Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2542
เอไอเอส เดิมพันอีกครั้งของสิงห์เทล             
 

   
related stories

ทักษิณ ชินวัตร ถึงเวลาล้างกระดาน




สิงคโปรเทเลคอม อินเตอร์เนชั่นแนล ไพรเวท จำกัด หรือ เอสทีไอ ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มของ สิงค โปร์เทเลคอม จำกัด หรือ สิงค์เทล ไม่ได้เป็นบริษัทหน้าใหม่ในเมืองไทยเลย

สิงค์เทล เป็นพันธมิตรเก่าแก่ที่ทำธุรกิจร่วมกับชินวัตรมานานถึง 10 ปี สิงค์เทล จัดเป็นผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายใหญ่ของโลกที่มีถิ่นฐานในสิงคโปร์ ทำรายได้ปีที่แล้วเกือบ 5 พันล้านสิงคโปร์ดอลลาร์ เป็นเจ้าของวางเครือข่ายโทรคมนาคมเกือบทั้งหมดในประเทศสิงคโปร์ จากที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นรัฐวิสาหกิจของสิงคโปร์ ก่อนจะแปรรูปมาเป็นบริษัทเอกชน ซึ่งรัฐบาลก็ยังถือหุ้นอยู่ 75%

หลังจากที่รัฐบาลสิงคโปร์มีนโยบายเปิดเสรีกิจการโทรคมนาคมในประเทศ สิงค์เทลก็เริ่มมองหาตลาดอื่นๆ นอกประเทศ ด้วยประสบการณ์จากการเป็น โอเปอเรเตอร์ และเงินทุนก้อนใหญ่ ทำให้สิงค์เทลมีเครือข่ายลงทุนในประเทศต่างๆ รวมแล้ว 50 กว่าโครงการใน 20 ประเทศ อาทิ อินโดนีเซีย จีน ลาว กัมพูชา มัลดีฟ เบลเยียม

สิงค์เทลเรียนรู้ที่จะอดทนรออนาคต กลยุทธ์ของ สิงค์เทลจึงมักจะมุ่งเน้นการลงทุนไปยังประเทศที่กำลังพัฒนา และไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศเป้าหมายเหล่านั้น

สิบปีที่แล้วสิงค์เทล เป็นเหมือนกับบันไดก้าวแรกของชินวัตร เพราะเวลานั้นก็ถือเป็นช่วงเริ่มต้นของทักษิณ ชินวัตร ที่เริ่มเข้าสู่วงการโทรคมนาคม เมื่อสิงค์ เทลมีเงิน มีเทคโนโลยี มีระบบการจัดการแบบใหม่ แต่ทักษิณมีสายสัมพันธ์กับบรรดาหน่วยงานของรัฐ จึงเป็นสูตรผสมที่ลงตัวที่สุดในเวลานั้น

สิงค์เทลเริ่มต้นธุรกิจในเมืองไทยกับชินวัตร ด้วย การร่วมหุ้นจัดตั้งบริษัทชินวัตร ดาต้าคอม เป็นสัมปทาน ให้บริการข้อมูลผ่านคู่สายโทรศัพท์ หรือที่เรียกว่า ดาต้าเน็ท จากองค์การโทรศัพท์ฯ ซึ่งสิงค์เทลถือหุ้น 40% และรับหน้าที่การบริหาร

จากนั้นเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2532 สิงค์เทลและชินวัตรก็ลงขันกันอีกครั้งในชินวัตรเพจจิ้ง เพื่อรับสัมปทานให้บริการวิทยุติดตามตัว จากองค์การโทรศัพท์ฯ หรือ เรียกว่าโฟนลิ้งค์ ซึ่งสิงค์เทลรับหน้าที่บริหารเช่นกัน

การลงทุนในครั้งนั้นถือว่าเป็นการจุดพลุลูกแรกให้กับชินวัตร ถึงแม้โฟนลิ้งค์จะเป็นรายที่ 2 ของตลาด เพราะก่อนหน้านี้มีแพ็คลิ้งค์ ของบริษัทแปซิฟิกเทเลซิส ที่ได้รับสัมปทานจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย

