Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2543
แจ๊ก เวลช์Jack Welch's GE             
โดย รุ่งมณี เมฆโสภณ
 


   
search resources

GE
Jack Welch




แจ๊ก เวลช์คือจีอี และจีอีคือ แจ๊ก เวลช์

คงเป็นคำกล่าวที่ไม่ผิด สำหรับช่วงเวลา 20 ปีที่เวลช์ขึ้นเป็นผู้บริหารสูงสุดของจีอี (GE-General Electric) และนำบริษัทอเมริกันที่เก่าแก่แห่งนี้ ยืนหยัดเป็นบริษัทที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง

เมื่อปีที่แล้ว จีอีมีรายได้สูงกว่า 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งสูงกว่าปีก่อนหน้านั้นถึง 11 เปอร์เซ็นต์ และในปี ที่แล้วเช่นกัน ที่เวลช์ได้รับการยกย่องจากนิตยสารฟอร์จูน (Fortune) ให้เป็น "ผู้บริหารแห่งศตวรรษ - Manager of the Century"

ท่ามกลางความสำเร็จดังกล่าว เวลช์ได้ประกาศการเกษียณอายุของเขา ซึ่งจะมีผลในเดือนเมษายน ปีหน้า

พร้อมๆ กันนี้ เวลช์ก็จะมีหนังสือใหม่ออกมาเล่มหนึ่ง ซึ่งไทม์ วอร์เนอร์ เทรด พับลิชชิง (Time Warner Trade Publishing) ในเครือของไทม์ วอร์เนอร์ ชนะประมูลได้ลิขสิทธิ์หนังสือที่ยังไม่ได้ตั้งชื่อเล่มนี้ของเวลช์ ด้วยจำนวนเงินที่สูงถึง 7 ล้าน 1 แสนเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 284 ล้านบาท ซึ่งเป็นค่าลิขสิทธิ์ เฉพาะในทวีปอเมริกาเหนือเท่านั้น ไม่รวมถึงลิขสิทธิ์ทั่วโลก นับเป็นค่าลิขสิทธิ์หนังสือซึ่งไม่ใช่นวนิยาย (non-fiction) ที่สูงที่สุด

เวลช์บอกว่า เงินค่าลิขสิทธิ์นี้เขาจะนำไปบริจาคเพื่อการกุศลทั้งหมด

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการวิตกแทนผู้ประมูลว่าจะคุ้มทางธุรกิจละหรือ แต่ไทม์ วอร์เนอร์ เทรด พับลิชชิงก็เชื่อว่า หนังสือเล่มใหม่ของเวลช์ น่าจะเป็นหนังสือคลาสสิกอีกเล่มหนึ่งทางด้านบริหารธุรกิจ

แจ๊ก เวลช์ หรือ จอห์น ฟรานซิส เวลช์ จูเนียร์ (John Francis Welch Jr.) เกิดเมื่อปี พ.ศ.2478 ที่เมืองซาเลม รัฐแมสซาชูเซตส์ ทางฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกา เป็นลูกชายคนเดียวของครอบครัวชนชั้นกลาง บ้านหลังใหญ่ที่ครอบครัวเวลช์อาศัยอยู่นั้น ล้อมรอบด้วยสุสานถึง 3 ด้านด้วยกัน ซึ่งพ่อของ เขาบอกว่า นั่นแหละคือ เพื่อนบ้านที่ดีที่สุด!

พ่อของเขาทำงานรถไฟกับ Boston & Maine Railroad ขณะที่แม่เป็นแม่บ้าน ซึ่งเวลช์บอกว่า จุดนี้เอง ที่ทำให้เขากับแม่มีความใกล้ชิดสนิทสนมกันอย่างมาก และแม่ได้สอนบทเรียนที่สำคัญ 3 ประการให้เขา คือให้เป็นคนพูดจาเปิดเผย เผชิญกับความจริง และควบคุมให้ชีวิตดำเนินไปตามจุดมุ่งหมาย

