Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2544
"คน" รากฐานสำคัญขององค์กร             
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล
 

   
related stories

L&H Strike Back?
การพัฒนาแบบบ้าน

   
www resources

www.homedd.com

   
search resources

แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์, บมจ.
อนันต์ อัศวโภคิน




หากบ้านมีพื้นดินเป็นฐาน การสร้างคนก็คือ รากฐานที่สำคัญขององค์กรที่โตขึ้นของบริษัท แลนด์แอนด์เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)

กลยุทธ์ในการบริหารองค์กรของอนันต์นั้น ใช้กลไกของมนุษย์เป็นหลักมาก่อน สิ่งใด โดยเฉพาะเรื่องของการศึกษาในหลัก สูตรเอ็มบีเอ เพื่อเตรียมคนทางด้านการบริหาร และหลักสูตรมินิเอ็มบีเอเพื่อเป็นการปูพื้นฐาน ให้หัวหน้างานระดับต้นทางเศรษฐศาสตร์

เขาได้ให้ความสำคัญในเรื่องการศึกษา ของบุคลากร ด้วยวิธีการที่อาจจะไม่ต่างกับ ชุมพล ณ ลำเลียง ของกลุ่มเครือซิเมนต์ไทย แม้จะไม่สามารถทำได้ใหญ่เท่า แต่ความตั้งใจ ของเขาไม่แพ้กัน

อนันต์ อัศวโภคิน คือ นักเรียนหลัก สูตร MBA คนแรกจากธรรมศาสตร์ เมื่อปี 2527 และผลของการเรียนครั้งนั้นทำให้เกิดความ เปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในบริษัท ด้วยหลักการของการเรียน MBA อย่างหนึ่งก็คือ การสำรวจ ตัวเอง และตั้งคำถาม และอนันต์ได้ย้อนถาม ตัวเองว่า "แลนด์ฯ กำลังอยู่ในธุรกิจใดแน่"

แลนด์แอนด์เฮ้าส์ก็เหมือนบริษัทบ้านจัดสรรอื่นๆ ในยุคนั้นที่เชื่อว่า หากสามารถ ทำธุรกิจได้ครบวงจร ต้นทุนก็จะต่ำที่สุด โครง สร้างของบริษัทตอนนั้นจึงได้เทอะทะไปด้วยแรงงานคน สต็อกวัสดุก่อสร้างและเครื่องมือเครื่องใช้ที่เป็นอุปกรณ์ก่อสร้าง เมื่อเขาตั้งคำถามนี้กับผู้ร่วมงานบ้าง ดูเหมือนเขาจะมีปัญหาทันทีทุกคนตอบไม่ได้ และไม่เข้าใจ

และครั้งนั้นเขาก็ได้ตัดสินใจอย่างเด็ด เดี่ยวที่จะปรับโครงสร้างของบริษัทใหม่โดยโฟกัสชัดเจนไปยังธุรกิจบ้านจัดสรรอย่างเดียว งานก่อสร้างซึ่งเต็มไปด้วยภาระที่วุ่นวายนั้นได้เปลี่ยนไปใช้บริษัทรับเหมาที่มีคุณภาพจาก ภายนอก จ้างบริษัทวิศวกรที่ปรึกษาคุมงานก่อสร้างอีกที โดยมีคนของแลนด์ฯ คอยประสานและควบคุมอีกชั้นหนึ่ง และทุ่มเอาเวลาที่เหลือไปให้ความสำคัญในเรื่องการขาย และบริการแทน

พร้อมๆ กันนั้นเขาก็เริ่มส่งผู้บริหารระดับสูงไปเรียนหลักสูตร MBA พนักงานระดับกลางและระดับล่าง ได้รับการสนับสนุน ให้ศึกษาต่อจนจบระดับปริญญาตรี อนันต์ได้เคยให้ความเห็นในเรื่องการส่งคนไปเรียนหลักสูตร MBA ว่า "เป็นสิ่งที่ช่วยในการทำงาน ได้มากทีเดียว เพราะทำให้การสื่อสารเป็นภาษาเดียวกัน ทุกคนรู้เรื่อง ทุกคนเข้าใจสามารถไปสู่เป้าหมายเดียวกันได้โดยไม่หลงทาง" (จากเรื่อง "แลนด์แอนด์เฮ้าส์จะใหญ่ไปอีกนานแค่ไหน" โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล กันยายน 2536)

