Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2544
ธีรพจน์ วัชราภัย เมื่อเชลล์ต้องโดดลงมาแข่งในธุรกิจค้าปลีกอย่างเต็มตัว             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
 


   
search resources

เชลล์แห่งประเทศไทย, บจก.
ธีรพจน์ วัชราภัย




ธีรพจน์ วัชราภัย ถือเป็นคนไทยคนที่ 2 ที่ได้ก้าวขึ้นมาเป็น เบอร์ 1 ในตำแหน่งประธานกรรมการบริษัทเชลล์ในประเทศไทย บริษัทน้ำมันสัญชาติเนเธอร์แลนด์ ที่ได้เข้ามาลงทุนในประเทศไทยมาแล้ว 109 ปี

แม้ว่าโดยภาพภายนอก การแต่งตั้งคนไทยขึ้นดำรงตำแหน่งดังกล่าว เสมือนเป็นการประกาศนโยบายในการให้ความสำคัญกับคนท้องถิ่น แต่สำหรับคนที่ติดตามความเคลื่อนไหวของบริษัทน้ำมันแห่งนี้มาอย่างต่อเนื่อง ย่อมทราบดีว่าการตัดสินใจครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ที่แฝงอยู่

คนไทยคนแรกที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานบริษัทเชลล์ในประเทศไทย คือ ม.ร.ว.สฤษดิคุณ กิติยากร โดยอยู่ในตำแหน่งระหว่าง ปี 2527-2537

ในช่วงนั้น รอยัลดัทช์เชลล์กำลังมีแผนการลงทุนครั้งใหญ่ในประเทศไทย คือ การขอเข้ามาลงทุนสร้างโรงกลั่นน้ำมันในพื้นที่พัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออก

ขณะนั้นในประเทศไทย มีโรงกลั่นน้ำมันอยู่เพียง 3 แห่งคือโรงกลั่นไทยออยล์ และเอสโซ่ ที่ อ.ศรีราชา จังหวัดชลบุรี และโรงกลั่น น้ำมันบางจาก ในกรุงเทพฯ

การลงทุนตั้งโรงกลั่นช่วงนั้น ต้องใช้เงินลงทุนสูงมาก จำเป็นต้องได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ ซึ่งปรากฏว่าไม่ใช่มีเพียงรอยัลดัทช์เชลล์เพียงแห่งเดียวที่ต้องการลงทุน ยังมีบริษัทคาลเท็กซ์ จากอเมริกา ก็แสดงความจำนงต้องการเข้ามาตั้งโรงกลั่นในไทยเช่นกัน

คนในวงการธุรกิจน้ำมันคงจำกันได้ว่าในช่วงปี 2534-2535 ข่าว การวิ่งเต้นเพื่อขออนุมัติส่งเสริมการลงทุนตั้งโรงกลั่นน้ำมันของยักษ์ใหญ่ทั้ง 2 แห่ง เป็นข่าวที่มีสีสันขึ้นหน้า 1 ทางหน้าหนังสือพิมพ์แทบ ทุกวัน โดยเชลล์ใช้ประธานคนไทยคนแรก คือ ม.ร.ว.สฤษดิคุณ เป็นคนเดินเกม ขณะที่ฝ่ายคาลเท็กซ์ก็ได้มอบหมายให้สุขวิช รังสิตพล ซึ่งได้รับมอบตำแหน่งสูงสุดในบริษัทน้ำมันคาลเท็กซ์ประเทศไทย เป็น คนทำหน้าที่เดียวกัน

และในที่สุดบริษัทน้ำมันทั้ง 2 แห่งก็ได้รับการอนุมัติให้สร้างโรงกลั่นได้ในภายหลัง

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ของธุรกิจน้ำมันขณะนี้ ได้เปลี่ยนไปจากเมื่อ 10 ปีที่แล้วเป็นอย่างมาก เห็นได้จากโรงกลั่นที่แข่งกันจัดตั้งทั้ง 2 แห่ง ถึงที่สุดก็ไม่สามารถยืนอยู่ด้วยตนเองได้ ต้องจับมือเป็น พันธมิตรช่วยประคองธุรกิจให้กันและกันอยู่ในขณะนี้

