นับตั้งแต่ ดร.มหาธีร์ โมฮัมหมัด ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เมื่อปี
1981 ได้เปลี่ยนแปลงจากหน้ามือ เป็นหลังมือ เพราะแนวคิดแรกของเขา คือ การมีอิสระในการทดลองความคิด
ดร.มหาธีร์ มั่นใจว่า ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุดประการเดียว คือ การมุ่งเน้นประเทศ
อยู่กับอนาคต จากก่อนหน้านั้นไม่มีผู้นำคนไหน วางเป้าหมายระยะยาวอย่างจริงจัง
ด้วยความคิดหัวก้าวหน้าจนได้รับขนาน นามจากนิตยสาร TIME ว่า "นักวางแผนหลัก"
แต่หลังจากวิกฤติเศรษฐกิจระเบิดขึ้นเขากลาย เป็น "บุรุษที่โกรธแค้น" ของสื่อมวลชน
นับตั้งแต่ปี 1960 เอเชียตะวันออกรวมถึงมาเลเซีย การเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างก้าวกระโดด
แม้แต่การปฏิวัติอุตสาหกรรม ในยุโรปยังดูด้อยกว่าหากนำมาเปรียบเทียบ
หากมองเฉพาะมาเลเซีย ไม่เคยมียุคไหนที่มีการเจริญเติบใหญ่อย่างรวดเร็วไปกว่าทศวรรษที่
1990 ความล้าหลังหายไป ประวัติ ศาสตร์หน้าใหม่เข้าทดแทน
ผู้ที่สร้างอิทธิพลให้กับตลาดท้องถิ่นและตลาดโลก คือ ดร.มหาธีร์ แม้จะสะดุดไปบ้างช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ
แต่ด้วยการจัดการกับ ปัญหาที่ไม่มีใครคาดคิดส่งผลให้มาเลเซียบาด เจ็บน้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้าน
หากพิจารณาแนวคิดของ ดร.มหาธีร์ เด่นชัดขึ้นมาในปี 1990 เมื่อประกาศวิสัยทัศน์
2020 เป็นการมองไปในอนาคตเพื่อสรุปผลของ ระยะเวลา 20 ปี เป็นเวลาที่มาเลเซียจะกลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่พัฒนาเต็มที่
เสาหลักของวิสัยทัศน์ดังกล่าว คือ ทำให้ประเทศทันสมัยและกลายเป็นประเทศพัฒนาในลักษณะของตัวเอง
และต้องมีการพัฒนาทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม จิตวิญญาณ จิตวิทยาและวัฒนธรรม
วิสัยทัศน์ของผู้นำคนนี้มักจะถูกเรียกว่า 20-20 ภาษามาเลย์ เรียกว่า ดูอา
พูลู-ดูอา พูลู กลายเป็นคำติดปากประชาชน เป็นที่นัดหมาย ที่ติดอยู่ในจินตนาการและเป็นพลังแห่งความฝันแก่พลเมืองมาเลเซีย
หากจะดูวิสัยทัศน์ 2020 ปฏิเสธไม่ได้ว่า ต้องไปดูที่กรุงกัวลาลัมเปอร์
เมืองหลวงที่เล็กที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ
3 ล้านคน ถึงแม้เป็นเมืองขนาดเล็กแต่เต็มไปด้วยความคิดสำคัญมาก มายอยู่ในเมืองนี้
กัวลาลัมเปอร์ เมืองหลวงที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง แน่นอนความพิเศษที่รู้จักในปัจจุบัน
คือ ตึกแฝดที่สูงที่สุดในโลก "Petronas Twin Towers" แต่คนในเมืองหลวงกลับเห็นคุณค่าการรับประทาน
"โรตี" ใน Masjid India, ชอปปิ้งตามห้าง, ผูกพันกับตลาดอันแสนสกปรก และมีความสุขต่อความล่มสลายของอาณานิคมผ่าน
Moorish Building มากกว่า
หากพูดถึงเรื่องราวสถานที่ประวัติ ศาสตร์ของกรุงกัวลาลัมเปอร์ นับได้ว่าหาทิศทางได้ดี
เมื่อผู้นำไปเป็นประธานเปิดพื้นที่สีเขียวอันกว้างใหญ่ "Merdeka Square"
ริมแม่น้ำ Klang เพื่อรำลึกเสรีภาพหลังประกาศอิสรภาพจากอังกฤษอย่างเป็นทางการเมื่อปี
1957
ข้าง Merdeka เป็นภาพล้อเลียน Tudor faCade แห่ง Royal Selangor Club สมาชิกของคลับดังกล่าวและเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งสถาบันที่รู้จักกันในนาม
Hash House Harriers
ตรงข้าม Merdeka กลับมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงที่แสดงถึงความมั่งคั่งผ่าน
Sultan Abdul Samad Building สถาปัตยกรรม สไตล์ Arabian Nighs ลักษณะเป็นโดมทองแดง
และโครงสร้างของตึกดูมีเสน่ห์ซึ่งเป็นบ้านของ Malasia Supreme Court
หากต้องการเห็นความสวยงามของอิฐและปูนผสมที่ใช้ปูพื้นต้องไปดูที่ Lake
