Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2543
The Digital Economy             
 





ถ้าจะว่าไปแล้วหนังสือแนวนี้มีอีกมาก แต่ถ้ามองในแง่การบรรจุแนวคิด, วิธีการ และการนำเสนอรวมทั้งยกกรณีศึกษามาประกอบก็คงมีหนังสือที่สู้เล่มนี้ได้ยาก ออกมาร่วม 5 ปี แล้ว แต่ความสดของประเด็นเป็นความใหม่ในสังคมไทยขณะนี้

มีเรื่องต้องเรียนรู้มากกับเศรษฐกิจยุคดิจิตอล ทุกวันนี้ในหลายประเทศเดินรุดหน้าไปแล้ว แต่ในบ้านเรายังไปไม่ถึงไหนและดูเหมือนไม่มีทิศทาง ไม่ว่าในระดับรัฐ และเอกชน แต่เราพูดถึงมันมาก และเน้นหนักในเรื่องกฎหมาย ทั้งๆ ที่สังคมไทย เศรษฐกิจดิจิตอล ตั้งแต่ อี-คอมเมิร์ซ ยังก้าวช้า

โดยพื้นฐานแล้วดอน แทบสคอท ปูพื้นเกี่ยวกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของ "วิธีการจัดการเศรษฐกิจยุคดิจิตอล" โดยวางแนวคิดระบุว่าการเติบโตของธุรกรรมอินเทอร์เน็ต ขยายผลโดยตรงต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านกลไกทางเศรษฐกิจอย่างไม่เคยมีมาก่อน

ตั้งแต่เริ่มเขียนหนังสือเล่มนี้ออกมา ถือได้ว่าการพัฒนาด้านดิจิตอลช่วยให้เกิดกระบวนการปฏิวัติต่อเนื่อง ตั้งแต่บริบทของวิธีคิด ภาคปฏิบัติ ตลาดทุน และการขยายฐานกลไกของดิจิตอล ในแง่เป็นผลผลิตที่กระเทือนสู่วงการสื่อสารและอุปกรณ์การสื่อสารครั้งใหญ่ ภาพ เสียง และสัญญาณ ไม่แต่ชัดเจน แต่การถ่ายทอดยังถอดแบบออกมาได้ไม่แตกต่างและโครงสร้างเครือข่ายสัญญาณปกคลุมทั่วโลก ตลาดขยายตัวเร็ว วิถีการเคลื่อนย้ายทุน, ข้อมูล, ข่าวสาร มีรูปแบบมัลติมีเดีย การสื่อสาร ทำให้เกิดเปลี่ยนมิติกลายเป็นสื่อสารทางตรงในที่สุด

ผู้เขียนมองว่าโลกทั้งใบต้องเปลี่ยนองค์ประกอบของการสื่อสารได้เปลี่ยนแปลงไปขนานใหญ่ และเครือข่าย อินเทอร์เน็ตได้สร้างใยแห่งความรู้ ข่าวสารทุกรูปแบบ, ธุรกรรมเกือบทุกรูปแบบ ส่งถ่ายโอนข้ามชาติ กระทั่งคลุมไปยังมิติทางความคิด รสนิยม การแลกประสบการณ์ การรุ่งเรืองของภาษากระทั่งภาษากลางขยายตัว เช่น ภาษาอังกฤษมีบทบาทโดยตรง

โลกเข้าสู่ "ระเบียบใหม่" ผ่าน "ความปั่นป่วน" จากการปฏิวัติในแง่มุมที่เขาชี้ว่า โลกทั้งโลกเปลี่ยนผ่านยุคที่กำแพงทางการเมืองในแง่ลัทธิการเมืองหมดสมัยที่ต้องปิดกั้นทุกอย่างที่เป็น "ข้อจำกัด" แต่โลกเปิดสู่สังคมที่เข้าถึงทุกผู้ทุกนาม

สังคมเก่า การหลั่งข้อมูลเป็นเรื่อง ข้อจำกัดทางกายภาพ ยุคนี้ปราศจากข้อจำกัด

เศรษฐกิจยุคใหม่จึงเป็นเศรษฐกิจที่เน้นลงไปยัง "ความรู้ และความรู้นี้ทะลุผ่านพรมแดน เช่นแม้แต่กระบวน การผลิตและเปลี่ยนแปลงวิถีการผลิตแบบดั้งเดิม เช่น ภาคการเกษตรและภาคการผลิตอื่นๆ ที่เคยคิดว่าไม่จำเป็นต้องใช้ความรู้ แต่เวลานี้กลับใช้ความรู้เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

อย่างน้อยก็ในด้านวิทยาการ ซึ่งเทียบย้อนไป 100 ปี การเรียนรู้ที่ใช้เวลา แพร่ขยายตัว มีอัตราความเร็วต่ำกว่าปัจจุบันหลายเท่า