พยนต์ ศักดิ์เดชยนต์ คือ นักเรียน MBA คนต่อมา และหลังจากนั้นผู้บริหารระดับ หัวหน้างานก็ถูกส่งไปเรียนที่จุฬาลงกรณ์มหา วิทยาลัย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อย่าง ต่อเนื่อง การที่มีบุคลากรที่เต็มไปด้วยประสิทธิ ภาพนั้น ทำให้ในช่วงที่ขยายบริษัทในเครือเพิ่ม ขึ้นอย่างมากมายนั้น แลนด์ฯ สามารถส่งคนจากบริษัทแม่ไปควบคุมได้อย่างทั่วถึง

รวมทั้งมีการเทรน การอบรมกันเองภายในบริษัทตลอดเวลา แม้ในช่วงวิกฤติที่ผ่านมา กำลังคนส่วนหนึ่งที่กระจายอยู่ตามไซต์งานก็ถูกดึงกลับมาที่ส่วนกลางเพื่อเข้าหลักสูตรการอบรม ในเรื่องๆ ต่างด้วย

อนันต์เล่าว่า "ในช่วงวิกฤติทางด้านการเงิน บริษัทไม่แตะเรื่องคนเลย ไม่ปลดออก แต่ไม่รับเข้าเพิ่ม ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเสียดายคน เพราะกว่า 50 เปอร์เซ็นต์เป็นคนเก่าอยู่กันมานาน"

ขุนศึกรุ่นแรกของแลนด์แอนด์เฮ้าส์ ซึ่งเป็น 5 หนุ่มจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ คือ พยนต์ ศักดิ์เดชยนต์ เฉลิม เกียรติธนะบำรุง ซวง ซันสุโรจน์ ธงชัย จิระดิลก จุมพล มีสุข วันนี้อายุ เฉลี่ยแล้วประมาณ 46-55 ปี ทุกคนเคยเป็นกำลังสำคัญของบริษัท ที่ถูกส่งไปบริหารบริษัทอื่นๆ ในเครือในยุคเฟื่องฟู เมื่อมีการปรับโครงสร้างใหม่ ทุกคนก็กลับมามีตำแหน่งในบริษัทแม่เช่นเดิม

ในช่วงหนึ่งของการสนทนา อนันต์ได้เปรียบเปรยตัวบริษัทแลนด์แอนด์เฮ้าส์ ว่าเป็นเหมือน ร้านอาหารร้านหนึ่ง โดยปัจจุบันมีทีมงานหลักๆ คือ ประจักษ์ หาญสกุลบรรเทิง เป็นคนคิดเมนู เลอสุข สุวรรณฑล เป็นคนผัดกับข้าว พิชัย อรุณพัลลภ เป็นคนชิม โชคชัย วลิตวรางค์กูร ช่วยงานขาย อดิศร ธนนันท์นราพูล เป็นแคชเชียร์ นพร สุนทรจิตต์เจริญ เป็นหลงจู๊ คอยช่วยทั่วไป และคนสุดท้ายคือ ไพรัตน์ จงมีสุข ช่วยเก็บจาน ปัดกวาดร้าน

ประจักษ์ ผู้จัดการฝ่ายออกแบบบ้าน หรือคนคิดเมนู จบการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหา วิทยาลัย เข้ามาร่วมงานกับแลนด์ฯ ตั้งแต่ปี 2519 เขาจบสถาปนิกแต่อยากเรียนรู้งานทางด้านการตลาด เริ่มงานโดยเป็นที่ปรึกษาให้กับลูกค้าที่ต้องการเข้ามาต่อเติมบ้านอยู่ที่เคาน์เตอร์

