Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2542
ระวัง! ระเบิดเวลาในธอส.             
 

   
related stories

ใครจะเป็นเบอร์ 1 ในธอส. คนต่อไป

   
search resources

ธนาคารอาคารสงเคราะห์
สิริวัฒน์ พรหมบุรี




สิริวัฒน์ พรหมบุรี กรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ ถูกกระหน่ำซัดด้วยข้อร้องเรียนและข้อกล่าวหาในเรื่องของการทุจริตมาอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 1 ปีเต็มของการขึ้นไปรับตำแหน่ง ถึงแม้ปฏิเสธไม่ได้ว่า ศึกแย่งเก้าอี้ภายในจะเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้เรื่องบานปลายขึ้น แต่บางเรื่องที่เขาเข้าไปเกี่ยวข้องก็มีความเป็นไปได้ จนต้องยอมรับว่า สิริวัฒน์เป็นผู้บริหารที่กำลังถูกจับตามองมากที่สุดรายหนึ่งในปี 2541

ประมาณกลางเดือนพฤศจิกายน 2541 ที่ผ่านมา สิริวัฒน์ พรหม-บุรี กรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ได้ทำหนังสือฉบับหนึ่งถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ชุดที่มีสมชัย ฤชุพันธุ์ เป็นกรรมการบริหาร หนังสือฉบับนั้นได้ชี้แจงข้อกล่าว หาซึ่งเป็นเรื่องร้องเรียนของพนักงานของธนาคารที่ได้ยื่นไปยังสำนักงานคณะ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ (ป.ป.ป.) เรื่องราวเหล่านั้นถึงแม้ส่วนหนึ่ง จะมีที่มาจากปัญหาของศึกสงครามภาย ในองค์กร (ดูล้อมกรอบ) ที่ยังไม่ได้มี คำตัดสินออกมาชัดเจนว่า ใครถูก ใคร ผิดอย่างไร แต่มันได้สร้างความกดดัน ในการทำงานให้แก่สิริวัฒน์อย่างมาก ทีเดียว

ท่ามกลางความคลุมเครือของคำตอบ และภาระหนักในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการในช่วงเกิดภาวะวิกฤติ ทางการเงิน กระทรวงการคลังได้มี คำสั่งให้ส่งสิริวัฒน์ไปเรียนหลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2541 ถึงกันยายน 2542 โดยกำหนดวันเรียนอังคาร พุธ พฤหัส ปล่อยบทบาทในการบริหารงานให้อยู่ในมือของรองกรรมการอาวุโส กรองสิญจน์ กนิษฐสุต แทนเป็นการชั่วคราว

ประเด็นหลักๆ ของเรื่องร้องเรียนที่น่าสนใจ เช่น ในกรณีของข้อกล่าวหาที่ระบุว่าสิริวัฒน์ร่ำรวยผิดปกติ ในขณะที่ขึ้นมารับตำแหน่งกรรมการ ผู้จัดการเพียง 3 เดือน

เมื่อพลิกดูบัญชีทรัพย์สินทั้ง หมดในชื่อของสิริวัฒน์และสุมาลีผู้เป็นภรรยา ซึ่งยื่นต่อ ป.ป.ป. นั้นพบว่า มีขุมทรัพย์ซึ่งเป็นที่ดินเปล่า ทาวน์เฮาส์ ห้องชุด และรถยนต์ รวมราคาทั้ง หมดประมาณ 41 ล้านบาท และยังมี หนี้สินประมาณ 24 ล้านบาท (รายละเอียดของบัญชีทรัพย์สินอยู่ในตาราง)

สิริวัฒน์ปฏิเสธในข้อกล่าวหาดังกล่าว และถือโอกาสชี้แจงว่าตนและ ภรรยามาจากครอบครัวที่มีฐานะของ บิดามารดาให้ที่ดินและบ้านเป็นทุนในการสร้างครอบครัว และทั้ง 2 คนก็มี ความก้าวหน้าในฐานะการงานมาโดยตลอด

ปูมหลังของ สิริวัฒน์ นั้นเป็นบุตรพลตำรวจตรีเสวก พรหมบุรี มารดา ชื่อ เจ้าแววดาว พรหมบุรี (ณ เชียงใหม่) เรียนจบคณะเศรษฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เริ่มการทำงาน ที่ธนาคารกรุงไทย จำกัด สำนักงานใหญ่ เมื่อปี 2519 ในปี 2525 ได้เข้าทำงาน ที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ดูแลหลักทางด้านสินเชื่อบุคคลและสินเชื่อโครงการมาโดยตลอด และได้รับการแต่งตั้ง ให้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ธอส.เมื่อเดือนตุลาคม 2540