กลไกการทำงานตามโครงสร้างใหม่มีศูนย์กลางอยู่กับมัลติมีเดียที่ติด ต่อสองทางหรือหลายทาง โดยพื้นฐานมี อยู่ 3 ส่วนเป็นแรงขับคือ "เนื้อหาสาระ" การติดต่อสื่อสาร และระบบประมวลผล การที่ประชากรอินเทอร์เน็ตเข้าสู่กระบวนการเดียวกันโดยเลือกความต้องการเฉพาะตัวได้ ถือได้ว่าแต่ละบุคคลสามารถจำแนก "ตลาด" ที่หลากหลายมี "ทางเลือก" ในปริมาณมหาศาล และใช้ "ข้อมูลรวมทั้งความรู้" หรือ "ตรวจสอบ" การตัดสินใจได้

หนังสือให้ข้อมูลว่าปริมาณผู้ใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นในรอบ 10 ปี จากประมาณ 2 ล้าน ไปเป็นพันล้านถือว่าก้าวในเชิงปริมาณมากที่สุด

อย่างไรก็ตาม ผมตั้งข้อสังเกตว่า หนังสือเล่มนี้ออกมา 2-3 ปีแล้ว สถาน การณ์มีความต่างกัน แต่ knowledge economy นั้นเป็นเพียงสมมติฐาน แต่เรามี digital economy กลายเป็น fun economy เป็น entertaining มากเหลือเกิน กระทั่งจะหวังว่าเป้าหมายของแรงงานระดับผู้บริหารชั้นกลางถึงบนก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากความก้าวไกลของ digital economy ในการประกอบการ สำหรับข้อดีที่สุดของหนังสืออยู่ตรงมีกรณีศึกษา เช่น ในบท ที่ 5 ว่าด้วยอินเทอร์เน็ตเวิร์ค กล่าวถึงบทบาทของการใช้ศักยภาพ ในสังคมเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำงานเกือบทุกประเภทงานให้บริการไม่เว้นแม้แต่การแพทย์, การขนส่ง ฯลฯ บทเรียนและการวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรค จากตัวอย่างกรณีศึกษากลับน่าสนใจและเป็นจุดเด่น

ที่ผมชอบมากคือ การเปรียบเทียบวิธีคิดของผู้ผลิตซึ่งเปลี่ยนจากผู้ผลิตกำหนด ไปเป็นวิธีการใหม่ โดยบริษัทโบอิ้งทำไว้ดังตาราง

ที่น่าสนใจมากเช่นกันคือ รูปแบบ การตั้งเครือข่ายข้อมูลภาครัฐ ซึ่งปรากฏอยู่ในบทเดียวกัน โดยเครือข่ายนี้จะเชื่อมต่อกับข้อมูลภาครัฐทั้งหมดตั้งแต่การเสียภาษี, สวัสดิภาพและการคุ้ม ครองเหยื่อจากอาชญากรไปจนถึงการบริการภาครัฐ ซึ่งทำได้ตั้งแต่การขยายเครือข่ายเชื่อมต่อทั้งประเทศในทุกระบบ

นี่คือความโปร่งใสที่แท้จริง และจะลดปริมาณของความล่าช้าในภาคบริการจากรัฐ ตัดทอนส่วนงานข้าราชการ ที่ไม่จำเป็นออกไป และช่วยทำให้การตรวจสอบรัฐกับเอกชนมีลักษณะ 2 ทาง กระทั่งนำไปสู่การ "ใช้สิทธิประชาธิปไตย ทางตรง" ซึ่งสามารถเก็บสถิติข้อมูล การ ทำประชามติ และพฤติกรรมในการใช้สิทธิต่างๆ ได้

แม้ว่าระยะผ่านไปสู่ขั้นตอนดังกล่าวดูเป็นเรื่องใหญ่และทำยาก แต่เห็น ชัดว่าในแง่วิธีคิดนี่ไม่ใช่เรื่องซึ่งทำไม่ได้ และคงจะต้องเกิดขึ้นค่อนข้างแน่นอน

ถ้าผมอยู่ในรัฐบาลอย่างน้อยก็ต้องริเริ่มส่งเสริมการวางแผนเช่นนี้ไว้ และหากลงมือทำกันจริงแค่ 5 ปีก็น่าจะสำเร็จอย่างน้อยก็ขั้นต้น

หนังสือเล่มนี้ขณะนี้กลายเป็นเหมือนคู่มือตรวจสอบและดูความคิดใหม่ๆ ว่ามีแนวโน้มเช่นไร

ยังคงน่าอ่าน และน่าคิดเพื่อเตรียมการใช้มันเป็นบทเรียนและกรณีศึกษาที่ให้ประโยชน์และมีคุณค่า

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us