Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2544
ตะลุยพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ตอนที่ 2             
โดย อเนกระรัว
 

   
related stories

ตะลุยพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ตอนที่ 1
ตะลุยพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ตอนที่ 3 (ตอนจบ)




พิพิธภัณฑ์วิทยา ศาสตร์ที่ South Ken- sington กรุงลอนดอน มีประวัติอันยาวนานเกือบศตวรรษครึ่ง ตั้ง แต่ปี ค.ศ.1857 ที่เปิดทำการเป็นครั้งแรก จากนั้นได้เจริญเติบโต อย่างต่อเนื่อง การแสดงในพิพิธภัณฑ์จะเน้นเรื่องการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม คือ เน้นเรื่อง Applied Science ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจ เพราะประเทศอังกฤษเป็นแหล่งกำเนิดเทคโนโลยีเพื่อการอุตสาหกรรมของโลก และเป็นต้นตำรับการปฏิวัติอุตสาหกรรม จะว่าไปพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ก็มีจุดกำเนิดไม่ห่างจากกระแสการปฏิวัติอุตสาหกรรม และก็เจริญเติบโตควบคู่ไปกับโลกเทคโนโลยี

เป็นไปได้ที่สถานที่แห่งนี้จะเป็นแหล่งสร้างแรงบันดาลใจแก่นักวิทยาศาสตร์ นักประดิษฐ์ และวิศวกรรุ่นต่อๆมา แต่โลกแห่งความเป็นจริงไม่ได้สวยงามหมดจดเหมือนทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ ผลพวงของการพัฒนาทางวัตถุที่เร็วเกินสมดุล ทำให้มนุษย์ต้องมาประหัตประหารกัน ในระดับโลก ส่งผลให้พิพิธภัณฑ์ต้องหยุดทำการในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังสงครามสงบก็พัฒนากิจการอย่าง ต่อเนื่อง ล่าสุดฉลองการย่างก้าวสู่สหัสวรรษใหม่ ปี ค.ศ. 2000 ด้วยการเปิดส่วน Welcome Wing ซึ่งเป็นจุดที่ผมกำลังยืนอยู่ตอนนี้

ชั้นที่ 2 (Second Floor) ของ Welcome Wing จัดแสดงเรื่องราวของโลกดิจิตอลซึ่งใช้ชื่อว่า Digitopolis เสนอ ความรู้เกี่ยวกับการแปลงเสียงและภาพมาเป็นข้อมูลดิจิตอล ซึ่งเนื้อหาบางเรื่องดูยุ่งยากซับซ้อน แต่ที่เด่นและมีผู้คนสนใจ มากหน่อยคือ เรื่องราวของอินเทอร์เน็ต ผู้ชมสามารถสร้าง web page ส่วนตัวซึ่งจะไปปรากฏที่ web site ของพิพิธ ภัณฑ์ การสร้าง web page สามารถเสนอข้อมูลที่แสดงตัวตนของผู้สร้างได้หลายรูปแบบ เช่น เสียงพูด ภาพถ่าย (ดิจิตอล) หรือลายนิ้วมือ ซึ่งในส่วนนี้ที่ "ซุ้มสร้าง web page" จะมีเครื่องสแกนและอ่าน (Recognize) ลายนิ้วมือได้ ก็สามารถสร้างความสนุกสนานแก่ผู้เที่ยวชมพอสมควร นอกจากนั้นก็มีเกมวิดีโอให้เล่นแต่ค่อนข้างเล่นยากและไม่สนุก จุดประสงค์เพื่อให้ผู้ชมมีการเรียนรู้ทางอ้อมเกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิตอลและประโยชน์ในการใช้งาน การนำเสนอค่อนข้างซับซ้อนคิดว่าจะเหมาะกับเด็ก โตหรือผู้ใหญ่