ทักษิณเคยเป็นผู้ร่วมก่อตั้งแพ็คลิ้งค์ ก่อนจะถอนตัวออกมาเพราะปัญหาขัดแย้งกันภายใน ซึ่งกลายเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้โฟนลิ้งค์วิ่งแซงหน้าแพ็คลิ้งค์ไปได้แบบง่ายดาย เพราะทักษิณรู้ดีว่าจุดอ่อนของแพ็ค ลิ้งค์คืออะไร สัมปทานที่โฟนลิ้งค์ได้จากทศท. มีข้อได้เปรียบแพ็คลิ้งค์เกือบทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นเลขหมาย 3 หลัก 151 และ 152 และการได้สัมปทานเครือข่ายทั่วประเทศ และการมีภาษาไทย ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่แพ็คลิ้งค์ไม่มี ภายในเวลาเพียงแค่ปีเดียวโฟนลิ้งค์ก็ถึงจุดคุ้มทุน ที่เหลือคือทำกำไร

ฮุย เว็ง ซีออง กรรมการผู้จัดการ บริษัทชินวัตรเพจจิ้ง จำกัด เล่าว่า สิงค์เทลได้เข้าไปลงทุนในธุรกิจ เพจเจอร์ ในหลายๆ ประเทศนอกจากไทย ก็มี อินเดีย กัมพูชา เวียดนาม ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ซึ่งในจำนวนนี้ ไทยเป็นประเทศที่ทำรายได้หลัก มีรายได้ปีที่แล้วประมาณ 2,000 ล้านบาท ซึ่งใช้เงินลงทุนไปทั้งสิ้น 200 ล้านบาท

"อินเดีย เป็นอันดับ 2 ทำรายได้ให้กับสิงค์เทล ส่วนกัมพูชานั้นปิดบริษัทไปแล้ว และที่ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ตลาดก็ไม่ดีนัก เวียดนามก็ได้ถอนการลงทุนออกมาแล้ว เพราะมีปัญหาทางการเมือง ยกเว้นในจีน ซึ่งตลาดโตเร็วมาก แต่คู่แข่งขันก็เยอะ" ซีออง กล่าว

แต่นับจากดาต้าเน็ต และโฟนลิ้งค์ ซึ่งเป็นสองสัมปทานขนาดเล็กของชินวัตร และการมีหุ้นประมาณ 10% ในบริษัทชินวัตรแล้ว การลงทุนของสิงค์เทลก็ขาดช่วงไปนาน

ทั้งๆ ที่ทักษิณได้ขยายธุรกิจของชินวัตรออกไปอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการได้สัมปทานโทรศัพท์มือถือ ดาวเทียม หรือแม้แต่การไปทำธุรกิจต่างประเทศ แต่กลับไม่มีสิงค์เทลอยู่ร่วมในยุทธศาสตร์เหล่านี้เลย

แต่ไม่ใช่ว่าสิงค์เทลจะละเลยที่จะมองหาโอกาสใหม่ๆ เพราะจากการเปิดโต๊ะเจรจาร่วมทุนกันระหว่างสิงค์เทลและยูคอม จนกลายเป็นที่มาของความขัดแย้งระหว่างผู้บริหารของชินวัตรและสิงค์เทล จนถึงกับมีการไล่กรรมการของสิงค์เทลออกจากบอร์ดชินวัตร เป็นการบอกถึงการทบทวนบทบาทการลงทุนการในไทย และมีต่อชินวัตร

การหวนกลับมาหาชินวัตร ด้วยการซื้อหุ้นเอไอเอส ด้วยเม็ดเงิน 550.9 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ซึ่งนับเป็นการลงทุนมากที่สุดของสิงค์เทลในไทยที่เคยมีมา และเป็นอันดับ 2 รองจากประเทศเบลเยียม

