Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2543
"บาร์เทอร์คาร์ด"; ธุรกิจเฟื่อง ยุคเงินฝืด             
 


   
search resources

บาร์เทอร์คาร์ด (ประเทศไทย)
Barter Card




ภายหลังเปิดธุรกิจบาร์เทอร์คาร์ด ในเมืองไทยได้ 1 ปี ปรากฏว่าได้รับ ผลตอบรับจากผู้ประกอบการ ในเมืองไทยมากถึง 400 ราย พร้อมตั้งเป้าว่าจะขยายสมาชิกได้ถึง 1,000 รายภายในปีค.ศ.2000

ในยามเศรษฐกิจตกอยู่ในภาวะวิกฤติ จะมีธุรกิจเพียงไม่กี่ธุรกิจเท่านั้น ที่สามารถอยู่รอดหรือเกิดใหม่ขึ้นมาได้ ธุรกิจบาร์เทอร์ หรือธุรกิจแลกเปลี่ยนสินค้า และบริการโดยไม่ใช้เงินสด เป็นธุรกิจ ที่อยู่ได้ในทุกสภาวะของเศรษฐกิจ และมีมาช้านานแล้ว เป็นธุรกิจ ที่ไม่ต้องใช้ "เงินสด" แต่ต้องมี "สินค้า"มาแลกเปลี่ยน ซึ่งกัน และกัน

ธุรกิจบาร์เทอร์ในประเทศไทยเองก็มีมานานแล้ว เพียงแต่ไม่เป็นรูปแบบ โดยส่วนใหญ่จะเป็นการติดต่อกันระหว่างธุรกิจกับธุรกิจตามความเหมาะสม และพอใจของทั้ง 2 ฝ่าย ไม่ได้มีรูปแบบ ที่ตายตัว จนกระทั่งเมื่อเดือนพ.ศ.2541 บริษัท บาร์เทอร์คาร์ด (ประเทศไทย) ได้เปิดดำเนินการ โดย ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการจัดเก็บข้อมูล และบริหารการแลกเปลี่ยนสินค้า และบริการระหว่างสมาชิกด้วยกัน ซึ่งสมาชิกแต่ละรายจะได้รับบาร์เทอร์คาร์ด ที่มีลักษณะคุณสมบัติคล้ายบัตรเครดิต เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนสินค้า และบริการ โดยมีหน่วยวัดมูลค่าการซื้อขายเป็ย "เทรดบาท" ซึ่งสมาชิกสามารถสะสมหรือนำไปใช้ได้ตามต้องการ การค้าในรูปแบบของการ "แลกเปลี่ยน" ในเมืองไทย จึงเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปแบบ โดยใช้ระบบการค้าแลกเปลี่ยนตามแนวคิดดั้งเดิมเป็นหลักในการดำเนินงาน ผนวกเข้ากับความยืดหยุ่น ความปลอดภัย ความรับผิดชอบ ความน่าเชื่อถือ รวมทั้งการรับรองผล และความพึงพอใจสูงสุด

สำหรับค่าใช้จ่าย ที่สมาชิกในประเทศไทยต้องรับผิดชอบประกอบด้วย ค่าธรรมเนียมแรกเข้าในอัตรา 14,900 บาทต่อราย พร้อมทั้ง 6% ของมูลค่าการแลกเปลี่ยนแต่ละครั้ง และอัตราค่าธรรมเนียมรายเดือนเดือนละ 400 บาท (เป็นเงินสด) และ 400 เทรดบาท (เป็นเครดิต) ซึ่งหากสมาชิกรายใดมียอดค้างชำระ อัตราค่าธรรมเนียมนี้ก็จะสะสมไปเรื่อยๆ จนกว่าจะยกเลิกการเป็นสมาชิก

"การเข้าเป็นสมาชิกบาร์เทอร์คาร์ดมีทั้งข้อดี และข้อเสีย ข้อดีคือ สามารถเก็บเงินสดไว้ใช้ในยามฉุกเฉินได้ ส่วนข้อเสียคือ ราคาสินค้า ที่นำมาบาร์เทอร์จะมีราคาสูงกว่าสินค้า ที่ซื้อด้วยเงินสด" เป็นความเห็นของสมาชิกรายหนึ่ง ผู้ประกอบธุรกิจสิ่งประดิษฐ์งานฝีมือส่งออก มียอดขายปีละประมาณ 1.5 ล้านบาท เข้าร่วมเป็นสมาชิกบาร์เทอร์คาร์ดได้ ประมาณ 1 ปีเศษ ใช้บริการไปแล้วเป็นมูลค่าประมาณ 80,000 เทรดบาท บริการที่ใช้ได้แก่ พิมพ์นามบัตร ตั๋วเครื่องบิน และ ที่พักโรงแรมในต่างประเทศ

