Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2542
ไทยยูเนี่ยนประกันชีวิต แจ้งเกิดภายใต้ความกดดัน             

 


   
search resources

ไทยยูเนี่ยนประกันชีวิต
Insurance




หลังจากกระทรวงพาณิชย์ได้เปิด เสรีกิจการประกันภัย-ประกัน ชีวิต ในช่วงนั้นผู้ที่ต้องการเข้ามาทำธุรกิจประกันชีวิตต่างแย่งชิงใบอนุญาตกัน ชนิดหัวบันไดของกรมการประกันภัยและกระทรวงพาณิชย์ ไม่เคยแห้ง มาถึงวันนี้บริษัทที่ชนะการประมูลในวันนั้นเริ่มรู้สึกถึงความเจ็บปวด เมื่อธุรกิจประกันชีวิตได้รับผลกระทบโดยตรงมาจากความ ล่มสลายของระบบเศรษฐกิจไทย

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ให้ทัศนะ ธุรกิจประกันชีวิตภายใต้วิกฤติเศรษฐกิจไทยในรอบครึ่งปีแรกของปี 2541 ว่าได้ประสบภาวะถดถอยต่อเนื่องมาจากปี 2540 ไม่ว่าจะวัดจากจำนวนกรมธรรม์รายใหม่ เบี้ยประกันภัยรับปีแรกและจำนวนเงินเอาประกันรายใหม่ อีกทั้งยังถูกกระหน่ำซ้ำจากการเสื่อม มูลค่าของเงินลงทุนในรูปต่างๆ ในขณะที่มีผู้ให้บริการธุรกิจนี้มากรายมากขึ้น จากแผนการเปิดเสรีธุรกิจประกันจากเดิมที่มี 13 ราย เพิ่มขึ้นเป็น 25 ราย ซึ่งนั่นหมายถึงการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นและการบริหารรายได้ ค่าใช้จ่ายที่ต้องเข้มงวดยิ่งขึ้น เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัท

นอกจากปัญหาดังกล่าวที่บั่นทอนการขยายตัวของบริษัทและความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ของบริษัทประกันชีวิตรายเดิมแล้ว ยังถูกคุกคามด้วยการต้องยอมจำนนเปิดเสรีธุรกิจประกันก่อนกำหนด โดยปริยายเนื่อง จากพิษเศรษฐกิจทำให้บริษัทประกันชีวิตรายเก่า และใหม่บางแห่งไม่สามารถประคองธุรกิจไว้ได้ จำเป็นต้องเปิดกว้าง ให้ต่างประเทศเข้ามาร่วมถือหุ้นในสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้นและเร็วขึ้นกว่าเดิม มีผลให้บริษัทเดิมที่มั่นคงต้องเร่งปรับปรุงตัวให้สามารถแข่งขันได้ ในขณะที่บางรายอาจถูกครอบงำกิจการ

ในส่วนของบริษัทใหม่ 12 แห่ง แม้จะได้เปรียบที่มีฐานทุนแข็งแกร่งและใสสะอาด เพราะยังไม่มีผลขาดทุนสะสมจากการลงทุนในอดีต แต่ในเชิงธุรกิจต้องยอมรับว่าการเกิดบริษัทใหม่ในภาวะเศรษฐกิจขาลง ย่อมเป็นเรื่องยากต่อการเข้าไปเจาะตลาดได้ และมีแนวโน้มว่าบริษัทจะต้องใช้เวลายาวนานขึ้นกว่าจะถึงจุดคุ้มทุน นั่นหมายถึงว่าหากสายป่านไม่ยาวพอหรือพันธมิตรไม่มีความแข็งแกร่งจริง การแจ้งเกิดของรายใหม่อาจจะถูกแช่แข็งหรือถูกเปลี่ยนมือในระยะเวลาอันสั้น