หลังจากนั้น ก็ออกไปดูงานก่อสร้างตามไซต์งานพักหนึ่ง แล้วกลับมาดูเรื่องจัดระบบงานส่วนกลาง ก่อนที่จะย้ายออกไปเป็น ผู้จัดการโครงการรับผิดชอบทางด้านโซนปิ่นเกล้า ประมาณ 4-5 ปี แล้วย้ายไปเป็นผู้จัดการ กลุ่ม ที่รามอินทรา อีก 7 ปี เมื่อต้นปี 2543 ได้ย้ายกลับมารับตำแหน่งในส่วนกลาง การ มีโอกาสได้เรียนรู้งานตั้งแต่ลูกค้าเดินเข้ามาปรึกษากันตัวต่อตัว การได้เจอปัญหาลูกค้าใน ช่วงที่อยู่ตามไซต์งานมาหลายปี การติดตามภาวะการตลาด เป็นประสบการณ์อย่างหนึ่งที่ทำให้เขาเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภคแต่ละ ประเภท ผสมผสานกับข้อมูลบริษัทก่อนที่จะกลายมาเป็นเมนูสูตรเด็ดออกไปขาย

เมนูเหล่านี้ จะมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับนโยบายว่าช่วงนี้จะขายใครเป็น ลูกค้ากลุ่มไหน และเมื่อขายไปแล้ว อาจจะมีเสียงบ่นหรือตำหนิ ฝ่ายขายจะต้องทำสรุปและประเมินผลออกมา เมนูก็จะต้องเปลี่ยน แปลงไปอีก ทุกอย่างถูกจัดไว้ให้เป็นสูตรพิเศษ ที่ส่วนกลาง ไซต์งานต่างๆ จะเป็นเหมือนร้าน ค้าย่อย ที่จะคอยส่งออร์เดอร์มาที่ส่วนกลางว่า คนต้องการสูตรนั้น หรือสูตรนี้ โดยราคาและแบบ จะเป็นมาตรฐานเดียวกันหมด

คนที่ 2 เลอสุข ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ จบปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ (โยธา) เข้ามาร่วมงานกับแลนด์แอนด์เฮ้าส์ ตั้งแต่ปี 2526 ในโครงการสีวลีรังสิต 3 ปี หลังจากนั้นก็วนเวียนอยู่ในส่วนงานโครงการต่างๆ เช่นไป เป็นผู้จัดการโครงการให้ควอลิตี้เฮ้าส์ เป็นผู้จัดการโครงการลัดดาวัลย์ บางนา-ปิ่นเกล้า และติดสอยห้อยตามพยนต์ไปเป็นผู้จัดการทั่วไปที่โครงการนอร์ธปาร์ค 5 ปี และกลับแลนด์ฯ เมื่อปี 2542 เพื่อดูโครงการส่วนกลาง เพื่อพัฒนา ธุรกิจโดยตรง

เมื่อเลอสุขได้เมนู หรือแบบบ้านมาแล้วก็ต้องคิดหาวิธีว่าทำอย่างไรที่จะก่อสร้างบ้าน ให้ได้มากที่สุด เร็วที่สุด และมีประสิทธิภาพ ซึ่งปัจจุบันได้ดึงเอาระบบไอทีมาช่วยบริหารงานก่อสร้าง ซึ่งทำให้สามารถก่อสร้างได้เร็วขึ้นและมีมาตรฐานเดียวกันหมด

ในขณะเดียวกันก็ต้องคอยดูตลอดว่า อาหารที่ออกไปมีเสียงตอบรับอย่างไร มีการทำแบบสอบถามเกือบทุกเดือน เพื่อเก็บไว้เป็นข้อมูลส่งกลับไปยังฝ่ายจัดทำเมนูหรือฝ่ายออก แบบ เพื่อจะได้วิเคราะห์และทำเมนูใหม่ออกมาให้คนชอบมากขึ้น

