Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2542
สมอ.ผลัก NAC คุมเข้ม CB ทั่วประเทศ กันผู้ประกอบการถูกตุ๋น             
 

   
related stories

เจฟฟ์ แมคโดนัลแห่ง SGS ยันธุรกิจสองขา "ให้การรับรอง-ที่ปรึกษา" ผิดกฎสากล
"ISO 9002" คลังยา 103: ดีทแฮล์มปั้นเองกับมือ
คณะสิ่งแวดล้อมมหิดล เตรียมเป็น CB รายใหม่ของคนไทย

   
search resources

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม - สมอ.
สถาบันรับรองระบบมาตรฐาน - สรอ.




สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือสมอ. โอนงานรับรองระบบมาตรฐาน

ISO 9000, ISO 14000 และ มอก.18000 ให้แก่สถาบันรับรองมาตรฐาน ISO หรือ สรอ. ตั้ง NATIONAL ACCREDITATION CONCIL (NAC) คุม CERTIFICATION BODY ทั่วประเทศ เตรียมดัน NAC เข้าร่วม INTERNATIONAL ACCREDITATION FORUM (IAF)

นับวันการแข่งขันทางการค้าจะทวี ความรุนแรงยิ่งขึ้น หลายประเทศ เริ่มมีการรวมตัวกัน เพื่อตั้งป้อมกีด กันสินค้าจากต่างประเทศ โดยอาจใช้มาตรการทางการค้าของตนเอง เช่น การออกกฎระเบียบทางวิชาการหรือมาตรฐาน มาเป็นกำแพงในการค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น และเพื่อไม่ให้เกิดกรณีดังกล่าว ทางองค์การการค้าโลก หรือ WTO จึงเข้ามามีบทบาท และพยายามแก้ไขปัญหา ด้วยการระบุ ไว้ในความตกลง WTO/TBT สนับสนุน ให้ประเทศสมาชิกใช้แนวทางในการดำเนินการต่อไปนี้ร่วมกันคือ การปรับมาตรฐานให้สอดคล้องกัน โดยยึด หลักมาตรฐานสากลเป็นหลัก และการ ยอมรับร่วมกันในผลการตรวจสอบและ รับรอง โดยใช้มาตรฐานการรับรองระบบ งานของหน่วยรับรองที่ให้บริการต่างๆ ได้แก่ มาตรฐานระบบรับรองคุณภาพ ISO 9000, มาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14000, มาตรฐานระบบการรับรองห้องปฏิบัติการ และมาตรฐานระบบการรับรองบุคลากรผู้ทรงคุณวุฒิด้านการตรวจประเมิน

ซึ่งมาตรฐานระบบคุณภาพ ISO 9000 แบ่งขอบข่ายของการกำหนดมาตร ฐานออกเป็น 5 ประเภทคือ ISO 9000 เป็นแนวทางในการเลือก และการใช้มาตรฐานชุดนี้ให้เหมาะสม, ISO 9001 เป็นมาตรฐานระบบคุณภาพที่กำกับ ดูแลตั้งแต่การออกแบบ การพัฒนา การผลิต การติดตั้งและการบริการ, ISO 9002 กำกับดูแลเฉพาะการผลิต การติดตั้ง และการบริการ, ISO 9003 กำกับ ดูแลเรื่องการตรวจและการทดสอบ ขั้นสุดท้าย และ ISO 9004 ซึ่งเป็นแนว ทางในการบริหารงานคุณภาพเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเป็นข้อแนะ นำในการจัดการในระบบคุณภาพ ที่มีการกำหนดย่อยในแต่ละประเภทธุรกิจ อีก เช่น ISO 9004-1 เป็นข้อแนะนำการใช้มาตรฐาน, ISO 9004-2 เป็นข้อ แนะนำการใช้สำหรับธุรกิจบริการ และ ISO 9004-3 เป็นข้อแนะนำกระบวนการ ผลิต เป็นต้น

