Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2544
เสน่ห์... ไม้ไผ่             
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล
 


   
search resources

ศกานต์ นามวิชา
Crafts and Design




เศษไม้ไผ่ที่วางกองเล็กกองน้อย กระจายไปทั่วโรงงานแห่งนั้น ดูราวกับว่าเป็นเศษไม้ที่ไร้ค่า แต่..ศกานต์ นามวิชา บอกว่า นั่นล่ะ...กองเงินกองทองของผม

"จ๊อด...จอด...จ็อดๆๆ" ศกานต์ร้อง บอกคนรักเสียงดังให้จอดรถบนถนนริมทาง ในอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร เมื่อเห็นไม้ไผ่กองมหึมา วางขายอยู่ริมทาง ในใจ ตอนนั้นเขามีความคิดเพียงว่า อยากเอาใจคนรักที่หลงใหลในเฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่ ด้วยการทำเก้าอี้ หรือโซฟา ไว้ให้นั่งพักผ่อนสัก ตัวสองตัวเท่านั้นเอง เมื่อถูกถามว่า ทำได้แน่เหรอ เขาก็บอกว่าไม่น่าจะยาก แล้วในที่สุดไม้ไผ่กองนั้นส่วนหนึ่งก็ถูกตัดเป็นท่อนๆ ยัดใส่ท้ายรถเก๋งฮุนได มากองสุมไว้ที่บ้านในกรุงเทพฯ

1 อาทิตย์ผ่านไปหลังจากที่เขาได้เพียรนั่งขูดผิวไผ่ออก แล้วลงน้ำมัน ให้ไม้ขึ้นเงาสวยงาม ไม้กองนั้นก็กลายเป็นเก้าอี้ไม้ไผ่ที่สวยงามน่านั่ง 1 ตัว จากเก้าอี้ตัวแรกกลายเป็นเก้าอี้นอนตัวที่ 2 ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบ ของเพื่อนชาวต่างชาติที่มาพบเห็น การทำเฟอร์นิเจอร์ชุดแรก เพื่อขายเพื่อนฝูงอย่างจริงจัง ก็เกิดขึ้นพร้อมการจัดตั้งบริษัทโฟกัสที่มีคนทำ เพียง 2-3 คน เมื่อปี 2539

ศกานต์เป็นลูกชาวนาจากจังหวัดศรีสะเกษที่ส่งภาษาอีสานได้เร็วชนิดไฟแลบ พอๆ กับการพูดภาษาอังกฤษได้คล่องปรื๋อ เขาเป็นเด็ก เรียนดีตั้งแต่เล็ก เคยได้ทุนจากผงซักฟอก เปาปุ้นจิ้น เมื่อครั้งเรียนประถม 4 พอ ม.6 ก็ได้ทุนไปเรียนทางด้านการโรงแรม ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทำโรงแรมอยู่หลายแห่ง จนมาเปิดบริษัททัวร์นำเข้าจากรัสเซีย ล่าสุดก็มาเรียนแต่งหน้ากับสถาบัน เอเอ็มจีไอ และเคยเป็นช่างแต่งหน้าให้หนังสือ Elle ในช่วงหนึ่ง

แม้ประสบการณ์ในเรื่องไม้ไผ่และความรู้เรื่องงานดีไซน์นั้น ไม่มีเลย แต่ก็มีเต็มร้อยในเรื่อง ของความตั้งใจจริง และเขาก็ได้เริ่มศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับกรรมวิธีต่างๆ เพื่อทำให้สินค้ามีคุณภาพมานับแต่นั้น

"ตอนแรกๆ ทำก็ไม่มีเทคนิควิธีการอะไรเลย ไม่รู้ว่าจะกันมอดกันแมลงอย่างไร ตำราก็ไม่มีให้ดู ไม่มีที่ให้เรียนรู้เลย ต่อมาคนแก่ๆ ก็บอกว่าให้ใช้วิธีลนไฟ ซึ่งลำบากมากนะเรื่องเอาไม้ไผ่เป็นท่อนๆ มาลนไฟ บางคนก็บอกเอามาต้ม อบกำมะถัน แสบกันไปหมด ลองมาหลายอย่าง มือลอกมือพองหมดเลยครับ ปัญหาเรื่องมอดกินไม้ไผ่เป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งตอนนั้นก็ถามไปที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กระทรวงเกษตรฯ เขาก็แนะนำให้แช่น้ำ ซึ่งมันยากเพราะ เราต้องใช้ไม้ไผ่เยอะมาก

