Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2544
MAP สะพานเชื่อมต่อของทีเอ             
โดย ไพเราะ เลิศวิราม
 


   
www resources

โฮมเพจ เครือเจริญโภคภัณฑ์
www.vizzavi.com

   
search resources

เทเลคอมเอเซีย, บมจ.
Telecommunications




นับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา การก้าวล่วงเข้าสู่ธุรกิจอินเทอร์เน็ตของ ซีพีกรุ๊ป ที่นำโดยบริษัทเทเลคอมเอเซีย คอร์ปอเรชั่น (ทีเอ) จะเป็นรูปเป็นร่าง และทวีความเข้มข้นมากขึ้นทุกที

เริ่มตั้งแต่การจัดตั้งบริษัทเอเซียฟรีวิลล์ ซึ่งเวลานี้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น ฟรีวิวโซลูชั่น เป็น เรื่องของการจัดทำระบบการสั่งซื้อทางอิน เทอร์เน็ต หรือ e-procurement ในลักษณะของการสร้างเป็นตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-marketplace เอาไว้สำหรับซื้อขายอุปกรณ์สำนักงานทั่วไป หรือ indirect goods

ความโดดเด่นของโครงการนี้อยู่ที่การ ได้กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ของไทย อย่างเครือ ซิเมนต์ไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารไทยพาณิชย์ กลุ่มยูคอม เข้ามาเป็นผู้ร่วมก่อตั้งโครงการ ล่าสุดยังได้รับพระราชทานชื่อโครง การว่า "พันธวาณิช" เท่ากับเป็นการการันตี ความเป็นไปได้ของโครงการนี้ได้ระดับหนึ่ง ถึงแม้ว่าธุรกิจ e-marketplace จะอยู่ในช่วงของการเริ่มต้นก็ตาม

ผลตอบรับในเบื้องต้นที่จะได้จากการ ลงทุน นอกจากกลุ่มกลุ่มซีพีและพันธมิตรทั้งหมด ก็คือ การที่บริษัทเหล่านี้จะสามารถประหยัดต้นทุนในการสั่งซื้ออุปกรณ์สำนักงาน โต๊ะ เก้าอี้ กระดาษ คอมพิวเตอร์ ซึ่งมูลค่าของการสั่งซื้อสินค้าประเภทนี้ indirect goods นั้นประเมินกันว่า ในแต่ละปีนั้นเมืองไทยต้อง ใช้เงินราวๆ 1 แสนล้านบาท หากประหยัดได้ เพียงแค่ 2-3% ก็เท่ากับว่า ธุรกิจจะมีกำไรเพิ่มขึ้นทันทีหลายร้อยล้านบาท

ธุรกิจนี้ยังมีโครงการนำร่องของการ นำอีคอมเมิร์ซมาใช้ประโยชน์กับธุรกิจอื่นๆ ของกลุ่มซีพี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจอาหาร ซึ่งเป็นธุรกิจที่ต้องมีการสั่งซื้อวัตถุดิบเป็นจำนวนมาก และอยู่ในแผนธุรกิจด้านอีคอมเมิร์ซ ซึ่งซีพีได้ว่าจ้างบอสตัน คอล ซัลติ้ง กรุ๊ปมาเป็นผู้ศึกษา ตั้งแต่กลางปีที่แล้ว และได้ข้อสรุปมาเป็น 4 โครงการนำร่อง โครงการ Multi-Access Portal หรือ เรียกย่อๆ ว่า MAP เป็นโครงการที่สอง ที่ถูกเปิดตัวอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 16 พฤษภา คมที่ผ่านมา ถัดจากโครงการแรกเพียงแค่ 5 เดือน แต่โครงการนี้ใช้เวลาศึกษามาไม่ต่ำกว่า 1 ปี

