ลางดอค (Languedoc) ได้ชื่อว่าเป็นเขตผลิตไวน์ที่ใหญ่ที่สุดของโลก ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส
ไวน์แดงราคา ถูกที่เคยผลิตได้จากเขตนี้ยังถือกันว่าเป็นปัจจัยที่สามที่ทำให้
เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมในฝรั่งเศส รองจากถ่านหินและแร่เหล็ก และแรงงานผู้ผลิตไวน์ในพื้นที่ดังกล่าวก็คือ
แรงงาน ที่ผลักดันเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย
แต่ตอนนี้ลางดอค ได้ปรับทิศทางใหม่เข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ด้วยการมุ่ง ผลิตไวน์คุณภาพดีในราคาพอซื้อหาได้
โดยมีตลาดใหม่รองรับทั้งในอเมริกาเหนือไปจนถึงญี่ปุ่น ขณะเดียวกันยอด ส่งออกไวน์ได้พุ่งขึ้นตามแนวโน้มความนิยมไวน์ที่เพิ่มขึ้น
และแน่นอนว่าราคาก็ขยับตามกันไปด้วย
การที่ลางดอคปรับเปลี่ยนทิศทางการผลิตไวน์ครั้งประวัติ ศาสตร์นี้เป็นเพราะเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้บรรดาผู้ผลิตไวน์ต้อง
"หลังชนฝา" มาตั้งแต่เมื่อครั้งที่ มาร์กาเร็ต แธตเชอร์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอังกฤษในครั้งนั้น
แธตเชอร์ประกาศกร้าวค้านนโยบายของประชาคมยุโรปหรือกลุ่มอีซีที่ให้การอุดหนุนด้านการ
เกษตร (subsidies) จนทำให้อีซีมีค่าใช้จ่ายสูงเกินตัว
เกษตรกรต่างไม่พอใจแนวคิดของแธตเชอร์ แต่ฌ็อง คลา เวล (Jean Clavel) ผู้ผลิตไวน์และผู้นำสหภาพผู้ผลิตไวน์ในเขตลางดอค
กลับเห็นว่าแนวคิดนี้จะเป็นผลดีกับผู้ผลิตไวน์มากกว่า คลาเวลได้ต่อสู้กับแนวคิดที่ว่าปริมาณสำคัญกว่าคุณภาพมาตลอด
ชีวิตการทำงานของเขา และ เขาเป็นผู้หนึ่งที่ทำให้เขตผลิตไวน์ลางดอค ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ตลอดชายฝั่งทะเล
เมดิเตอร์เรเนียนเป็นระยะทาง 300 กิโลเมตรจาก บริเวณแม่น้ำโรนไปจนถึงเทือกเขาเพอร์นีส
กลายเป็น เขตผลิตไวน์ที่พิสูจน์ให้เห็นจริงว่าคุณภาพต้องมาก่อนปริมาณ เดิมเขตลางดอคเคยผลิตไวน์ราคาถูกป้อนให้กับตลาดในประเทศที่มีดีมานด์มหาศาล
แต่หลังสงคราม โลกครั้งที่ 2 รสชาติไวน์จาก แหล่งผลิตดังกล่าวเปลี่ยนไป และยอดขายเริ่มตกลง
"เราทนสภาพการณ์เช่นนั้นไม่ไหว" คลาเวลฟื้นความหลัง "สหกรณ์มีรายได้ 30%
จากนโยบายอุดหนุนการเกษตรของอีซี แต่เมื่อสินค้าไม่มีตลาด ในที่สุดก็ยิ่งย่ำแย่"
นี่คือสาเหตุที่อดีตนายกรัฐมนตรีมาร์กาเร็ต แธตเชอร์ ประกาศคัดค้านการใช้จ่ายเกินตัวของกลุ่มอีซี
และเป็นที่มาของข้อตกลงดับลินในปี ค.ศ.1984 ซึ่งให้ยกเลิกนโยบายอุดหนุนการเกษตรแบบไม่มีขีดจำกัด
ผู้ผลิตไวน์ในเขตลางดอคต้องเผชิญหน้ากับทางเลือกที่เด็ดขาด ระหว่างการปรับตัวเพื่ออยู่รอด
หรือล้มหายตายจากไป "ตอนนั้นทุกคนหลังชนฝา" คริสทีน เบฮ์-โมลีนส์ (Christine
Behey-Molines) แห่ง Interprofessional Council for Languedoc Wines กล่าวและว่า
"คนในพื้นที่ต้องเปลี่ยนอาชีพใหม่หรือไม่ ก็ต้องเปลี่ยนวิธีการผลิตไวน์"
คลาเวลซึ่งเห็นด้วยกับแนวคิดของแธตเชอร์ได้เริ่มบุกเบิกให้บรรดาผู้ปลูกองุ่นเลิกปลูกองุ่นแบบเน้นปริมาณ
ซึ่งต้องเพาะปลูกไร่องุ่นครอบคลุมทั่วทั้งหุบเขา แล้วหันมาปลูกเฉพาะองุ่นพันธุ์ดีในบริเวณเชิงเขาเท่านั้น
