Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2544
STRAND BOOKSTORE ธุรกิจครอบครัวระดับโลก             
 


   
www resources

โฮมเพจ ร้านหนังสือ Strand Bookstore

   
search resources

STRAND BOOKSTORE




ในปีที่ 72 ของการดำเนินธุรกิจ STRAND BOOKSTORE เลื่อนขั้นจากการเป็นร้านหนังสือมือสอง ยอดเยี่ยมที่สุดในโลก มาเป็นร้านหนังสือลดราคาที่ใหญ่และดีที่สุดในโลก

ทศวรรษที่ 21 นี้ "STRAND" ไม่ได้จำหน่ายแต่หนังสืออ่านแล้วอีกต่อไป หากยังเพิ่มจำนวนหนังสือใหม่ที่โรงพิมพ์ต้องการลดสต็อก และได้ปรับปรุงระบบภายในร้านให้เข้าขั้นดีขึ้น

ร้านหนังสือ STRAND เปิดกิจการเมื่อปี 1929 หลังเศรษฐกิจเสื่อมถอยยุค Depression ในอเมริกา โดยคนรุ่นปู่ชื่อ เบนจามิน เบส ผู้อพยพจากลิทัวเนียในย่านห้องแถวร้านหนังสือ บริเวณถนนสายที่ 8 และอเวนิวสายที่ 4 ซึ่งมีร้านหนังสือเรียงหน้ากันถึง 46 ร้าน ต่อมาใน ปี 1944 ทางร้านได้ย้ายมาอยู่ใกล้ๆ กัน ที่สาขาปัจจุบัน ณ หัวมุมของถนนสายที่ 12 และบอร์ดเวย์ เบนจามิน ล่วงลับไปตั้งแต่ปี 1978 ทิ้งร้านไว้ให้ลูกชายคือ เฟรด เบส ซึ่งเข้าทำงาน เป็นผู้จัดการร้าน ตั้งแต่อายุ 26 ปี จนปัจจุบันมีอายุ 72 ปี และหลานปู่คือ แนนซี่ เบส ปัจจุบันมีอายุ 40 ปี ซึ่งเป็นผู้ให้สัมภาษณ์ถึงกิจการของร้านอันเป็นธุรกิจครอบครัวที่เก่าแก่ยาวนานของนครนิวยอร์ก และหนึ่งในธุรกิจครอบครัวจริงๆ ที่มีชื่อเสียงระดับโลก อีกทั้งคน รุ่นหลังยังสามารถประคองตัวให้อยู่ในธุรกิจได้อีกต่อไป ท่ามกลางการจ้องงาบของบริษัท ยักษ์ใหญ่

ม ร ด ก 2 . 5 ล้ า น เ ล่ ม เมื่อหลายปีก่อน STRAND ได้เริ่มโฆษณาด้วยสโลแกนที่ว่า "8 ไมล์ของหนังสือ" อย่างไรก็ตาม แนนซี่เปิดเผยว่า ตามความเป็นจริง หลายปีที่ผ่านมา ทางร้านมีหนังสือประมาณ 2.5 ล้านเล่ม ซึ่งอาจเป็นระยะทางได้ประมาณ 12.5 ล้านไมล์

แนนซี่ เป็นสาวสวยโสด และยังดูเยาว์วัย เช่นเดียวกับ เฟรด ผู้พ่อที่อาจพบเห็นเขาทำงานกระฉับกระเฉงอยู่หลังเคาน์เตอร์รับซื้อหนังสือหน้าร้าน คำกล่าวที่ว่า "อ่านหนังสือมากแล้วแก่เร็ว" จึงไม่อาจ ใช้ได้ในกรณีนี้ เช่นเดียวกับที่ตำราการตลาดว่าด้วยการ "บริหารแบบมืออาชีพ" และ "การกระจายอำนาจในการบริหาร" ก็ไม่อาจใช้ได้กับ ธุรกิจของครอบครัวนี้ด้วย

แนนซี่ และเฟรด ลงพื้นที่ทำงานเต็มตัวทุกวัน ประการหนึ่ง อาจ เพราะทั้งตระกูลได้ทำงานกับสิ่งที่ตนเองรัก ทุกคนเป็นนักอ่าน แนนซี่ เล่าว่า คุณปู่ของเธอชอบอ่านหนังสือวรรณกรรม ศิลปะ ประวัติศาสตร์  และวัฒนธรรม คุณพ่อเฟรดชอบอ่านหนังสือนวนิยายวิทยาศาสตร์  ศิลปะ ประวัติศาสตร์ และสังคมวิทยา ส่วนตัวแนนซี่ชอบอ่านชีวประวัติ และศิลปะ

