งานนี้ถูกจัดขึ้นมาเพื่อตอกย้ำถึงสภาพ ที่ตกต่ำของธุรกิจดอทคอมในไทย ยังไม่ส่งผล
กระทบต่อกลุ่มผู้ลงทุนของเอ็มเว็บ ประเทศไทย
ช่วงต้นของงาน เริ่มต้นด้วยการเปิดมิวสิกวิดีโอประกอบเพลงประจำบริษัท ที่เอ็มเว็บลงทุนจ้าง
บอย โกสิยพงศ์ แห่งค่าย "เบเกอรี่ มิวสิค" มาเป็นผู้แต่งเพลง "heaven is
real" เนื้อหาของเพลง และมิวสิกวิดีโอที่ทำ ออกมา เป็นเรื่องของความฝันของครอบครัว
หนุ่มสาว หรือแม้แต่เด็กที่จะเป็นความจริงได้
"สำหรับผมแล้วธุรกิจดอทคอมในไทย ไม่ได้ตกต่ำ เพราะในไทยบริษัทเหล่านี้ไม่ได้อยู่ในตลาดหุ้น
การตกต่ำของตลาดดอทคอม ในสหรัฐอเมริกามาจากเรื่องของตลาดหุ้นเพียงอย่างเดียว"
เครก ไวท์ ประธานกรรมการ บริษัทเอ็มเว็บ ประเทศไทย จำกัด บอก
ไม่เพียงแต่การอาศัยจังหวะที่คู่แข่งหลายรายต้องเงียบหายไปจากตลาด ด้วยการอัดฉีดเม็ดเงินไม่ต่ำกว่า
50 ล้านบาท ปูพรมโฆษณาไปทั่วกรุงเทพฯ ตั้งแต่เมื่อปลายปีที่แล้วเท่านั้น
แต่เอ็มเว็บ รุกเข้าสู่ธุรกิจด้าน อีคอมเมิร์ซ มีเป้าหมายอยู่ที่การให้บริการ
แบบครบวงจร ซึ่งสวนกับสภาพของตลาดอิน เทอร์เน็ตในเวลานี้อย่างสิ้นเชิง
เครก ไวท์บอกว่า เอ็มเว็บ ประเทศไทย ใช้เงินลงทุนธุรกิจอินเทอร์เน็ตไปแล้ว
200 ล้านบาท ในจำนวนนี้ไม่รวมการซื้อกิจการของเคเอสซี และยังพร้อมจะลงทุนเพิ่มขึ้นหากยังมีโอกาสที่ดี
ไม่ว่าจะเป็นแนวทาง ของการควบรวมและซื้อกิจการที่ดีสามารถตอบสนองกับยุทธศาสตร์ของธุรกิจที่ยังคงเป็นไปตามแนวทางเดิม
เอ็มเว็บ ประเทศไทย เป็นบริษัทลูกของ MIH ผู้ให้บริการเปย์ทีวีรายใหญ่
ที่มีถิ่น ฐานอยู่ในแอฟริกาใต้ หลังจากที่บริษัท MIH เข้าจดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้นแนสแดค
MIH เริ่มขยายธุรกิจมายังภูมิภาคเอเชีย โดยไทยเป็น 1 ใน 3 ประเทศ ที่ถูกเลือกให้อยู่ในเป้าหมายการลงทุนในตลาดที่ยังใหม่
และมีแนว โน้มจะไปด้วยดี
การเริ่มต้นธุรกิจในไทย เริ่มต้นด้วยธุรกิจเคเบิลทีวี ก่อนจะขยายมายังธุรกิจด้าน
อินเทอร์เน็ต ซึ่งเอ็มเว็บได้ทำการศึกษาเปรียบ เทียบกับประเทศในภูมิภาคเอเชียด้วยกัน
ไม่ ว่าจะเป็นฟิลิปปินส์ และศรีลังกา ก่อนจะมาลงเอยที่ไทย
ยุทธศาสตร์การทำธุรกิจของพวกเขา คือ การสร้างข้อได้เปรียบจากเงินทุนเข้าซื้อ
กิจการที่มีอยู่เดิม เพื่อสร้างข้อได้เปรียบในเรื่องของระยะเวลาในการลงทุนและฐานลูกค้า
ไม่ว่าจะเป็นกรณีการซื้อเว็บไซต์ sanook.com และเว็บไซต์อื่นๆ รวมถึงการซื้อกิจการของอินเตอร์เน็ต
เคเอสซี ซึ่งเป็น 1 ในผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ตรายใหญ่ของไทย
เป้าหมายและยุทธศาสตร์ของเอ็มเว็บ ในปีนี้ จึงไม่เหมือนกับปีที่แล้ว ซึ่งพวกเขายังมีเพียงรายได้จากโฆษณาออนไลน์เป็นหลัก
แต่ในปีนี้ เอ็มเว็บมี 4 กลุ่มธุรกิจหลัก ที่จะเป็น ธุรกิจที่สามารถสร้างรายได้ให้กับบริษัท
คือ 1. อินเทอร์เน็ต โซลูชั่น ให้บริการอินเทอร์เน็ต แก่องค์กรต่างๆ 2. โฆษณาออนไลน์
3. ธุรกิจ บริการข้อมูล และเนื้อหาจากเว็บไซต์ต่างๆ ในเครือ และ 4. ธุรกิจผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
จะเห็นได้ว่า เอ็มเว็บไม่ได้มุ่งแต่เพียง ธุรกิจเว็บไซต์แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
แต่พวกเขาได้พยายามขยายไปยังธุรกิจที่เป็นธุรกิจพื้นฐานที่สามารถทำรายได้ที่แท้จริง