เวลช์ชอบกีฬามาตั้งแต่เด็ก โดยเฉพาะเบสบอล บาสเกตบอล และฮ็อกกี้ กีฬานี่เองที่ทำให้แววการเป็นผู้นำของเขาฉายออกมา

ในสมัยเด็ก เวลช์ได้ชื่อว่าเป็นเด็กที่ช่างพูดและชอบส่งเสียงดังที่สุดในชั้นเรียนอีกด้วย

แจ๊ก เวลช์กับเพื่อนร่วมชั้นอีกคนหนึ่ง เคยถูกเสนอชื่อให้ได้ทุนของโรงเรียนนายเรือ แต่ปรากฏว่าเวลช์พลาด ทุนดังกล่าว แม้จะทำให้เขาและครอบ ครัวผิดหวังอย่างมาก แต่ก็นับเป็นจุดหักเหที่สำคัญในชีวิตของเขา

ถึงแม้เวลช์จะเป็นเด็กที่เรียนหนังสือไม่เลว แต่เขาก็ไม่เลือกเรียนที่สถาบันซึ่งมีชื่อเสียงอย่างเอ็มไอที (MIT - Massachusetts Institute of Tech-nology) กลับเลือกที่จะเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยแมสซาชูเซตส์ (University of Massachusetts - UMass) แทน ด้วยเหตุผลเฉพาะตัวที่น่าสนใจทีเดียว เขาบอกว่า ถ้าเรียนที่เอ็มไอที เขาก็จะกลายเป็นเพียงนักศึกษาระดับหัวปานกลางคนหนึ่งในหมู่นักเรียนระดับสุดยอดของประเทศ แต่การไปเรียนในมหา วิทยาลัยอย่าง UMass ทำให้เขาสามารถ เปล่งประกายได้อย่างเต็มที่

เวลช์เป็นคนแรกของตระกูลที่ได้เรียนในระดับมหาวิทยาลัย

แต่กระนั้น เวลช์ก็ไม่ได้เรียนอย่างที่ครอบครัวของเขาฝันหรือต้องการ แม่น่าจะพอใจมากกว่า ถ้าหากว่าลูกชาย คนเดียวจะเป็นพระหรือเป็นหมอ แต่เวลช์ก็กลับไปหลงรักวิชาเคมีและเลือกเรียนทางด้านวิศวกรรมเคมี เมื่อจบจาก UMass เขาก็ได้รับการส่งเสริมจากบรรดาคณาจารย ์ด้วยการจัดหาทุนให้เขาไปเรียนต่อในระดับปริญญาโท และปริญญาเอกทางด้านวิศวกรรมเคมีที่มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ (University of Illinois) และที่นี่เองที่ทำให้เขาได้ พบกับ แคโรลิน ออสเบิร์น (Carolyn Osburn) ภรรยาคนแรก และร่วมชีวิตกันในปี 2502 ทั้งคู่มีบุตรชาย 2 คน หญิง 2 คนและครองชีวิตคู่กัน 26 ปี

หลังจากแยกทางกับภรรยาคนแรก 4 ปี เวลช์ได้แต่งงานใหม่กับเจน บีสลี (Jane Beasly) นักกฎหมายผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการควบกิจการ

เมื่อเวลช์จบปริญญาเอกในปี 2503 เขาได้รับการเสนองาน 3 แห่งด้วย กัน แต่เขาเลือกจีอี เพราะจะได้กลับมาทำงานที่แมสซาชูเซตส์ - ความรู้สึกว่าได้ กลับบ้าน ทำให้เขาเลือกจีอี เขาขับรถโฟล์คเต่าที่เป็นของขวัญในโอกาสจบปริญญาเอกจากพ่อ พาเจ้าสาวคนแรกของเขาไปเริ่มงานทางด้านพลาสติกกับ จีอีที่เมืองพิตส์ฟิลด์

เวลช์ทำงานเต็มที่ ถึงสิ้นปีแรก เขาได้เงินเดือนขึ้นเท่ากับคนอื่นๆ ซึ่งทำให้เขาไม่พอใจกับระบบดังกล่าว ยื่นใบลาออกและจะไปทำงานที่อื่น แต่นาทีสุดท้าย รองประธานจีอีในสมัยนั้นก็ได้ดึงให้เขากลับมาอยู่กับจีอี โดยมอบหมายงานให้รับผิดชอบมากขึ้นและให้เงินเดือนสูงขึ้น...

