Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2542
เมื่ออมเรศ ยอมรับ "ผมพลาดเอง" งานของปรส.ก็ล้มเหลว             
 


   
search resources

องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน - ปรส.
อมเรศ ศิลาอ่อน




อมเรศ ศิลาอ่อน มักมีท่าที และคำพูดที่แข็งกร้าวแสดงถึงความ เชื่อมั่นในการกระทำของตนเองมากที่สุดมาโดยตลอด นับตั้งแต่การเข้ามาทำงานเพื่อชาติด้วยการรับตำแหน่ง ประธานกรรมการ องค์การ เพื่อการปฎิรูประบบสถาบันการเงินหรือปรส. ซึ่งเป็นองค์กรอิสระเพื่อดำเนินการขายสินทรัพย์ของบริษัทเงินทุนและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ทั้ง 56 แห่งที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ นำเงินที่ได้ไปใช้หนี้ให้เจ้าหนี้ของกิจการเหล่านี้

แต่ในวันที่รู้ผลการประมูลเบื้องต้นการจำหน่ายสินเชื่อธุรกิจและการจำหน่ายสินทรัพย์ โดยผ่านกระบวนการเสนอราคาเป็นกรณีพิเศษมูลค่า 3.71 แสนล้านบาท เมื่อกลางเดือนธันวาคม 2541 นั้น อมเรศ ลดท่าทีดังกล่าวลง สื่อมวลชนหลายฉบับเขียนว่า อมเรศแถลงข่าวน้ำตาคลอ

การประมูลในครั้งนั้นนับว่าเป็นการประมูลครั้งใหญ่ที่สุดของปรส. อมเรศเองหวังว่าหากราคาการประมูลออกมาสูงก็เท่ากับว่าเขาทำหน้าที่ครั้งนี้ได้สมบูรณ์แบบที่สุด แต่เมื่อผลปรากฏออกมาว่าส่วนใหญ่ราคาที่เสนอมาต่ำกว่าราคากลาง ที่ปรส.กำหนดเอาไว้มากทำให้อนุมัติการขายได้แค่ 9 กลุ่มจากทั้งหมด 49 กลุ่ม ได้เงินแค่ 1.1 หมื่นล้านบาทเท่านั้น นั่นคือสิ่งแรกที่พลิกล็อกและสร้างความผิดหวังให้กับอมเรศ อย่างมาก

ความผิดหวังในเรื่องที่ 2 ก็คือใน 4 บริษัทที่ชนะการ ประมูลในครั้งนี้ได้แก่ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เกียรตินาคิน บริษัทเงินทุนธนชาติ บริษัทพระนครยนตรการ เป็นบริษัทคนไทย 3 บริษัท และเป็นบริษัทต่างชาติ 1 บริษัทคือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์โกลบอลไทย

ความหวังที่ว่าจะได้ดึงเงินนอกเข้ามาก็ต้องสลายไปอีก !

ส่วนกลุ่มนักลงทุนนอกรายใหญ่ที่ยื่นการประมูลเข้ามา เช่น เดอะ พาวิลเลียน ฟันด์ แอล.แอล.ซี., บริษัทมอร์แกน สแตนเลย์ เรียลเอสเตท ฟันด์, บริษัท จี.อี.แคปปิตอล ล้วนแล้วแต่เสนอราคามาต่ำเกินไปทั้งสิ้น

แน่นอนอมเรศนอกจากจะรู้สึกผิดหวังแล้วเขาต้องเสียหน้าอย่างเป็นที่สุด และเป็นครั้งแรกที่เขายอมรับกับสื่อมวลชนว่าผลของการประมูลในครั้งนี้ประสบความล้มเหลวจริงๆ และย้ำว่าเป็นความผิดของเขาเพียงคนเดียว

ว่ากันว่าก่อนที่จะออกแถลงข่าวได้วันนั้นอมเรศมีความกดดันและเครียดอย่างมาก เพราะหลังจากปิดรับซองเมื่อเวลาบ่ายโมงของวันที่ 15 ธันวาคม ซึ่งมีผู้ยื่นประมูลเข้ามา 12 บริษัท เขาใช้เวลาทั้งคืนในการพิจารณาท่ามกลาง การรอคอยฟังผลอย่างใจจดจ่อของผู้ยื่นประมูล บรรดาลูกหนี้ และสื่อมวลชนทั้งไทยและต่างชาติเกือบ 100 ชีวิตที่มารอฟังผลตั้งแต่ 9 โมงเช้าของวันที่ 16 ธันวาคม โดยมีกำหนด การแถลงข่าวเวลาบ่าย 3 โมงตรง จนถึงเวลา 5 โมงเย็นการประชุมระหว่างอมเรศและกรรมการปรส. ก็ยังไม่เรียบร้อย

