Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2543
"มิสทิน" หลังสิ้นยุคอมรเทพ ถึงเวลาที่สหพัฒน์ต้องออกหน้า             
 


   
search resources

สหพัฒนพิบูล, บมจ.
เบทเตอร์เวย์ (ประเทศไทย), บจก.
อมรเทพ ดีโรจนวงศ์




แม้ชื่อมิสทินจะเป็นที่ติดตลาดของคนเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่ผู้ใช้สินค้า ซึ่งมีหลายระดับ สาวมิสทิน ที่มีอยู่ทั่วประเทศในขณะนี้กว่า 4 แสนคน โดยเฉพาะคนในวงการธุรกิจเครื่องสำอางด้วยกัน

แต่ก็มีคนอยู่เป็นจำนวนไม่มากนัก ที่จะนึกถึงเครือสหพัฒนพิบูล เวลา ที่มีการกล่าวถึงบริษัทเบทเตอร์เวย์ เจ้าของ ธุรกิจขายตรงเครื่องสำอาง "มิสทิน" ทั้งๆ ที่เครือสหพัฒน์ถือหุ้นส่วนใหญ่ในบริษัทนี้ถึง 60%

"คนส่วนใหญ่มองว่ามิสทินคือ คุณอมรเทพ" คนที่ติดตามความเคลื่อนไหวของมิสทินมาอย่างต่อเนื่อง กล่าวกับ "ผู้จัดการ"

อมรเทพ ดีโรจนวงศ์ ลาออกจากกรรมการผู้จัดการ บริษัทเอวอน คอสเมติกส์ ผู้ดำเนินธุรกิจขายตรงเครื่องสำอาง เพื่อมาตั้งบริษัทเบทเตอร์เวย์ เมื่อปี 2531

การลาออกของเขาจากเอวอนในครั้งนั้น ว่ากันว่าเนื่องจากเขาเห็นว่าธุรกิจขายตรงเครื่องสำอาง เป็นธุรกิจ ที่สามารถทำรายได้ได้อย่างมหาศาล แต่ถึงที่สุดแล้วเม็ดเงินจากธุรกิจนี้ก็ไม่ได้ตกอยู่ในไทย เพราะต้องถูกส่งกลับไปยังบริษัทแม่ในต่างประเทศ

ดังนั้น เพื่อเฉลี่ยให้เม็ดเงินก้อนนี้ได้หมุนเวียนอยู่ในประเทศไทย เขาจึงตัดสินใจลาออก เพื่อตั้งบริษัทขึ้นมาทำธุรกิจอย่างเดียวกัน

ซึ่ง 1 ในกลุ่มธุรกิจ ที่เขาชักชวนเข้ามาเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัทเบทเตอร์เวย์ด้วยก็คือ เครือสหพัฒน์ เนื่องจากเขามีสาย สัมพันธ์ที่ดีกับบุญเกียรติ โชควัฒนา กรรมการผู้อำนวยการบริษัทอินเตอร์เนชั่นแนล คอสเมติกส์ (ไอซีซี) บริษัทผู้ผลิต และจำหน่ายเครื่องสำอางในเครือสหพัฒน์

เครือสหพัฒน์ถือหุ้นอยู่ในบริษัทเบทเตอร์เวย์ในสัดส่วน 60% ขณะที่อมรเทพ และคนในตระกูลดีโรจน วงศ์ ถือหุ้นเพียง 35% ส่วน ที่เหลืออีก 5% เป็นบุคคลภายนอก

การออกมาก่อตั้งบริษัทเบทเตอร์เวย์ของเขา ถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง เพราะสามารถผลักดันยอดขาย เครื่องสำอางมิสทินให้เพิ่มสูงขึ้นมาถึงระดับปีละ 2,000 ล้านบาท ได้ในระยะเวลาเพียง 12 ปี และสามารถสร้างเครือข่ายผู้แทนจำหน่าย ที่เรียกว่าสาวมิสทินได้ถึง 4 แสนคน

ที่สำคัญมิสทินได้เขย่าวงการธุรกิจขายตรงให้เกิดการสั่นสะเทือนด้วยการยิงภาพยนตร์โฆษณาอย่างต่อเนื่อง ทั้งๆ ที่ธุรกิจนี้ ที่ผ่านมา ไม่นิยมการโฆษณาผ่านสื่อมากนัก

