Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2542
ว่าด้วยคุณอมเรศและบทบาทปรส.             
 





อมเรศ ศิลาอ่อน ประธานกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) กลายเป็นบุคคลที่ถูกจับตามองมากที่สุดในสังคมธุรกิจเวลานี้ และภาพพจน์ของปรส.ภายใต้การนำของเขาก็เป็นที่กล่าวขวัญถึงในทางลบเสียเป็นส่วนใหญ่ เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น

ขณะที่ผู้คนภายนอกต่างมองว่าการดำเนินงานตลอด 1 ปีเต็มที่ผ่านมาของปรส.ล้มเหลวผิดพลาดโดยสิ้นเชิง โดยเฉพาะการประมูลขายสินทรัพย์ครั้งล่าสุดเมื่อ 15 ธันวาคม 41 มูลค่ารวม 3.88 แสนล้านบาท (สินเชื่อธุรกิจ 42 กลุ่มมูลค่า 3.71 แสนล้านบาท และสินเชื่อผ่านกระบวนการเสนอราคา เป็นกรณีพิเศษอีก 3 กลุ่มมูลค่า 1.7 หมื่นล้านบาท) ปรากฏว่ามีการประมูลออกไป 1.55 แสนล้านบาท และประมูลได้ในวงเงิน 3.9 หมื่นล้านบาทเท่านั้น หรือคิดเป็น 25.16% ของยอดเงินต้นคงค้างของสินทรัพย์

ทั้ง 15 กลุ่ม (แยกเป็น 11 กลุ่มแรกได้เงินประมูล 1.54 หมื่นล้านบาทหรือคิดเป็น 33.5% ของยอดเงินต้นคงค้าง และ 4 กลุ่มหลังที่บริษัทโกลด์แมน ซาคส์ (เอเชีย) ไฟแนนซ์ ประมูลไปด้วยเงิน 2.36 หมื่นล้านบาทคิดเป็น 21.52% ของยอดเงินต้นคงค้าง ซึ่งกรณีหลังนี้จ่ายเงินสด 90% อีก 20% ที่เหลือจะจ่ายในลักษณะ transferable notes หรือหน่วยลงทุนที่โอนสิทธิได้)

แรกสุดหลังการประกาศผลการประมูลนั้น อมเรศยอมรับว่าเขาประเมินพลาดไป เพราะผู้เข้าประมูลเสนอซื้อในราคาที่ต่ำมาก อย่างไรก็ดี หลังจากนั้นไม่นาน อมเรศ "คนเดิม" ก็กลับมาพร้อมกับมาดเดิมๆ ที่มีความเชื่อมั่นอย่างสูงว่าเขามีความปรารถนาดีต่อประเทศชาติยิ่งนัก

ทั้งนี้การประกาศผลการประมูลในรอบแรกเมื่อ 16 ธ.ค.นั้น ผู้ประมูลให้ราคาในระดับ 30-43% ของยอดเงินต้นคงค้าง ส่วนการประกาศผลถัดมาอีกรอบหนึ่งในวันที่ 18 ธ.ค.หลังจากที่มีการเจรจารอบสองกับผู้เข้าประมูลบางกลุ่ม ซึ่งเดิมเสนออัตราผลตอบแทนระหว่าง 18-25% ปรากฏว่าต่อรองได้มากขึ้นเป็น 30-40%

อมเรศกล่าวถึงความล้มเหลวเพราะขายได้จำนวนน้อยแค่ 18% แต่ในเรื่องราคา เขารับได้ เขากล่าวว่า "ราคาพอรับได้ ประมาณ 37% ใกล้ 40% ส่วนที่ใช้ได้เราก็รับได้ ที่บอกว่าล้มเหลวเพราะขายได้จริง 18% แต่เรามาเจรจารอบสอง สัดส่วนที่ขายได้ทั้งหมดขึ้นมาเป็น 41% เราก็ยังไม่พอใจ แต่จะบอกว่าล้มเหลวคงไม่ได้หรอก เพราะขายได้เกือบครึ่ง"

นั่นเท่ากับว่า ปรส.ก็ยังสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพ ตามที่ได้เคยประกาศว่า "ประสบความสำเร็จในการสร้างตลาดสินทรัพย์ด้อยคุณภาพให้เกิดขึ้น เป็นตลาดที่มีความ น่าเชื่อถือและมีระดับการแข่งขันในประเทศไทยดังที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน"

ปรส.คงจะประเมินความสำเร็จของตัวเองในหลายๆ ด้าน แม้ว่าภาพพจน์ภายนอกที่มีต่อประชาชนจะขัดแย้งกับความเชื่อมั่นที่มีต่อตัวเองของหน่วยงานนี้ก็ตามที ในเบื้องแรก อมเรศอาจจะหวั่นไหวต่อการคาดหมายของคนในวงธุรกิจที่มีต่อการทำงานของเขา แต่จุดยืนของเขามั่นคงยิ่งนัก นั่นเองที่ทำให้อมเรศคนเดิมหวนกลับมาอีกครั้ง

