Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2544
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล             
 


   
search resources

ปรีดิยาธร เทวกุล, ม.ร.ว.




การตัดสินใจครั้งสำคัญครั้งที่สองของเขาอย่าง พลิกผัน มีแรงบันดาลใจแตกต่างกับครั้งแรกอย่างสิ้นเชิง ครั้งนี้ถือเป็นการทำงานที่ท้าทาย และเร้าใจมาก กว่าครั้งใดๆ ของชีวิตบุรุษผู้นี้

ผู้ชายคนนี้ราศีกรกฎ อายุจะก้าวสู่ 54 ปี ในไม่กี่วันข้างหน้านี้ เขาเป็นสมาชิกในราชสกุลเทวกุล เชื้อสายวงศ์วานของเขาน่าศึกษามาก

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล หรือคุณชายอุ๋ย คือ คน ที่มีโอกาสมากกว่าคนอื่นๆ ด้วย ภูมิหลังของเขา สิ่งแวดล้อมที่เกื้อกูล ประกอบกับประสบการณ์ในช่วงราบ เรียบยาวนานเป็นพื้น ทำให้เขากลายเป็นคนที่ยืนเด่นในช่วงที่สังคมมีความขัดแย้ง หวาดระแวง ในวิกฤติ การณ์ต่างๆ เสมอ

นี่ก็คือโอกาสครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่งจากความหวาดระแวงอย่างรุนแรง ระหว่างทีมเศรษฐกิจพรรคไทยรักไทยกับผู้ว่าแบงก์ชาติคนก่อน ที่มีภูมิหลังของบุคคลมากกว่าแนวทางการบริหาร

เขาจึงเป็นคนเหมาะสมที่สุดในการทลายความ หวาดระแวงนี้ ในยามที่บ้านเมืองต้องการการแก้ปัญหา รากฐานสำคัญ

คุณชายอุ๋ย เป็นลูกชายของพลตรีหม่อมเจ้าปรีดิ เทพยพงษ์ เทวกุล อดีตทูตไทยประจำอังกฤษ ต้นตระกูลเทวกุล มีความสัมพันธ์กับกระทรวงต่างประเทศอย่างแนบแน่นและยาวนาน สมเด็จพระเจ้า บรมวงศ์เธอกรมพระเทววงศ์วโรปกรณ์ ต้นราชสกุล พระเจ้าน้องยาเธอ ในรัชกาลที่ 5 ก็มีตำแหน่งเป็นเสนาบดีกระทรวงต่างประเทศคนแรก คนล่าสุดที่รับราชการในกระทรวงนี้ก็คือ ม.ร.ว.เทพ เทวกุล

ชีวิตคุณชายอุ๋ยดูจะแตกต่างกว่าคนอื่นๆ ถือได้ว่าเป็นคนแรกในราชสกุลที่เข้าสู่วงการธุรกิจ อาจจะเป็นไปได้ว่า พี่สาวของเขา ม.ร.ว.สำอางวรรณเป็นภรรยาของบัญชา ล่ำซำ บัญชาเป็นลูก ชายคนโตของโชติ ล่ำซำ บุคคลสำคัญในเจนเนอเรชั่นที่ 2 ของตระกูลล่ำซำ

ตระกูลล่ำซำเป็นกลุ่มธุรกิจรากฐานเก่าจาก ชาวจีนโพ้นทะเลก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ที่มีความสัมพันธ์แนบแน่นกับราชนิกุล มีเครือข่ายธุรกิจกว้างขวางที่สำคัญ ก็คือ ธนาคารกสิกรไทย โชติ ล่ำซำ แต่งงานกับ น้อม อึ๊งภากรณ์ พี่สาวแท้ๆ ของ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ อดีตผู้ว่าแบงก์ชาติ และอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อิทธิพลซีกทางพี่สาว มีมากพอสมควร หลัง จากจบการศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล คุณชายอุ๋ยก็ตัดสินใจเข้าเรียนคณะเศรษฐศาสตร์ ธรรม ศาสตร์ ในยุคที่ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เป็นคณบดี

จากนั้นด้วยการเขียนหนังสือแนะนำอย่างดี ของ ดร.ป๋วย ก็ทำให้เขาได้เรียน MBA ที่ Wharton School of Finance and Commerce, University of Pennsylvania ดูเหมือนจะเป็นนักเรียนทุนของธนาคารกสิกรไทยรุ่นแรกๆ เสียด้วย

ยิ่งไปกว่านั้น เขาก็เป็นศิษย์เก่าวาร์ตันรุ่นกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญในวงการการเงินไทย ตั้งแต่ ต้นทศวรรษ 2500 เป็นต้นมา พวกเขาเหล่านี้สะสม บารมีไว้เพียบพร้อม

เขาเริ่มทำงานที่ธนาคารกสิกรไทยครั้งแรก ในปี 2505 ด้วยความรู้ทางวิชาการและสายสัมพันธ์ทางต่างประเทศ คุณชายอุ๋ยดูเหมาะสมกับ งานด้านต่างประเทศของ ธนาคาร เขาทำงานในสายงานดังกล่าวเป็นเวลา ยาวนานถึง 8 ปีเต็ม

