Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2542
รีบ ๆ หน่อย บ้านลดราคากำลังจะหมดไป             
 


   
search resources

ไชยยันต์ ชาครกุล
Real Estate




"ผมยังมีไฟอยู่ยังอยากทำโน่น ทำนี่อยู่เลย คิดอะไรใหม่ๆ ไว้เยอะ" ไชยยันต์ ชาครกุล นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กรรมการผู้จัดการกลุ่มลลิลกรุ๊ปกล่าวกับ "ผู้จัดการรายเดือน"

ทั้งๆ ที่ผลพวงของภาวะเศรษฐ กิจครั้งนี้ทำเอาเขาเจ็บตัวไปไม่น้อยเหมือนกัน แต่ไชยยันต์ เชื่อว่าเมื่อไหร่ที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ที่อยู่อาศัย จะเป็นสิ่งแรกๆ ที่คนต้องตัดสินใจซื้อหา และเพราะเขาไม่เชื่อทฤษฎีของ โสภณ พรโชคชัย กรรมการผู้จัดการบริษัทเอเยนซี่ ฟอร์เรียลเอสเตท ที่ทำรายงานสำรวจวิจัยสถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัย และอาคารไร้ที่อยู่อาศัย ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ปี 2533-เมษายน 2541 ฉบับที่ทำให้กับธนาคารอาคารสงเคราะห์เพื่อเป็นเอกสาร ในการสัมมนาเรื่อง ดัชนีชี้วัดตลาดที่อยู่อาศัย

ข้อมูลในครั้งนั้นได้ระบุไว้ว่าจากการสำรวจมีบ้านว่าง 350,442 หน่วย รวมกับมีสินค้าที่ยังสร้างไม่เสร็จ รอขายอีก 264,084 หน่วย ก็เท่ากับมีบ้านที่ยังเหลืออยู่ในตลาดทั้งหมด ประมาณ 6 แสนหน่วย ซึ่งตัวเลขดังกล่าวจะกระทบต่อความต้องการซื้อ และการผลิตบ้านใหม่ออกมาในตลาดอย่างมากทีเดียว

ในจำนวน 350,442 หน่วยนั้น เป็นบ้านที่สร้างเสร็จแล้วพร้อมโอนเพียง 54,953 หน่วย เป็นคอนโดฯ จำนวน 44,128 หน่วย ทาวน์เฮาส์ 6,404 หน่วย และบ้านเดี่ยวเพียง 1,138 หน่วยเท่านั้น ซึ่งในจำนวนนี้ไชยยันต์เชื่อว่า เมื่อมีการขายลดราคา หรืออัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลดลง มันจะหมดไปอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะบ้านเดี่ยวกับทาวน์เฮาส์

ดังนั้นตัวเลขที่เหลือจริงๆ ตามข้อมูลที่บริษัทเอเยนซี่ฯ สำรวจมาก็คือ บ้านที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้างซึ่งมีการก่อสร้างไปแล้วมากกว่า 80% จำนวน 5.9 หมื่นหน่วย ซึ่งตัวเลข ตัวนี้มีความเป็นไปได้อย่างมากในการที่จะออกสู่ตลาดอีกครั้ง สำหรับตัวเลขที่ระบุว่ามีบ้านที่สร้างน้อยกว่า 80% มากถึง 2.5 แสนหน่วยนั้น น่าจะเป็นโครงการที่มีปัญหา สถาบันการเงินไม่ให้เงินสร้างต่อแน่นอน และโครงการก็จะกลายเป็นแลนด์แบงก์ไปในที่สุด

หรืออาจจะรอดออกมาได้ประมาณ 20% คือไม่เกิน 5 หมื่นหน่วย เมื่อรวมกันก็จะประมาณ 1.9 แสนหน่วย ซึ่งในจำนวนนี้มันก็จะมียอดจองอยู่จำนวนหนึ่งแล้ว และในจำนวนนั้นอาจจะมีการทิ้งจองถึง 50% ดังนั้นสต็อกจริงๆ ที่เหลืออยู่มันก็น่าจะมีประมาณ 5-6 หมื่นหน่วยเท่านั้นเอง

