มีนาคม 2538 TPI เข้าจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์ไทย ครั้นต้นปี 2536 เกิดเหตุการณ์
Mexi- can Crisis แต่ในช่วงกลางปีเดียวกันปรากฏว่า TPI ยังแข็งแรงมาก มี
deposit อยู่เป็นจำนวนมาก
นอกจาก ประชัย-ประมวล-ประทีป ที่เป็นคีย์แมนสำคัญในการสร้าง อาณาจักร TPI
ให้ยิ่งใหญ่แล้ว คนที่ตระกูลเลี่ยวไพรัตน์ต้องหวนนึกถึงอีกคนที่มีส่วนสำคัญอย่างมาก
คือ มังกร เกรียงวัฒนา อดีตกรรม การรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส TPI มือการเงินของกลุ่ม
TPI ผู้เชี่ยว ชาญในการหาแหล่งเงินทุนสำคัญเพื่อรองรับโครงการต่างๆ ของประชัย
มังกรเป็นเพื่อนเก่าแก่ประจำตระกูลเลี่ยวไพรัตน์คนหนึ่ง เขาจบจากอัสสัมชัญ
แล้วเข้าเรียนในคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วเดินทางไปศึกษาต่อด้านการบริหารการเงินจากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์
อเมริกา และกลับมาทำงานร่วมกันก่อตั้ง TPI เมื่อปี 2521 และเขาคือคนที่ช่วยประชัยร่างจดหมายกว่า
60 ฉบับในการหาแหล่งเงินกู้จากต่างประเทศ ถือว่าเป็นมือการเงินคู่ทุกข์คู่ยากและฝีมือดีที่สุดในขณะนั้นที่ประชัยให้ความไว้วางใจมากที่สุด
20 ปีของมังกรในอาณาจักร TPI หยุดลงอย่างกะทันหันเมื่อประกาศลาออกด้วยเหตุผลปัญหาสุขภาพ
จากนั้นเขาก็เดินทางไปพักฟื้นที่อเมริกาอยู่พักใหญ่ก่อนที่จะกลับมาใช้ชีวิตกับครอบครัวอย่างมีความสุข
ปัจจุบันมังกรเข้ามาดูแลธุรกิจของตัวเองซึ่งเป็นธุรกิจนำเข้าแคลเซียมคาร์บอเนต
ที่ใช้เป็นวัตถุดิบชนิดหนึ่งในอุตสาหกรรมกระดาษ ยางและพลาสติก รวมทั้งสร้างโรงงานผลิตสารเหล่านี้ด้วย
ก่อนการลาออกของมังกรในครั้งนั้นเกิดเหตุการณ์ที่ TPIPL ซึ่ง TPI ถือหุ้นอยู่
49% คือ บริษัทขาดทุนในการลงทุนตราสารอนุพันธ์ที่ TPIPL ซื้อบริการของ UBS
ในสิงคโปร์ จนทำให้เกิดการฟ้องร้องกัน ในที่สุดก็สามารถเจรจาตกลงกันได้ ซึ่งมังกรก็ได้รับรู้เกี่ยวกับการตัดสินใจลงทุนด้วย
ขณะที่มือการเงินของ TPIPL ในช่วงนั้น คือ อนุชา เหล่าขวัญสถิตย์ แต่ปัจจุบันได้ลดบทบาทลงเป็นเพียงที่ปรึกษาทางการเงิน
TPIPL จึงมีเสียงลือเสียงเล่าอ้างถึงเหตุผลการลาออกของมังกรว่าไม่ใช่ปัญหาสุขภาพ
มังกรร่วมงานกับกลุ่ม TPI เขานับถือประชัยมากและเรียกว่า "ตั้วเฮีย"
ซึ่งประชัยเองก็คงจะเสียดายผู้มีฝีมืออย่างเขาอยู่มาก เพราะเขาได้ดูแลด้านการเงินให้ประชัยมาแต่ต้น
เป็นผู้ที่ไปเจรจากู้เงินนอกให้กับประชัยตั้งแต่แรก และเจ้าหนี้เก่าแก่ของกลุ่มนี้ย่อมรู้จักเขาดี
เดือนสิงหาคมปี 2540 ประชัยขอให้มังกรกลับไปร่วมงานกับ TPI อีกครั้ง แต่เขาได้เข้าไปทำธุรกิจกับครอบครัวแล้ว
และภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในปัจจุบันทำให้เขาวางมือจากตรงนี้ได้ยาก อย่างไรก็ดี
เขาก็ได้แสดงความเห็นในการแก้ปัญหาต่างๆ ของกลุ่ม TPI อยู่ไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการประกาศพักชำระดอกเบี้ย
การเลือกที่ปรึกษา Chase Manhattan และการให้แยกเจรจากับเจ้าหนี้ TPIPL ต่างหาก
ไม่รวมกับ TPI เป็นต้น
แน่นอนว่าผู้มีฝีมืออย่างมังกร ใครๆ ก็ย่อมระลึกถึง แต่ด้วยเหตุผลส่วนตัว
มังกรกับกลุ่ม TPI จึงเหลือแต่ภาพความทรงจำที่ดี
อย่างไรก็ตาม ประชัยก็ได้มือบริหารการเงินที่เจ๋งและมีประสบ การณ์ช่ำชองที่สุดเข้ามาช่วยเหลือให้กลุ่ม
TPI รอดพ้นจากสถานการณ์ปัจจุบันนี้ได้ นั่นคือ วชิรพันธุ์ พรหมประเสริฐ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่กลุ่ม
TPI เขาจบปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์เครื่องกลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วไปศึกษาต่อด้านวิศวกรรมการเงิน
ที่เบอร์กเลย์ อเมริกา นอกจากนี้ยังศึกษาต่อในด้านต่างๆ เช่น การบริหารความเสี่ยงด้านการเงิน
การบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน อนุพันธ์ทางการเงิน
ในอดีตวชิรพันธุ์ เคยทำงานที่สแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด สาขาประเทศไทย ในตำแหน่งผู้จัดการอาวุโส
จากนั้นเข้ามารับตำแหน่งผู้อำนวย การฝ่ายบริหารเงิน เอบีเอ็น แอมโร แบงก์
ประจำประเทศไทย และตำแหน่งสุดท้ายก่อนที่จะเข้ามาทำงานกับกลุ่ม TPI คือ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่
ฝ่ายบริหารเงิน บงล.ศรีมิตร (CMIC) หน้าที่สำคัญและหนักอึ้งของวชิรพันธุ์
ในกลุ่ม TPI คือ การปรับโครงสร้างหนี้มูลค่า 3.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ จำนวนเจ้าหนี้
148 ราย ให้ประสบความสำเร็จ และ ถึงวันนี้ดูเหมือนว่า วชิรพันธุ์ ได้พิสูจน์ให้ประชัยเห็นแล้วว่าเขาเลือกคน
ไม่ผิด