เป็นนามแฝงของนักวิชาการในรั้วมหาวิทยาลัย ซึ่งนอกเหนือจากความเชี่ยวชาญในงานประจำด้านจิตเวชและจิตวิทยาแล้ว
ยังมีความสนใจ ด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เขาจะเสนอมุมมองและสาระ ความรู้ที่น่าสนใจในคอลัมน์
"จากฝั่งพรานนก"
เมื่อประมาณสัปดาห์ที่ผ่านมา ในช่วงที่ข่าวคราวเรื่องการฆ่าหั่นศพปะทุขึ้นมาใหม่
เนื่องจากข่าวความขัดแย้งระหว่างฝ่ายตำรวจกับฝ่ายอัยการในประเด็นของการสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา
ไม่ว่าฝ่ายใดจะถูก หรือผิดก็ตาม และหมอวิสุทธิ์ผู้ต้องสงสัยในคดีนี้จะหลุดจากคดีก็ตาม
แต่เพื่อนของผมคนหนึ่งกล่าวไว้น่าฟังว่า ถึงเรื่องจะยุติ และคนในสังคมอาจจะเลิกใส่ใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น
เหมือนกับเหตุการณ์หลายๆ อย่างที่ผ่านเข้ามา ในชีวิตของแต่ละคนแต่อย่างน้อยหมอ
วิสุทธิ์ก็ต้องอยู่กับเรื่องนี้ไปอีกยี่สิบปี ด้วยความหวาดระแวงจนกว่าคดีจะหมดอายุความ
ปัญหาคงจะอยู่ที่ผู้ควบคุมดูแลคดีนี้จะเอาจริงเอาจังเพียงใด หรือปล่อยให้เรื่องจบลงเพียงแค่นี้
เพื่อนคนนี้ของผมให้ความเห็นต่อไปว่า ความทรงจำของคนเรานั้นเป็นสิ่งที่ไม่มีวันที่เราจะลบเลือนมันไปได้
ไม่ว่าคุณจะพยายามอย่างเอาเป็นเอาตายเพียงใด อย่างดีที่สุดที่คุณจะทำได้ก็คือพยายามฝังมันไว้ให้ลึกที่สุด
แล้วแสร้งทำเป็นเหมือนกับว่าเหตุการณ์นั้นไม่เคยเกิด ขึ้นมาก่อน แต่ท้ายสุดเมื่อมีอะไรบางอย่าง
มาสะกิดสะเกา เหตุการณ์นั้นก็จะผุดขึ้นมาจากจิตสำนึก และตามมาหลอกหลอน เราอีกครั้งหนึ่ง
เหมือนกับเหตุการณ์นั้นเพิ่งจะอุบัติขึ้นมา
ผมแย้งเขาไปว่า แล้วคนที่เป็นอัลไซเมอร์ล่ะ คนเหล่านั้นเป็นโรคความจำเสื่อมไม่ใช่หรือ
หรือถึงไม่เป็นอัลไซเมอร์ แต่หมอคนหนึ่งที่เคยกล่าวหา พลเอกชวลิตเมื่อครั้งที่เป็นนายกรัฐมนตรีว่าเป็นอัลไซเมอร์
ไม่เห็นคุณหมอท่านนั้นจะเดือดร้อน หรือออก มาแถลงข่าวคัดค้านที่พลเอกชวลิตกลายมาเป็นรัฐมนตรีกลาโหม
แต่เพื่อนผมคนนี้ยืนยันว่าเขาเชื่อว่า คุณหมอท่านนั้นไม่มีทางลืมเหตุการณ์นั้นแน่
โดยเฉพาะเมื่อถูกทำร้ายจากคนไข้คนหนึ่งภายหลังเหตุการณ์ หรือคุณชวลิตก็คงไม่ลืมแน่
และอาจจะกังวลอยู่ลึกๆ ว่า เมื่อไรฝ่ายตรงข้ามตนจะยกโรคอัลไซเมอร์ให้ตนในฐานะรัฐมนตรีกลาโหม
แน่นอนว่าเมื่อเวลาเนิ่นนานขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นอาจจะดูพร่าเลือนไปบ้าง
อารมณ์ความรู้สึกต่อเหตุการณ์อาจจะเปลี่ยนไป หรือ อย่างน้อยอารมณ์ความรู้สึกที่เคยมีต่อเหตุการณ์ก็อาจจะลดความรุนแรงลงไปตามระยะเวลาที่ผ่านไป
แต่ความทรงจำยังคงอยู่ แม้แต่คนที่ เป็นโรคสมองเสื่อม หรืออัลไซเมอร์เอง
ในบางช่วงเวลา ผู้ป่วยก็อาจพร่ำรำพันถึงเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้น ในอดีตที่คนรอบข้างเองก็ไม่นึกว่าเขาจะจำได้