ตาม แนวโน้มของตลาดในเวลานี้ เพราะถึงแม้ว่า รายได้จากยอดโฆษณาจะเติบโตมากขึ้นก็ตาม
แต่ตลาดโฆษณาออนไลน์ยังคงจำกัดอยู่มาก
สิ่งที่พวกเขาต้องปรับตัว นอกเหนือจากเว็บไซต์ที่หันมามุ่งจับลูกค้าในวัยทำงาน
ไม่ว่าจะเป็นการซื้อเว็บไซต์ thaigolfer.com และการสร้างเว็บไซต์ home4thai.com
เท่านั้น
การซื้อกิจการบริษัทเคเอสซี ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเมื่อปลายปีที่แล้ว
ก็ด้วยเหตุผลเดียวกัน เป็นธุรกิจที่จะทำให้เอ็มเว็บสามารถขยายผลในเรื่องฐานรายได้
เพราะ เวลานี้ ธุรกิจบริการ internet access นั้นเป็น ธุรกิจที่ทำรายได้ให้กับบริษัท
80%
ธุรกิจที่เป็น "ธงนำ" ก็คือ ธุรกิจอินเทอร์เน็ต โซลูชั่น ซึ่งเป็นธุรกิจให้บริการรับจ้างออกแบบ
และจัดทำเว็บไซต์ ที่นอก จากจะเป็นธุรกิจที่จะทำรายได้ในระยะสั้นและกลางให้กับเอ็มเว็บ
ที่คาดว่าจะเป็นธุรกิจ ที่ทำรายได้ในปีนี้ประมาณ 80-90 ล้านบาท
ธุรกิจอินเทอร์เน็ต โซลูชั่น เป็นธุรกิจที่เอ็มเว็บ ผนวกกิจการมาอยู่ในกลุ่มตั้งแต่ปี
ที่แล้ว ด้วยฐานลูกค้าองค์กรของกลุ่มนี้ที่อยู่ในหลายอุตสาหกรรม และหลังจากการควบรวมกิจการ
วรรณ โชติกะวรรณ ก็เข้ามารับตำแหน่งรองประธาน ดูแลธุรกิจอินเทอร์เน็ต โซลูชั่นให้กับเอ็มเว็บ
ประเทศไทย
ธุรกิจออกแบบเว็บไซต์ จะเป็นหัวหอก ในการขยายจากฐานลูกค้าทั่วไป เข้าไปยังลูกค้าองค์กรธุรกิจ
ซึ่งจะเป็นกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่จะเป็นตัวสร้างรายได้ที่แท้จริง แต่เป็นธุรกิจที่เอ็มเว็บไม่มีประสบการณ์มาก่อน
ที่สำคัญ ยังเป็นธุรกิจที่จะถูกนำมาใช้ ประโยชน์ร่วมกับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ
ที่เอ็มเว็บ ได้เริ่มเปิดตัวให้บริการ ด้วยการเปิดหน้าร้าน ออนไลน์ mshop
ในเว็บไซต์ mweb.co.th ที่หลังจากเอ็มเว็บได้ใช้เวลาตลอด 2 ปี ในการ สร้างฐานยอดผู้เข้าชม
เอ็มเว็บก็เริ่มรุกเข้าสู่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ
การรุกเข้าสู่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซของเอ็มเว็บ เป็นเรื่องของการวางโครงสร้างพื้นฐานในการให้บริการ
ไม่ว่าจะเป็นตัวกลางใน การชำระเงิน รวมทั้งการนำข้อมูลทำแค็ตตา ล็อกออนไลน์
ที่จะเป็นธุรกิจที่เอ็มเว็บคาดหวังไว้ว่าจะสร้างรายได้ในระยะยาวในอนาคต
จนถึงวันนี้ สายป่านที่ยาวไกลของเอ็มเว็บ ยังคงเป็นข้อได้เปรียบที่เอ็มเว็บใช้ประโยชน์ต่อไปในอนาคต
"การควบรวม และการซื้อกิจการ ยัง คงเป็นไปตามแนวทางเดิม เราจะดูว่า อะไรเป็นสิ่งที่เราต้องการ
และมีใครอยู่ในตลาดบ้าง คู่แข่งเป็นใคร เราทำเองได้หรือเปล่า ถ้าทำเอง ต้องใช้เวลา
5 ปี อย่างนี้เราก็ต้องซื้อกิจการ" ปิยพร พรรณเชษฐ รองประธานฝ่าย พัฒนาธุรกิจ
บอก
การตกต่ำของธุรกิจดอทคอมในไทย ในมุมมองของเธอแล้ว กลับทำให้เอ็มเว็บ ใช้จ่ายเงินน้อยลง
จากคู่แข่งที่ลดน้อยลง
"ก่อนนี้ทุกคนอยากได้ดอทคอม ตลาด เปลี่ยนแปลงเร็วมาก คู่แข่งก็เยอะ เราพัฒนา
เองก็ไม่ทัน ต้องซื้อกิจการเข้ามา แน่นอนว่า ราคาย่อมสูงตามไปด้วย แต่พออุตสาหกรรม
ตกลง คู่แข่งช้าลง ทำให้เรามีเวลามากขึ้น และใช้จ่ายเงินน้อยลง" ปิยะพรกล่าว
ในขณะที่กระแสธุรกิจดอทคอมของเมืองไทยลดดีกรีความร้อนแรงลง ตรงกันข้ามกับความหวือหวาในปีที่แล้วอย่างสิ้นเชิง
เอ็มเว็บ ประเทศไทยกลับอาศัยจังหวะนี้เปิดตัวจัดแถลงข่าวอย่างเป็นทางการ