Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2542
3 ธุรกิจในมือของคนหนุ่มชื่อ "จิรพงษ์ สกุลชาติ"             
 


   
search resources

ศรีสักเทพ
จิรพงษ์ สกุลชาติ




คนหนึ่งคนไม่ควรทำธุรกิจ เพียงธุรกิจเดียว เพราะการทำเพียงธุรกิจเดียวจะมีความเสี่ยงสูง และประสิทธิภาพของงานที่ได้จะต่ำ" เป็นมุมมองของนักธุรกิจหนุ่มวัย 30 ต้นๆ จิรพงษ์ สกุลชาติ ผู้เป็นเจ้า ของธุรกิจที่แตกต่างกันถึง 3 ธุรกิจ หากแต่สามารถเสริมประสานกันได้อย่างลงตัว ภายใต้การบริหารที่แบ่งออกเป็น 2 บริษัท ได้แก่ บริษัท ศรีอริยเทพ จำกัด ตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ วอเตอร์ทรีทเม้นท์ ของโรห์ม แอนด์ ฮาสส์ เคมีคัล (ประ-เทศไทย) จำกัด หรือ ROHM AND HASS CHEMICAL (THAILAND) LTD. ที่ร่วมหุ้นกับเพื่อนๆ และบริษัท ศรีสักเทพ จำกัด ที่ลงทุนร่วมกับหุ้นส่วนชีวิตของเขาเองทำธุรกิจรับเหมางานตกแต่งภายใน, ตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ "เซนจูรี่" เฟอร์ นิเจอร์ระดับหรู แบรนด์ดังจากอเมริกา และตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ CRABTREE & EVELYN โดยทั้ง 2 บริษัทนี้เริ่มต้นพร้อมๆ กันเมื่อประมาณต้นปี"40 ขณะนี้ก็ย่างเข้าปีที่ 2 ของธุรกิจแล้ว

จิรพงษ์จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะวิศวกรรม (เครื่องกล) รั้วจามจุรี และเริ่มต้นชีวิตการทำงานด้านการขายที่บริษัท ดีทแฮล์ม (ประเทศไทย) อยู่ประมาณปีกว่าๆ และย้ายไปเป็นผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์ที่บริษัท เอซีเค เอ็นจิเนียริ่ง อีกประมาณ 3 ปี จึงไปศึกษา ต่อปริญญาโทบริหารธุรกิจที่ชิคาโก จากนั้นก็กลับมาร่วมงานกับบง.เอกธนกิจ ที่ฝ่ายวาณิชธนกิจอยู่ได้ประมาณปีครึ่ง เขาก็อำลาจากเอกธนกิจด้วยเหตุผลที่ว่า "ทนการเมืองไม่ไหว" ช่วงนั้นก็ประมาณปี 2534-2535 ซึ่งเป็นช่วงที่เอกธนกิจกำลังเริ่มต้นเบ่งบานเต็มที่ และหลังจากนั้นไม่ถึง 5 ปีก็ดับสนิท หลังจากที่ออกจากเอกธนกิจ เขาก็มาร่วมงานกับบริษัทข้ามชาติ โรห์ม แอนด์ ฮาสส์ บริษัทเคมีภัณฑ์รายใหญ่ของโลกได้อีกประมาณ 3 ปี ทางบริษัทแม่ที่อเมริกาต้องการให้เขาไปประจำที่อเมริกา แต่เขาไม่อยากไปจึงขอต่อรอง โดยขอเป็นตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทยแทน ซึ่งทางอเมริกาก็ยินยอม จึงเป็นที่มาของบริษัท ศรีอริยเทพ ดังกล่าว ขณะเดียวกันระหว่างที่ออกจากโรห์มแอนด์ฮาสส์และมาก่อตั้งบริษัทศรีอริยเทพร่วมกับเพื่อนๆ เขาก็ได้เปิดร้านเฟอร์นิเจอร์ขึ้นที่สยามดิสคอฟเวอรี่เซ็นเตอร์ โดยก่อนหน้านั้นเขาได้ทำธุรกิจรับเหมาตกแต่งภายในเป็นอาชีพเสริมมาตลอด และร้านเฟอร์นิเจอร์ถูกเปิดขึ้นมาเพื่อเป็นการนำทางให้แก่ธุรกิจตกแต่งภายในของเขา