สิริวัฒน์ มีภรรยาชื่อสุมาลี เป็น บุตรนายประสาน นรินทรางกูร ณ อยุธยา เคยทำงานที่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด เป็นเวลา 21 ปี ตำแหน่งสุดท้าย คือหัวหน้าส่วนพัฒนาพนักงาน ฝ่ายการพนักงาน ปี 2535 และจากนั้นได้เปลี่ยนมาทำงานตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายการพนักงาน บมจ.ตะวันออกไฟแนนซ์ ตำแหน่งสุดท้ายคือผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ดูแลงานด้านการพนักงานและฝึกอบรม

นอกจากนั้นยังมีประเด็นในเรื่องของสิริวัฒน์ และภรรยาเข้าไปเกี่ยวข้องกับโครงการจัดสรรอีกหลายโครงการ เช่น โครงการแม่รำพึงแลนด์ ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โครงการ ลำปางสักทอง ตำบลห้างฉัตร ที่จังหวัด ลำปาง ถือหุ้นและทำการจัดสรรอาคารชุดคริสตัลสแควร์ เกือบทุกโครง การดังกล่าว มีข้อกล่าวหาว่านำลูกค้าปลอมและเอกสารปลอมมากู้เงิน และยังแจ้งราคาขาย และราคาประเมินสูงเกินความจริงทั้งสิ้น

สิริวัฒน์ได้มีตำแหน่งสำคัญในการดูแลสินเชื่อของธนาคารมาตลอด เมื่อมาลงมือเป็นผู้ทำธุรกิจจัดสรรเสียเอง จึงเป็นเป้านิ่งให้ถูกโจมตีได้โดยง่าย

เขาเองก็ยอมรับว่าเข้าไปเกี่ยว ข้องกับทุกโครงการที่ร้องเรียนเข้ามา แต่เขาปฏิเสธในทุกเรื่องของข้อกล่าวหาอื่นๆ เช่น ในโครงการแม่รำพึงแลนด์ นั้นสิริวัฒน์รับว่า โครงการนี้เขาเป็น ผู้ถือหุ้นและเป็นผู้วางโครงการเมื่อช่วงเริ่มต้น และยื่นขอวงเงินกู้รายย่อยระยะยาวจาก ธอส.จริง แต่ไม่ได้ใช้อิทธิพลใดๆ บังคับให้มีการอนุมัติ ทุก อย่างเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของ ธอส. ส่วนในเรื่องของลูกค้าปลอมนั้นเขาชี้แจงว่ากลุ่มลูกค้าที่ซื้อที่ดิน 73 ราย นั้นเป็นลูกค้าทั่วไป 49 ราย เป็นพนัก งานในฝ่ายประเมิน 24 ราย ซึ่งพนักงานเหล่านี้ใช้เงินกู้สวัสดิการของธนาคาร และ ณ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2541 มีลูกหนี้ที่จำนองกับธนาคารค้างชำระ 16 ราย แบ่งเป็นตั้งแต่กู้ไปผ่อนชำระเพียง 6 งวด 1 ราย นอกจากนั้นเป็น การผ่อนชำระมากกว่า 10 งวด

ในโครงการสวนป่าสักทองที่ ลำปางนั้น ภรรยาเป็นเพียงผู้ร่วมลงทุน ด้วยประมาณ 10% เนื่องจากหวังว่าจะ ได้ปันผลกำไรในส่วนที่ดินสวนสักไว้ สัก 2 แปลงให้บุตร เช่นเดียวกับโครงการคริสตัลสแควร์ สิริวัฒน์เป็นผู้ร่วมลงทุนด้วยก็จริง แต่ไม่ได้เป็นผู้บริหารงาน

นอกจากเรื่องการมีกิจการส่วนตัวแล้ว สิริวัฒน์ก็ยังเจอข้อร้องเรียนทางด้านการบริหารงานอีกหลายเรื่อง เช่น การทุจริตรับบุคคลภายนอกโดยมีการปลอมแปลงคะแนน การบรรจุและ แต่งตั้งบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นพนักงานโดยมิชอบ และไม่เป็นประโยชน์ต่อ ธอส. การประพฤติเลือกปฏิบัติในการจัดสรรโควตานิติกรรมให้โครงการตนเองและพรรคพวก