ข้อแรก สิงค์เทลเองก็มีแรงกดดันมาจากการเปิดเสรีโทรศัพท์มือถือในประเทศสิงคโปร์ มีคู่แข่งขัน ที่ชื่อบริษัท M-ONE เข้ามาขอแชร์ส่วนแบ่งตลาด และ ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า สิงค์เทลจะมีคู่แข่งรายใหม่มาในตลาดโทรศัพท์พื้นฐาน และเตรียมจะเปิดเสรีเช่นกัน

ข้อสอง-สิงค์เทลเองมีงบประมาณ 1.5 พันล้านเหรียญสิงค์โปร์ ที่รัฐบาลจัดสรรให้กับสิงค์เทล เพื่อแลกกับการเปิดเสรีในประเทศ ที่จะต้องนำไปใช้ในการลงทุนในต่างประเทศ งบประมาณก้อนนี้หากใช้ไม่หมดก็จะต้องคืนกลับให้ผู้ถือหุ้นของสิงค์เทล แต่ก็ไม่ได้ระบุว่าเป็นเมื่อใด

ข้อสาม-สิงค์เทลรอเวลานี้มานาน ซึ่งเป็นจังหวะที่ดีของการนักลงทุนต่างชาติในภาวะเศรษฐกิจเมืองไทยตกต่ำ เอไอเอส เองเป็นบริษัทโทรคมนาคมเพียงแค่ไม่กี่รายที่มีฐานะการเงินที่ดีที่สุดเมื่อเทียบกับ บริษัทโทรคมนาคมอื่นๆ ที่มีปัญหาเรื่องสถานะทางการเงินมาก

"การหวนกลับมาลงทุนกับชินวัตรอีก มันน่าจะเป็นการบอกได้ว่า บริษัทโทรคมนาคมอื่นๆ ของไทยคงต้องแย่มาก เพราะมันเหมือนกับพันธมิตรที่แตกคอกันไปแล้ว ต้องยอมหวนกับมาคืนดีอีก" แหล่งข่าวในวงการโทรคมนาคมกล่าว

เพราะอย่างน้อยๆ สัมปทานโทรศัพท์มือถือ ที่ได้รับจากทศท. ซึ่งเอไอเอสได้เปรียบแทคในแง่ที่ว่าไม่ต้องจ่ายค่าเชื่อมวงจร 200 บาทต่อเลขหมาย ให้กับทศท. เหมือนกับที่แทคและดิจิตอลโฟนต้องจ่ายให้กับทศท.

นอกจากนี้ สิงค์เทลไม่เชื่อว่า การเปิดเสรีโทรคมนาคมในไทยจะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้ ตามที่เคยคาดการณ์เอาไว้ เพราะจริงๆ แล้ว เป้าหมายของสิงค์เทล คือ องค์การโทรศัพท์ฯ อดีตรัฐวิสาหกิจอย่างสิงค์เทลย่อมรู้ถึงมูลค่าที่แท้จริงอยู่ที่ผู้ที่กุมเครือข่ายโทรคมนาคมของเมืองไทยมาช้านาน ก็คือทศท.แห่งนี้

ก่อนหน้านี้สิงค์เทลก็เคยพยายามเจาะเข้าหน่วยงานนี้ ในรูปแบบของความร่วมมือทางด้านวิชาการ ส่งเจ้าหน้าที่มาถ่ายทอดความรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกัน นั่นคือสิ่งที่สิงค์เทลอดทนรอเพื่ออนาคต

การเลือกจับมือกับชินวัตรอีกครั้ง เหตุผลในครั้งนี้ก็อาจไม่ต่างจากเป้าหมายเมื่อ 10 ปีที่แล้วเท่าไหร่นัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษิณเมื่อ 10 ปีที่แล้วก็ต่างจากทักษิณในวันนี้ อย่างสิ้นเชิง ทักษิณในวันนี้ไม่ใช่คนที่รอเฝ้า หน้าห้องรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม แต่เป็นหัวหน้าพรรค ไทยรักไทยที่มีเป้าหมายอยู่ที่เก้าอี้นายกรัฐมนตรี ทำให้สิงค์เทลยังเลือกที่จะแทงหวยร่วมกับทักษิณ นี่คือสิ่งที่สิงค์เทลยอมเดิมพัน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us