"เราเป็นเพียงผู้รับเหมารายเล็กๆ ที่ไม่มีใครรู้จักแต่ ฝีมือเราดี และหากจะเปิดเป็นร้านรับทำบิลท์อินอย่างเดียวก็คงไม่มีใครสนใจ เราจึงต้องดึงเฟอร์นิเจอร์แบรนด์ดังเกรด A มาเป็นสินค้านำร่องให้แก่เรา เวลาเราไปคุยกับนักออกแบบตกแต่งภายใน เราก็อาศัยเฟอร์นิเจอร์เป็นตัวนำเข้าไป เขาก็เปิดกว้างที่จะคุยกับเรามากขึ้น พอคุยกันถูกคอเราก็เสนองานตกแต่งภายในของเราเข้าไป" นี่คือกลยุทธ์การทำธุรกิจของชายหนุ่มคนนี้

ตลอดระยะเวลา 1 ปีเต็ม จิรพงษ์เฝ้าดูผลประกอบการของธุรกิจอย่างใกล้ชิด และแม้ว่ารายได้ของ 2 บริษัทนี้จะแยกกันโดยเด็ดขาด แต่ก็มีสิ่งที่เสริมกันอยู่ในเชิงการทำงาน คือ ในขณะที่บริษัท ศรีสักเทพ ซึ่งรับเหมางานตกแต่งภายในได้รับงานมา 1 งาน เขาก็จะนำเสนองานการ จัดระบบชลประทานสำหรับสวนภายในบ้านด้วย ซึ่งจะเป็นการสร้างรายได้ให้แก่ศรีอริยเทพอีกทางหนึ่ง และเขากำลังจะขยายธุรกิจของศรีอริยเทพเข้าสู่การรับเหมาทำระบบ ชลประทานของพืชไร่ให้แก่เกษตรกรที่สนใจด้วย เนื่องจากเขาคิดว่าในยุคที่เศรษฐกิจซบเซานี้ อุตสาหกรรมต่างๆ ก็มีการชะลอการขยายตัวลงไปมาก ในขณะที่ภาคการเกษตรได้รับความสนใจมากขึ้น เขากับเพื่อนๆ จึงมีแนวคิดที่จะทำโครงการนี้อย่างจริงจังในปีนี้

"ผมมีความฝันที่จะทำไร่เป็นของตนเอง แต่ผมยังมีความรู้ในเรื่องนี้น้อยมาก การที่บริษัทของเราก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมการเกษตรก็จะเป็นการเริ่มต้นเรียนรู้งานนี้ได้อย่างดีที่สุด" เขากล่าว

ขณะเดียวกัน งานเฟอร์นิเจอร์และตกแต่งภายในของศรีสักเทพเป็นงานที่มีความเสี่ยงสูง บางเดือนบริษัทมีรายได้เข้ามามาก บางเดือนก็มีเข้ามาน้อยหรือไม่มีเลยทำ ให้พนักงานของเขากังวลกับสถานภาพของตนเอง เกรงว่าจะถูกลดเงินเดือนหรือลอยแพได้ทุกเมื่อ จึงเป็นหน้าที่ของเขาที่จะหาหนทางสร้างความแข็งแกร่งและมั่นคงทางธุรกิจให้มากกว่าที่เป็นอยู่ เขาคิดว่า ศรีสักเทพน่าจะมีอีกสักธุรกิจ ที่มีรายได้ที่แน่นอนสม่ำเสมอทุกเดือน และธุรกิจใหม่ที่จะทำนั้นจะต้องเป็นส่วนเสริมและเอื้อซึ่งกันและกันกับธุรกิจที่มีอยู่ได้ด้วย และสาเหตุนี้เองที่เป็นที่มาของเคาน์เตอร์ CRABTREE & EVELYN ที่ชั้น 5 ศูนย์การค้า ดิ เอ็มโพเรี่ยม และร้าน CRABTREE & EVELYN เต็มรูปแบบที่ชั้น 2 สยามดิสคอฟเวอรี่เซ็นเตอร์ เป็นสาขาแรกในประเทศไทย