ชั้นที่ 3 (Third Floor) ของ Welcome Wing จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับจินตนาการของโลกอนาคต ในรูปแบบของการเล่นเกมหลายๆ คนพร้อมกัน คือ มีโต๊ะซึ่งมีภาพฉายลงมาเหมือนเป็น จอคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ให้ผู้ชมเข้ามาเล่นเป็น กลุ่มแรก เห็นก็ดูสนุก แต่พอเล่นแล้วพบว่าเป็น คอนเซ็ปต์ที่เข้าใจยากและเกมก็ไม่สนุกอย่างที่คิด เนื่องจากวิธีการนำเสนอค่อนข้างพลิกแพลงและแปลกประหลาดจนเกินไป เห็นมีผู้ชมทั้งเด็กและผู้ใหญ่เข้ามาเล่นเกมกันพอสมควร แต่ลงท้ายด้วยสีหน้างงๆ กันไป ชั้นนี้เป็นชั้นสูงสุดของ Welcome Wing ซึ่งมีพื้นที่ไม่มาก ตามรูปทรงของการก่อสร้าง ที่เป็นเหมือนพีระมิดในร่ม

จากชั้นที่ 3 ของ Welcome Wing มีทางเดิน เข้าสู่ชั้นที่ 3 ของ Main Building ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่จัดแสดงเกี่ยวกับเครื่องบินและเทคโนโลยีการบิน ถัดไปเป็นพื้นที่จัดเสดงความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ การบินให้เด็กๆ เรียกว่า Flight Lab ผมแวะทานของ ว่างที่ร้านใกล้ๆ กันนี้ เพื่อเป็นการพักขาและสมอง ด้วยเหตุว่ามีเวลาไม่มากในการเที่ยวชมครั้งนี้และ ต้องเดินดู และคิดอย่างรวดเร็ว ในขณะที่สถานที่ก็กว้างใหญ่และมีสิ่งต่างๆ ให้ดูและคิดจำนวนมาก ถัด จาก Flight Lab ไปยังอีกส่วนของตึก (ยังอยู่ที่ชั้น 3) เป็นที่จัดแสดงเกี่ยวกับเทคโนโลยีการแพทย์ มุมแสดงกล้องถ่ายภาพ ธรณีวิทยาและสมุทรศาสตร์ ซึ่งส่วนใหญ่จะจัดแสดงเป็น Display เกี่ยวกับอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับหัวข้อที่กล่าวมา มุมที่น่าสนใจอีกมุมของชั้นนี้คือ ความรู้เกี่ยวกับแสง (Optics) มีการจัดแสดงภาพสามมิติ Hologram สวยๆ หลายภาพ รวมทั้งยังมีชุดแสดงหลักการของ Hologram ทั้งชนิดแสงเลเซอร์ล้วนๆ และชนิดใช้แสงจากหลอดไฟผสม

เดินลงบันไดสู่ชั้นที่ 2 ของตึกด้านทิศตะวันออก เป็นที่จัดแสดงความรู้เกี่ยวกับ Nuclear Physics และ Nuclear Power ส่วนใหญ่จะเน้นที่การประยุกต์ใช้งานด้านพลังงาน มีส่วนน้อยที่จะอธิบายเกี่ยวกับทฤษฎีทาง ฟิสิกส์ ถัดมาเป็นโรงงานเคมีขนาดย่อส่วน ซึ่งแสดงประวัติ ศาสตร์พัฒนาการของอุตสาหกรรมเคมี มุมแสดงเทคโนโลยี การพิมพ์ในอดีต จากนั้นเดินเข้าสู่ตึกกลางเป็นเรื่องเกี่ยวกับคณิตศาสตร์และการคำนวณ จุดเด่นที่สุดอยู่ที่เครื่องจักร กลคำนวณ Difference Engine No.1 และ 2 ซึ่งออกแบบโดย Charles Babbage นักคณิตศาสตร์สถิติอัจฉริยะชาวอังกฤษ เครื่องจักรกลนี้ผลิตจากการนำฟันเฟืองจำนวนมหาศาลมาทำการบวกลบเลข ในลักษณะที่สลับซับซ้อนให้สามารถคำนวณค่าของฟังก์ชั่นยากๆ ได้ เครื่องมือดังกล่าวเป็นเสมือนบรรพบุรุษ (จักรกล) ของเครื่องคอมพิว เตอร์ในปัจจุบัน ใกล้ๆ กัน มีผลงานศิลปินที่นำไอเดียทาง คณิตศาสตร์ วิชาเรขาคณิตหลายมิติ มาสร้างเป็นรูปต่างๆ เช่น Kline Bottle (ภาพเสมือนพื้น ผิว 4 มิติที่มีแต่ "ข้างนอก") ซ้อนๆ กันหลายๆ ชั้น พื้นที่ใหญ่โตที่เหลือของชั้นนี้มีไว้ สำหรับการจัดแสดงวิวัฒนาการ ของ Marine Engineering ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโมเดลใหญ่น้อยของเรือชนิดต่างๆ จากเก่ามาใหม่ ผมไม่มีเวลาพอที่จะเดินให้ทั่ว