ธุรกิจน้ำมันในปัจจุบันนี้ ถูกแรงบีบหลายด้าน โดยเฉพาะการ เข้ามาของโคโนโค เจ้าของปั๊มเจ็ท ซึ่งประสบความสำเร็จ สามารถดึง ส่วนแบ่งตลาดจำนวนมากเข้าไปได้ภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่ปี

ขณะที่พฤติกรรมของคนไทย ในการเข้าไปใช้บริการในสถานี บริการน้ำมัน ก็เปลี่ยนไปจากการเติมน้ำมันเพียงอย่างเดียว กลายเป็นการเข้าไปจับจ่ายสินค้า และบริการประเภทอื่นด้วย

ธุรกิจน้ำมันในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องกระโจนลงไปแข่งขันในตลาดค้าปลีกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

การแต่งตั้งธีรพจน์ ซึ่งมีประสบการณ์และความชำนาญในธุรกิจ ค้าปลีก ขึ้นมาเป็นประธานบริษัทเชลล์ในประเทศไทย ซึ่งเป็นคนไทย คนที่ 2 ที่ได้ตำแหน่งนี้ แสดงให้เห็นว่า รอยัลดัทช์เชลล์ บริษัทแม่มี นโยบายที่จะรุกในเรื่องค้าปลีกอย่างจริงจังมากขึ้น

โดยมีงบประมาณที่ตั้งไว้สำหรับการลงทุนในธุรกิจค้าปลีกในปีแรกที่ธีรพจน์เข้ามารับตำแหน่งถึง 500 ล้านบาท

การแข่งขันด้านค้าปลีกของบริษัทน้ำมัน หลังจากนี้ไปน่าจะมีความเข้มข้นมากขึ้น

เธีรพจน์ วัชราภัยมื่อเชลล์ต้องโดดลงมาแข่ง ในธุรกิจค้าปลีกอย่างเต็มตัว

ธีรพจน์ วัชราภัย ถือเป็นคนไทยคนที่ 2 ที่ได้ก้าวขึ้นมาเป็น เบอร์ 1 ในตำแหน่งประธานกรรมการบริษัทเชลล์ในประเทศไทย บริษัทน้ำมันสัญชาติเนเธอร์แลนด์ ที่ได้เข้ามาลงทุนในประเทศไทยมาแล้ว 109 ปี

แม้ว่าโดยภาพภายนอก การแต่งตั้งคนไทยขึ้นดำรงตำแหน่งดังกล่าว เสมือนเป็นการประกาศนโยบายในการให้ความสำคัญกับคนท้องถิ่น แต่สำหรับคนที่ติดตามความเคลื่อนไหวของบริษัทน้ำมันแห่งนี้มาอย่างต่อเนื่อง ย่อมทราบดีว่าการตัดสินใจครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ที่แฝงอยู่

คนไทยคนแรกที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานบริษัทเชลล์ในประเทศไทย คือ ม.ร.ว.สฤษดิคุณ กิติยากร โดยอยู่ในตำแหน่งระหว่าง ปี 2527-2537

ในช่วงนั้น รอยัลดัทช์เชลล์กำลังมีแผนการลงทุนครั้งใหญ่ในประเทศไทย คือ การขอเข้ามาลงทุนสร้างโรงกลั่นน้ำมันในพื้นที่พัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออก

ขณะนั้นในประเทศไทย มีโรงกลั่นน้ำมันอยู่เพียง 3 แห่งคือโรงกลั่นไทยออยล์ และเอสโซ่ ที่ อ.ศรีราชา จังหวัดชลบุรี และโรงกลั่น น้ำมันบางจาก ในกรุงเทพฯ