ในโลกสมัยใหม่ที่ธุรกิจซึ่งขยายตัวจนถึงระดับลูกจ้าง 200 คน ควรจะต้องมีตำแหน่งประธานคณะกรรมการ กรรมการผู้จัดการ และผู้อำนวยการ แต่ STRAND กับมีโครงสร้างบริหารเฉพาะตัวที่แตกต่างออกไป แนนซี่ และเฟรด พิมพ์ตำแหน่งลงในนามบัตรด้วยคำแสนโบราณว่า เป็น Proprietor หรือเจ้าของกิจการเช่นกันทั้งคู่

"พ่อดิฉันยังคงทำงานอยู่เหมือนเดิม เราทั้งคู่เป็นเจ้าของคนละครึ่ง โดยเราจะแยกหน้าที่กัน ดิฉันจะทำงานด้านการจัดการ ว่าจ้างคน ขายโครงการใหญ่ ขายห้องสมุด ออกงานข้างนอก พ่อจะทำงานด้านขายหนังสือในร้าน รับซื้อหนังสือ"

แนนซี่เริ่มทำงานกับร้านเมื่อ 15 ปีก่อน หลังจากที่จบปริญญาโท ด้านบริหารธุรกิจ และลองไปทำงานเป็นลูกจ้างในบริษัทน้ำมันอยู่ระยะหนึ่ง แต่เธอช่วยพ่อทำงานหน้าร้านและขายหนังสือนอกสถานที่ มาตั้งแต่ยังเด็กๆ เช่นเดียวกับตัวเฟรด ที่วิ่งเล่นอยู่ในร้าน และช่วยงาน มาตั้งแต่อายุ 10 ขวบ แต่เฟรดนั้นจับงานร้านหนังสือ รับช่วงต่อจากคุณปู่เธอในทันทีที่เรียนจบวิทยาลัย "สถาบัน" ของนิวยอร์ก

ปัจจุบัน STRAND มีผู้จัดการ 30 คน แบ่งปริมาณตามความจำเป็นของแผนก โดยแผนกที่ใหญ่ที่สุด มีผู้จัดการแผนกละ 4 คน คือ แผนกหนังสือใช้แล้ว และแผนกหนังสือรีวิว หรือหนังสือที่สำนักพิมพ์ ส่งให้สื่อมวลชนอ่าน แล้วสื่อมวลชนก็ส่งมาขายต่อโดยบางเล่มอาจยังไม่ได้เปิดอ่าน

นอกจากนั้น มีผู้จัดการแผนกร้านหนังสือ Annex ซึ่งเป็นร้านสาขาจำนวน 3 คน ผู้จัดการดูแลหน้าร้านในสาขาใหญ่ 2 คน แผนกแคชเชียร์ 3 คน แผนกจัดระบบเก็บสินค้าคงคลัง 2 คน แผนกศิลปะ 2 คน แผนกอื่นๆ อย่างละหนึ่งคน มีแผนกจัดซื้อหนังสือที่โรงพิมพ์รุสต็อก แผนกหนังสือหายาก แผนกจำหน่ายห้องสมุด แผนกรับเข้าหนังสือ แผนกจัดซื้อสินทรัพย์ แผนกแค็ตตาล็อก แผนกโกดังสินค้า แผนกบัญชี แผนกค่าแรง แผนกอาคาร และแผนกอินเทอร์เน็ต แนนซี่ ขอไม่เปิดเผยตัวเลขยอดขายในปัจจุบันเพียงแต่บอกว่า "ยอดขายของร้านเราเป็นไปได้ด้วยดี และยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี"  ยอดขายล่าสุดที่เปิดเผยคือ 20 กว่าล้าน เมื่อปี 1997

แนนซี่ เปิดเผยว่าในปีหน้า STRAND จะเปิดพื้นที่ขายปลีกหน้าร้านเพิ่มในชั้นสองของอาคารเดิม เพื่อขยายความแออัดและสามารถจัดวางหนังสือที่มีจำนวนมหาศาลในโกดังของร้าน โดยพื้นที่ใหม่จะมีขนาด 11,500 ตารางฟุต ซึ่งเท่ากับเพิ่มจำนวนพื้นที่ขายปลีกขึ้นเกือบ 30 เปอร์เซ็นต์

