Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2544
ดับฝันนักขุดทองที่ซิลิกอนแวลลีย์ แรงงานต่างชาติเก็บกระเป๋าหลังเศรษฐกิจซบ             
 





"นาคราช" (นามสมมติ) เป็นวิศวกรชาวอินเดียที่อพยพครอบครัวไปทำงานที่อเมริกาโดยมีวีซ่าประเภท H-1B ติดมือ วีซ่าประเภทดังกล่าวมีอายุ 6 ปี ออกให้กับแรงงานมีฝีมือที่เข้าไปทำงานในบริษัททางด้านเทคโนโลยี ในย่านซิลิกอนแวลลีย์

ทุกอย่างควรจะดำเนินไปอย่างเรียบร้อย แต่ราวเดือนเมษายนที่ผ่านมา นาคราชกับเพื่อนร่วมงานชาวอินเดียอีก 6 คน ถูกเรียกตัวเข้าประชุมบริษัทที่ปรึกษาทางด้านเทคโนโลยีในซานฟรานซิสโกแจ้งให้ทราบว่า พวกเขาถูกปลดออกจากงาน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาในแถบซิลิกอนแวลลีย์ นาคราช เล่าว่า "เป็นครั้งแรกในชีวิตที่ผมรู้สึกช็อก"

นาคราชและเพื่อนเหลือทางเลือก เพียงสองทางคือ เก็บกระเป๋าเดินทางกลับอินเดีย หรือไม่ก็หางานใหม่ให้ได้ในตลาดงานอันฝืดเคือง และภาวนาให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองยอมเปลี่ยนวีซ่าการทำงานของเขาให้เป็นชื่อบริษัทใหม่ ตามกฎหมายสหรัฐฯ พวก เขาจะไม่ได้รับเงินค่าจ้างใดๆ หากเอกสารยังไม่มีการเปลี่ยนชื่อบริษัทผู้ว่าจ้างให้ถูกต้อง "ผมจะอยู่ได้ยังไงถ้าไม่มีงานไม่มีเงิน" นาคราชปรับทุกข์

ก่อนหน้านี้ บริษัทในซิลิกอนแวลลีย์ได้ร่วมกันกดดันให้รัฐบาลแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ที่มีความเชี่ยวชาญ เฉพาะด้าน เช่น โปรแกรมเมอร์และวิศวกร โดยการออกวีซ่า H-1B ให้แรงงานต่างชาติเข้าไปทำงานประเภทนี้ได้ตั้งแต่ปี 1992 ทำให้มีผู้หวังไปขุดทองในตลาดแรงงาน สหรัฐฯ เป็นจำนวนมากโดยหอบหิ้วครอบครัวไปด้วย จนเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ปีที่แล้ว จำนวนชาวต่างชาติที่เข้า ไปทำงานในแถบซิลิกอนแวลลีย์มีเป็นจำนวน ถึงราว 81,000 คน

อย่างไรก็ตาม เมื่อตลาดธุรกิจประเภท ดอทคอมทรุดตัว มีการปลดพนักงานในกิจการประเภทนี้เป็นจำนวนมาก แรงงานต่างชาติกลุ่มนี้จึงได้รับผลกระทบด้วย อีกทั้ง สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองก็ถือว่าวีซ่าประเภท H-1B จะหมดสภาพทันทีเมื่อผู้ถือวีซ่าต้องออกจากงาน ทางการสหรัฐฯ แก้ไข ปัญหาโดยใช้ท่าทีผ่อนปรน และแถลงว่าผู้ถือวีซ่าประเภทนี้สามารถอยู่ในสหรัฐฯ ต่อได้หากมีคุณสมบัติ พิเศษบางประการหรือหาบริษัทใหม่รับรองต่อวีซ่าให้ได้

แต่ทั้งหมดนี้ก็ไม่ได้ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้นนัก โอกาส ในอาชีพการงานของแรงงานกลุ่มนี้ยิ่งมืดมนลง เมื่อบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างอินเทล (Intel) ซิสโก (Cisco) และฮิวเลตต์-แพคการ์ด (Hewlett-Packard) พากันประกาศปลดพนักงานออกอีกเรือนพันในปีนี้ ซึ่งจะส่งผลถึงพนักงานที่ถือวีซ่าประเภท H-1B ด้วย สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเผยตัวเลขจำนวนแรงงานที่เข้ามาทำงานในสหรัฐฯ โดยถือวีซ่าดังกล่าวในเดือน กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาว่ามีเพียง 16,000 คน นับเป็นสถิติที่ลดจากจำนวน 32,000 คนในเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว

ตามกฎหมาย ผู้ถือวีซ่าประเภทนี้ไม่ได้รับอนุญาตให้ ทำงานประเภทพาร์ตไทม์ แต่เนื่องจากแรงงานกลุ่มนี้จำเป็นต้องมีรายได้สำหรับใช้จ่ายของครอบครัวทั้งระหว่างที่ยังพักอยู่ในสหรัฐฯ และเตรียมเดินทางกลับ ข้อกำหนดดังกล่าวจึงถูกละเลยไปโดยปริยาย

หญิงชาวไต้หวันวัย 22 รายหนึ่ง ซึ่งถูกปลดออกจากงานในตำแหน่งเว็บ ดีไซเนอร์ในบริษัทดอทคอมแห่งหนึ่งในนิวยอร์กเมื่อเดือนมกราคม ต้องดิ้นรนทำงานหลายอย่างเพื่อความอยู่รอด เธอเป็น พนักงานเสิร์ฟ สอนพิเศษเด็ก และสอนภาษาอังกฤษให้ผู้อพยพสูงอายุ และยอมเป็นอาสาสมัครเข้าร่วมในการวิจัยศึกษาทางด้านประสาทวิทยา เธอทำงานทุกประเภทเพื่อให้มีรายได้และเล่าว่า "งาน เสิร์ฟเป็นงานหนักที่สุดแต่เป็นงานที่หาได้ง่ายที่สุด เจ้าของร้านไม่ค่อยถามเรื่องเอกสารการทำงาน เขาอยากรู้แค่ว่าฉันเรียกค่าแรงเท่าไร"

เดือนเมษายนที่ผ่านมา สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองก็ได้แจ้งกับผู้ถือวีซ่า H-1B ว่า อย่าเพิ่งตื่นตระหนก" เนื่องจาก จะมีการกำหนดระยะเวลาผ่อนปรนให้ก่อนที่ผู้ถือวีซ่ากลุ่มนี้จะต้องเดินทางกลับประเทศของตนจริง โดยจะมีการชี้แจงรายละเอียดในภายหลัง ไอลีน ชมิดท์ (Eyleen Schmidt) โฆษกของสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองบอก "เรากำลังพยายาม จะผ่อนปรนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ภายใต้กรอบของกฎหมายที่มีอยู่"

อย่างไรก็ตาม มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากผู้คนในแถบซิลิกอนแวลลีย์ในทำนองว่า ระบบการออกวีซ่าดังกล่าวนี้มีจุดบกพร่องอยู่ กันวาล เรกกิ (Kanwal Rekki) ผู้ประกอบการชาวอเมริกันเชื้อสายอินเดียรายหนึ่งให้ความเห็นว่า "ผู้ที่ถือวีซ่า H-1B ทำงานเหมือนทาสที่มีข้อผูกมัดกับบริษัทผู้ว่าจ้าง" ทั้งนี้ก็เพราะพวกเขาต้องพึ่งพา ผู้ว่าจ้างในการรับรองวีซ่าและกรีนการ์ดนั่นเอง และแม้จะมีกลุ่มผู้สนับสนุนผู้อพยพคอยช่วยเหลือผลักดันให้ยกเลิกเงื่อนไขดังกล่าว แต่การผลักดันก็คืบหน้าไปน้อยมาก โดยทำได้เพียงแค่ให้มีการโอนการรับรองวีซ่าหรือกรีนการ์ดให้กับบริษัทผู้ว่าจ้างรายอื่น

มูราลี กฤษณะ เทวราคนธ์ (Murali Krishna Deverakonda) ซึ่งทำงานในเครือข่ายสนับสนุนผู้อพยพ ด้วย กล่าวว่าเป้าหมายของกลุ่มคือไม่ต้องการให้บริษัทผู้ว่าจ้างมีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับการรับรองวีซ่า H-1B "เราพุ่งประเด็นไปที่เรื่องเสรีภาพ ผู้ว่าจ้างจำเป็นต้องอาศัยเรา ระบบเศรษฐกิจก็ต้องอาศัยเรา แล้วทำไมกฎหมายจึงวางข้อกำหนดไปในทางที่ว่าเราจำเป็นต้องอาศัยผู้ว่าจ้าง?" นี่เป็นประเด็นที่ถูกหยิบยกขึ้นมาและต้องถกเถียงกันต่อไป แต่ปัญหาก็คือชีวิตของผู้ถือวีซ่า H-1B คงวุ่นวายกันอีกไม่น้อย นับจากนี้เป็น ต้นไป

เรียบเรียงโดย เนาวนิจ สิริผาติวิรัตน์ Newsweek May 14, 2001

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us