สิ่งที่ดูเหมือนว่าชีวิต ชะตากรรม พรหมลิขิต หรืออะไรก็แล้วแต่ที่เราพอใจจะเรียก
เล่นตลกกับชีวิตคือ สิ่งที่เราอยากจะลืมมากที่สุด มักจะเป็นสิ่งที่เราจำได้แม่นยำ
และยากที่ จะไม่คิดถึง ในยามที่เราพักผ่อน หรือว่างเว้นจากกิจวัตรประจำ
สิ่งที่ดูเหมือนจะเป็นการเย้ยเยาะ และถากถางของบางสิ่งนอกเหนืออำนาจ ของคนเรา
(หากมีจริง) ก็คือ ความไม่พอดีในชีวิต เราจะพบทั้งคนที่อยากจะลืม ในบางเรื่องที่มีความสำคัญต่อตัวเขา
เช่น อกหัก ผิดหวังในชีวิต ไม่ประสบความสำเร็จในการทำงาน ฯลฯ และอยากจะจำได้ในทุกๆ
เรื่อง แม้กระทั่งเรื่องที่ดูจะไม่มีความสำคัญเท่าใดนักต่อชีวิตของ เขา เช่น
เบอร์โทรศัพท์ หรือชื่อของลูกค้า ที่ไม่ค่อยจะได้ติดต่อกันบ่อยนัก
เพื่อนของผมที่เป็นแพทย์คนนี้ เล่าให้ฟังว่าเขาเคยได้ประสบทั้งคนที่มาพบแพทย์เพื่อที่จะขอให้แพทย์ช่วยให้เขา
ลืมอดีตหรือความทรงจำเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เจ็บปวดในชีวิต พอๆ กับที่เขาเคยพบคนไข้ที่มาพร่ำบ่นให้ฟังว่าตนเองมีปัญหาเรื่องความจำที่แย่ลง
หลงลืมในเหตุการณ์ที่เพิ่งผ่านไป และอยากได้ยาที่ช่วยให้ความทรงจำกลับมาดีเหมือนเดิม
หรือดีขึ้นกว่าแต่ก่อน
คนที่มาพบแพทย์เพื่ออยาก จะลืม มักจะเลือกพบจิตแพทย์ ใน ขณะที่คนที่อยากจะจำมักจะเลือกพบอายุรแพทย์
หรือแพทย์ผู้เชี่ยว ชาญทางระบบประสาท (สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจก่อน คือ เรากำลังพูดถึงคนที่เดินมาพบแพทย์ด้วยตน
เองพร้อมกับปัญหาของความจำ ไม่ว่าจะ เป็นอยากจะลืม หรืออยากจะจำ ส่วนคน อีกกลุ่มที่ถูกนำมาพบแพทย์
เพราะคนรอบข้างมีความเห็นว่ามีปัญหาความจำนั้น ไม่เกี่ยวกับประเด็นที่เรากำลังพูดถึง)
หากมองต่อไปก็จะพบว่า เรื่องที่คนเรามักจะกังวลเกี่ยวกับความจำที่แย่ลง
คือการที่คุณหลงลืมในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิต ลองมองในอีกแง่หนึ่งคุณจะพบว่าในชีวิตคนเรานั้น
สิ่งต่างๆ ที่พานพบมาในชีวิตมีมากมายเหลือคณานับ แม้คนที่ประสบการณ์ชีวิตไม่ตื่นเต้นโลดโผน
หรือชีวิตเรียบง่ายธรรมดาก็ยังจะพบว่าคุณมีเรื่องให้จดจำมากมายนัก การพยายามจะจำในทุกเรื่องทุกราวดูจะเป็น
งานที่หนักหนาสาหัสเอาการ และดูจะไร้ สาระมากทีเดียวหากเราต้องพยายามพิสูจน์ว่าความจำของเรายังดีอยู่
ด้วยการ ไม่ลืมแม้แต่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิต
เรื่องตลกที่คนไม่ค่อยจะนึกถึงสำหรับคนที่อยากลืมคือ คุณกำลังทำในสิ่งที่ดูจะฝืนธรรมชาติ
เพราะเรื่องที่คนเราอยากจะลืมก็คือเรื่องที่ก่อให้เกิดความ ไม่สบายใจเมื่อคิดถึงมัน
(แน่นอนว่าเราคงจะไม่เคยพบคนบ่นว่าเขาอยากจะลืมความทรงจำเกี่ยวกับเรื่องราวที่เขามีความสุข