จากชั้นที่ 2 เดินลงมาชั้นที่ 1 (First Floor ซึ่งคือ ชั้นที่ 2 จากระดับพื้นดิน) จะเป็นการจัดแสดงเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ของวัสดุ (ที่ใช้ในการก่อสร้างและการผลิต ฯลฯ) การสื่อสารโทรคมนาคม อาหาร อุทกศาสตร์เครื่องยนต์ก๊าซ และเรื่องของก๊าซ การเกษตรอุตสาหกรรม และเครื่องบอกเวลา เนื่องจากใกล้เวลาปิด (18.00 น.) ผมต้องเดินจ้ำไม่หยุด ดูบ้างข้ามบ้าง แต่ไม่วายที่จะต้องมาหยุดดูมุมเกี่ยวกับเครื่องบอกเวลา ซึ่งดูสนุกมาก ที่มุมนี้จะมีเครื่องบอกเวลา หรือนาฬิกาชนิดต่างๆ รวมถึงปฏิทินจักรกลที่แปลกพิสดารเกินคาดคิด จัดแสดงไว้มาก มายหลายแบบ ซึ่งส่วนใหญ่จะเห็นกลไกข้างในที่สลับซับซ้อนและที่น่าสนุกคือหลายๆ ชิ้นยังทำงาน ได้ กว่าจะเดินถึงทางออกก็หมดเวลาพอดี เช่นเดียว กับหลายๆ สถานที่ที่เป็นแหล่งเที่ยวชมคือ ทางออก มักจะเป็นร้านขายของที่ระลึก เพื่อให้ผู้คนที่ปลื้มจากการเที่ยวชมได้จับจ่าย หาของที่ระลึกไปฝากใครต่อใคร หรือเอาไว้คุยอวดเมื่อมีโอกาส โชคดีที่หมดเวลา ทำให้ผมได้ประหยัดเงินบาท

เสร็จสิ้นการเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ที่ South Kensington ก็ได้รับความประทับใจอยู่ไม่น้อย ได้เห็นและรู้สึกถึงพลังแห่งความรู้ ความอุต-สาหะและตั้งใจ พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือ นำพาชาติสู่ความยิ่งใหญ่ ผมไม่ได้ยกย่องโลกของ การพัฒนาวัตถุหรือโลกตะวันตกด้วยเหตุของ "ความได้เปรียบ" แต่ผมมองว่าเทคโนโลยีและการ พัฒนาเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต ขณะ เดียวกันความรู้สึกนึกคิด (จิตใจ) ที่ดีของมนุษย์ก็ต้องพัฒนาไปพร้อมๆ กันเพื่อให้เทคโนโลยีเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ในทางสร้างสรรค์ คราวหน้า ผมจะปิดท้ายทัวร์พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ที่เมืองไทยครับ แล้วพบกัน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us