หลังจากนั้น 15 ปี พื้นที่ ดังกล่าวก็มีไร่องุ่นพันธุ์ดีอยู่ราว 100,000
เฮกตาร์ "เราไม่ควรกลัวที่จะผลิตไวน์คุณภาพดีเยี่ยมแล้วขายในราคาที่เหมาะสม"
เบฮ์-โมลีนส์ ให้ความเห็น
ยอดขายไวน์ในตลาดโลกมีส่วนช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจแถบลางดอคฟื้นตัวขึ้นด้วยเช่นกัน
เพราะในช่วงที่บอร์โดซ์ ซึ่งเป็นผู้ส่งออกไวน์รายใหญ่แต่เดิมของฝรั่งเศสถูกเบียดออกไปจาก
ตลาดนั้น ไวน์ลางดอคกลับสามารถชิงตลาดลูกค้าต่างชาติ ด้วยการบุกตลาดใหม่
ที่นิยมไวน์มีคุณภาพในราคาที่ไม่แพงจนเกินไป อีกทั้งยังนำเสนอสินค้าที่แตกต่างไปด้วยไวน์ที่มีส่วนผสมขององุ่น
ที่หลากหลาย และรสชาติของไวน์ก็ยังบ่งบอกถึงคุณสมบัติเฉพาะของผืนดินในฝรั่งเศสที่เป็นแหล่งปลูกองุ่นด้วย
"มันเป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับไวน์ที่มีอยู่หลากหลายในตลาด ทว่าโดยรวมก็คือเหมือนกันทั่วโลก"
คลาเวลบอก ปัจจุบันเขาส่งออกไวน์ที่ผลิตได้ถึง 97% ไปยังตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะตลาดใหม่ที่มีผู้นิยมดื่มไวน์มากขึ้นตั้งแต่อเมริกาเหนือไปจนถึงญี่ปุ่น
เมื่อไวน์ลางดอคมีศักยภาพการเติบโตสูงเช่นนี้ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะเป็นที่หมายตาของทั้งนักลงทุน
และผู้บริโภคต่างชาติ อย่างมอนโดวี ซึ่งเป็นยักษ์ใหญ่แห่งนาปา แวลลีย์ ในแคลิฟอร์เนีย
ซึ่งกำลังปลูกองุ่นเป็นพื้นที่ 50 เฮกตาร์ในบริเวณนี้เพื่อผลิตไวน์ลางดอค
ของตนเอง นอกจากนั้นยังมีสองสามี ภรรยา โรเบิร์ตและคิม คริปส์ เชื้อสายแองโกล-อเมริกันซึ่งเข้าไปซื้อ
ไร่องุ่นพื้นที่ 18 เฮกตาร์ใกล้กับมงต์เปลลิเยร์ ตั้งแต่เมื่อปี 1994 และปัจจุบันผลิตไวน์
Domaine du Poujol ได้ถึง 100,000 ขวดต่อปี โดยเป็นไวน์ส่งออกราว 80% "เมื่อก่อน
ที่ดินแถบนี้ราคาถูกมาก แต่ตอนนี้เราไม่มีเงินพอจะย้ายมาที่นี่แล้ว เราไม่ได้ร่ำรวย
เรามาจาก ครอบครัวชนชั้นกลางที่อยากทำอะไรเป็นของตัวเอง แต่โชคไม่ดีเท่าไร"
ครอบครัวคริปส์ก็เหมือนกับผู้ประกอบการรายอื่นที่จะต้องปรับตัวตามข้อกำหนดของคณะกรรม
การควบคุมการระบุแหล่งกำเนิดชื่อสินค้า (Appellation dOrigine Control"e
- AOC) ซึ่งรับรองคุณภาพไวน์โดยการกำหนดชนิดขององุ่นที่อนุญาตให้ปลูกในพื้นที่เพาะปลูกเป็นบริเวณจำกัด
หากไม่ได้ตามเกณฑ์ของเอโอซี ไวน์ที่ผลิตขึ้นจะต้องจำหน่ายเป็นประเภทไวน์ราคาถูกที่ดื่มกันทั่วไป
"นี่เป็น เรื่องหนึ่งที่กฎหมายฝรั่งเศสควบคุมอย่างเข้มงวด ทั้งที่โดยปกติแล้วรัฐบาลไม่ค่อยเข้มงวดเรื่องใดนัก"
โรเบิร์ตเล่า "ถ้า หากคุณอยากขายไวน์ในฝรั่งเศสคุณต้องทำตามเอโอซี แต่ถ้าขายที่อื่นจะไม่มีใครแคร์เลย"
นอกจากนั้น แรงกดดันอีกประการหนึ่งก็คือ เอโอซีกำลังทบทวนข้อกำหนดโดยจะนำความนิยมของตลาดมาพิจารณาร่วมด้วย
และนี่เป็นข้อพิสูจน์อีกอย่างหนึ่งว่าลางดอค ได้ปรับตัวให้ทันสมัยเพียงใด
อีกทั้งยังมีการปรับปรุงการผลิต ให้สอดคล้องกับดีมานด์ในตลาดโลกมากขึ้นด้วย
อาจกล่าวได้ว่า ลางดอคกำลังนำอุตสาหกรรมไวน์เข้าสู่ศตวรรษที่ 21 พร้อมกับไวน์ยุคใหม่ที่ทันสมัยกว่าไวน์รุ่นบุกเบิกในศตวรรษก่อนนั่นเอง
เรียบเรียงโดย เนาวนิจ สิริผาติวิรัตน์ Time May 14, 2001