Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2544
Great Fire Sale?             
โดย ฐิติเมธ โภคชัย
 


   
www resources

PricewaterhouseCoopers Homepage

   
search resources

ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส ประเทศไทย, บจก.




นับตั้งแต่ปี 1998 เป็นต้นมา นักลงทุนหลั่งไหลเข้ามาในไทยอย่างกระตือรือร้น พวกเขามาในนามนักลงทุนข้ามชาติ และกองทุนพร้อมกับเงินสดแล้วค้นหากิจการที่มีอนาคตรวมไปถึงรัฐวิสาหกิจ

นักลงทุนเหล่านี้มีเหตุผลที่ดีต่อความหวังในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ หลังจากที่รัฐบาลไม่ต้องการมีภาระทาง การเงินอีกต่อไป และดูเหมือนว่ารัฐวิสาห- กิจบางแห่งต้องการเงินสดอีกด้วย

นอกเหนือจากนี้ หลังจากไทยเจอวิกฤติ รัฐวิสาหกิจต้องเผชิญกับปัญหาเชิงโครงสร้างอย่างหนัก ซึ่งจำเป็น อย่างยิ่งที่มีความต้องการทางเทคโนโลยี และประสบการณ์จากต่างประเทศในการ เพิ่มผลผลิตอย่างยิ่ง โดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจกลุ่มพลังงาน โทรคมนาคม และขนส่ง

มีหลายคนรู้สึกยินดีกับนโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบันเกี่ยวกับการแปรรูป รัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะการจัดตั้งบรรษัทรัฐวิสาหกิจแห่งชาติซึ่งเป็นหลักการที่ดีในเชิง กลยุทธ์

"รัฐบาลชุดนี้เน้นการแปรรูปรัฐ วิสาหกิจ การปรับโครงสร้างของภาครัฐ ซึ่งรัฐบาลชุดก่อนก็มีความคิดเช่นเดียวกันแต่ความคืบหน้าทางรูปธรรมยังเห็นได้ไม่ชัดนัก" ไซมอน เลียรี่ กรรมการสายงานที่ปรึกษาด้าน การปรับโครงสร้างภาครัฐและการจัดหาเงินทุน สำหรับโครงการ ประจำประเทศไทยและ อินโดจีน ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์สกล่าว

ความหมายของคำว่าการแปรรูปโดยทั่วไปอาจจะทำให้นึกถึงว่าเป็นการขายทรัพย์ สิน แต่ประสบการณ์ของทั่วโลกรวมถึงการปรับโครงสร้างภาครัฐและรัฐวิสาหกิจด้วย "การแปรรูปกิจการเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งในการปรับโครงสร้าง" เลียรี่ชี้ "รวมไปถึงการทำให้หน่วยงานรัฐและรัฐวิสาหกิจดำเนินการเป็นเชิงพาณิชย์ ที่สามารถแข่งขันกับเอกชนได้มากขึ้น ซึ่งรวมถึงการเปิดเสรีในกิจการที่ผูกขาด หรือปรับโครงสร้างองค์กรโดยรวม"

หากพิจารณาถึงสภาพโดยรวมในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีแผนแม่บทแปรรูป รัฐวิสาหกิจรายสาขาแล้ว ซึ่งความจริงยังไม่มี การขายทรัพย์สิน แต่ไม่ได้หมายความว่า การ ดำเนินการไม่มีความคืบหน้า เพราะรัฐวิสาห-กิจหลายแห่งได้มีการปรับโครงสร้างไปแล้ว

ดังนั้น 3 ปีที่ผ่านมาจึงเป็นเพียงการสร้างรากฐานไว้สำหรับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต นั่นคือ การขายทรัพย์สิน บางอย่าง ไม่จำเป็นต้องขายแต่บางอย่างอาจต้องขาย

เลียรี่อธิบายถึงประเด็นสำคัญที่ควรต้องคำนึงถึง คือ นักลงทุนที่เข้ามาจะให้อะไรกับประเทศไทยนอกจากให้เงินมา เพราะ การแปรรูปไม่ได้อยู่ที่จำนวนเงินสิ่งสำคัญคือการปรับโครงสร้างและวัฒนธรรมด้านการบริหาร เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กร หรือเกิดแรงจูงใจในพนักงาน เพื่อจะทำให้ฐานะการดำเนินงานของบริษัทปรับตัวดีขึ้น