โฆษณาของมิสทิน ที่ออกมาแต่ละชุด สามารถดันยอดขายเครื่องสำอางให้เพิ่มสูงขึ้นได้ถึงประมาณ 20% ดึงให้ผู้ประกอบธุรกิจขายตรงรายอื่น แม้แต่แอมเวย์ จำเป็นต้องออกมาใช้สื่อโฆษณาทางโทรทัศน์เช่นกันด้วย

ด้วยความ ที่อมรเทพเป็นผู้ที่มีบทบาทหลัก ในการวางกลยุทธ์การจำหน่ายของมิสทิน เริ่มตั้งแต่การทำให้คำว่ า"มิสทินมาแล้วค่ะ" ติดหูของผู้บริโภค ตลอดจนการวางตำแหน่งของ สาวมิสทินใหม่ ที่สามารถสร้างรายได้จำนวนมาก จากการขาย ตรงเครื่องสำอาง แม้กระทั่งคอนเซ็ปต์ในการโฆษณา ทำให้คน ทั่วไปมองว่าอมรเทพคือ มิสทิน หรือมิสทินคือ อมรเทพ ดีโรจนวงศ์

"คอนเซ็ปต์การโฆษณาแต่ละชุด ไม่ว่าจะเป็นชุดผีเสื้อสมุทร หรือเต่าเรียกแม่ ซึ่งได้รับความนิยมสูงมาก คุณอมรเทพคือ ผู้ที่มีส่วนผลักดันความคิดสร้างสรรค์อยู่เบื้องหลัง" คนในมิสทินเล่ากับ "ผู้จัดการ"

ดังนั้น เมื่อคนที่เป็นหัวใจหลักขององค์กร ต้องเสียชีวิต ลงด้วยวัยเพียงไม่ถึง 60 ปี ทำให้หลายคนต้องเริ่มตั้งข้อสงสัย แล้วว่าอนาคตของมิสทินในช่วงหลังจากนี้จะเป็นอย่างไร

แม้ว่าคนในตระกูลดีโรจนวงศ์หลายคน ได้เข้ามามีบทบาทอยู่ในบริษัทเบตเตอร์เวย์มาก่อนแล้วในช่วง ที่อมรเทพยังมีชีวิตอยู่ ไม่ว่าจะเป็นสุรพล ดีโรจนวงศ์ น้องชายของอมรเทพ ซึ่งเป็นผู้จัดการฝ่ายขาย ดนัย และดิเรก ดีโรจนวงศ์ ลูก ชาย ที่เป็นผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ แต่การที่จะผลักดันให้คนเหล่านี้ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานกรรมการของบริษัทในทันทีอาจดูเร็วเกินไป

การดึงบุญเกียรติ โชควัฒนา เข้ามาแทนตำแหน่งของอมรเทพ จึงดูจะมีความเหมาะสมมากกว่า ทั้งด้านวัยวุฒิ และ บารมีในวงการธุรกิจ

และถือเป็นการเปิดภาพความสัมพันธ์ของเครือสหพัฒน์ ในบริษัทเบตเตอร์เวย์ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

" ที่ผ่านมา เนื่องจากสหพัฒน์เอง ก็ทำธุรกิจขายเครื่องสำอางอยู่แล้ว การจะออกหน้าในมิสทินอีก อาจสร้างความสับสนให้กับลูกค้า บทบาทส่วนใหญ่จึงอยู่กับคุณอมรเทพ" คนในสหพัฒน์เล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังถึงสาเหตุที่สหพัฒน์ไม่แสดงบทบาทถึงความมีส่วนเป็นเจ้าของมิสทินมากนักในช่วง ที่ผ่านมา

แต่ในวันนี้ สหพัฒน์คงไม่สามารถหลีกเลี่ยงการแสดงบทบาทดังกล่าวได้อีกต่อไปแล้ว เมื่อบุญเกียรติ โชควัฒนาต้อง ออกหน้ามารับตำแหน่งประธานบริษัทเบตเตอร์เวย์แทนอมรเทพ ดีโรจนวงศ์

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us