และเรื่องที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งก็คือ การแต่งตั้งบริษัทเซ็ดจวิคไทย จำกัด ให้เป็นบริษัทตัวแทนต่อรองเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัย ที่มาของเรื่องนี้ก็คือธนาคารอาคารสงเคราะห์ ได้ทำประกันภัยทรัพย์สินของธนาคาร การประกันเงินสด และการประกันภัย อีกหลายประเภทต่อเนื่องกันมานาน กำหนดอายุกรมธรรม์ปีต่อปี ปรากฏว่ากรมธรรม์ของธนาคารส่วนหนึ่งจะหมดอายุในวันที่ 31 ธันวาคม 2541 สิริวัฒน์จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะทบทวนและปรับปรุงรูปแบบกรมธรรม์ใหม่ให้เป็นมาตรฐานสากล จึงได้แต่งตั้งบริษัทดังกล่าวเข้ามาเป็นที่ปรึกษาทางด้านประกันภัย

ปัจจุบันธนาคารได้ทำประกันภัยทรัพย์สินอาคาร 1 และอาคาร 2 ของสำนักงานใหญ่ ซึ่งมีมูลค่ารวมประมาณ 864 ล้านบาท ประกันอัคคีภัยในส่วนของสำนักงานสาขาต่างๆ ประกันภัยเงินสด ประกันภัยการเสี่ยง ภัยทุกชนิดของเครื่องจ่ายเงินอัตโนมัติ ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล และการประกันภัยทรัพย์สินที่ธนาคารซื้อจากการประมูลทรัพย์

ตัวเลขจากการคำนวณเบี้ยประกันภัยทรัพย์สินทั้งหมด และเงินสดที่ธนาคารจะต้องจ่ายในปี 2541 กรณีไม่เปลี่ยนรูปแบบกรมธรรม์ทำกันตามแบบเดิมๆ จะเป็นจำนวนเงิน ถึง 2,748,342 บาท แต่เมื่อมีบริษัท ที่ปรึกษาเข้ามาทำหน้าที่ตัวแทนแล้ว ปรากฏยอดการจ่ายเบี้ยประกันที่ธนาคารต้องจ่ายจริงเพียง 1,754,259 บาท เท่านั้น จึงเท่ากับธนาคารได้ลดค่าใช้จ่ายไปถึง 994,083 บาท

ดังนั้นข้อร้องเรียนที่มีขึ้นกล่าวหาว่าบริษัทเซ็ดจวิคดำเนินการมีส่วนได้ส่วนเสียหรือผลประโยชน์จากเบี้ยประกันนั้น สิริวัฒน์ได้ยืนยันว่าธนาคารอาคารสงเคราะห์เป็นผู้ที่ได้ไม่ใช่บริษัทเซ็ดจวิคได้ ซึ่งถ้ามองกันมุมนี้มุมเดียวต้องยอมรับว่าเขาได้พิทักษ์ ผลประโยชน์ให้กับ ธอส.จริงๆ เสียด้วย โดยเซ็ดจวิคนั้นก็อาจจะได้ค่าคอมมิชชั่นในฐานะบริษัทตัวแทนไปตามกฎหมายเพียงบางส่วนจากบริษัทประกัน ภัยเท่านั้น

แต่ลึกๆ ลงไปมันมีอะไรที่ซับซ้อนกว่านั้น เพราะนอกจากบริษัทนี้เข้ามาเป็นที่ปรึกษาในการประกันทรัพย์ สินของธนาคาร งานชิ้นต่อไปที่เป็นเป้าหมายสำคัญ ก็คือการเข้าไปเป็น ที่ปรึกษาทางด้านประกันภัยในส่วนของ ลูกค้ารายย่อยของธนาคารด้วย ซึ่งที่ผ่านมาลูกค้าที่กู้เงินเพื่อที่อยู่อาศัยทุกรายจะต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยผ่านทาง ธอส. ทุกปี และก่อนหน้านี้ธนาคารจะส่งงานไปยังบริษัทประกันภัยต่างๆ เลย โดยไม่ผ่านบริษัทตัวแทน

บริษัทประกันภัยทั้งหมดที่รับงานจาก ธอส. ปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 21 บริษัทแต่ละบริษัทจะได้รับค่าเบี้ยประกันภัยจาก ธอส. เฉลี่ยแล้วเดือนละประมาณ 500,000 บาท รวมทุกบริษัทประมาณ 10.5 ล้านบาทต่อเดือน บริษัทเซ็ดจวิคจะได้ค่าคอมมิชชั่นจากส่วนนี้ตามกฎหมายประมาณ 23% หรือประมาณเดือนละ 2.5 ล้านบาท หรือปีละ 30 ล้านบาท เม็ดเงินจำนวนนี้ยังไม่รวมกับเงินที่ได้จากค่าคอมมิช- ชั่นในการเป็นที่ปรึกษาในส่วนของการประกันทรัพย์สินธนาคาร