คนที่ 3 พิชัย ผู้จัดการฝ่ายก่อสร้าง เป็นน้องใหม่ที่สุดของคนกลุ่มนี้เพราะเพิ่งเริ่มงานกัน ได้เพียง 6 ปี จบปริญญาตรีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เริ่มงานกับแลนด์ แอนด์เฮ้าส์ เมื่อปี 2538 ก่อนหน้านั้นฝึกวิทยายุทธ์ทางด้านการวางแผนอยู่ที่บริษัทนารายณ์ พร็อพเพอร์ตี้ เจ้าของโครงการคอนโดหรูริเวอร์ไรน์ ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาจังหวัดนนทบุรี เข้ามาก็รับผิดชอบงานของหมู่บ้านนันทวัน มัณฑนา และชัยพฤกษ์ ศรีนครินทร์

การชิมของเขา หมายถึง การมีหน้าที่ในการทดสอบคุณภาพ และตรวจสอบสินค้า ก่อน ที่จะเสิร์ฟ หรือส่งมอบให้ลูกค้า ในอดีตการขายแบบสั่งสร้างนั้นระหว่างการก่อสร้างจะมีการเปลี่ยนแปลงวัสดุการก่อสร้างตามใจลูกค้า โดยตลอดทำให้การตรวจสอบของเขาเป็นไปได้ยาก แต่ปัจจุบันเมื่อวัสดุถูกคัดเลือกมาแล้วอย่างดีไม่มีการเปลี่ยนแปลงตามใจปากลูกค้า การชิมของ เขาก็ทำได้ง่ายขึ้นมาก

คนที่ 4 หนุ่มโสด โชคชัย ผู้จัดการฝ่ายงานโฆษณา เพิ่งเข้ามาเริ่มงานกับแลนด์แอนด์เฮ้าส์เต็มตัวประมาณ 6 ปีเช่นกัน แต่จริงๆ แล้วคลุกคลีกับแลนด์แอนด์เฮ้าส์มานานเพราะก่อน หน้านี้ โชคชัยทำงานอยู่ที่บริษัทฟาร์อีสท์แอดเวอร์ไทซิ่ง ที่รับผิดชอบงานทางด้านโฆษณาให้กับ บริษัทแลนด์ฯ มาก่อน

หน้าที่ของเขาก็คือ เมื่อเมนูจานเด็ด หรือบ้านแต่ละแบบออกมา ก็จะมีหน้าที่ป่าวร้องบอกผู้คนว่ามีอะไรที่น่าทานบ้าง โดยแบ่งออกเป็นประเภทอาหารจานแพง หรืออาหารที่ราคาปานกลาง โดยพยายามหาจุดขายอย่างเช่นหน้าตาของอาหาร หรือเรื่องการดีไซน์ เป็นต้น ในขณะเดียวกัน ต้องรู้ว่าเดือนถัดไปจะมีอาหารประเภทไหนออกมา พยายามหาจุดเด่นต่างๆ ของสินค้าให้ผู้บริโภคทราบ โดยหาข้อมูลจาก ฝ่ายต่างๆ นอกจากนั้น ก็ต้องหาวิธีการโปรโมตตัวบริษัทในแง่ของภาพพจน์ เพื่อตอกย้ำความมั่นใจให้กับผู้บริโภคอีกทางหนึ่ง