การลงทุนตั้งโรงกลั่นช่วงนั้น ต้องใช้เงินลงทุนสูงมาก จำเป็นต้องได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ ซึ่งปรากฏว่าไม่ใช่มีเพียงรอยัลดัทช์เชลล์เพียงแห่งเดียวที่ต้องการลงทุน ยังมีบริษัทคาลเท็กซ์ จากอเมริกา ก็แสดงความจำนงต้องการเข้ามาตั้งโรงกลั่นในไทยเช่นกัน

คนในวงการธุรกิจน้ำมันคงจำกันได้ว่าในช่วงปี 2534-2535 ข่าว การวิ่งเต้นเพื่อขออนุมัติส่งเสริมการลงทุนตั้งโรงกลั่นน้ำมันของยักษ์ใหญ่ทั้ง 2 แห่ง เป็นข่าวที่มีสีสันขึ้นหน้า 1 ทางหน้าหนังสือพิมพ์แทบ ทุกวัน โดยเชลล์ใช้ประธานคนไทยคนแรก คือ ม.ร.ว.สฤษดิคุณ เป็นคนเดินเกม ขณะที่ฝ่ายคาลเท็กซ์ก็ได้มอบหมายให้สุขวิช รังสิตพล ซึ่งได้รับมอบตำแหน่งสูงสุดในบริษัทน้ำมันคาลเท็กซ์ประเทศไทย เป็น คนทำหน้าที่เดียวกัน

และในที่สุดบริษัทน้ำมันทั้ง 2 แห่งก็ได้รับการอนุมัติให้สร้างโรงกลั่นได้ในภายหลัง

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ของธุรกิจน้ำมันขณะนี้ ได้เปลี่ยนไปจากเมื่อ 10 ปีที่แล้วเป็นอย่างมาก เห็นได้จากโรงกลั่นที่แข่งกันจัดตั้งทั้ง 2 แห่ง ถึงที่สุดก็ไม่สามารถยืนอยู่ด้วยตนเองได้ ต้องจับมือเป็น พันธมิตรช่วยประคองธุรกิจให้กันและกันอยู่ในขณะนี้

ธุรกิจน้ำมันในปัจจุบันนี้ ถูกแรงบีบหลายด้าน โดยเฉพาะการ เข้ามาของโคโนโค เจ้าของปั๊มเจ็ท ซึ่งประสบความสำเร็จ สามารถดึง ส่วนแบ่งตลาดจำนวนมากเข้าไปได้ภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่ปี

ขณะที่พฤติกรรมของคนไทย ในการเข้าไปใช้บริการในสถานี บริการน้ำมัน ก็เปลี่ยนไปจากการเติมน้ำมันเพียงอย่างเดียว กลายเป็นการเข้าไปจับจ่ายสินค้า และบริการประเภทอื่นด้วย

ธุรกิจน้ำมันในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องกระโจนลงไปแข่งขันในตลาดค้าปลีกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

การแต่งตั้งธีรพจน์ ซึ่งมีประสบการณ์และความชำนาญในธุรกิจ ค้าปลีก ขึ้นมาเป็นประธานบริษัทเชลล์ในประเทศไทย ซึ่งเป็นคนไทย คนที่ 2 ที่ได้ตำแหน่งนี้ แสดงให้เห็นว่า รอยัลดัทช์เชลล์ บริษัทแม่มี นโยบายที่จะรุกในเรื่องค้าปลีกอย่างจริงจังมากขึ้น

โดยมีงบประมาณที่ตั้งไว้สำหรับการลงทุนในธุรกิจค้าปลีกในปีแรกที่ธีรพจน์เข้ามารับตำแหน่งถึง 500 ล้านบาท

การแข่งขันด้านค้าปลีกของบริษัทน้ำมัน หลังจากนี้ไปน่าจะมีความเข้มข้นมากขึ้น

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us