หลังจากเปิดการเรียนการสอนทางด้านสิ่งแวด ล้อมมาได้ 25 ปี คณะสิ่งแวดล้อม
มหาวิทยาลัยมหิดล วางแผนจัดตั้งศูนย์ให้การรับรองระบบมาตรฐานการจัด การสิ่งแวดล้อม
ISO 14000 เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมไทยที่ต้องการขอรับการรับรองมาตรฐาน
ISO 14000
"เราเชื่อว่าคนไทยมีจิตสำนึกที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม แต่กระบวนการและวิธีการอาจจะยังไม่ถูกต้องตามกฎกติกาสากล
เราจึงเริ่มโครงการนี้ขึ้นมา เพื่อเป็นช่องทางหนึ่งให้กับโรงงาน โดยเฉพาะโรงงานในเขตพื้นที่ที่เราตั้งมหาวิทยาลัยอยู่
ได้พึ่งพาและใช้เทคโนโลยีที่เรามี แบบคนไทยกับคนไทยด้วยกัน" รศ.รุ่งจรัส
หุตะเจริญ คณบดี คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงแผนงาน ในอนาคต
ทั้งนี้ ทางคณะฯ คาดว่า โครงการนี้จะสามารถดำเนินการให้การรับรองมาตรฐาน
ISO 14000 ได้ภาย ในปีหน้า โดยในขณะนี้ทางคณะฯ ได้เปิดสอนวิชา ISO 14000
ขึ้นเป็นเทอมแรกของปีการศึกษา 2542 พร้อมทั้ง มีการฝึกอบรมการเป็นที่ปรึกษาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
ISO 14000 ด้วย
"ผมคิดว่า ภายใน 5-10 ปีข้างหน้า ระบบมาตร ฐาน ISO 14000 ยังเติบโตได้อีกมาก
เพราะคาดว่ายังมีโรงงานที่ต้องได้รับการรับรองมาตรฐานนี้อีก 2-3 หมื่นราย
ซึ่งตอนนี้มีเพียงแค่ร้อยกว่ารายเท่านั้นที่ได้รับการรับรองแล้ว" อ.สยาม
อรุณศรีมรกต อาจารย์ประจำคณะสิ่งแวดล้อม ผู้ริเริ่มสอนวิชา ISO 14000 กล่าวถึง
อนาคตของระบบมาตรฐาน ISO 14000 ในเมืองไทย ซึ่ง ย่อมหมายถึง อนาคตของผู้ประกอบธุรกิจด้านที่ปรึกษาและให้การรับรองระบบมาตรฐานดังกล่าวที่ยังมีช่องทางสร้างรายได้ได้อีกเยอะ
ซึ่งหากผู้ประกอบธุรกิจด้านนี้ไม่มีจรรยาบรรณ ขาดความซื่อสัตย์ต่อลูกค้า
ปัญหาที่จะตามมาก็คือ ระบบมาตรฐาน ISO ของไทยด้อยคุณภาพ ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของ
NAC ที่ต้องเร่งควบคุมคุณภาพ ของ CB ในขณะที่จำนวน CB ยังน้อยอยู่ เพราะหากจำนวน
CB มีมากขึ้นก็จะทำให้ควบคุมยากขึ้นด้วย
"คนที่เป็นที่ปรึกษาในการจัดทำระบบ ต้องซื่อ สัตย์กับลูกค้าด้วย อย่าใช้วิธียกระบบของโรงงานหนึ่งมาใส่ในอีกโรงงานหนึ่ง
แม้จะเสร็จเร็ว แต่จะทำให้ระบบ การทำงานของโรงงานนั้นๆ เสียไป คนทำงานจะไม่เข้าใจ
พอไม่เข้าใจก็จะไม่อยากทำ เมื่อไม่อยากทำ ระบบก็จะเสื่อม" อาจารย์สยาม
กล่าวติง และได้เล่าถึงปัญหาที่มักพบเจอในโรงงานอุตสาหกรรม จากประสบการณ์ที่เข้าไปเป็นผู้ตรวจสอบระบบมาตรฐานในโรงงานนั้นๆ
ให้แก่บริษัท AJA ซึ่งเป็นหมวกอีกใบที่อาจารย์สวมอยู่ว่า
ปัญหาที่มักพบอยู่เสมอคือ การที่โรงงานไม่ สามารถรักษาระบบ ISO 9000 หรือ
ISO 14000 ไว้ได้ เนื่องจากผู้ประกอบการส่วนใหญ่คิดว่า ระบบการจัดการ ตามปกติของเขากับระบบการจัดการตามมาตรฐาน
