Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2544
Owner-managed Old Business             
โดย ฐิติเมธ โภคชัย
 


   
www resources

แกรนท์ ธอร์นตัน โฮมเพจ

   
search resources

แกรนท์ ธอร์นตัน




การดำเนินธุรกิจแบบครอบครัวดั้งเดิม เป็นส่วนหนึ่งของ การทำธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่กำลังเผชิญวิกฤติ ในการพยายามปรับตัวเข้าสู่การทำงานในโลกยุคใหม่

ธรรมชาติการทำงานของธุรกิจที่มีเจ้าของกิจการเป็นผู้บริหาร (owner-managed business) ส่วนใหญ่มีรูปแบบการทำงานค่อนข้างลำบาก และไม่สามารถประนีประนอมระหว่างความเป็นส่วนตัวกับความต้องการทางธุรกิจได้

ธุรกิจรูปแบบดังกล่าว เจ้าของกิจการมีอิทธิพลต่อการจัดการซึ่งมีความเป็นวัฒนธรรมแฝงอยู่ และเป็นปัญหาต่อการแยกแยะการดำเนินธุรกิจ การบริหารงานจึงขัดแย้งในด้านโครงสร้างการดำเนินธุรกิจและ ครอบครัว

"เป็นที่แน่ชัดแล้วว่าจะมีข้อขัดแย้งเกิดขึ้นและมีศักยภาพในการทำงานเป็นอย่าง มาก" เคลย์ตัน เฮบบาร์ด หุ้นส่วนผู้จัดการแกรนท์ ธอร์นตัน ประจำประเทศไทยกล่าว

แกรนท์ ธอร์นตัน เป็นบริษัทที่ปรึกษา เพื่อบริการให้คำปรึกษาแก่ธุรกิจครอบครัว ที่มีปัญหาภายในและมีความขัดแย้งโดยที่ไม่มีใครชี้ให้เห็นถึงปัญหาเหล่านั้น

จากงานวิจัยของแกรนท์ ธอร์นตัน พบ ว่า ประมาณ 70% ของธุรกิจครอบครัวไม่สามารถส่งต่อธุรกิจให้รุ่นลูกได้ และประมาณ 90% ไม่สามารถส่งต่อให้รุ่นหลานได้ มีเพียง 10% ที่สามารถสืบทอดแล้วส่งต่อให้รุ่นที่ 3 ได้

สาเหตุเกิดจากการแข่งขันธุรกิจส่งผล ให้ธุรกิจครอบครัวไม่สามารถแยกแยะปัญหาการดำเนินธุรกิจ ออกจากปัญหาครอบครัวได้อย่างชัดเจน ทำให้ไม่สามารถเติบใหญ่ในสถานการณ์ดังกล่าว

ธุรกิจการบริหารงานโดยเจ้าของมีแนวโน้มที่จะเป็นไปโดยอิงกับคุณภาพ ความทะเยอทะยาน และทักษะความสามารถของผู้เป็นเจ้าของกิจการเป็นหลักสิ่งนี้นับเป็นข้อดี แต่ในขณะเดียวกันอาจก่อให้เกิดปัญหาขึ้นมาได้ "ถ้าความตั้งใจในการดำเนินงานของผู้เป็นเจ้าของกิจการ อาจจะไม่ตรงกับความต้องการในตัวธุรกิจเสมอไป ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียในการดำเนินงานได้" เฮบบาร์ดเล่า

"เราพบเห็นอยู่ทั่วไปว่าธุรกิจรูปแบบนี้ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของคนในครอบ ครัว และเรื่องธุรกิจในครอบครัว ซึ่งมีความขัดแย้งอยู่ในตัว" แอนดริว กอดเฟรย์ ผู้อำนวย การใหญ่แกรนท์ ธอร์นตันบอก

ปัญหาของเจ้าของธุรกิจครอบครัวมีความสับสนในเรื่องการนำเอาปัญหาส่วนตัว และครอบครัวเข้ามาปะปนกับการดำเนินธุรกิจ ครอบครัวเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง ขณะเดียว กันการดำเนินธุรกิจก็เป็นเรื่องวัฒนธรรมด้วย ดังนั้นการผสมผสานกันต้องมีความเหมาะสม

"เราเข้าไปช่วยให้พวกเขามองเห็นถึงปัญหาแล้วแก้ไขได้อย่างเหมาะสมและกลม กลืน" กอดเฟรย์ชี้ "ความขัดแย้งในครอบครัว ส่วนใหญ่เป็นประเด็นหลักที่สามารถทำให้ธุรกิจไม่สามารถดำเนินงานไปได้ในอนาคต"

เจ้าของธุรกิจมักจะอดใจไม่ไหวที่จะนำเงินทุนส่วนตัวไปใช้ในธุรกิจ เพื่อหลีกเลี่ยง การพึ่งพาเงินลงทุนภายนอก ผลที่ตามมาอาจ จะทำให้ธุรกิจขาดเงินทุนจำเป็นต้องใช้ในการ รักษาความสามารถในการแข่งขันหรือเติบโต ความขัดแย้งที่รุนแรงอาจเกิดขึ้นได้ เพราะปัญหาจากการควบคุมการบริหารและการสืบทอดธุรกิจ การโอนทรัพย์สิน หรือนโยบาย การจ่ายผลตอบแทนที่ไม่ได้หารืออย่างเปิดกว้างภายในครอบครัว

ความล้มเหลวในการสื่อสาร ก็เป็นอีก สิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหา บางครั้งความขัดแย้งยืดเยื้อนานหลายปี นั่นหมายถึงความเสีย หายยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

ความคิดของเจ้าของธุรกิจครอบครัว

1. หากมีผู้ถือหุ้นนอกตระกูลเข้ามาเกี่ยวข้อง พวกเขาจะได้อะไรกลับไปบ้าง?

2. ผู้ถือหุ้นนอกตระกูลจะสามารถทำให้ธุรกิจครอบครัวเปลี่ยนแปลงในทิศทางไหน?

3. ทรัพย์ทั้งหมดที่ธุรกิจหามาได้ จะเกิดอะไรขึ้นถ้าหากมีความวุ่นวายเกิดขึ้น?

4. คนนอกตระกูลบริหารงานได้ดีกว่าคนในครอบครัวหรือไม่?

5. จะเกิดอะไรขึ้นหากธุรกิจมีพาร์ตเนอร์ แล้วคนในครอบครัวมีความคิดเห็นไม่ลงรอยกับผู้ถือหุ้น?

6. เกิดอะไรขึ้นถ้าคนในครอบครัวเกิดการแตกแยกกัน?

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us