"CRABTREE & EVELYN" เริ่มก่อตั้งในปี 1970 โดยเปิดเป็นร้านขายสบู่ที่มาจากทั่วทุกมุมโลก ในนามของ THE SOAP BOX ณ เมือง CAMBRIDGE มลรัฐ MASSACHUSETTS ซึ่งประสบผลสำเร็จอย่างดีเยี่ยม ส่งผลให้ CRABTREE & EVELYN กลายเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงหลากหลายประเภท ได้แก่ TOILETTRIES ,FRAGRANCES และ FINE FOOD ชื่อดัง แห่งอังกฤษ และนับเป็นความภูมิใจสูงสุดของ CRABTREE & EVELYN ที่ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยจากเจ้าชายแห่งเวลส์ ให้เป็นผู้จัดหา TOILETTRIES ในส่วนพระองค์ ทำให้ CRABTREE & EVELYN ได้รับตรา ROYAL WARRANT จากราชวงศ์อังกฤษ เพื่อเป็นเกียรติประวัติในฐานะที่เป็นผู้ผลิตและจำหน่าย TOILETTRIES ที่มีคุณภาพในประเทศอังกฤษ โดยตรานี้ได้ถูกตรึงอยู่เหนือทางเข้าของร้าน CRABTREE & EVELYN บนถนน KENSINGTON CHURCH ในลอนดอน

ความโดดเด่นของ CRAB-TREE & EVELYN อยู่ที่บรรจุภัณฑ์ที่สวยงามสะดุดตาที่มีการคิดค้นและพัฒนาในลอนดอน ส่วนขบวนการผลิตนั้นทำในหลายประเทศ ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ และอเมริกา โดยผลิตภัณฑ์ส่วนนี้จะมีส่วนผสมและกรรมวิธีการผลิตแบบสูตรโบราณดั้งเดิม ซึ่งถือเป็นเสน่ห์และเอกลักษณ์ของ CRABTREE & EVELYN และปัจจุบัน ร้าน CRABTREE & EVELYN มีสาขามากกว่า 270 แห่งใน 37 ประเทศ ทั่วโลก

จากชื่อเสียงที่มีมานานและคุณภาพที่เป็นเลิศของผลิตภัณฑ์นี้ จิรพงษ์ในฐานะที่เป็นลูกค้าคนหนึ่งของ CRABTREE & EVELYN จึงคิดที่จะเป็นตัวแทนจำหน่าย CRABTREE & EVELYN ในประเทศไทย และเขาคิดว่ารายได้จากธุรกิจนี้จะมาช่วยเสริมรายได้ จากการขายเฟอร์นิเจอร์และงานตกแต่งภายในได้อีกทางหนึ่ง ยิ่งกว่านั้น เป็นการสร้างงานให้แก่พนักงานที่มีอยู่ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และเหตุผลสำคัญที่เขากล้าเปิดร้านนี้ในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังซบเซานี้เนื่องจาก ค่าใช้จ่ายในการเปิดร้านของเขาต่ำมาก จากการใช้ธุรกิจและวัตถุดิบที่มีอยู่ในเครือให้เป็นประโยชน์คือ บริษัท ศรีสักเทพเป็นผู้ตกแต่งภายในของร้านเองทั้งหมด โดยไม่ต้องเสียค่าจ้างให้ผู้อื่น

"หลายคนอาจจะคิดว่าไม่น่าเปิดในช่วงนี้ แต่ผมกลับคิดว่า ช่วงนี้เป็นเวลาในการทำดีลที่ค่อนข้างดี เพราะการต่อรองด้านค่าเช่าก็จะดีกว่าในช่วงเศรษฐกิจดี และที่สำคัญเราทำเฟอร์นิเจอร์เอง ทำให้ค่าใช้จ่าย ลดลงมาก ทำให้เกิดความคล่องตัวในการทำธุรกิจ" เป็นความเห็นของจิรพงษ์ และในภาวะเช่นนี้หากเป็นคนอื่นทำอาจจะมีต้นทุนในการตกแต่งร้านประมาณสาขาละ 1-1.5 ล้านบาท เป็นหลักล้าน แต่ที่เขาทำเองกลับมีต้นทุนตกแต่งร้านเพียงหลักแสนเท่านั้น

เป็นที่สังเกตว่า ธุรกิจแต่ละประเภทของจิรพงษ์จะมีกลุ่มลูกค้าระดับ B ขึ้นไปเป็นกลุ่มเป้าหมาย ทำให้เขาไม่ต้องกังวลกับราคามากนัก เพราะลูกค้ากลุ่มนี้ต้องการคุณภาพและความพึงพอใจเป็นสำคัญ ส่วนเรื่องราคาจึงไม่ใช่ปัจจัยสำคัญในการ ตัดสินใจ