และใช้เวลาทำงานเพียง 14 ปี ก็เป็นกรรม การรองผู้จัดการใหญ่ เป็นคนหนุ่มมาแรงที่สุดในธนาคารนี้ จนมีคนคาดหมายกันว่า เขาคือทายาทของ ธนาคารนี้อย่างแน่นอน แม้ว่าจะเป็นคนนอกตระกูลล่ำซำคนแรกก็ตาม

การตัดสินใจครั้งสำคัญครั้งแรกในชีวิต ลาออก จากธนาคารกสิกรไทย ซึ่งเขาทำงานมาราว 20 ปี อย่างไม่มีใครคาดคิด มาดำรงตำแหน่งโฆษกรัฐบาลชาติชาย เพียงไม่กี่เดือน รัฐบาลนี้ก็ถูกคณะ รสช. ยึดอำนาจ ดูเหมือนเป็นการตัดสินใจที่ผิดจังหวะพอสมควร ในปลายปี 2533

เขาไม่ยอมหวนกลับไปที่ธนาคารกสิกรไทยอีก เป็นที่ทราบกันว่า เป็นการเปิดทางให้กับบัณฑูร ล่ำซำ ขึ้นมาเป็นผู้นำธนาคารกสิกรไทย ซึ่งว่ากันว่าเป็นเหตุผล หลักในการตัดสินใจเข้าสู่วงการเมือง

ในที่สุด เขาก็พบว่า การตัดสินใจที่ดูเหมือนฉุก ละหุกครั้งนั้น นับเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง เป็นการเปิดทางให้ตัวเองอย่างกว้างขวาง โอกาสใหม่ๆ ก็เป็นของเขาเสมอมา

เขาได้เข้าร่วมรัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน ในฐานะรัฐมนตรีช่วยกระทรวงพาณิชย์ ตั้งแต่เดือนกรกฎา คม 2534 ดูแลการส่งออกโดยเฉพาะ ต่อเนื่องมาถึงสอง ครั้งสองครา ในยุคที่ อมเรศ ศิลาอ่อน เป็นรัฐมนตรีว่า การ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มในบทบาททางเศรษฐกิจในวงการ เมืองอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าซีกไหนจะเป็นรัฐบาลก็ตามที จากนั้นชื่อของเขาจึงอยู่ในทำเนียบของ "คน" ที่นัก การเมืองเลือกสรร ในยามที่ต้องการการตัดสินใจที่มีปัญหาทางการเมืองน้อยที่สุด

หลังจากพ้นตำแหน่ง ก็เข้ารับตำแหน่งผู้จัดการใหญ่ธนาคารเพื่อนำเข้าและส่งออกแห่งประเทศไทย (เอ็กซิมแบงก์) ซึ่งเป็นกิจการของทาง การ ซึ่งตั้งขึ้นมาใหม่ โดยมติคณะรัฐมนตรีในปี 2536 ในช่วงปลายของความเฟื่องฟูของเศรษฐกิจไทยและ จากนั้นเมืองไทยเข้าสู่ภาวะวิกฤติอย่างรุนแรงของเศรษฐกิจและสถาบันการเงินไทย

เขาได้ใช้ประสบการณ์การบริหารสถาบันการเงินมายาวนาน ในช่วงไม่มีสิ่งด่างพร้อย มาชำระ ล้าง "สิ่งตกค้าง" ของระบบการเงินไทยที่มีปัญหา ในฐานะประธานบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (ปี 2540) ควบคู่ไปกับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการนำเข้าและส่งออกแห่งประเทศไทย

การตัดสินใจครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่ง มีความ หมายมากเป็นพิเศษ

เขาขึ้นดำรงตำแหน่งผู้ว่าแบงก์ชาติ ในฐานะคนนอกที่มีประสบการณ์จากเอกชนคนแรกในรอบ 50 ปีก็ว่าได้ ที่สำคัญเป็นปรากฏการณ์สำคัญที่ ผู้ว่าแบงก์ชาติมีประสบการณ์จากการบริหารธนาคารเอกชนมาเกือบ 30 ปี

อีกมิติหนึ่งภารกิจจากนี้ของเขา มีส่วน สำคัญในการบริหารวิกฤติการณ์ประเทศไทยโดย ตรง นับเป็นเรื่องท้าทายอย่างมาก จากคนที่มีประสบการณ์ที่ค่อนข้างเรียบ และดำเนินไปอย่างไม่โลดโผน

สำหรับเขาแล้ว การข้ามผ่านตำแหน่งสูงสุด ของธนาคารพาณิชย์ไทย มาสู่ผู้นำธนาคารกลาง ย่อมเป็นแรงบันดาลใจครั้งยิ่งใหญ่แม้ต้องเดิมพันครั้งสำคัญก็นับว่าเป็นการเดิมพันที่คุ้มค่า

(หมายเหตุ ข้อเขียนชิ้นนี้ เรียบเรียงและปรับปรุงขึ้น จาก ฐานของงานเขียนของผู้เขียนจากหนังสือ "อำนาจธุรกิจใหม่")

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us