ปัจจุบัน ตระกูลเบสเป็นเจ้าของอาคารสูง 10 ชั้นทั้งหลัง หลัง จากที่ย้ายเข้ามาเช่าชั้นล่างเพียงชั้นเดียว และจ่ายค่าเช่าในราคา 400 ดอลลาร์ เมื่อ 45 ปีก่อน จนกระทั่งเช่าเพิ่มขึ้นอีก 2-3 ชั้น และจ่ายค่าเช่าล่าสุด 55,000 ดอลลาร์ เฟรด เบส ได้ซื้ออาคารมาเป็นกรรมสิทธิ์ใน ปี 1995 พื้นที่นอกเหนือจากใช้ดำเนินงานของ STRAND เปิดเป็นสำนัก งานให้เช่าพื้นที่ชั้นหนึ่งซึ่งมีขนาด 11,500 ตารางฟุต เปิดเป็นพื้นที่ขาย หนังสือมือสองเป็นหลัก โดยทางร้าน STRAND จำหน่ายหนังสือทุกประเภท ยกเว้นตำราเรียน มีทั้งหนังสือ ศาสตร์ ศิลปะ และนวนิยาย แต่ มีชื่อเสียงในการกว้านซื้อหนังสือด้านสังคมศาสตร์ และศิลปะแขนงต่างๆ

พื้นที่ชั้นใต้ดินมีขนาด 11,500 ตารางฟุต เช่นกัน เปิดเป็นพื้นที่ ขายหนังสือ Review ซึ่งทางสื่อมวลชนยกมาขายทางร้าน หลังจากได้เปล่ามาจากสำนักพิมพ์ที่ส่งมาให้วิจารณ์ และส่วนมากเป็นหนังสือที่สื่อมวลชนเหล่านั้นแทบยังไม่เคยเปิดดู หนังสือทั้งหมดขายปลีกในราคา 50 เปอร์เซ็นต์

พื้นที่ชั้นห้าครึ่งหนึ่งเปิดเป็นแผนกหนังสือหายากและล้ำค่าแต่ลูกค้าทั่วไปก็มีโอกาสเข้าชมได้ โดยแนนซี่บอกว่า หนังสือราคาแพงที่สุด ของร้าน คือหนังสือของเช็คสเปียร์ ซึ่งมีลายเซ็นจริงของเช็คสเปียร์ ราคาขายสูงเกือบ 200,000 ดอลลาร์ มีคนสนใจไต่ถามแต่ยังไม่มีใครกล้าซื้อ

พื้นที่อีกครึ่งหนึ่งของชั้นห้า เป็นสำนักงาน และโกดังเก็บหนังสือ รวมถึงพื้นที่ชั้น 10 ทั้งชั้น ซึ่งทำเป็นโกดังหนังสือ ที่แนนซี่ ยอมรับว่า อาจมีหนังสือบางเล่ม ซึ่งปัจจุบันทางร้านยังไม่รู้ว่ามีอยู่ ถึงแม้ได้พยายาม ทำงานกันอย่างหนักเพื่อจัดระบบเก็บหนังสือให้ดีขึ้นก็ตาม

นอกจากนั้น STRAND ยังมีหน้าร้านอีกแห่งใช้ชื่อว่า Strand Annex ย่านที่เรียกว่า "เขตการเงิน" หรือ  Financial District บนถนนฟูลตัน ใกล้ กับตลาดหุ้นวอลล์สตรีท และตึกสูงเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ซึ่งร้านนี้เป็นร้านเช่าชั้นล่าง มีพื้นที่ 15,000 ตารางฟุต เริ่มเปิดร้านมาตั้งแต่ปลาย ปี 1996

STRAND เป็นร้านหนังสือที่คอหนังสือภาษาอังกฤษก้มคารวะ เพราะขนาดพื้นที่ของร้านที่เก็บหนังสือได้มากกว่าในสาขาเดียว และการพิถีพิถันในการเลือกซื้อหนังสือ ทั้งหัวข้อที่น่าสนใจ และสภาพของ หนังสือต้องดูเหมือนใหม่ 100 เปอร์เซ็นต์ รวมถึงการทุ่มเงินสดซื้อหนังสือ เข้าร้าน ทั้งที่บางหัวข้อที่น่าสนใจนั้น มีคนสนใจอยู่ในวงแคบมากทำให้ ทางร้านมีคุณลักษณะเด่นกว่าคู่แข่ง