"ถ้ามองในแง่กลยุทธ์ทางการตลาด สินค้าที่เป็น NICHE MARKET จะทำการตลาดง่ายกว่า MASS MARKET เพราะ MASS MARKET จะมีการแข่งขันสูง เนื่องจากมีวอลุ่มใหญ่และมีความยืดหยุ่นด้านราคามากกว่า ในขณะที่ NICHE MARKET จะไม่สนใจเรื่องราคา กลุ่มลูกค้าเหล่านี้จะมีความพร้อมในทุกด้าน แต่ตลาดนี้ก็ไม่ใช่ตลาดใหญ่ ซึ่งผมคิดว่าเราคงเปิดสาขาของ CRABTREE & EVELYN สูงสุดประมาณ 8-9 สาขาทั่วประเทศก็เพียงพอแล้ว" จิรพงษ์กล่าว

หัวใจการทำธุรกิจของจิรพงษ์คือ "ธุรกิจจะใหญ่หรือเล็กไม่สำคัญ สำคัญที่จะต้องมีความมั่นคงในทุกสภาวะ" ทุกย่างก้าวของการทำธุรกิจของเขาจึงต้องมีการวางแผนและดำเนินงานอย่างรอบคอบ และการมีแนวทางการดำเนิน ธุรกิจที่มุ่งมั่นเช่นนี้ ทำให้เขากล้าที่จะกล่าวว่า "พนักงานของผมทุกคนจะจนจะรวยไม่สำคัญ สำคัญที่แต่ละคนพอกินพอใช้และสามารถวางแผนการดำเนินชีวิตได้อย่างไม่มีวันสะดุด" ทั้งๆ ที่เขาเริ่มต้นธุรกิจได้ไม่นาน ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจที่ไม่มีใครคาดคิด และอาจเป็นความโชคดีของเขาที่ยังไม่ทันได้ขยายธุรกิจมากมายใหญ่โต แตกต่างจากอีกหลายบริษัทที่ดำเนินธุรกิจมานานหลายปี และกำลังประสบปัญหาจากวิกฤติเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ทำให้ต้องลอยแพพนักงานจำนวนมาก ผลพวงจากการเติบโตของธุรกิจแบบกลวงๆ

"การขยายธุรกิจของผม ถ้าไม่มี SYNERGY ผมจะไม่ทำ ผมจะดูว่าธุรกิจที่ผมจะขยายออกมาสามารถใช้ RESOURSE ร่วมกับธุรกิจอื่นที่มีอยู่ได้ ผมถึงจะทำ อย่าง CRABTREE & EVELYN เป็นธุรกิจค้าปลีกที่มีค่าใช้จ่ายสูงมากในด้านการตกแต่งหน้าร้าน เพราะต้องมี OUTLET เยอะมาก หากเปิด 10 ร้าน ร้านละ 1 ล้าน ก็ปาเข้าไป 10 ล้านแล้ว ซึ่งตรงนี้ถ้าผมไม่ได้ทำเฟอร์นิเจอร์เองผมก็คงไม่เปิดหรอก อีกอย่างคือ ทรัพยากรบุคคล ถ้าเราทำเพียงธุรกิจเดียว และธุรกิจนั้นคำนวณออกมาแล้วว่าใช้คนเพียง 1.5 คนก็ครอบคลุมงานทั้งหมด แต่ในความเป็นจริงเราต้องจ้างคน 2 คน ซึ่งหากเราเพิ่มมาอีกธุรกิจหนึ่งให้ 2 คนดูแลหรืออาจจะจ้างคนเพิ่มอีก 1 คน เป็น 3 คน เพื่อดูแล 2 ธุรกิจ อย่างนี้จะถือว่ามีประสิทธิภาพมากกว่า" จิรพงษ์อธิบาย และกลยุทธ์การทำธุรกิจนี้เขาก็มิได้สงวนไว้ใช้เพียงคนเดียวเท่านั้น หากธุรกิจอื่นที่มีลักษณะรายได้เช่นเดียวกันนี้ก็สามารถนำไปใช้ได้เช่นกัน แต่ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้ความละเอียดรอบคอบและไม่ทำอะไรที่เกินตัว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us