Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2544
เชษฐ เชษฐสันติคุณ กับงานอีคอมเมิร์ซ             
โดย ไพเราะ เลิศวิราม
 

   
related stories

สวรรค์ที่เป็นจริงของเอ็มเว็บ!
วรรณ โชติกะวรรณ อดีตเจ้าของแอนทีค

   
www resources

โฮมเพจ เอ็มเว็บ

   
search resources

เอ็มเว็บ(ประเทศไทย), บจก.
เชษฐ เชษฐสันติคุณ




หลังจากใช้เวลา 2 ปีเต็มในการสร้างยอดผู้เข้าชมบน เว็บไซต์ จนมีตัวเลขเป็นที่น่าพอใจ เอ็มเว็บก็เริ่มใช้ประโยชน์จากยอดทราฟฟิกของผู้เข้าชม ขยายผลเข้าสู่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ

เชษฐ เชษฐสันติคุณ รองประธานด้านอีคอมเมิร์ซ เอ็มเว็บ (ประเทศไทย) เล่าว่า พวกเขาใช้เวลา 6 เดือนเต็มในเรื่องของเทคโนโลยีและการติดตั้งระบบ แต่ต้องใช้เวลาศึกษามาแล้วก่อนหน้านี้ถึง 1 ปี เต็ม เกี่ยวกับระบบภาษี และกฎหมาย

การลงทุนในเรื่องของการให้บริการด้านอีคอมเมิร์ซ โครงสร้างพื้นฐานในการทำ "ธุรกรรม" เริ่มตั้งแต่การทำแค็ตตาล็อก ออนไลน์ การมีหน้าร้านไว้เป็นช่องทางจัดจำหน่าย และการทำหน้าที่เป็นตัวกลางใน การสั่งซื้อสินค้า รวมถึงการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างผู้ซื้อ ผู้ขาย และธนาคาร

บริการอีคอมเมิร์ซจะมุ่งเน้นในเรื่องการสร้างความสะดวกให้กับร้านค้า หรือเจ้าของสินค้า จะสามารถเริ่มให้บริการ b to c ได้ทันที

กลไกการทำงานของระบบอีคอมเมิร์ซ จะเริ่มตั้งแต่การ นำข้อมูลเจ้าของสินค้า และบริการ ที่ทำเป็นแค็ตตาล็อกออนไลน์จากนั้นบรรจุลงบนหน้าร้าน mshop ซึ่งเป็นร้านค้าออนไลน์ที่จะใช้เป็นช่องทางจัดจำหน่าย ให้ลูกค้ามาเลือกชมและซื้อสินค้า จะเป็นส่วนหนึ่งของเว็บไซต์ mweb

เมื่อมีลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้า คำสั่งซื้อเหล่านี้จะส่งไปที่ร้านค้า ทั้งนี้การเรียกเก็บเงินจากบัตรเครดิตที่ธนาคารเป็นผู้ตัดบัญชี จะเกิดขึ้นภายหลังจากที่สินค้าถูกส่งออกไปให้ลูกค้า ดังนั้นเมื่อร้านค้าส่งแล้วจะต้องมีการอัพเดทข้อมูลจึงจะได้เงินค่าสินค้า

นอกเหนือจากนั้น จะเป็นเรื่องการทำออนไลน์โปรโมชั่น ที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการบริการภายใต้เครือข่ายของเอ็มเว็บ ไม่ว่าจะเป็นการทำโฆษณาแบนเนอร์และการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายทั้งออนไลน์ และออฟไลน์

เจ้าของสินค้าและบริการ จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นรายปี จะรวมตั้งแต่การจัดทำระบบ การจัดทำข้อมูลในการทำแค็ตตาล็อกออนไลน์ จากนั้นจะคิดเปอร์เซ็นต์จากยอดขาย ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าเป็นสินค้าและบริการประเภทไหน หากเป็นสินค้าที่มีการแข่งขันมากๆ จะคิดเปอร์เซ็นต์ต่ำกว่าสินค้าและบริการที่มีการแข่งขันน้อย

ปัจจุบัน มีเจ้าของสินค้า 8 รายที่มาใช้บริการอยู่ในร้าน mshop และจะเพิ่มเป็น 18 รายภายในเดือนถัดมา