ขณะเดียวกัน ทางร้านให้ราคารับซื้อหนังสือค่อนข้างต่ำ หากจำหน่ายหนังสือในราคาที่ไม่ถูกนัก คือหนังสือปกอ่อนใช้แล้ว  ตั้งราคา ทั่วไปสูง 50 เปอร์เซ็นต์ของราคาปกส่วนหนังสือปกแข็ง หากเป็นเล่มที่น่าสนใจ โดยเฉพาะหนังสือศิลปะ อาจลดเพียง 10-20 เปอร์เซ็นต์ของราคาปก

อย่างไรก็ตาม อาจต้องทำความเข้าใจว่านโยบายซื้อถูก ขายได้ราคา ทำให้ทางร้านอยู่รอด และกลายเป็นสถาบันให้ความรู้กับสังคม โดยทางอ้อม เนื่องจากธุรกิจนี้เป็นธุรกิจที่เงินทุนจมมหาศาล คำนวณ ได้จากมูลค่าของหนังสือ 2.5 ล้านเล่ม ซึ่งบางเล่มนั้นเก่าและล้ำค่าจริงๆ

พื้นที่ครึ่งอาคาร ที่ STRAND ใช้ในปัจจุบันรวมถึงการทำเป็นโกดัง เก็บหนังสือ ในเขตเศรษฐกิจทอง ย่านดาวน์ทาวน์แมนฮัตตันนั้น หากคำนวณค่าเช่าขั้นต่ำตามอัตราเฉลี่ยตามท้องตลาดที่ราคา 2.5 เหรียญ ต่อตารางฟุต (บางเขตเช่นโซโห เรียกราคา 6-20 เหรียญต่อตารางฟุต)

ปัจจุบัน STRAND ใช้พื้นที่ในสาขาใหญ่ 46,000 ตารางฟุต ที่หากให้เช่าต่อจะเก็บค่าเช่าได้เดือนละ 138,000 ดอลลาร์ และ 174,500 ดอลลาร์ ในปีหน้าที่จะเพิ่มพื้นที่ขึ้นอีก 1 ชั้น

หากเฟรดและแนนซี่ คิดเปลี่ยนตึกเป็นพื้นที่ให้เช่า จึงอาจทำกำไรเป็นเงินสดๆ  ได้เกือบ 2 ล้านดอลลาร์ต่อปี โดยต้องจัดการกับผู้เช่าไม่กี่คนและเรื่องปวดหัวไม่กี่เรื่อง ขณะที่ปัจจุบันอาจทำรายได้กว่า 20 ร้าน แต่ทั้งนี้เป็นยอดรายได้รวม ที่ยังไม่หักต้นทุนค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ถาวรและค่าจ้างพนักงาน 200 คน กับการลงแรงช่วยพื้นที่หน้าร้านทุกวันของสองพ่อลูก

บางที การทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จไม่จำเป็นต้องทำรายได้ "มากที่สุด" เสมอไป นี่คือข้อแตกต่างของธุรกิจครอบครัว กับธุรกิจที่ทำกันในนามบริษัทยักษ์ใหญ่เพราะธุรกิจครอบครัวนั้น อุดมการณ์ และความสุขส่วนตัวถือว่ามาก่อนตัวเลขรายได้ของบริษัท

รั บ ท ศ ว ร ร ษ ที่ 21

ตลอดเวลาที่ผ่านมา ร้าน STRAND ได้รับการเยี่ยมชม สัมภาษณ์ และกล่าววิจารณ์ในทางดีว่าเป็น "ร้านหนังสือมือสองที่ยอดเยี่ยมที่สุดในโลก" แต่ผู้เขียนแทบทุกคน ต้องท้วงติงข้อบกพร่องที่เห็นชัดในทาง เดียวกันว่า "การจัดเรียงหนังสือ แสนจะรก ระเกะระกะ โกลาหลไม่เป็นระบบ" แถมด้วยร้านค้าที่ไม่มีแอร์ ช่างเป็นบรรยากาศเก่าเหลือเกิน และห้องน้ำก็แย่เหลือจะบรรยาย รวมทั้ง "ไม่มีทางหาอะไรที่ต้องการเจอ แต่ก็อาจเจออะไรที่ต้องการโดยไม่ได้ตั้งใจ"

