ์ รามางกูร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมาให้ข้อมูล โดยที่ประชุมได้ข้อสรุปว่ารัฐบาล จะต้องแก้ไขกฎเรื่องการดำรงเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงตามมาตรฐานบีไอเอส เพราะเป็นต้นเหตุของปัญหาที่ทำลายเศรษฐกิจไทย

18 มิถุนายน - ม.ร.ว.ปรีดิยาธร ได้พบปะกับพนักงาน ธปท.พร้อมขอเวลา 2 เดือน เพื่อพิสูจน์นโยบายดอกเบี้ย ที่เพิ่งปรับอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตร ขึ้น 1% เพื่อรักษาเสถียรภาพค่าเงินบาท และทุนสำรองระหว่างประเทศ ว่าหากไม่ได้ผลพร้อมเปลี่ยนแปลงทันที

21 มิถุนายน - ม.ร.ว.ปรีดิยาธร ได้เข้าชี้แจงภาวะเศรษฐกิจต่อคณะกรรมาธิการการคลัง การธนาคาร และสถาบันการเมืองวุฒิสภา, คณะกรรมาธิการ การเงิน การคลัง การธนาคาร และสถาบันการเงิน และคณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมวุฒิสภา โดยกล่าวว่า ธปท.ได้ เตรียมขอ "เครดิตไลน์" กับประเทศเพื่อนบ้านให้ได้จำนวน 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อให้สอดคล้องกับเม็ดเงินที่คาดว่าจะไหลออก สุทธิ (Net Capital Flows) ในปี 2544 จำนวน 9.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ พร้อมปฏิเสธว่าจะไม่มีการปรับลดมาตรฐานบีไอเอสในการดูแล สถาบันการเงิน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us