ส่วนมาตรฐานระบบการจัดการ สิ่งแวดล้อม ISO 14000 ประกอบด้วย หลายมาตรฐานตั้งแต่ 14001-14100 แต่ ที่ใช้เป็นแนวทางในการออกใบรับรองคือ ISO 14001 ซึ่งเป็นมาตรฐานเกี่ยวกับระบบการบริหาร โดยมีข้อกำหนดว่า ต้องมีการกำหนด ENVIRONMENTAL ASPECT ของกิจกรรมต่างๆ ของบริษัท มีการจัดตั้งวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ซึ่งสอดคล้องกับกฎหมายสิ่งแวดล้อม รวม ทั้งมีการจัดทำระบบการบริหารเพื่อควบ คุมและติดตามผลกระทบต่อสิ่งแวด ล้อมจากกระบวนการของบริษัท และต้องปฏิบัติตามระบบที่จัดทำขึ้นมา เพื่อ ให้เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

จากปัจจัยแวดล้อมเหล่านี้เอง ทำให้ผู้ประกอบการในภาคอุตสาห-กรรมต่างๆ ของประเทศไทยต้องหันมาใส่ใจในเรื่องของระบบรับรองตามมาตรฐานสากลกันมากขึ้น และบริษัทที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้การรับรอง, เป็นที่ปรึกษาและจัดฝึกอบรมก็ทวีบทบาทมากขึ้นในภาวการณ์ปัจจุบัน

ปัจจุบันมีบริษัทที่ให้บริการรับรองมาตรฐาน ISO หรือที่เรียกว่า "CER-TIFICATION BODIES (CB)" ภายในประเทศไทยที่ทาง สมอ.ได้รวบรวมไว้ทั้งสิ้น 11 บริษัท ได้แก่ บริษัท เอเจเอ อีคิวเอส (ประเทศไทย) จำกัด (AJA EQS), บริษัท บีเอ็ม ทราดา (ประเทศ ไทย) จำกัด , บริษัทบิวโรเวริตัส (ประ-เทศไทย) จำกัด (BVQI), บริษัท เดท นอร์สกี เวริทัส (ประเทศไทย) จำกัด (DNV), บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล อินสเปคชั่น จำกัด (UL), บริษัท อิน เตอร์เทค เทสติ้ง เซอร์วิสเซส (ประเทศ ไทย) จำกัด, บริษัท ลอยด์ส รียิสเตอร์ ควอลิตี้ แอชชัวแรนซ์ จำกัด, บริษัท อาร์ดับบลิว ทูฟ (ประเทศไทย) จำกัด (RWTUV), บริษัท เอสจีเอส (ประเทศ ไทย) จำกัด, ทีวียู ไรน์แลนด์ (ประเทศ ไทย) จำกัด, สถาบันรับรองมาตรฐาน ISO (สรอ.) และสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (ให้เฉพาะมาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14000 เท่านั้น)

นอกจากนั้นยังมีอีกหลายบริษัท ที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อทำธุรกิจเป็นที่ปรึกษาและจัดฝึกอบรมเกี่ยวกับมาตรฐาน ISO ให้ผู้ประกอบการได้เลือกใช้ตามต้องการ แต่การที่ธุรกิจนี้เป็นธุรกิจอิสระ และการขอใบรับรองมาตรฐานก็เป็นเรื่องของ ความสมัครยินยอมเอง โดยไม่มีกฎ หมายใดมาบังคับ ประกอบกับผู้ประ- กอบการไทยยังมีความรู้ความเข้าใจเรื่องของมาตรฐาน ISO น้อยมาก ดังนั้น อาจกลายเป็นเหยื่อแก่ผู้ฉวยโอกาสฉกประโยชน์จากช่องว่างที่มีอยู่นี้ได้

สมอ.ในฐานะที่มีความเกี่ยวพัน กับเรื่องนี้มาโดยตลอด ทั้งยังเคยเป็นผู้ให้การรับรองมาตรฐาน ISO หรือ CB รายหนึ่ง ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหานี้ และต้องการยกระดับมาตร ฐานของระบบการให้มาตรฐาน ISO ภายในประเทศไทยให้เทียบเท่าสากล จึง ได้ทำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีให้มีมติ แต่งตั้ง "คณะกรรมการแห่งชาติ ว่า ด้วยการรับรองระบบงาน" หรือ NATIONAL ACCREDITATION CONCIL (NAC) ขึ้นอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปีที่แล้ว เพื่อปกป้องผลประโยชน์ในการดำเนินงานด้านการรับรองระบบงานของประ-เทศไทย ตามระบบมาตรฐาน ISO ของ โลก ซึ่งมี IFA หรือ INTERNATIONAL ACCREDITATION BODIES ซึ่งตั้งอยู่ที่ประเทศอังกฤษ เป็นผู้ดูแลบรรดา ACCREDITATION BODIES (AB) ของประเทศต่างๆ อีกชั้นหนึ่ง