ปัจจุบันบาร์เทอร์คาร์ด (ประเทศไทย) มีสมาชิกประมาณ 400 ราย และมีอัตราการขยายตัวของการแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้นประมาณ 10% ต่อเดือน และในปีใหม่นี้ ทางบริษัทฯ คาดว่าจะมีสมาชิกเพิ่มขึ้นอีกกว่า 500 ราย โดยเฉพาะสมาชิก ที่เป็นผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมจะมีมากขึ้น

ทั้งนี้ เกรแฮม เบรน กรรมการผู้จัดการ บริษัท บาร์เทอร์คาร์ด (ประเทศไทย) จำกัด เคยกล่าวถึงศักยภาพของธุรกิจนี้ในเมืองไทย เมื่อแรกเริ่ม ที่เปิดตัวบริษัทเมื่อ 1 ปีที่ผ่านมาว่า กรุงเทพฯ เป็นเมือง ที่มีธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมอยู่จำนวนมาก ซึ่งจะเป็นฐานลูกค้าเราได้อย่างดี และบริการของบาร์เทอร์คาร์ดจะเข้าไปช่วยเพิ่มยอดขาย เพิ่มกำไร ช่วยจัดการเรื่องสินค้าคงเหลือ และ ที่สำคัญที่สุดคือ ช่วยประหยัดเงินสด ซึ่ง "เงินสด" เป็นสิ่งที่มีความหมายอย่างยิ่งสำหรับบริษัทเหล่านี้

นอกจากนั้น เขายังกล่าวถึงประโยชน์ของระบบการแลกเปลี่ยนสินค้านี้อีกว่า ระบบแลกเปลี่ยนสินค้า และบริการแบบบาร์เทอร์ เป็นรูปแบบ ที่เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจ ที่ต้องการเพิ่มปริมาณการค้า และขยายฐานลูกค้าออกไปทั่วโลกในสหัสวรรษใหม่นี้ ขณะเดียวกันสามารถประหยัดเงินสด ช่วยแก้ปัญหาสภาพคล่อง และเพิ่มความปลอดภัยความมั่นใจในการทำธุรกิจได้อย่างเต็มที่ โดยผ่านเครือข่ายบาร์เทอร์คาร์ด ที่เป็นที่ยอมรับทั่วโลก อันเป็นแนวโน้มของการทำธุรกิจในระบบการค้ายุคใหม่ และด้วยวิธีดังกล่าว เขากล่าวเสริมว่า "สมาชิกของบาร์เทอร์คาร์ดจะมีโอกาสได้พบคู่ค้าใหม่ๆ พร้อมทั้งช่วยลดการใช้เงินสดโดยไม่จำเป็นด้วยการใช้สินเชื่อปลอดดอกเบี้ยของบาร์เทอร์คาร์ด และการใช้จ่ายผ่านบัตรบาร์เทอร์คาร์ดแทนเงินสด องค์กรธุรกิจทุกประเภท ทุกขนาด จะได้รับการรับประกันว่าสามารถทำการซื้อขายได้ทั้งในระบบท้องถิ่น ระดับประเทศ หรือแม้แต่ระหว่างประเทศได้อย่างสะดวก ไม่มีปัญหา"

"บาร์เทอร์คาร์ด" เปิดดำเนินการในประเทศออสเตรเลียเป็นครั้งแรกเมื่อ 8 ปีที่แล้ว ปัจจุบันมีสาขาแฟรนไชส์ทั้งสิ้น 47 สาขา ใน 9 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฮ่องกง ศรีลังกา แคนาดา มาเลเซีย เลบานอน และประเทศไทย และมีสมาชิก ที่เป็นผู้ประกอบการในกลุ่มธุรกิจขนาดกลาง และขนาดเล็กกว่า 30,000 ราย รวมทั้งกิจการในเครือบริษัทชั้นนำในอเมริกา และญี่ปุ่นอีกกว่า 100,000 ราย และในแต่ละเดือนจะมีสมาชิกเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 500 ราย และผลการดำเนินงานในปี 2542 มีมูลค่าธุรกิจทั่วโลกกว่า 16,000 พันล้านบาท

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us