แน่นอนตัวเลขที่ยื่นเข้ามาของต่างชาติซึ่งได้กดราคาลงต่ำสุดๆ นั้น ทำให้เขาต้องคิดหนัก เพราะก่อนหน้านี้ก็มีกระแสข่าวหนาหูว่าปรส.ขาดวิธีการประมูลที่ดี เปิดโอกาสให้ชาวต่างชาติเข้ามาฮั้วกันกับนักลงทุนชาวไทย โดยกลุ่มทุนเหล่านี้จะทำหน้าที่เป็นแค่เพียงนายหน้าประมูลสินทรัพย์ให้ลูกหนี้เดิมของ 56 ไฟแนนซ์ เพื่อหวังกำไรจากค่าหัวคิวเท่านั้น โดยจับมือลูกหนี้เซ็นสัญญาเพื่อซื้อหนี้ตัวเองกลับคืนภายหลัง ถ้าอมเรศยอมอนุมัติให้ราคาที่ต่ำเกินไปพวกนั้น หลุดออกมา เขาก็ต้องเป็นเป้าถูกโจมตีไม่รู้จบอีกแน่นอนเช่นกัน

เวลาผ่านไปจนถึง 5 โมงเย็น ช่างภาพและนักข่าวหลายคนเริ่มกระวนกระวายว่าจะส่งข่าวไม่ทัน และอีกเหตุผลหนึ่งก็คือวันนั้นเป็นวันแข่งฟุตบอลเอเชี่ยนเกมส์ระหว่างทีมชาติไทยกับคูเวต ในที่สุดเจ้าหน้าที่ของปรส.ออกมาบอกว่า อมเรศจะใช้เวลาอีกนานในการพิจารณา ขอเลื่อนการแถลงข่าวไปเป็นวันที่ 17 ธันวาคม 2541 แทน

แต่จากนั้นให้หลังเพียง 20 นาทีอมเรศก็ให้เจ้าหน้า ที่เรียกเพจเจอร์ตามนักข่าวมาร่วมฟังแถลงข่าวทันที

ทางออกของอมเรศก็คือยอมเสียหน้าออกมาประกาศ ว่าขายไปได้เพียงแค่จำนวนดังกล่าว ส่วนที่เหลือบางกลุ่มจะต้องมีการเจรจาต่อรองราคาและปรับวิธีการขาย ใหม่ แน่นอนว่าการเจรจาคงจะสำเร็จ ไปเพียงบางกลุ่มเท่านั้น ในส่วนที่เหลือคงต้องจัดกลุ่มประมูลกันใหม่อีกรอบ ซึ่งคาดกันว่าน่าจะเป็นช่วงไตรมาสแรกของปี 2542 และน่าจะก่อนที่จะมีการประมูล ในลักษณะเดียวกันนี้ในประเทศญี่ปุ่น มาเลเซีย และเกาหลีใต้ ซึ่งคราวนี้บบส. หรือ บริษัทบริหารสินทรัพย์ของสถาบันการเงินมีสิทธิเข้าร่วมประมูลด้วย

รัฐบาลเองก็ต้องจำให้ดีว่า ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2541 ที่ผ่านมานั้น ปรส.ได้เอาอสัง-หาริมทรัพย์ของ 56 ไฟแนนซ์มาประมูลขายเป็นครั้งแรกจำนวน 319 รายการ วันนั้นทำการประมูลไปได้เพียง 197 รายการเท่านั้น ยังเหลืออีก 122 รายการ ซึ่งสินค้าเหล่านั้นกำลังรอการประกาศประมูลรอบ 2 และ 3 ต่อไปเหมือนกัน แน่นอนเวลา ที่ทอดออกไปเนิ่นนานเท่าไหร่คงหาคนซื้อยากขึ้น และราคาก็คงยิ่งต่ำลง เช่นกัน นี่ยังไม่รวมถึงมีทรัพย์สินบางส่วนที่ยังเหลืออยู่ แต่ยังไม่ได้นำออกมาประมูลเลยเมื่อรวมมูลค่ากันแล้วประมาณ 5 แสนล้าน

คราวนี้เมื่ออมเรศยอมรับความผิดพลาด ก็คงต้องรีบทบทวนวิธีการทำงานของปรส.อย่างเร่งด่วน แทนที่ในที่สุดจะโบ้ยงานนี้ไปให้บบส.รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งเท่ากับโยนภาระโครมใหญ่ให้กับประชาชนผู้เสียภาษีนั่นเอง และความหวังของท่านที่ว่าหน้าที่ใกล้จะเสร็จสิ้นอย่างที่ให้สัมภาษณ์บ่อยๆ คงเป็นไปได้ยากเสียแล้ว นอกจากจะน้อยใจชิงลาออกเสียก่อนเองเพราะ ในที่สุดภารกิจของปรส.ที่รับมาครั้งนี้ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us