ในช่วง 2 ปีให้หลัง ก็มีเพื่อนซึ่งเป็นลูกค้า เป็นคนอเมริกันที่ชอบเรื่องไม้ไผ่ และค่อนข้างมีความรู้ ก็เลยส่งเอกสาร เกี่ยวกับเรื่องนี้มาให้ ซึ่งในที่สุดก็สรุปว่าต้องอัดน้ำยากันมอดเข้าไป ซึ่งน้ำยาตัวนี้ต้องสั่งเข้ามาจากอเมริกา โดยใช้เครื่องจักร โอ๊ย..กว่าจะรู้วิธีนั่งลนไฟกันมือพอง" ศกานต์เล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังตามสไตล์ของเขาที่มีเสียงเล็กเสียงน้อยพอฟังเพลินๆ

แหล่งไม้ไผ่ในเมืองไทยจะมาจากหลายภาค ไม้ไผ่ที่ทำ จะเป็นไผ่ตงดำ ไผ่ตงขาว ไผ่บง ไผ่ 6 แหล่งหลักมาจากทางภาคอีสาน ส่วนไผ่เขียวมาจากญี่ปุ่น และไผ่ดำจากจีนนั้นต้องนำเข้าและราคาแพงมาก ซึ่งสองประเภทหลังนี้ทางโฟกัส ไม่ได้นำมาใช้ อายุไม้ไผ่ที่นำมาใช้ต้องอายุประมาณ 5 ปีขึ้นไป ก่อนที่จะเอามาทำสินค้าจะต้องผ่านขั้นตอนอัดน้ำยาอย่างน้อย ประมาณ 3 ชั่วโมง หลังจากนั้นก็อบให้แห้งเพื่อเป็นการฆ่าเชื้อโรค

เมื่อเอาไม้ไผ่มาดัดแปลงเป็นเฟอร์นิเจอร์ หรือเครื่องใช้ในบ้านมันได้สะท้อนความอบอุ่น อ่อนหวานของความเป็นตะวันออกได้อย่างนุ่มนวลทีเดียว

จากเฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหญ่ในช่วงแรกๆ ที่มีเศษไม้เหลือมากมาย ก็ถูกหยิบจับขึ้นมาประดิษฐ์เป็นโคมไฟ เป็นถาดและสินค้าชิ้นเล็กชิ้นน้อย แล้วแต่จะจินตนาการขึ้นมา โดยมีแนวคิดว่าจะต้องเป็นของที่ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน

"สินค้าชิ้นไหน ที่เราคิดกันหัวแทบแตก ทำยากมากๆ อาจจะขายไม่ค่อยได้ แต่ชิ้นไหนที่คงความเป็นธรรมชาติไว้มากที่สุด ใส่ดีไซน์นิดหน่อยเข้าไปกลับขายดี เช่น ถาดไม้ไผ่ โคมไฟ แก้วน้ำ และของชิ้นเล็ก ที่ดัดแปลงมาจาก ไม้ไผ่"

ความได้เปรียบในเรื่องของภาษา อารมณ์ดี ขี้เล่น สนุกสนาน เป็น ส่วนช่วยอย่างมากในการทำตลาดจนทำให้ทุกวันนี้ที่โรงงานของเขา จึงมีพี่น้องผองเพื่อนชาวอีสานบ้านเฮามาช่วยงานถึง 30 คน

ปัจจุบันสินค้าของโฟกัสเน้นการขายส่งออก ที่มีลูกค้าประจำเป็น ชาวยุโรป อเมริกา ฮ่องกง รวมทั้งลูกค้าในประเทศที่มาสั่งของเพื่อเอาไป ใช้ในโรงแรม ในรีสอร์ต หรือร้านอาหารเป็นส่วนใหญ่

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us