Gardens สถานที่พักผ่อนของคนกัวลาลัมเปอร์ ล้อมรอบ ด้วยธรรมชาติ เสน่ห์ของสวนแห่งนี้
คือ บ้านของนกและผีเสื้อ อีกทั้งยังเป็นสถานที่แสดงคอนเสิร์ต "Malay Music"
บนอัฒจันทร์ข้างทะเลสาบ แต่ถ้าพอใจเลือกสัมผัสธรรมชาติอย่างอื่น เพียงแค่ใช้เวลาครึ่งชั่วโมงก็สามารถเดินชม
Forest Reserve Institute of Malaysia ได้เต็มอิ่ม
ด้วยพื้นที่มากกว่า 1,500 เฮกตาร์ สถาบันดังกล่าวคือ บ้านของพันธุ์พืชและสัตว์กว่า
100 ชนิด ที่สำคัญยังมีน้ำตกเต้นระบำให้ ชมด้วย ทุกคนสามารถเดินเล่นได้ตลอดทั้งคืน
เมื่ออิ่มกับธรรมชาติ สามารถเดินกลับ โรงแรม ซึ่งห่างจากต้นไม้เพียง 30
เมตร เพื่อเฉลิมฉลองกับอาหารค่ำอันแสนโรแมนติกบริเวณทางเดิน โดยมีท้องฟ้าเป็นพยาน
The Batu Caves สถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ของชาวฮินดู อยู่ห่างจากใจกลางเมืองออกไปทางตอนเหนือประมาณ
40 นาที โดยในเดือนมกราคมของทุกปีจะมีเทศกาล เรียกว่า Thai-pusam เพื่อแสดงถึงความนับถือต่อเทพเจ้าแห่ง
ความอดทน บริสุทธิ์ และพลัง
แต่ถ้ามีความรู้สึกบางสิ่งบางอย่างที่อยู่ ภายนอกสถานศักดิ์สิทธิ์ ต้องไป
Bukit Bintang แหล่งชอปปิ้งขนาดใหญ่และภัตตาคารอันหลาก หลาย และยังเป็นที่ตั้งของที่พักคนมีระดับ
เช่น Regent และ Ritz-Carton Hotel อยู่ไม่ห่างจาก Jalan Ampang เท่าไรนัก
อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกโลกหนึ่งที่ถือได้ว่าเป็นชีวิตของกัวลาลัมเปอร์ เมื่อเดินเข้าไปใน
Chow Kit อาณาจักรตลาดเปิดใหญ่ที่สุด ภาย ในตลาดมีทางเดินแคบๆ และวกวนเหมือนเขา
วงกตที่รายล้อมด้วยแผงลอยขายเนื้อ ปลา ผัก เครื่องเทศและผลไม้นานาชนิด ทางเหนือสุดของตลาดเต็มไปด้วยความอร่อยจาก
roti cani ทำจากขนมปังยัดไส้ผงกะหรี่ และ nasi campur ส่วนผสมของข้าวและผักนานาชนิด
หากต้องการหาประสบการณ์ใหม่ๆ กับดินเนอร์ท่ามกลางแสงสี ต้องไปที่ Cilanto
แถว Jalan Ampang ที่ให้บริการอาหารชั้นเลิศ และกลมกลืนอย่างลงตัว สไตล์ญี่ปุ่นและฝรั่งเศส
เมื่อพิจารณากันอย่างผิวเผินในกัวลา ลัมเปอร์ต้องดูวัยรุ่นและความสวยงาม
ที่พบได้ แถว Citrus Rouge บน Jalan Sutan Ismail ที่พวกเธอและเขาแต่งตัวด้วยสีแดง
สีทองและสีขาวใส พร้อมกับอาหารสไตล์ยุโรประดับกลาง แต่คนรับประทานระดับ 5
ดาว ส่วนใครต้อง การทานอาหารพร้อมกับทัศนียภาพตัวเมือง ต้องไปที่ Bon Ton
แถว Jalan Kia Peng ที่มีเมนู Sambal Udang หรือกุ้งตัวเล็กคลุกเคล้ากับซอสพริก
ขณะที่แถว Twin Towers เพียบพร้อมด้วยบรรยากาศแห่งความทันสมัยที่เป็นแม่เหล็ก
ดึงดูดผู้คนยามค่ำคืนกับการลิ้มลองรสชาติอาหาร และเมื่อถึงยามค่ำคืนอารมณ์แห่งความ
ทุกข์ได้ถูกขจัดออกไปเพราะสามารถเลือกท่องเที่ยวตามผับและบาร์ เช่น Echo
Jazz Bar ที่สร้างความสนุกสนานกับการดื่มมาร์ตินี่ได้เต็มที่
เมื่อมากัวลาลัมเปอร์ ที่ขาดเสียไม่ได้ คือ การเดินชอปปิ้งย่านไชน่าทาวน์
ถึงแม้ว่าบริเวณดังกล่าวมีขนาดพื้นที่ไม่กว้างมากนักแต่ก็สามารถสร้างสีสัน
ให้กับเมืองหลวงแห่งนี้ได้พอสมควร
พระอาทิตย์กำลังตกดิน เป็นช่วงเวลาเหมาะสำหรับเดินในไชน่าทาวน์ โดยมีสินค้าให้
เลือกมากมาย อาทิ DKNY, Calvin Klein, Chris-tian Dior, Versace, Estee Lauder,
Louis Vuitton หรือ Gucci นอกจากนี้ยังมีเทป ซีดี วีซีดี หรือ เกมส์ซอฟต์แวร์รุ่นใหม่ล่าสุดให้เลือกมากมาย
ระวังของแท้!!! เป็นคำเตือนของผู้ที่คุ้นเคยกับย่านนี้
ปัจจุบัน กัวลาลัมเปอร์ คือ เมืองหลวง ที่กำลังพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว แม้จะเป็นเมืองเล็กแต่ความทันสมัยไม่แพ้เมืองอื่นๆ
ที่บางอย่างอาจจะมีความล้ำหน้า ซึ่งประชากรมาเลเซีย มองว่านี่เป็นรางวัลชิ้นล้ำค่าที่อยู่ตรง
หน้าพวกเขา