เชษฐบอกว่าจุดแข็งของบริการอีคอมเมิร์ซ อยู่ที่การใช้ ประโยชน์จากชื่อของเอ็มเว็บ ที่มีฐานในเรื่องของยอดสมาชิก ผู้เข้าชม การต่อยอดด้วยบริการอีคอมเมิร์ซ จึงอยู่ที่การสร้างความเชื่อมั่นเป็นหลัก

"ใครสนใจจะดูชอปปิ้งมาที่ mweb เพราะว่าในโฮมเพจของเรา คือ มันเห็นชัดเจน เป็นส่วนหนึ่งของ mweb เราไม่จำเป็นต้องทำแบรนด์ใหม่"

เชษฐยกตัวอย่าง กรณีของ เอโอแอล และยาฮู ที่สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสารดึงดูดยอดผู้เข้าชม จากนั้นจะขยายผลในเรื่องของการค้าอย่างเห็นผล ซึ่งเอ็มเว็บ เองจะใช้ประโยชน์ในลักษณะเดียวกัน

"คนเราซื้อสินค้าบนอินเทอร์เน็ต เขาบริโภคข้อมูลข่าวสารไปด้วยในเวลาเดียวกัน อย่างเว็บไซต์ ไทยกอล์ฟเฟอร์ เขาเข้ามาดูข้อมูลจากเว็บไซต์นี้ และมีความเชื่อถือกันระดับหนึ่ง มีความสัมพันธ์กันและนำไปสู่ธุรกรรม"

เชษฐสนับสนุนแนวคิดเหล่านี้ด้วยการหยิบเอางานวิจัยของบริษัทในต่างประเทศที่ทำการสำรวจบริการ อีคอมเมิร์ซ ในส่วนของ b to c พบว่า พฤติกรรมของผู้บริโภค บนอินเทอร์เน็ต ไม่แตกต่างจากโลกของความเป็นจริง นั่นก็คือ ผู้ซื้อจะเลือกดูสินค้าก่อน จนกว่าจะแน่ใจแล้วจึงตัดสินใจซื้อ

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่จะขาดไม่ได้ก็คือ เว็บไซต์นั้นจะต้องมีความน่าเชื่อถืออยู่ด้วย "มันไม่ใช่ว่า พอเราไปเจอเว็บไซต์หนึ่งแล้วจะซื้อของ มันต้องมีความเชื่อถือ มันเป็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้ซื้อและเว็บไซต์ และเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา"

เชษฐเป็นผู้บริหารคนไทยคนแรก ที่ร่วมก่อตั้งเอ็มเว็บ ประเทศไทย มาตั้งแต่ยุคบุกเบิกกิจการอินเทอร์เน็ตในไทย

ก่อนหน้าจะเข้าร่วมงานกับเอ็มเว็บ เขาทำงานด้านบริหารงานขายและการตลาดในธุรกิจไอทีมาตลอด 10 กว่าปี จากนั้นไปทำงานด้านพัฒนาธุรกิจ เคยทำงานร่วมอยู่ในโครงการเปย์ทีวี ของโครงการดาวเทียมลาวสตาร์ และเป็นโอกาสที่ทำให้เขาได้เข้ามาร่วมงานใน MIH ที่ต้องการคนที่ผ่านประสบการณ์ในธุรกิจอินเทอร์เน็ต และเปย์ทีวี

เชษฐเข้ามาร่วมงานกับ MIH ตั้งแต่ปี 2541 ซึ่งเป็นช่วงที่ MIH กำลังมองหาลู่ทางการลงทุนในย่านเอเชีย

"ผมมาทำงานตั้งแต่ยังไม่มีสำนักงานในไทย ต้องติดต่อกับสำนักงานที่ฮ่องกง"

เชษฐเป็นหนึ่งในทีมงานที่ต้องเข้าไปสำรวจการลงทุนในฟิลิปปินส์ ศรีลังกา ก่อนจะมาจบลงที่การลงทุนธุรกิจ อินเทอร์เน็ตในไทย

จากประสบการณ์ในธุรกิจด้านต่างๆ เขาถูกเลือกให้เป็น ผู้รับผิดชอบธุรกิจด้านอีคอมเมิร์ซให้กับเอ็มเว็บมาตั้งแต่ต้น

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us