แต่ไม่ทันที่บริษัทนี้จะเริ่มฟันงานชิ้นที่ 2 ตามที่หวัง จุดสุดยอดของ เรื่องนี้ก็ถูกเปิดเผยออกมาเสียก่อนว่าผู้บริหารในบริษัทเซ็ดจวิคนี้มี กิตติ พัฒนพงศ์พิบูลย์ รองผู้ว่าการธนาคาร แห่งประเทศไทยคนหนึ่งซึ่งเคยเป็นเจ้านายเก่าของสิริวัฒน์ สมัยนั่งเก้าอี้เป็นกรรมการผู้จัดการ ธอส. รวมอยู่ ด้วย นอกจากนั้นก็ยังมี สมนวล เลาห- ประสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการบริษัทไทย ประเมินราคา ผู้รับงานประเมินราคาจาก ธอส. มานาน และผู้บริหารจากกลุ่มบริษัทไพบูลย์ประกันภัย ซึ่งเมื่อกลุ่มผู้บริหารนี้ล้วนแล้วแต่เป็นผู้ใกล้ชิด สิริวัฒน์ก็ถูกสงสัยทันทีเหมือนกันว่ามีส่วนได้ส่วนเสียร่วมกัน ถึงแม้เขาจะออกมาปฏิเสธแล้วว่าไม่รู้เรื่องว่ามีใครเป็นกรรมการอยู่ด้วยก็ตาม

ผู้บริหารบริษัทประกันภัยรายหนึ่งกล่าวกับ "ผู้จัดการรายเดือน" ว่าทางธนาคารเคยมีการพูดคุยว่าต่อไปจะ ส่งงานให้กับบริษัทประกันภัยโดยผ่านทางเซ็ดจวิคจริง แต่ต่อมาหลังจาก มีการขุดคุ้ยมาว่าเซ็ดจวิคเป็นบริษัท ที่มีใครเป็นกรรมการบ้าง เรื่องนี้ก็เลยเงียบหายไป

จริงๆ แล้ว ถึงจะไม่มีบริษัทตัว กลาง ตามประเพณีที่ผ่านมา บริษัทประกันภัยที่เข้ามารับงานก็มีการจ่ายค่าคอมมิชชั่นให้เจ้าหน้าที่กันตามปกติอยู่แล้ว แต่เมื่อมีการแบ่งมีการจัดสรร อย่างลงตัว ทุกคนมีส่วนได้กับเงิน ตรง นี้มันก็ไม่มีปัญหา แต่คราวนี้เมื่อกลาย เป็นปฏิบัติการกินรวบ ไม่ยอมกินแบ่ง โดยตั้งบริษัทตัวแทนขึ้นมาเพื่อรับเงินไปทั้งหมด เรื่องมันก็เลยอื้อฉาวขึ้น

เรื่องของธุรกิจประกันภัยกับ ธอส. ยังไม่จบ ทุกวันนี้ในขณะที่เบี้ยประกันภัยของทุกบริษัทตกลงอย่างฮวบฮาบ การประกันการก่อสร้างโครง การใหม่ๆ ทางด้านอาคารที่อยู่อาศัยแทบ จะไม่เกิดขึ้น แต่ ธอส.ยังเป็นแหล่งเงิน สำคัญที่ยังปล่อยกู้ลูกค้ารายย่อยอยู่เป็นปกติ และเป็นสถาบันการเงินที่ไม่มีบริษัทประกันภัยในเครือ บริษัทประกันภัยทั้งหมดที่มีอยู่ 60 บริษัท จึง ต้องพยายามวิ่งเต้นทุกวิถีทางเพื่อจะเข้าไปรับงานของ ธอส. ให้ได้ ในขณะเดียวกันกับที่บริษัทประกันภัยต้องการรับงาน สิริวัฒน์เองก็ต้องการทำยอดเงินฝาก เงื่อนไขหนึ่งที่ถูกกำหนดขึ้นหลังจากที่เขาเข้ามารับตำแหน่งก็คือบริษัทใดที่จะเข้ามารับงาน จะต้องเปิดบัญชีเงินฝากประมาณ 50-100 ล้านบาท

ว่ากันว่าเป็นธรรมเนียมของบริษัทประกันภัยว่านอกจากเงินฝากจำนวนดังกล่าวแล้ว ก็จะมีการจ่ายใต้โต๊ะกันอีกจำนวนหนึ่ง อาจจะเป็นสิ่งของหรือเงินสด ในปีที่แล้วมีบริษัทประกันภัยบางบริษัทยอมทุ่มสุดตัวพาเจ้าหน้าที่ของ ธอส. บางรายไปทัวร์ ยุโรปด้วยซ้ำไป แน่นอนเป็นการลงทุน เพื่อเป็นการกรุยทางสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีไว้ ซึ่งจะส่งผลให้จำนวนงานที่ส่งเข้าบริษัทนั้นๆ มากขึ้นตามไปด้วยในระยะยาว