ในชีวิต) หากเรื่องนั้นมีความสำคัญและมีผลกระทบต่อตัวเรา เราจะลืมมันได้หรือ
การลืมเรื่องหรือเหตุการณ์นั้นเท่ากับเป็นการลบประสบการณ์ที่สำคัญในชีวิตของคนคนนั้น
เหตุการณ์นั้นแน่นอนว่ามักจะเป็นเรื่องของความผิดพลาด หรือเสียหาย หากเราลบประสบการณ์นั้นได้จริง
(ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเป็นไปไม่ได้) นั่นหมายความว่าความผิด พลาดในลักษณะเดิมอาจจะบังเกิดซ้ำขึ้นมาได้อีก
เนื่องจากเราลืมประสบการณ์ในครั้ง ที่แล้ว
สิ่งที่สร้างความทุกข์ให้กับคนเรานั้นไม่ใช่ความทรงจำ แต่ที่จริงแล้วอารมณ์ความ
รู้สึกที่เกิดขึ้นร่วมกับความทรงจำเมื่อคิดถึงมันต่างหากที่ทำให้เราเจ็บปวด
ยิ่งคุณอยากจะลืม (เรื่องที่ทำให้คุณทุกข์ใจ) มากเท่าใด ด้วยการไม่คิดถึงมัน
คุณก็จะพบว่าคุณยิ่งคิดถึงมันมากขึ้น รายละเอียดในเหตุการณ์จะผ่านเข้ามาเป็นฉากๆ
อารมณ์ความรู้สึกในขณะนั้นจะย้อนกลับมา เสมือนหนึ่งว่าเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นเมื่อวันวาน
เพราะการพยายามลืมด้วยการไม่คิดถึง สมอง และความทรงจำก็จะเล่นตลกกับเราด้วยการ
ย้อนทบทวนเพื่อตรวจสอบว่า เราลืมส่วนไหน ของเหตุการณ์ไปบ้าง การตรวจสอบของสมองนี่เองที่ดึงให้ความรู้สึกในเหตุการณ์นั้นกลับมา
หรือบางครั้งเราก็อาจตรวจสอบความจำที่มีต่อเหตุการณ์นั้นโดยตั้งใจ เช่นไปในสถานที่ที่เคยเกิดเหตุการณ์
หรือหยิบข้าวของที่เกี่ยวข้องกับความ ทรงจำนั้นขึ้นมาดู เพื่อตรวจสอบว่าตัวเองจะรู้สึกอย่างไร
หากไม่รู้สึกอะไร ก็เท่ากับว่าลืมได้แล้ว
ความพยายามของเราเองในการลืม จึงก่อให้เกิดความทุกข์ ไม่ใช่ความทุกข์จากเหตุการณ์ในอดีต
แต่เป็นความทุกข์ที่เกิดขึ้นมาใหม่ เป็นความ ทุกข์ที่ย้ำเตือนกับตัวเราเองว่า
เราไม่มีพลังอำนาจที่จะเปลี่ยนแปลง หรือแก้ไขความผิดพลาดที่เคยเกิดขึ้นมาในอดีต
แน่นอนว่าความทุกข์จากอารมณ์ความรู้สึกที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในอดีตย่อมกลับมาด้วย
แต่ไม่มากเท่ากับความทุกข์จากสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน
สิ่งที่เราควรเข้าใจคือ เราต้องจัด การกับอารมณ์ความรู้สึกและความคิดต่อ
เหตุการณ์ไม่ใช่มาคอยแก้ไขความทรงจำ หรือทำให้มันหายไปเหมือนกับไม่เคยเกิด
ขึ้นมาก่อน การที่จะทำอย่างนั้นได้คือ เลิก ความพยายามที่จะลืม หากความคิดนั้นกลับเข้ามาก็ปล่อยให้มันเกิดขึ้นและจบ
ลง ไม่ต้องฝืน ในขณะเดียวกันพยายามดำเนินชีวิตไปตามปกติอย่างที่มันเคยเป็น
หากคุณทำเช่นนี้ได้ อารมณ์ความรู้สึกต่อ เหตุการณ์ในอดีตจะไม่ก่อความทุกข์ให้กับตัวคุณมากอย่างที่คุณคิด
และนั่นคือสิ่งที่ดีในชีวิตอย่างหนึ่ง ของมนุษย์ คือ การเรียนรู้จากประสบ
การณ์ในอดีต เพื่อนของผมสรุปก่อนที่เราจะแยกจากกัน