จุดสำคัญของบริการนี้ อยู่ที่การสร้าง มาตรฐานใหม่ เพื่อทำหน้าที่เป็น "สะพาน" เชื่อมโยงให้กับเครือข่ายสื่อสารทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นเครื่องพีซี โทรศัพท์พื้นฐาน บริการ พีซีที โทรศัพท์เคลื่อนที่ เคเบิลทีวี แม้แต่เครื่อง คีออส ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลในอินเทอร์เน็ต ได้เหมือนๆ กัน โดยไม่มีข้อแตกต่างในเรื่อง ของมาตรฐานของเครือข่ายอีกต่อไป

เป้าหมายของพวกเขา ก็คือ การทำให้ผู้ใช้อุปกรณ์สื่อสารเหล่านี้ จะสามารถเรียกดู แก้ไข หรือใช้ประโยชน์จากข้อมูลบน อินเทอร์เน็ตเดียวกันได้โดยสะดวก

ทุกวันนี้ การเรียกดูข้อมูลในอินเทอร์ เน็ตของอุปกรณ์เหล่านี้ จะมีมาตรฐานของตัวเองที่แตกต่างกันไป เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ จะมีเทคโนโลยี wap ในการให้ผู้ใช้เรียกดูข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต ในขณะที่เครื่องพีซี จะต้องใช้มาตรฐานของตัวเอง เช่นเดียวกับ เคเบิลทีวี จะมีมาตรฐานเฉพาะของตัวเองที่แตกต่างกันไป

ขณะเดียวกันในฟากของผู้พัฒนา เนื้อหา content provider ก็ต้องพัฒนาเนื้อหา เพื่อให้รองรับกับมาตรฐานหลายๆ ประเภท เพื่อที่จะทำให้เนื้อหาของตัวเองไปถึงมือผู้บริโภคได้มากที่สุด ผลก็คือ ผู้ใช้จะได้รับก็คือ การเรียกดูข้อมูลที่แตกต่างกัน จากมาตรฐาน ของอุปกรณ์ปลายทางที่แตกต่างกัน

"ตัว MAP จึงเป็นตัวประสานระหว่าง โอเปอเรเตอร์ที่แตกต่างกันกับ content provider ให้ใช้ประโยชน์ร่วมกันได้จากมาตรฐาน ร่วม ไม่ใช่ต่างคนต่างพัฒนากันไป ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก" ศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัททีเอกล่าว

งานนี้ทีเอทำหน้าที่เป็นแกนนำ ไปดึง บริษัทในเครือข่ายธุรกิจในกลุ่มซีพี ไม่ว่าจะเป็น เอเซียฟรีวิลล์ ยูบีซี เซเว่นอีเลฟเว่น ซีพีออเรนจ์ เข้ามาร่วมแล้ว ทีเอยังได้พันธมิตรอย่าง เอ็มเว็บ ประเทศไทย และบริษัท Verizon ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของทีเอ เข้ามาเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง โครงการ

ข้อตกลงในเบื้องต้นของบริษัทเหล่านี้ ก็คือ การว่าจ้างให้บริษัทบอสตัน คอนซัลติ้ง กรุ๊ป ที่เคยมีประสบการณ์ในการเป็นที่ปรึกษา ให้กับบริษัทวอดดาโฟน และวีเวนดี้ ในโครง การ vizzavi ซึ่งเป็นโครงการในลักษณะเดียวกับโครงการของ MAP มาเป็นผู้ศึกษาโมเดลธุรกิจรูปแบบบริการ และการหารายได้ จากนั้นจะตั้งเป็นบริษัทร่วมทุนขึ้น แต่ละฝ่ายจะถือหุ้นรายละเท่ากัน ประมาณการในเบื้องต้น ของโครงการนี้จะต้องใช้เงินประมาณ 20 ล้าน เหรียญ หรือ 1,000 ล้านบาท

การเป็นเจ้าของเครือข่ายสื่อสารหลาย ประเภท ทั้งโทรศัพท์พื้นฐาน โทรศัพท์เคลื่อนที่ โทรศัพท์ไร้สายพีซีที เคเบิลทีวี นับเป็นแรงขับ ดันที่ทำให้ศุภชัยมองเห็นความสำคัญของการ สร้างมาตรฐานร่วมในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต เพราะนี่คือ ก้าวกระโดดที่จะทำให้โครงข่ายเหล่านี้ สามารถให้บริการข้อมูลได้อย่างเป็นจริง ยังรวมไปถึงการใช้ประโยชน์จากฐานลูกค้าร่วมกัน