ในช่วงหลัง ร้าน STRAND เริ่มดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องการจัดวางหนังสืออย่างเห็นได้ชัด และขณะเดียวกันก็ได้นำระบบ คอมพิวเตอร์มาช่วยลูกค้าจัดหาหนังสือ ทุกวันนี้ หากลูกค้ามีรายชื่อหนังสือหรือชื่อผู้แต่งอยู่ในมือ ก็สามารถขอให้พนักงานหลังเคาน์เตอร์ ช่วยตรวจสอบในระบบของร้านว่า มีหนังสือเล่มนั้นหรือไม่ และราคาขายเท่าไรรวมทั้งมีอยู่กี่เล่ม

อย่างไรก็ตาม ลูกค้าต้องรับภาระเองในการเดินไปหาหนังสือในชั้นที่สูงถึงเพดาน  และหากหนังสือเล่มนั้นมีเพียงเล่มเดียว การสำรวจ บนชั้นที่จัดวางเรียงตามนามสกุลของผู้แต่ง และแยกเป็น "หมวดกว้างๆ ประมาณ 20 หมวด อาจมองหาไม่เจอถ้าหนังสือเล่มนั้นมีเพียงเล่มเดียว

รายได้หลักของ STRAND มาจากการขายหนังสือหน้าร้าน ซึ่งสูงกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของยอดรายได้ทั้งหมด ที่เหลือมาจากการจำหน่าย ชุดใหญ่ให้ห้องสมุด โรงเรียนหรือห้องสมุดตามบ้าน และการขายสินค้า ที่ระลึกประเภท ถุง เสื้อยืด หมวก ซึ่งแนนซี่บอกว่าลูกค้านักท่องเที่ยว ชาวญี่ปุ่น ชอบกว้านซื้อสินค้าของที่ระลึกซึ่งประทับตราชื่อร้านมากอย่างน่าแปลกใจ

นอกจากนั้นบริษัทมีรายได้จากแผนกขายตามสั่งทางไปรษณีย์ ซึ่งเปิดดำเนินการมานานแล้ว และแผนกขายออนไลน์ทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งเพิ่งเปิดได้เพียง 2 ปีเศษ

แนนซี่ตอบว่า การเปิดเว็บไซต์นั้น ทางบริษัทไม่ได้เปลืองต้นทุน มากเพราะบุคลากรไม่ได้ใช้มากและระบบงานที่นอกเหนือจากการสร้าง เว็บไซต์ อีกสองส่วนเป็นเพียงการขยายช่วงของการขายสินค้าทางไปรษณีย์ที่บริษัทมีอยู่แล้ว และการจัดเก็บสินค้าคงคลังในคอมพิวเตอร์

เว็บไซต์ของร้านหนังสือ STRAND อยู่ที่ www.strandbooks.com จัดเป็นเว็บไซต์ที่ทำได้ดีทีเดียวโดยแบ่งหมวดหมู่คร่าวๆ และสามารถค้นหาจากชื่อหนังสือ หรือชื่อผู้แต่ง จากนั้นก็สามารถกดสั่งซื้อทาง ออนไลน์ได้ โดยใช้บัตรเครดิต ขณะเดียวกันหากมีหนังสือเก่าอยู่ในมือ ผู้ใช้ก็สามารถตรวจสอบได้ว่าน่าจะมีราคาเท่าไรจากสารบัญหนังสือเก่าออนไลน์ของนักเขียนคนเดียวกันนั้น

ตลอดเวลาที่ผ่านมา ซึ่งพื้นที่ใจกลางเมือง ย่านแมนฮัตตัน ของ นครนิวยอร์กเต็มไปด้วยสาขาของร้านหนังสือ บาร์นสแอนด์โนเบิลส์ และ ร้านกาแฟ สตาร์บัคส์ แนนซี่ รับว่ามีคนมาเจรจาขอซื้อร้านเธอบ่อยๆ โดยเฉพาะบริษัทยักษ์ใหญ่และแฟรนไชส์ที่จริงจังและคาดคั้นมี 2 ราย ซึ่งเธอและพ่อก็ได้ปฏิเสธอย่างจริงจังและแข็งขันไปเช่นกัน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us