จากความไม่แน่นอนของสถานการณ์และยังอยากเห็นธุรกิจประกันโดยเฉพาะรายใหม่ 12 แห่ง สามารถยืนอยู่ได้ต่อไป คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้ยกเลิกข้อบังคับห้ามบริษัทประกันรายใหม่โอนหุ้นให้ต่างชาติภายใน 3 ปี โดยเปิดทางให้สามารถโอนหุ้นให้แก่บุคคลอื่นก่อนครบกำหนด 3 ปีนับจากวันได้รับอนุญาต พร้อมทั้งอนุมัติให้บริษัทประกันที่ร้องขอสามารถมีความสัมพันธ์ในเชิงการถือหุ้น กรรมการ และการบริหารกับบริษัทประกันภัยที่มีอยู่เดิมได้ หรือโดยสรุปก็คือทางการยอมให้มีการเปลี่ยนมือในเวลาอันรวดเร็วขึ้น และรวมถึงสนับสนุนให้เกิดการควบรวมกิจการเพื่อความอยู่รอด ซึ่งขณะนี้มีบริษัทประกันชีวิตที่ร้องขอผ่อนผันมาแล้ว ได้แก่ บริษัทเจริญโภคภัณฑ์ประกันชีวิต ขอโอนหุ้น 25% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด ให้แก่ American Life Insurance ของอเมริกา, บริษัทโอสถสภาประกันชีวิต ขอโอนหุ้น 25% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด ให้แก่ Aetna International Inc. ของอเมริกา และบริษัทธนชาติประกันชีวิต อนุญาตให้ผู้ถือหุ้น 2 ราย โอนหุ้นรวมกันจำนวน 20% ของ จำนวนหุ้นทั้งหมด ให้แก่ บง.ธนชาติ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่เพื่อการชำระหนี้ 1 ราย และเพื่อรวมกิจการอีก 1 ราย

นี่คือตัวอย่างบางตอนที่บริษัทประกันชีวิตเริ่มมองหาหลักยืนเพื่อความอยู่รอดของตัวเอง และในอนาคตคาดว่าการดิ้นรนในรูปแบบดังกล่าวจะมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

เงียบสงบ สยบความเคลื่อนไหว คือ ปรัชญาที่ท่านนายก ชวน หลีกภัย ยึดถือในการดำเนินชีวิตมาโดยตลอด แต่ไม่ใช่นายกฯ คนเดียวเท่านั้นที่ใช้ปรัชญาข้อนี้ได้ บริษัทไทยยูเนี่ยนประกันชีวิต จำกัด (TU) ก็เช่นเดียวกันที่กำลังสร้างความได้เปรียบแบบเงียบๆ ท่ามกลางกระแสพายุเศรษฐกิจที่กระหน่ำธุรกิจประกันชีวิตในปัจจุบัน

"ความมั่นคงของบริษัทเราถือว่ามีสูง เนื่องจากสภาพ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันถ้ามองถึงกลุ่มผู้ถือหุ้นมีความแข็งแกร่งอย่างมาก อย่าง ช.การช่าง เป็นยักษ์ใหญ่ในวงการก่อสร้าง ส่วนบริษัทเราก็เป็นบริษัทข้ามชาติและเป็นยักษ์ใหญ่ในยุโรป เช่นเดียวกันและเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก" โรนัลด์ เจมส์ ฮันเลย์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ไทยยูเนี่ยนประกันชีวิต กล่าว

บริษัทไทยยูเนี่ยนประกันชีวิต เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง บมจ. ช.การช่าง (CK) และบริษัทยูเนี่ยนแอสชัวรันส์โซไซตี้ จำกัด ที่อยู่ในเครือกลุ่มบริษัทคอมเมอร์เชียล ยูเนี่ยน (CU) ของอังกฤษ โดยมีสัดส่วนการถือหุ้น 75% และ 25% ตามลำดับ และมีทุนจดทะเบียน 500 ล้านบาท ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกที่กลุ่มคอมเมอร์เชียล ยูเนี่ยนได้รุกคืบเข้ามาขยายการลงทุนในด้านประกันชีวิตสู่ภาคพื้นเอเชีย

โรนัลด์ เจมส์ ฮันเลย์ เปิดเผยถึงการดำเนินงานภายใต้ความกดดันในขณะนี้ว่าบริษัทกำลังสร้างความแข็งแกร่ง ด้านพื้นฐานให้กับตัวเองเพื่อเตรียมตัวเป็นเจ้าตลาดด้านประกันชีวิตในอนาคตหลังจากเศรษฐกิจไทยฟื้นตัว

TU เกิดมาและเร่งดำเนินธุรกิจในช่วงตกต่ำ ฉะนั้นสิ่งที่กำลังทำ คือ สร้างพื้นฐานเตรียมตัวไว้เพื่อรองรับในช่วงที่เศรษฐกิจฟื้นตัว "ในฐานะที่เป็นหน้าใหม่ของวงการประกัน ชีวิตที่จะทำธุรกิจระยะยาว ฉะนั้นจะต้องมองบนพื้นฐานการทำธุรกิจระยะยาวถึง 5-10 ปีข้างหน้า จะไม่มองในระยะสั้นๆ"