"ที่ผ่านมาไม่มีการพูดถึงในรายละเอียดของเรื่องนี้กันมากนัก และก็ยังไม่เห็น ว่าจะมีใครที่พูดถึงเลย"

อย่างไรก็ตาม การแปรรูปรัฐวิสาหกิจไม่จำเป็นเสมอไปว่าผู้ร่วมทุนต้องเป็นต่างชาติ หรือรายย่อยต้องเป็นคนไทยเท่านั้น เนื่องจาก ปัจจุบันมีบริษัทไทยหลายแห่งที่มีความมั่นคง และเป็นบริษัทข้ามชาติซึ่งทำให้เริ่มมีบทบาทในต่างประเทศมากขึ้น ฉะนั้น จึงไม่ได้หมาย ความว่าต้องเป็นต่างชาติเท่านั้นที่จะทำให้เกิดประโยชน์ต่อการแปรรูปกิจการ แต่ว่าในขณะเดียวกันก็ยังมีบางสาขาที่บริษัทไทยอาจจะยังไม่มีความรู้หรือเทคโนโลยีที่สูงพอ ธุรกิจ การบิน โทรคมนาคม ซึ่งมีความจำเป็นที่ต้อง มีสัดส่วนของนักลงทุนต่างชาติเข้ามาสูงบ้าง

ประเด็นเกี่ยวกับเรื่องการขายหุ้นในประเทศเท่านั้น ซึ่งเป็น National Solution ของ รัฐบาลชุดนี้ อาจจะเป็นเหตุผลทางการเมือง เพราะเท่าที่ผ่านมาปัญหาอย่างกรณีรัฐบาลที่แล้วก็มีการต่อต้านนักลงทุนต่างชาติ แต่ไม่ใช่ เป็นสิ่งที่ไม่ดี แต่จะทำให้เกิดการปิดตลาดไม่ให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามา

เท่ากับว่าไทยปิดทางไม่ให้เกิดการเคลื่อนย้ายเทคโนโลยี วิธีบริหารหรือความคิด สร้างสรรค์ริเริ่มแปลกใหม่ ผลประโยชน์เหล่านี้จะไม่มีถ้าจะขายในประเทศเพียงอย่างเดียว

อย่างกรณีการแปรรูปในเชคโกสโลวะเกียที่รัฐบาลเลือกขายหุ้นให้คนในประเทศ ด้วยเหตุผลทางการเมือง ส่งผลให้ไม่ก่อให้เกิดการถ่ายทอดทางเทคโนโลยี และไม่มีเงินเข้ามา จนบริษัทต้องขาดทุนหรือล้มละลายหลังการแปรรูป 3-4 ปี

ขณะที่โปแลนด์รัฐบาลเลือกวิธีขายหุ้น ให้นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ โดยกำหนด สัดส่วนที่เหมาะสมขึ้นมา ทำให้เกิดผลตรงกันข้ามกับเชคโกฯ และหลังดำเนินการ 6-7 กิจการขยายตัวได้ดี ที่สำคัญโปแลนด์สามารถ เป็นส่วนหนึ่งของโลกที่เปิดเสรีได้

"เราไม่ควรกำหนดตัวเลขการถือหุ้นต่างชาติว่า เพราะตัวเลขไม่ใช่สิ่งที่สำคัญมาก ไปกว่าความโปร่งใสที่ต้องแสดงให้นักลงทุนเห็น ตัวเลขหรือสัดส่วนที่เหมาะสมน่าจะเป็นตัวเลขที่ทำให้นักลงทุนมีอำนาจในการบริหาร งานมากกว่า" เลียรี่ชี้

กระนั้นก็ดี การดำเนินการแปรรูปยังมีความเสี่ยงอยู่หลังจากมีการต่อต้านในเรื่องความรักชาติ ซึ่งรัฐบาลชุดนี้ดูเหมือนว่าจะเห็น ด้วยว่าหากเป็นไปได้ควรขายให้กับนักลงทุนท้องถิ่นก่อน

หากนายกรัฐมนตรีดำเนินงานตามที่สัญญาเอาไว้ รัฐวิสาหกิจจะต้องเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งจะก่อให้เกิดความโปร่งใสและสภาพคล่องของตลาดอีกด้วย

แต่หลายคนยังมีความกังวลต่อตัวนายกรัฐมนตรีถึงการทำงาน เนื่องจากภาพของความเป็นนักธุรกิจและนักการเมือง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us