บทบาทและความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้เพิ่มทวีขึ้นและแทรกซึมสู่ทุกระบบงาน
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การนำประโยชน์มาใช้ในแวดวงการศึกษายุคปัจจุบัน ซึ่งได้รับการกล่าวถึงในฐานะที่เป็นพื้นฐานของการพัฒนาในทุกด้าน
เมื่อไม่นานมานี้ มหาวิทยาลัยชินวัตร ได้จัดการสัมมนาวิชาการในหัวข้อ "เทคโนโลยี
สารสนเทศ : คำตอบสุดท้ายของการศึกษายุคใหม่" ภายใต้ความมุ่งหมายที่จะเผยแพร่และสร้างความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการศึกษา ซึ่งสอดคล้องกับปรัชญาและแนวความคิดของ
มหาวิทยาลัยที่มุ่งสร้างมิติใหม่ทางการศึกษาด้วยการเรียนรู้อย่างไร้ขีดจำกัด
การสัมมนาดำเนินไปท่ามกลางการนำเสนอวิสัยทัศน์ และมุมมองด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจากทั้งผู้มีส่วนในการกำหนดนโยบายและบริหารประเทศ
ผู้บริหารการศึกษา และผู้นำด้าน IT ภายใต้ความตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาและระบบสารสนเทศ
ซึ่ง ไม่เพียงแต่จะนำเสนอแนวทางการนำไปใช้ในสถานศึกษาเท่านั้น หากแต่ยังครอบคลุมไปสู่กรณีการวางระบบและการใช้
software ด้วย
การสัมมนาเริ่มต้นด้วยประเด็นรากฐาน ในหัวข้อ "เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนา
การศึกษาไทย" โดยมี ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุท-วณิช ผู้บังคับการโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย,
ดร.รอม หิรัญพฤกษ์ ผู้อำนวยการ Software Park และ ดร.ณหทัย ทิวไผ่งาม ผู้อำนวยการโรงเรียนทิวไผ่งาม
ร่วมนำเสนอ
ความคิดเห็นของวิทยากรทั้งสามในประเด็นดังกล่าว ส่วนใหญ่ดำเนินไปในลักษณะ
ที่มุ่งจะชี้ว่าคำตอบสุดท้ายของการศึกษาไม่ได้ อยู่บนฐานของเทคโนโลยีสารสนเทศแต่เพียงลำพัง
หากแต่ยังมีองค์ประกอบอื่นๆ ที่ต้องเชื่อมประสานให้เกิดประโยชน์สูงสุดร่วมกัน
"การเข้าถึงไอที เป็นสิ่งที่สำคัญมากใน ปัจจุบัน ซึ่งหากใครเข้าไม่ถึงก็เหมือนอยู่คนละ
โลก ปัญหาของประเทศไทยก็คือ Model ทาง การศึกษายังไม่มีการเปลี่ยนแปลง ทำให้แนวโน้มการศึกษาไทยเป็นไปในทิศทางที่เรียกว่าอุตสาหกรรมการศึกษา"
ดร.รอม กล่าวในช่วง หนึ่งของการสัมมนา ซึ่งสะท้อนให้เห็นจุดอ่อน ด้อยในพัฒนาการระบบการศึกษา
จุดร่วมที่ใกล้เคียงกันประการสำคัญของวิทยากรทั้งสามอยู่ที่ทัศนะต่อการพัฒนา
การศึกษาของไทย ที่ต่างมีความเห็นว่า เทคโน โลยีสารสนเทศมิได้มีแต่ประโยชน์ต่อการเรียน
รู้แต่เพียงด้านเดียวเท่านั้น หากแต่อีกด้านหนึ่ง ยังมีโทษด้วย ดังนั้นครูอาจารย์ซึ่งมีหน้าที่สั่งสอนอบรม
จึงควรที่จะสอดแทรกในเรื่องคุณธรรมเข้าไปควบคู่กับการเรียนการสอนด้วย และต้องตระหนักว่าเทคโนโลยีเป็นเพียงเครื่อง
มือหนึ่งในการเรียนรู้เท่านั้น หลักสูตรส่วนใหญ่ ควรจะได้รับการถ่ายทอดออกมาโดยจากครูหรือบุคลากรทางการศึกษา
ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญในการประสานแนวความคิดต่างๆ เข้า กับเทคโนโลยี ให้ดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน
รายการที่น่าสนใจต่อมาอยู่ที่การบรรยายพิเศษโดย ศาสตราจารย์ นพ.เกษม วัฒนชัย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในหัวข้อ "IT ยุคปฏิรูปการศึกษา"
ซึ่งเป็นการสะท้อนข้อจำกัดของภาครัฐในการสร้างเสริมพัฒนาการในมิติของเทคโนโลยีสารสนเทศ
โดยระบุว่า เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือ สำคัญในการเรียนรู้ที่จะต้องลงทุนเช่นเดียวกับ
ทรัพยากรอื่นๆ ซึ่งอุปสรรคสำคัญของการใช้ IT ในโรงเรียนยังอยู่ที่ปัจจัยหลักว่าด้วยอัตราค่าเช่าโครงข่าย,
การขาดแคลนครูผู้สอน และความไม่ทันสมัยของทั้ง software และ hard-ware ขณะที่การปฏิรูปการศึกษา
โดยเฉพาะการขยายการศึกษาภาคบังคับเป็น 12 ปี ก็ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐสภา
การสัมมนาในภาคบ่าย ดำเนินไปในลักษณะของการนำเสนอกรณีตัวอย่างของการ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสถาบันการศึกษาทั้งในระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา
โดยมี สมพงษ์ รุจิรวรรธน์ ผู้อำนวยการโรงเรียนสวน กุหลาบวิทยาลัย และรศ.ดร.พูลพงษ์
บุญพราหมณ์ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผน มหา- วิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมนำเสนอภายใต้หัวข้อ
"ความต้องการและการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษายุคใหม่"
ผู้อำนวยการโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ระบุว่า การใช้เทคโนโลยีของโรงเรียน
สวนกุหลาบฯ เกิดขึ้นจากความต้องการ 3 ประการ กล่าวคือ ความต้องการเชิงบริหารจัดการ
ความต้องการบริการ และความต้อง การปฏิรูปการเรียนรู้ ซึ่งจากความต้องการดังกล่าวได้พัฒนาองค์ประกอบ
4 ด้านขึ้นมา รองรับ
"เราได้พัฒนาบุคลากร พัฒนาวัสดุอุปกรณ์ พัฒนาโปรแกรมและพัฒนาระบบเครือข่าย
พร้อมกับการจัดทำ Home Page ของโรงเรียนเพื่อเป็นที่รวมกิจกรรมต่างๆ ซึ่งจากการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่าประสบความสำเร็จในระดับที่น่าพอใจ
โดยนักเรียนตั้งแต่ระดับ ม. 1 สามารถสืบค้นข้อมูลจาก internet มาเสริมความรู้ได้เป็นอย่างดี"
Highlight ของการสัมมนาอยู่ที่การอภิปรายในหัวข้อสุดท้าย ในเรื่อง "Cyber
Uni-versity : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยชินวัตร" โดยมี ดร.แสงสันต์ พานิช
รักษาการอธิการบดี มหาวิทยาลัยชินวัตร, ดร.สุนทร บุญญาธิการ ผู้ออกแบบมหาวิทยาลัยชินวัตร
และนายสุรเธียร จักรธรานนท์ กรรมการผู้อำนวยการกลุ่ม บริษัท SC Asset ผู้รับผิดชอบโครงการมหา
วิทยาลัยชินวัตร ร่วมนำเสนอมุมมองที่แตกต่าง ไปจากกรณีศึกษาที่เสนอไปก่อนหน้า
เพราะนอกจากระดับของวิทยาการที่ก้าวหน้าแล้ว ข้อได้เปรียบของมหาวิทยาลัยชินวัตรในการใช้
เทคโนโลยีสารสนเทศยังอยู่ที่การเริ่มต้นตั้งแต่ การออกแบบและวางแผนการก่อสร้างด้วย
"มหาวิทยาลัยชินวัตรเปรียบเสมือนนักปฏิบัติ ที่ต้องการให้ทุกองค์ประกอบได้เรียน
รู้จากของจริง เห็นจริงและรู้จริง รวมทั้งการเปิดเผยให้เห็นช่องทางใหม่ๆ
ที่มีศักยภาพสูงสุดในการใช้งาน" แสงสันต์กล่าวในช่วงหนึ่ง ของการอภิปรายพร้อมกับระบุว่า
การสัมมนา ครั้งนี้เป็นการรวมกลุ่มขององค์ประกอบในทุก ส่วนงานของการติดตั้งระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
ของมหาวิทยาลัยชินวัตร ซึ่งมีแนวความคิดหลักอยู่ที่การเรียนรู้อย่างไร้ขีดจำกัด
และไร้ขอบเขต ซึ่งจะช่วยให้การก้าวไปสู่มหา วิทยาลัยแห่งการวิจัยมีความจริงจังและเชื่อมโยงกับฐานความรู้ระดับโลกไปพร้อมกัน
ขณะที่สุรเธียร จักรธรานนท์ ในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการมหาวิทยาลัยชินวัตร
ได้สะท้อนมุมมองของนักธุรกิจซึ่งน่าสนใจไม่น้อย โดยเขาระบุว่า เทคโนโลยีสารสนเทศมีพัฒนา
การที่รวดเร็วมาก ดังนั้น การจะลงทุนใดๆ ใน มหาวิทยาลัยแห่งนี้ ต้องพิจารณาแนวโน้มของ
เทคโนโลยีสารสนเทศเสียก่อน ซึ่งข้อความพิจารณาประการสำคัญที่สุดก็คือ การมองไปที่ความต้องการใช้งาน
ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของ การตัดสินใจลงทุน
ปัญหาสำคัญนับจากการสัมมนาครั้งนี้ อยู่ที่ว่า มหาวิทยาลัยชินวัตร ซึ่งจะเปิดรับนักศึกษา
และมีการเรียนการสอนอย่างจริงจังในอนาคตไม่ช้านั้น จะสามารถใช้ประโยชน์จาก
เทคโนโลยีสารสนเทศเร่งเร้าให้เกิดการพัฒนา องค์ความรู้และผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพออกสู่สังคมได้ในระดับที่ดีเพียงใด
ทั้งนี้ต้องไม่ละเลยข้อเท็จจริงที่ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ มิใช่ดัชนีหรือมาตรวัด
ที่จะสะท้อนระดับการพัฒนาทางการศึกษาใน ลักษณะของแก้วสารพัดนึกแต่อย่างใด
คำตอบสุดท้ายของการศึกษาไม่ได้อยู่บนฐาน ของเทคโนโลยีสารสนเทศแต่เพียงลำพัง
หากแต่ยังมีองค์ประกอบอื่นๆ ที่ต้อง เชื่อมประสานให้เกิดประโยชน์สูงสุดร่วมกัน
"มหาวิทยาลัยชินวัตรเปรียบเสมือนนักปฏิบัติ ที่ต้องการให้ทุกองค์ประกอบได้เรียนรู้จากของจริง
เห็นจริงและรู้จริง รวมทั้งการเปิดเผยให้เห็นช่องทางใหม่ๆ ที่มีศักยภาพสูงสุดในการใช้งาน"