เขากล่าวไว้ในรายการสัมภาษณ์ทางสถานีวิทยุแห่งหนึ่งว่า "ในการทำงานกลไกต่างๆ เราพร้อมที่จะปรับได้ แต่หลักการปรับไม่ได้ หลักการที่จะให้คนล้มบนฟูกเรายอมไม่ได้ หลักการที่จะให้ลูกหนี้มาซื้อไปถูกๆ เรายอมไม่ได้ หลักการที่จะทำให้ผลประโยชน์คนบางกลุ่ม แล้วให้คนส่วนใหญ่เสียเปรียบ เรายอมไม่ได้ คนต้องรู้จักแยกว่าอะไรคือหลักการ อะไรคือรายละเอียด รายละเอียดผมพร้อมที่จะปรับ ผมทำงานให้ส่วนรวม ผมไม่ได้ทำงานเพื่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง จะทำให้ทุกคนทุกกลุ่มถูกใจไม่ได้ แต่ว่าผมเชื่อมั่นสิ่งที่ผมทำดีที่สุด สูงสุดสำหรับส่วนรวม"

การให้คะแนนผลการทำงานของอมเรศใน 1 ปีที่ผ่านมาในปรส. เป็นเรื่องประเมินยากยิ่ง

สมมติว่าปรส.ได้คนที่ไม่มีบุคลิกแข็งกร้าวและยึดมั่นหลักการอย่างอมเรศมาดำเนินงาน จะเกิดอะไรขึ้นในการนำสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของ 56 ไฟแนนซ์มาขาย ปรส.จะสามารถสร้าง ตลาดสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่มีความน่าเชื่อถือและมีระดับการแข่งขันให้เกิดขึ้นเช่นนี้ได้หรือไม่

แต่ข้อที่แน่นอนอย่างหนึ่งก็คือ ปรส.เคยกล่าวเสมอว่านักลงทุนที่มีกำลังจะเข้ามาประมูลสินทรัพย์ของ 56 ไฟแนนซ์นั้นเป็นนักลงทุนจากต่างประเทศ แต่ในครั้งนี้ ปรากฏว่าสถาบันในประเทศก็เข้ามาประมูลกันหลายราย แม้วงเงินจะน้อยกว่าบริษัทยักษ์อย่างเลแมนฯ โกลด์แมนฯ และจีอี ก็ตาม

มันก็เป็นข้อพิสูจน์ว่าเม็ดเงินในประเทศก็ยังมีอยู่ และพร้อมที่จะเข้ามาประมูล ซึ่งสถาบันในประเทศเหล่านี้ก็ให้วงเงินประมูลสูงตั้งแต่รอบแรก

สิ่งที่อยากจะพูดถึงต่อไปคือ ในการประมูลในปีนี้ที่จะอนุญาตให้บริษัทบริหารสินทรัพย์เสี่ยงหรือ บบส.สามารถเข้าร่วมประมูลได้นั้น อมเรศกล่าวไว้ว่าสินทรัพย์ที่เหลืออยู่กว่า 5 แสนล้านบาทนี้ อยู่ในวิสัยที่ บบส.ซึ่งมีเงินทุน 15,000 ล้านบาทและสามารถกู้ได้ถึง 180,000 ล้านบาท สามารถรับไปได้ "บบส.อยู่ในฐานะที่จะซื้อสินทรัพย์ของปรส.ที่ถือไว้ทั้งหมด ถ้าหาก การประมูลครั้งหน้าเสนอราคาระหว่าง 35-40% ในแง่นี้เรามีเงินพอที่จะแก้ปัญหา 56 ไฟแนนซ์แล้ว"

เช่นนี้แล้ว บทบาทของปรส.อาจจะจบยุติลงได้ หากอมเรศต้องการราคาที่ 35-40% และบบส.สามารถหาเม็ดเงินมาได้จริง มันเป็นการประเมินที่ผิดพลาดแต่ต้นหรือไม่ ที่เห็นว่าเม็ดเงินจากต่างชาติจะเข้ามาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยได้ โดยเข้ามาซื้อสินทรัพย์ในประเทศซึ่งอยู่ในสถานะที่เจ้าของไม่อาจเจรจาต่อรองอะไรได้มาก เพราะเศรษฐกิจล่มจม

บบส.น่าจะได้รับการพิจารณาอย่างจริงจังและชูบทบาทให้เด่นมากกว่าที่ผ่านมาเสียที หากจะมาเป็นพระเอกขี่ม้าขาวตัวจริง!!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us