"ขณะนี้ NAC ได้เข้าไปเป็นสมา-ชิกของ IAF เรียบร้อยแล้ว เพียงแต่ยังไม่ได้การตรวจประเมินรับรองจาก IAF เท่านั้น เนื่องจาก NAC เป็นหน่วยงานที่เพิ่งเริ่มต้น จึงต้องรอให้มีผลงานมากก่อน ซึ่งทาง IAF ระบุไว้ว่า AB ทุกรายจะต้องทำการรับรอง CB ในประเทศของตนอย่างน้อย 2 ราย จึงจะ ได้รับการตรวจรับรองจาก IAF ต่อไป" เจ้าหน้าที่ของ NAC เปิดเผย

NAC จะทำหน้าที่เป็น AB หรือ ผู้ตรวจประเมินและให้การรับรองบรรดา CB ทั้งหลายที่มีอยู่ในประเทศไทย ให้ มีมาตรฐานเท่าเทียมกันตามมาตรฐานสากล อาทิ หน่วยรับรองระบบคุณภาพ ISO 9000 และหน่วยรับรองระบบ การจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14000 จะ ต้องอิงตามมาตรฐานสากล ISO/IEC GUIDE 62 เป็นต้น

ซึ่งกระบวนการทั้งหมดจะเริ่มต้นได้ต่อเมื่อมี CB มียื่นความจำนงขอ รับการตรวจรับรองจาก NAC จากนั้น NAC จะตั้งคณะประเมิน เพื่อตรวจ สอบเอกสารที่เกี่ยวข้องในการขอตรวจ ประเมินทั้งหมด จากนั้นเข้าสู่กระบวน การตรวจประเมินที่ประกอบด้วย 2 ขั้นตอนคือ

1. คณะผู้ตรวจทำการตรวจประเมินที่สำนักงานใหญ่และสำนักงาน สาขาของ CB ตามเกณฑ์ของระบบ คุณ ภาพ พร้อมบันทึกข้อสังเกตที่อาจเป็นข้อบ่งชี้ถึงการไม่เป็นไปตามเกณฑ์ ลงในแบบรายงานข้อบกพร่อง และประชุม ปิดการประเมิน เพื่อทบทวนข้อบก พร่องที่พบระหว่างการตรวจประเมิน

2. ทำการตรวจประเมิน ผู้ประ-เมิน (AUDITOR ) ของ CB นั้นๆ ขณะ ที่ทำหน้าที่ตรวจประเมินให้แก่ลูกค้าอยู่โดยตลอด โดยผู้ประเมินของ NAC จะจดบันทึก ตรวจเอกสารควบคู่ไปด้วย แต่จะไม่มีการสอบถามหรือให้ข้อคิดเห็นใดๆ ในระหว่างนั้น จนกว่าจะเสร็จ สิ้นการประชุมปิดประเมินระหว่าง CB นั้นๆ กับลูกค้า

จากนั้น เป็นการประชุมสรุปผล การตรวจประเมิน โดยหัวหน้าคณะประเมินจาก NAC จะสรุปผลการตรวจ ประเมินขั้นตอนที่ 1 และ 2 ให้ฝ่ายบริหารของ CB ทราบ และตอบข้อซัก ถามกรณีที่ต้องการความกระจ่าง รวม ทั้งบันทึกวิธีการแก้ไขที่ CB จะดำเนิน การและกำหนดเวลาแก้ไขแล้วเสร็จ เมื่อทุกอย่างสมบูรณ์ คณะผู้ประเมินจะจัดทำรายงานการตรวจประเมินเสนอ ไปยัง NAC เพื่อทบทวนการรับรองระบบ งานตามสาขาการรับรองระบบคุณภาพ และหรือสาขาการรับรองระบบการจัด การสิ่งแวดล้อม เพื่อพิจารณาให้การรับรองต่อไป