ทุกวันนี้ โครงข่ายสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์เคลื่อนที่ พีซีที โทรศัพท์พื้นฐาน ได้ ถูกพัฒนาให้มีขีดความสามารถในเรื่องของความเร็ว เพื่อรองรับกับการสื่อสารข้อมูล

บริการพีซีที ที่กำลังพัฒนาไปสู่ 3G เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของในเรื่องความเร็ว เช่นเดียวกับ โทรศัพท์เคลื่อนที่ ซีพี ออเรนจ์ ที่จะต้องสร้างความแตกต่าง ด้วยการติดตั้งระบบ GPRS ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เพิ่มความเร็ว ในการส่งข้อมูลของระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ แม้กระทั่งยูบีซีเองก็ได้เตรียมตัวศึกษา ในเรื่องของการพัฒนาไปสู่อินเทอร์เน็ตทีวี เพื่อทำให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลในอินเทอร์เน็ต ที่เป็นบริการสองทางแล้ว

แต่ประเด็นสำคัญที่พวกเขาไม่สามารถมองข้ามได้ก็คือ การพัฒนาทางด้าน content ที่ต้องทำควบคู่กันไป เพราะถึงแม้ว่า จะสร้างมาตรฐานให้กับ network เพื่อให้อุปกรณ์ปลายทางเข้าถึงข้อมูลได้เหมือนกันแล้วก็ตาม แต่หากไม่มีเนื้อหาที่ให้ลูกค้าต้อง การก็เปล่าประโยชน์

"เหมือนกับกรณีของ imode สาเหตุที่ imode สำเร็จมากกว่า wap เพราะ imode มองที่ตัว content ก่อน จากนั้นจึงไล่กลับมา ที่ตัวเครื่องลูกข่าย ว่าจะซัปพอร์ต content provider อย่างไร ในขณะที่ wap ไปเริ่มที่มาตรฐานของเครื่องลูกข่ายก่อน" ศุภชัย ยก ตัวอย่างที่ทำให้เขามองเห็นความจำเป็นที่จะต้องสร้าง content

การสร้าง content จึงเป็นภาระที่หนัก พอๆ กับการวางมาตรฐานใหม่ในฟากของ network เพราะสิ่งที่พวกเขาต้องทำ ก็คือ การที่ต้องวางแผน และจัดรูปแบบมาตรฐาน ที่จะทำร่วมกับบรรดาเจ้าของเนื้อหา

นอกจากนี้ เนื้อหาบางอย่างจำเป็นต้องมีการพัฒนาขึ้นเอง ทำให้ต้องมีการลงทุน จัดตั้งเป็น data center เพื่อทำหน้าที่ในการสร้างเนื้อหา หรือ content ที่ไม่มีในไทย คู่ไป กับการแสวงหาพันธมิตร ที่เป็นเจ้าของเนื้อหา อยู่แล้ว เช่น ค่ายเพลง ร้านหนังสือ โรงภาพ-ยนตร์ เกม การศึกษา

"เจ้าของ content เหล่านี้ เขามี web anable อยู่แล้ว ประเด็นอยู่ที่ว่าเราจะทำให้ interface กับอุปกรณ์ปลายทางได้อย่างไร ใน การที่พีซี มือถือ เคเบิลทีวี หรือแม้กระทั่ง คีออสที่เซเว่นอีเลฟเว่น ที่ต้องมีการประสานระหว่างมาตรฐานออกมา"