นอกจากประเด็นข้อร้องเรียนดังกล่าวที่พุ่งเป้าไปยังสิริวัฒน์โดยตรงแล้ว สิ่งที่ได้เกิดขึ้นในองค์กรแห่งนี้โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่สถาบันการเงิน ขาดสภาพคล่อง เป็นที่รู้กันอยู่ว่าในห้วงเวลานั้นถนนทุกสายได้พุ่งตรงมาพึ่งที่นี่ ไม่ว่าจะเป็นลูกค้ารายย่อย และ ลูกค้าโครงการ การจ่ายค่าลัดคิว และ การจ่ายค่าธรรมเนียมในการวิ่งเต้นในการขออนุมัติสินเชื่อก็เป็นเรื่องที่ธอส. เองปฏิเสธไม่ได้ว่าไม่ได้เกิดขึ้น

"ก็ยังดีที่ช่วงนี้การเงินเริ่มคล่อง ขึ้น แบงก์ทั่วไปปล่อยกู้มากขึ้น ไม่อย่างนั้นแล้ว เม็ดเงินที่จะต้องจ่ายให้ธอส. จะยิ่งเป็นก้อนโตเพิ่มขึ้นๆ" ผู้ประกอบการรายหนึ่งให้ความเห็น

รวมทั้งเรื่องของบัญชีผี และเอก สารปลอมที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่ง ผีเหล่านี้อาจจะเป็นประชาชนทั่วไปที่ไม่มีรายได้ แต่มาขอยื่นกู้ โดยปลอม แปลงเอกสารทุกอย่าง และเจ้าของโครงการที่ยังขายไม่ได้ แต่สร้างลูกค้าปลอมขึ้นมา

"เท่าที่ตรวจพบมีบางหมู่บ้านจ้างวินมอเตอร์ไซค์ทั้งวินเลยมาเป็นลูกค้าผี" สิริวัฒน์ เคยกล่าวกับผู้ใกล้ชิด

การแสงหาผลประโยชน์ดังกล่าว ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่สิริวัฒน์พยายามเข้ามาแก้ไข เช่นเรื่องดึงอำนาจ การอนุมัติสินเชื่อของผู้จัดการสาขาเข้ามาสู่ส่วนกลาง ใช้คอมพิวเตอร์บันทึกคิวการโอน เพื่อไม่ให้เกิดการลัดคิวในการโอน รวมทั้งเพิ่มมาตรการในการตรวจสอบหลักฐานในการขอกู้มากขึ้น

แต่ในปัญหาส่วนตัวของตนเองนั้น สิริวัฒน์ คงต้องรอเวลาพิสูจน์ตนเอง !!

ในปี 2542 จึงเป็นปีที่หนักอีกปีหนึ่งของสิริวัฒน์ นอกจากปัญหาของเรื่องร้องเรียนต่างๆ ยังรุมเร้า กดดันอยู่รอบตัว ปัญหาหลักในการบริหารงานก็เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเผชิญ โดยเฉพาะในเรื่องของการเพิ่มทุนขึ้น เป็น 3 หมื่นล้านบาท จากปัจจุบันที่มี อยู่เพียง 1.1 หมื่นล้านบาทนั้น เพื่อจะ ได้ใช้เป็นฐานในการปล่อยสินเชื่อให้มากขึ้น โดยตั้งเป้าการปล่อยสินเชื่อใน ปี 2542 ไว้ จำนวน 5-5.5 หมื่นล้าน บาท ในขณะที่มีปัญหาของการขาดทุน สะสมประมาณ 8 พันล้านบาท มี NPL ประมาณ 14% ก็ต้องเร่งหากลยุทธ์ใน การแก้ไขอย่างเร่งด่วน

สำหรับในปี 2541 ตัวเลขการปล่อยสินเชื่อเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2541 ปล่อยไปแล้ว 83,000 ราย เป็นยอดเงิน 45,342 ล้านบาท นับว่าต่ำกว่าเป้าที่วางไว้ประมาณ 8 พันล้านบาทอยู่อีกมาก

ว่าแต่ว่าเขายังจะมีโอกาสได้บริหารงานที่องค์กรแห่งนี้อยู่อีกหรือ ไม่ เป็นเรื่องที่ต้องติดตาม !!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us