ทำให้เวลช์ไปไหนไม่รอด ต้องกลับมาตายรังจีอี!

ในปี 2511 ด้วยวัย 33 ปี เวลช์ขึ้นเป็นระดับผู้จัดการที่อายุน้อยที่สุดของจีอี พออายุ 37 เขาก็ได้เป็นผู้บริหาร กลุ่ม และดูเหมือนจะไม่มีอะไรมาหยุดยั้งการเติบโตของเวลช์ในจีอีได้ ในปี 2524 ขณะที่อายุได้ 45 ปี เวลช์ได้เป็นเบอร์หนึ่งของจีอี นับเป็นประธานบริษัทที่มีอายุน้อยที่สุด

เวลช์เริ่มต้นวันของเขาด้วยการเดินบนเครื่องออกกำลังกายเป็นระยะทาง 3 ไมล์ ก่อนที่รถจะมารับเขาไปยังที่ทำงานเมื่อหลัง 7 โมงเช้า และหลังจากนั้น ชีวิตเขาก็เลื่อนไหลไปกับการงานของ จีอี บางครั้งเขาก็ขึ้นเฮลิคอปเตอร์ไปยังหน่วยงานต่างๆ เวลช์จะเดินทางไปยุโรป ปีละครั้ง ซึ่งมักจะเป็นในช่วงฤดูใบไม้ผลิ เพื่อพูดคุยกับบรรดาผู้บริหารของจีอีในภาคพื้นยุโรป ส่วนตะวันออกไกลนั้น เขามักจะมาในช่วงฤดูใบไม้ร่วง โดยใช้เวลาครั้งละหลายสัปดาห์ด้วยกันในการดูงานของจีอีในย่านนี้

เวลช์ชอบที่จะได้ใกล้ชิดกับเพื่อนร่วมงานของเขาเสมอ

ไม่มีระบบราชการในจีอี!

ว่ากันว่า เวลช์พยายามทำให้จีอีเป็นประชาธิปไตยแบบอเมริกา ด้วยการให้พนักงานธรรมดาๆ มีสิทธิ์มีเสียง ในขณะเดียวกัน ก็ทำให้จีอีกลายเป็นบริษัทชั้นนำของโลก

แม้จะมีบางเสียงค่อนแคะว่า เขาคือเผด็จการตัวจริงก็ตาม

เวลช์เชื่อว่า การสื่อสารที่ดีภายในองค์กรจะช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงาน โดยเฉพาะควรมี "ข้อเท็จจริง" หนึ่ง ที่ทุกคนในองค์กรไม่ว่าจะอยู่ในระดับใด มีโอกาสรับรู้อย่างเท่าเทียมกัน นอกจากนั้น เวลช์เชื่อในการฝึกอบรม โดยเฉพาะในการเตรียมสร้างทีมผู้บริหาร รุ่นใหม่ให้กับจีอี

เวลช์เคยพูดเสมอว่า มีบริษัทอยู่ 2 ประเภท พวกแรกเป็นพวกที่บอกว่า อนาคตจะทำให้เราประหลาดใจก็จริง แต่เราจะไม่ประหลาดใจกับสิ่งที่ทำให้ประหลาดใจดังกล่าว ขณะที่พวกที่สอง เป็นพวกที่ต้องประหลาดใจจริงๆ เพราะไม่ได้เตรียมตัวที่จะเผชิญกับความประหลาดใจ อีกทั้งยังต่อต้านการเปลี่ยนแปลงอีกด้วย เวลช์บอกว่าจีอีอยู่ในพวกแรก...

หัวใจสำคัญคือ จงเปลี่ยนแปลง ก่อนที่จะถูกบังคับให้ต้องเปลี่ยนแปลง!

หมายเหตุ : ข้อมูลส่วนใหญ่ของบทความ นี้มาจาก Jack Welch Speaks โดย Janet Lowe

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us