Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2544
The Leadership Pipeline             
 





The Leadership Pipeline เป็นหนังสือว่าด้วยกรอบการวาง แผนเพื่อช่วยให้องค์กรธุรกิจดึงเอาความสามารถของผู้บริหารทุกระดับออกมาสร้างความสำเร็จให้บริษัท ทั้งนี้มีเนื้อหาที่ว่าด้วยภาวะผู้นำ 6 เรื่องด้วยกัน เหมาะสำหรับผู้บริหารตั้งแต่ระดับที่มีลูกน้องเพียงลำดับชั้นเดียวไปจนถึงผู้บริหารที่มีความรับผิดชอบในระดับสูง ผู้เขียนได้เสนอให้ผู้บริหารทุกระดับชั้นพัฒนาทักษะใหม่ๆ เพื่อใช้ในการบริหารงานในหน้าที่รับผิดชอบของตน จัดสรรเวลาให้สอดคล้องกับหน้าที่รับผิดชอบและนำเอาค่านิยมใหม่ๆ เกี่ยวกับการทำงานมาปรับใช้เพื่อหาทิศทางใหม่ต่อไป

แนวทางการเป็นผู้นำ

แนวทางในการเป็นผู้นำที่ผู้เขียนเสนอไว้ทั้ง 6 เรื่องมีดังนี้

1. จากการบริหารตนเองสู่การบริหารผู้อื่น เป็นเรื่องที่
พนักงานต้องเรียนรู้ไม่เพียงแค่การรับผิดชอบต่องานในหน้าที่ แต่จะต้องรู้ถึงการวางแผนเกี่ยวกับงาน การทำงาน การมอบหมายงาน และสร้างแรงจูงใจ ฝึกฝนและประเมินผลงานของผู้อื่นได้

2. จากการบริหารผู้อื่นสู่การบริหารแบบผู้จัดการ เป็นเรื่องที่ผู้บริหารระดับผู้จัดการต้องเลือกพนักงานจากหัวข้อ 1 กล่าวคือ มองหาผู้นำรุ่นใหม่ที่จะก้าวเดินตามมา

3. จากการบริหารแบบผู้จัดการสู่การเป็นผู้จัดการสายงาน ในบทนี้มีประเด็นที่ท้าทายผู้บริหารมากขึ้น ข้อแรก ผู้จัดการต้องเรียนรู้ที่จะสื่อสารด้วยวิธีการใหม่ๆ กับพนักงานเป็นรายบุคคล
เนื่องจากผู้จัดการสายงานมักมีลำดับชั้นการบังคับบัญชาที่ห่างจากพนักงานส่วนหน้า ผู้จัดการในระดับนี้จึงต้องเผชิญหน้ากับการบริหารพนักงานที่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องใกล้ชิดในการทำงานร่วมกันโดยตรง อีกทั้งยังต้องให้ความร่วมมือและอาจต้องแข่งขันเพื่อชิงงบประมาณกับผู้จัดการในสายงานอื่นด้วย การมีมุมมองระยะยาวเป็นกุญแจสำคัญสำหรับความสำเร็จในระดับนี้ ดังนั้น ผู้จัดการระดับนี้ต้องมีความสามารถด้านทักษะการสื่อสารและทักษะในเชิงกลยุทธ์

4. จากผู้จัดการสายงานสู่ผู้จัดการธุรกิจ ความยากในขั้นนี้ก็คือ ในขณะที่ผู้จัดการสายงานเรียนรู้ที่จะร่วมมือกับสายงานอื่น ผู้จัดการธุรกิจต้องเรียนรู้ที่จะผนวกประสานสายงานเหล่านี้เข้าด้วยกัน จึงต้องอาศัยการปรับเปลี่ยนมุมมองจากการมองแบบสายงาน (เช่น เราจะทำงานได้สำเร็จลุล่วงหรือไม่?) ไปสู่มุมมองในเรื่องกำไร (เราจำเป็นต้องทำงานนี้หรือเปล่า? มันทำให้บริษัทมีกำไรหรือเปล่า?)

5. จากผู้จัดการธุรกิจสู่ผู้จัดการกลุ่ม การเปลี่ยนผ่านในขั้นนี้อยู่ที่การเปลี่ยนจากความรับผิดชอบต่อธุรกิจเดียวไปสู่ธุรกิจหลายอย่างมากขึ้น สิ่งสำคัญที่ต้องรู้ก็คือ การจัดสรรเงินลงทุนไปจนถึงการวางยุทธศาสตร์องค์กร อีกทั้งยังต้องสร้างผู้จัดการธุรกิจรุ่นใหม่ขึ้นมา และมุ่งเน้นที่ยุทธศาสตร์ของธุรกิจโดยรวม กล่าวคือต้องรู้จักกำหนดส่วนผสมของการประกอบธุรกิจให้ลงตัวและทำให้ประสบผลสำเร็จ ในขั้นนี้ ผู้บริหารจึงมีลักษณะการทำงานที่เป็นองค์รวม โดย ต้องเข้าใจถึงความสลับซับซ้อนของการบริหารธุรกิจหลากหลาย รู้จักคิดในแง่ของชุมชน อุตสาหกรรม รัฐบาล และกิจกรรมพิธีการต่างๆ

6. จากผู้จัดการกลุ่มสู่ผู้จัดการกิจการ ผู้บริหารระดับนี้ก็คือประธานเจ้าหน้าที่บริหารหรือ CEO ที่ต้องมีวิสัยทัศน์ยาวไกลเกี่ยวกับองค์กร ขณะเดียวกันต้องรู้จักสร้างกลไกที่จะสานผลประกอบการรายไตรมาสให้เข้ากับยุทธศาสตร์ระยะยาวขององค์กรด้วย

แนวทางของบริษัทเล็ก

กรอบแนวคิดทั้ง 6 ข้อข้างต้นเหมาะกับองค์กรขนาดใหญ่ แต่สามารถประยุกต์ให้เข้ากับองค์กรธุรกิจทุกขนาด เช่น ธุรกิจขนาดเล็กอาจตัดขั้นตอนผู้จัดการกลุ่มออกไปแล้วรวมเอาหน้าที่ของผู้บริหารกิจการเข้าไว้กับผู้จัดการธุรกิจ ขั้นตอนก็จะเหลือเพียงจากผู้จัดการตนเอง ผู้จัดการผู้อื่น ผู้จัดการสายงาน และผู้จัดการธุรกิจ

นอกจากนั้นในหนังสือยังมีแบบทดสอบทักษะที่จำเป็นของ
ผู้บริหารแต่ละระดับที่จะช่วยในการพัฒนาภาวะผู้นำด้วย และยังช่วยให้บริษัทไม่พลาดที่จะสร้างมือบริหารรุ่นใหม่ขึ้นมาจากระดับล่าง และจุดนี้บริษัทหลายแห่งมักละเลยไปเนื่องจากมัวสนใจอยู่แต่เรื่องการหาผู้บริหารระดับสูง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us