คนที่ 5 ไพรัตน์จบทางด้านมาร์เก็ตติ้ง มาจากมหาวิทยาลัยกรุงเทพเป็นคนเก่าคนแก่ อีกคนของแลนด์ฯ โดยเข้ามาร่วมงานกันตั้งแต่ปี 2525 ตอนแรกก็ช่วยในทีมด้านการตลาด เรื่องโครงการก่อสร้าง ในยุคที่ดินบูมๆ ก็เป็น คนหนึ่งที่ตระเวนเลือกหาซื้อที่ดินเข้าพอร์ตของบริษัทร่วมกับอนันต์โดยช่วยหาข้อมูลทาง ด้านการตลาด เช็กกฎระเบียบข้อห้ามต่างๆ ประกอบก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ เมื่อแลนด์แอนด์ เฮ้าส์ไปร่วมทุนกับสำนักงานทรัพย์สินตั้งบริษัท สยามพาณิชย์พัฒนาอุตสาหกรรมหรือสยามสินธร ก็ได้เข้าไปร่วมบุกเบิกร่วมกับธงชัย จิระดิลก ก่อนที่จะกลับมาอยู่ที่แลนด์ฯ อีกครั้ง เมื่อปี 2543 โดยรับผิดชอบฝ่ายบริการและลูกค้าสัมพันธ์ ซึ่งจะคอยดูแลความเรียบร้อยเมื่อการก่อสร้างเรียบร้อยและการขายสิ้นสุด รวมทั้งยังต้องรับผิดชอบการบริการหลังการขายอีกด้วย

คนที่ 6 อดิศร คือ คนที่อนันต์บอกว่าเป็นคนนั่งอยู่ที่โต๊ะแคชเชียร์คอยเก็บเงิน คิดบัญชี อดิศรเป็นคนเก่าอีกคนของแลนด์ฯ ที่จบทางด้านบัญชีมาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในเรื่องการเงินของแลนด์ ปัจจุบันมีตำแหน่งเป็นกรรมการบริหาร และผู้ช่วยกรรมการ

ส่วนคนที่ 7 นพร สุนทรจิตต์เจริญ ที่เป็นหลงจู๊ หรือผู้จัดการร้านคอยดูแลทั่วไปเป็น คนสำคัญคนหนึ่งที่รับผิดชอบทางด้านโครงการก่อสร้างและพัฒนาผลิตภัณฑ์ จบทางด้าน วิศวกรรมศาสตร์โยธา จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปัจจุบันมีตำแหน่งเป็นกรรมการบริหาร และ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ

อีกคนหนึ่งที่ไม่สามารถหาตำแหน่งที่เหมาะสมในร้าน แต่เป็นผู้อาวุโสอีกคนหนึ่งของบริษัทที่ต้องกล่าวถึงคือ สุภา ภิญโญปถัมภ์ ผู้จัดการงานฝ่ายราชการ ที่เข้ามาทำงานกับแลนด์ แอนด์เฮ้าส์ ตั้งแต่ปี 2517 จบทางด้านบัญชี ทำงานสารพัดอย่างในบริษัทในยุคแรกๆ ที่มีคนเพียง ไม่กี่คน เป็นคนช่างพูดจนหลายคนบอกว่างานที่เหมาะกับเธอน่าจะเป็นเลขา แต่เธอไม่ชอบ งาน ตลาดเธอก็ไม่ถนัด แต่งานที่ลงตัว และทำมากว่า 20 ปีก็คือ งานติดต่อหน่วยงานราชการ โดยเฉพาะกรมที่ดิน ซึ่งรับผิดชอบเกี่ยวกับการออกโฉนดที่ดิน การขออนุญาตจัดสรร ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่เป็นปัญหาที่ลึกซึ้งซับซ้อนของคนทำบ้านมาทุกยุคทุกสมัย จนมาสมัยนี้ยังมีกฎข้อระเบียบของขั้นตอนการก่อสร้างที่จะต้องขออนุญาตเพิ่มขึ้นมากมาย

เจ๊ภาจึงทำหน้าที่เปรียบเสมือนล็อบบี้ยิสต์ คอยประสานติดต่องานให้ลื่นไหลไม่ติดขัด เรียกได้ว่าข้าราชการระดับสูงในปัจจุบันในกรมที่ดิน หรือกระทรวงมหาดไทยในสมัยนี้ก็คือข้าราชการระดับเล็กที่ไต่เต้ามาพร้อมๆ กับอายุการทำงานของเธอ ซึ่งแน่นอนสายสัมพันธ์ที่ผูก รัดมาช้านานมีส่วนอย่างมากให้เธอทำงานได้ง่ายขึ้น

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us