ดังนั้นในช่วงแรกๆ นี้ ไทยยูเนี่ยนประกันชีวิตได้พยายามสร้างพนักงานหรือตัวแทนขายให้มีความรู้ ความชำนาญ ให้เร็วที่สุด โดยได้ยอมทุ่มเม็ดเงินหลายล้านบาทสร้างศูนย์ฝึกอบรมทั้งพนักงานภายใน และตัวแทนขายขึ้นมาเพื่อให้มีความแตกต่างจากคู่แข่ง คือ จะเป็นตัวแทนจำหน่ายหลายช่องทาง (multi distributor)

"บริษัทประกันชีวิตในไทยส่วนใหญ่จะขายผ่านตัวแทนจำหน่าย และทำงานแบบ part time เป็นส่วนใหญ่ แต่แนวคิดเราคือสร้างความแตกต่างด้วยการจัดตั้งโครงสร้างของตัวแทนให้ทำงานเต็มเวลา (full time) คาดว่าภายใน 5 ปีข้างหน้าพนักงานขายเราจะเป็นแบบเต็มเวลาทุกคน" โรนัลด์ เจมส์ ฮันเลย์ กล่าว

โดยเป้าหมายการขายกรมธรรม์ของบริษัทมีทั้งแบบรายบุคคลหรือแบบสามัญ และประกันกลุ่ม ซึ่งที่ผ่านมาปรากฏว่าประมาณ 90% ลูกค้าจะเป็นประเภทสามัญอีกประมาณ 10% เป็นประกันกลุ่ม และมีรายรับจากเบี้ยรับแล้ว 65 ล้านบาท

"เป้าหมายลูกค้าจะอยู่ที่พนัก งานตาม office ต่างๆ ที่มีรายได้ระดับกลางขึ้นไป เพราะสภาพอย่างนี้การขายสินค้าให้กับลูกค้าต้องมีความต้องการซื้อสินค้าและสามารถจ่ายชำระได้"

วัตถุประสงค์อีกอย่างหนึ่งของไทยยูเนี่ยนประกันชีวิต คือ ภายในสิ้นปีที่ 5 นับจากนี้ส่วนแบ่งตลาดจะอยู่ที่ระดับ 10% นั่นหมาย ความว่าบริษัทจะขึ้นมายืนอยู่ที่ 6 อันดับแรกจาก 25 บริษัทที่มีอยู่ในปัจจุบัน

สิ่งที่เป็นข้อจำกัดในขณะนี้ของบริษัทประกันรายใหม่ คือ ด้านการลงทุนเนื่องจากรายรับจากเบี้ยประกันยังเข้ามาจำนวนไม่มาก ดังนั้นการบริหารเงินลงทุนจึงจำกัดอยู่เพียงแค่นำไปฝากธนาคารระยะสั้น 3-6 เดือน อย่างไรก็ตามจากการที่ธุรกิจประเภทประกันชีวิตเป็นการลงทุนในระยะยาว คาดว่าถ้าบริษัทเหล่านี้มีรายรับจากเบี้ยประกันเพิ่มมากขึ้น ลักษณะการลงทุนคาดว่าจะกระจายความเสี่ยงออก ไปยังตลาดหลักทรัพย์หรือ อสังหาริม- ทรัพย์

"มั่นใจว่าตอนนี้บริษัทเราอยู่ในสถานะที่ดีและจะได้เปรียบมากขึ้นเมื่อเศรษฐกิจดีขึ้น เพราะเราได้สร้างพื้นฐานธุรกิจไว้อย่างแข็งแกร่ง อีกอย่างข้อได้เปรียบของเราในขณะนี้คือกรมธรรม์มีอัตราการขาดอายุเพิ่มขึ้นหรือมีการเวนคืนสูงขึ้น เราในฐานะบริษัทใหม่จึงไม่มีต้นทุนตรงนี้เหมือนบริษัทประกันชีวิตรายเก่า ซึ่งหวังว่าเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวจะสามารถขายให้กับกลุ่มที่มีกำลังซื้อประกันได้มากขึ้น ซึ่งจะทำให้บริษัทเติบโตขึ้นต่อไปได้" โรนัลด์ เจมส์ ฮันเลย์ กล่าวตบท้าย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us