ISO เป็นคนละระบบกัน เขาเข้าใจว่า ระบบ ISO คือระบบพิเศษที่เข้ามาเพิ่มงานให้แก่พวกเขา
ซึ่งเมื่อผู้ตรวจประเมิน เข้าไปทำการตรวจสอบ พวกเขาก็จะเร่งทำเอกสารขึ้นมาใหม่
เป็นการกระทำเหมือนผักชีโรยหน้านั่นเอง ไม่มีการปฏิบัติจริงอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพราะจริงแล้ว ระบบ ISO สามารถแทรกเข้าไปในระบบ
การทำงานปกติของเขาได้ และจะทำให้ระบบการทำงานของเขามีประสิทธิภาพมากขึ้น
ถ้าเขาสามารถทำได้โดยเป็นชีวิตประจำวันของเขาไปได้ก็จะดี นอกจากนั้น ยังมีปัญหาที่พบมากในโรงงานไทยคือ
ไม่ค่อยมีคนที่รู้ระบบอย่างแท้จริง เอาสะดวกไว้ก่อน เพราะการเรียนรู้ด้วยตัวเองอาจจะต้องใช้เวลานาน
เลยว่าจ้างที่ปรึกษาให้มาจัดการให้ ประกอบกับการประสานงานภายใน มักมีอุปสรรคในการประสานงานกันเอง
แต่ถ้าคนนอกมาบอก ให้ทำ เขาจะเชื่อฟังมากกว่า
"ผมพยายามแนะนำว่า ถ้าเขาสามารถจัดทำระบบ เองได้ให้ทำเอง พยายามพึ่งที่ปรึกษาให้น้อยที่สุด
เพราะ การที่ที่ปรึกษาจัดทำระบบให้ทั้งหมด ไม่ได้เป็นผลดีต่อโรงงานเลย โรงงานจะไม่รู้ระบบของตนเอง
เพราะคนที่เขียนเองทำเองย่อมจะรู้ถึงระบบงานของตนเองได้ดีที่สุด" อาจารย์สยามกล่าว
สำหรับวิชา ISO 14000 ที่เพิ่งเปิดการเรียนการสอนเป็นเทอมแรกนี้ มีนักศึกษาที่สนใจเรียนในชั้นแรกประมาณ
50 คน และสิ่งที่อาจารย์สยามเน้นในการสอน คือ การให้นักศึกษาสามารถออกไปจัดทำระบบเองได้ตั้งแต่ต้นจนจบ
ซึ่งถือเป็นหัวใจของการขอการรับรองมาตร ฐาน ISO โดยจะไม่ได้เน้นเรื่องการตรวจประเมิน
เพราะ ถือว่าการตรวจประเมินจะเป็นเรื่องสุดท้ายของการจัดทำระบบ ที่ทาง CB
จะเป็นผู้ตรวจประเมินต่อไป
"แต่อย่างไรก็ตาม ผมอยากสร้างผู้ตรวจประเมินคนไทยให้มากขึ้นด้วย เพราะบริษัทต่างชาติส่วนใหญ่จะเก็บค่าใช้จ่ายแพง
แต่การสร้างบุคลากรเหล่านี้ต้องใช้เวลา พอสมควร" อาจารย์สยามกล่าวเสริม
ซึ่งปัจจุบันทางคณะฯ ได้มีการจัดอบรมการเป็นผู้ตรวจประเมินแก่ผู้ที่สนใจทั่วไป
อย่างสม่ำเสมออีกด้วย
ในอนาคต คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล ก็จะทำหน้าที่ครบวงจร เริ่มตั้งแต่เป็นสถาบันที่ให้ความ
รู้, การฝึกอบรม, เป็นที่ปรึกษาการจัดทำระบบ และเป็น ผู้ให้การรับรองระบบมาตรฐาน
ISO 14000 แต่ต้องอย่าลืมว่า การทำหน้าที่ 2 อย่างคือ การเป็นทั้งที่ปรึกษาฯ
และการเป็นผู้ให้การรับรองฯ เป็นสิ่งที่ไม่สมควร ดังนั้น ทางคณะฯควรจะกำหนดบทบาทของตนเองให้ชัดเจนว่า
จะมุ่งเน้นทางด้านการสร้างบุคลากรด้าน ISO หรือจะมุ่ง เน้นทางด้านเป็นที่ปรึกษาการจัดทำระบบฯ
หรือจะมุ่งเน้น ในการเป็นผู้ให้การรับรองระบบฯ ซึ่งถ้าเลือก 2 บทบาท แรกหรือเลือกบทบาทแรกกับบทบาทที่
3 ก็ยังพอทำไปด้วยกันได้ แต่หากเลือกบทบาทที่ 3 ก็ไม่ควรจะทำให้บทบาทที่
2 ด้วย เพื่อความเป็นกลาง และสอดคล้องกับ กติกาสากล