"ถ้ายึดตัวเลขบ้านว่าง 5-6 แสนยูนิต ผมว่าผู้ประกอบ การปิดตัวเองไปเลยดีกว่า แต่นี่ไม่ใช่ ผมยังคิดว่าปี 2543 ผมจะเปิดโครงการ ไม่ใช่เป็นการเปิดโครงการใหม่ แต่จะเปิดต่อในเฟสที่เหลือๆ นี่ล่ะ เปิดใหม่ใส่ต้นทุนใหม่ ถ้าเศรษฐกิจกระเตื้องขึ้นเร็ว กลางปีหน้าผมก็จะเริ่มแล้วทีละน้อยๆ ไปก่อน"

ไชยยันต์ย้ำว่าเมื่อตลาดของที่อยู่อาศัยไม่ได้โอเวอร์ ซัปพลาย อย่างตัวเลขที่บริษัทเอเยนซี่ฯ สำรวจ ดังนั้นโอกาสที่จะได้เห็นที่อยู่อาศัยลดราคาถึง 50% นั้นก็คงไปไม่ได้เช่นกัน อาจจะมีอยู่บ้าง ในโครงการที่เจ้าของขายเพื่อหนี การล้มละลาย และร้อนเงินอย่างมากเพื่อเอาไปจ่ายดอกเบี้ย เอาไปจ่ายเงินเดือนลูกน้อง ซึ่งคนที่ทำตอนนี้เหลือเพียงไม่กี่รายแล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจคอนโดมิเนียมที่สามารถขายได้ต่ำกว่า 50% เพราะเป็นธุรกิจที่มีกำไรสูง ในขณะที่บ้านเดี่ยวกำไรไม่ถึง 10% และที่ดินเปล่านั้นหากเอามาสร้างใหม่ต้นทุนการก่อสร้างจะขึ้นไปถึง 12-13% ซึ่งเป็นต้นทุนการ ก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น แล้วในร้อยเปอร์เซ็นต์เป็นค่าก่อสร้าง 35-40% เป็นค่าที่ดินเพียง 25%

ส่วนบ้านที่ถูกยึดของสถาบันการเงินเอง เมื่อถูกยึดแล้วก็ต้องใช้เวลาในการฟ้องร้องถึง 3 ศาล อีกประมาณ 4 ปีจบ ซึ่งคาดว่าในระยะเวลาดังกล่าวคนพวกนี้มีงานทำก็สามารถกลับมาเป็นหนี้ดีแล้ว และปัจจุบันนี้แบงก์ก็ไม่ได้อยากจะยึดบ้านลูกค้าเลย มีหนทางวิธีการประนอมหนี้ให้มากมาย

สำหรับโครงการที่ค้างคาอีกจำนวนหนึ่งซึ่งอยู่ในมือของปรส.หากไม่มีใครประมูลออกไป ก็จะไปอยู่ในมือของ บบส. ซึ่งคงต้องใช้เวลาอีกนานแน่กว่าจะฟื้น และก็ไม่ใช่ว่าบบส.จะเอามาทำทีเดียวทั้งหมด ก็อาจจะมีการเลือก ก็เลือกออกมาเป็นแปลงๆ ที่ดีไปก่อน

ไชยยันต์บอกว่าสมาชิกของสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร ต่างมีความเข้าใจในเรื่องของตัวเลขของบ้านที่ยังเหลือค้างอยู่ในตลาดตรงกัน จึงมีโครงการที่เตรียมอยู่ในมือทั้งสิ้น แน่นอนไม่ใช่ทั้งหมดเพราะมีบางรายที่เรียกได้ว่ายังมีอาการ สาหัสโครงการหลุดเข้าไปอยู่ในบบส. โครงการยังไม่เริ่มก่อสร้างและยังไม่มียอดขายเลย กลุ่มพวกนี้จะใช้เวลาอีกนานในการฟื้นตัว

แต่เจ้าของโครงการอีก 20-25% ที่รอดตัวหรือเจ็บไม่มากมีการลงทุนทางด้านสาธารณูปโภคไว้แล้ว ระยะนี้หยุดขายไปเพื่อภาวะเศรษฐกิจดีขึ้นก็จะฟื้นตัวได้ง่าย ทางสถาบันการเงิน ก็จะปล่อยเม็ดเงินใหม่ได้ง่ายขึ้นเพราะ ทุกอย่างพร้อมอยู่แล้ว ไม่ต้องเอาเงินมาสร้างถนนสร้างคลับเฮาส์หรือระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ใหม่ และ แน่นอนจะเป็นราคาขายที่ไม่มีทางลดต่ำกว่าราคาที่ขายอยู่ในขณะนี้อย่างแน่นอน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us