ความคาดหวังของทีเอ ในการก้าวข้ามไปสู่การเป็นผู้สร้างมาตรฐานใหม่ ศุภชัย มองว่า สิ่งเหล่านี้จะเป็นแรงผลักดันให้เกิดกิจกรรมที่ทำบนอินเทอร์เน็ตจะเพิ่มขึ้น ทั้งธุรกิจใหม่ที่จะมาทดแทนธุรกิจที่มีอยู่เดิมหรือ ส่วนที่จะขยายไม่ว่าจะเป็นเรื่องของช่องทางจัดจำหน่าย ช่องทางการตลาด รวมทั้งธุรกิจ ใหม่ที่จะเกิดขึ้นผลที่ตามมาก็คือ การใช้ประโยชน์จากเครือข่ายจะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

"เมื่อลูกค้ามีการทำกิจกรรมบนอินเทอร์เน็ตมากขึ้น มีทรานแซกชั่นมากขึ้น ก็จะต้องใช้ network มากขึ้น"

ทีเอไม่ได้สร้างมาตรฐานนี้ เพื่อการใช้ งานภายในกลุ่มเท่านั้น แต่ต้องการให้มาตรฐานนี้กลายเป็นมาตรฐานกลาง ที่ผู้ให้บริการ สื่อสารจะใช้งานได้ด้วย เช่นเดียวกับผู้พัฒนา เนื้อหา

ที่มาของรายได้จากโครงการนี้ จะมา จาก 3 ทาง ทางแรก คือ รายได้ที่เก็บจากโอเปอเรเตอร์ที่ต้องการเข้าร่วม จะต้องจ่ายส่วนแบ่งรายได้ให้กับโครงการ MAP ส่วนที่สอง จะเป็นรายได้ที่มาจาก content provider ที่เก็บจากค่าสมาชิก หรือทรานแซกชั่นที่เกิด ขึ้น และส่วนที่สาม คือ รายได้จากโฆษณาบน เว็บไซต์

แรงผลักดันจากมาตรฐานกลาง ที่จะ ส่งผลให้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซเกิดขึ้นได้จริงนี้ จะ ถูกนำไปใช้ประโยชน์กับธุรกิจในกลุ่มซีพี ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจค้าปลีก และธุรกิจอาหาร ที่เป็นธุรกิจหลักของกลุ่มซีพีอย่างเป็นจริง รวม ถึงการสร้างช่องทางจัดจำหน่ายจากอีคอมเมิร์ซ และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องไม่ว่าจะเป็นขนส่ง สินค้า หรือระบบค้าปลีก

ศุภชัยยกตัวอย่างร้านค้าปลีกเซเว่น อีเลฟเว่น จะสามารถให้บริการข้อมูลแก่ลูกค้า จากตู้คีออส ซึ่งซีพีเซเว่นอีเลฟเว่น จะนำเอา ระบบคีออสของเซเว่นอีเลฟเว่นในญี่ปุ่นมาใช้ ในการให้บริการ

ถึงแม้ว่า แนวคิดของการผนึกรวมกัน ของอุปกรณ์เหล่านี้จะเป็นเรื่องที่ใหม่มากเป็น โครงการที่ 2 ของโลก ก่อนหน้านี้มีเพียงโครงการ "vizzavi" ในยุโรป เพียงรายเดียวที่ทำในคอนเซ็ปต์เดียวกัน และเป็นโครงการที่อยู่ในช่วงเริ่มต้นของการทดลอง และโมเดลของธุรกิจยังไม่ชัดเจน

แต่สำหรับศุภชัยแล้ว นี่คือยุทธศาสตร์ ที่จะให้ในแง่ของความคุ้มค่าในแง่ของการ สร้างทราฟฟิกในการใช้งานของโครงข่ายที่เพิ่ม ขึ้น ถึงแม้จะมีความเสี่ยงของธุรกิจก็ตาม

"ถามว่ามีความเสี่ยงหรือไม่ มันเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ยังไม่มี business model ที่ชัดเจน แน่นอนว่าย่อมมีความเสี่ยง แต่ถามความคุ้มค่าในแง่ของการเป็นบริการเสริม และสร้างทรานแซกชั่น มองในแง่ของโอเปอ เรเตอร์ก็ต้องถือว่าคุ้มค่าแล้ว" ศุภชัยกล่าวในที่สุด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us