หลังจากที่ NAC อนุมัติการรับ รองระบบงานของ CB รายนั้นแล้ว ทาง NAC จะส่งคณะผู้ตรวจประเมินเข้าไป ตรวจติดตามผลอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ซึ่งการตรวจติดตามผลดังกล่าว อาจเป็นการตรวจประเมินเต็มรูปแบบหรือบางส่วนก็ได้ พร้อมทั้งจะมีการตรวจประเมินลูกค้าของ CB ด้วยอย่างน้อย 1 ราย ก่อนครบรอบการตรวจประเมิน ใหม่ จากนั้นจะมีการตรวจประเมินระบบงานทั้งหมดอย่างเต็มรูปแบบอีกครั้งทุกๆ 3 ปี

สำหรับค่าใช้จ่ายเบื้องต้นในการ ขอการรับรองระบบงานจาก NAC ประกอบด้วย ค่าธรรมเนียมในการตรวจคำขอและเอกสาร 50,000 บาท, ค่าธรรมเนียมในการตรวจประเมิน 20,000 บาท/คน/วัน + ค่าใช้จ่ายของผู้ประเมิน ได้แก่ ค่าที่พักและค่าเดินทาง และหลังจากที่ตรวจประเมินเสร็จ สิ้น จนผ่านการอนุมัติให้การรับรองแล้ว จะต้องเสียค่าธรรมเนียมในการรับรองอีก โดยแบ่งเป็น 2 รูปแบบคือ จ่ายครั้งเดียว (มีอายุ 3 ปี) 50,000 บาท หรือ จ่ายรายปี แบ่งเป็นค่าธรรมเนียม ในการรับรอง 30,000 บาท และค่าธรรม เนียมรายปีอีก 10,000 บาท (ทั้งหมด นี้ต้องจ่ายก่อนได้รับใบรับรอง)

"ไม่ต้องกลัวว่าจะแพงหรอก เพราะตามปกติ อัตราค่าบริการที่ CB เรียกเก็บจากผู้ประกอบการก็อยู่ในอัตรา ประมาณนี้อยู่แล้ว ทั้งๆ ที่เขาทำงานแค่ต่อเดียวคือ ตรวจประเมินลูกค้าเขาเท่านั้น ในขณะที่เราต้องทำงาน 2 ต่อคือทั้งตรวจประเมินตัวเขาเอง และตามไปตรวจประเมินการทำงานระหว่างเขากับลูกค้าด้วย" แหล่งข่าวจาก NAC กล่าว

ทั้งหมดนี้คือ กระบวนการทำงานของ NAC โดยขณะนี้มี CB ที่สนใจ สมัครเข้ามาขอการรับรองจาก NAC เพียงแค่รายเดียวเท่านั้น คือ SGS และ ตอนนี้อยู่ในระหว่างขั้นตอนของการตรวจประเมินอยู่ ซึ่งทาง เจฟฟ์ แมคโดนัล DIVISION AND CERTIFICATION MANAGER ของ SGS ตั้งความหวังไว้ว่า SGS จะเป็น CB ราย แรกในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองจาก NAC

"เราได้ยื่นเสนอให้ NAC มาตรวจสอบเราตั้งแต่เดือน ก.ย. และตอน นี้เรากำลังรอผลอยู่ ซึ่งถ้าเราได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ บริษัทเราจะสามารถให้การรับรองมาตรฐานที่ลูกค้าสามารถนำไปใช้ได้ทั้งในและต่างประเทศ" เจฟฟ์ กล่าว

ซึ่งหมายความว่า ต่อไปนี้ผู้ประกอบการรายใดก็ตามที่ได้รับการรับ รองมาตรฐาน ISO จาก CB ในประเทศ ไทยที่ได้รับการรับรองจาก NAC เรียบ ร้อยแล้ว จะสามารถเข้าร่วมประมูลงานหรือขายสินค้าให้แก่รัฐบาลไทยได้ จากเดิมที่ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย การพัสดุและระเบียบการจัดซื้อ ระบุไว้ว่า ผู้ประกอบการที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO จากสมอ. เท่านั้น ที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ในการขายสิน ค้าและประมูลงานให้แก่ราชการไทย และนี่คือ แรงจูงใจที่ทาง NAC ใช้กระตุ้น CB ให้เข้ามาอยู่ภายใต้ร่มของ NAC ให้มากขึ้น เพื่อง่ายต่อการดูแล และผู้ประกอบการไทยจะมั่นใจได้ว่า มาตร ฐานที่ตนได้รับจาก CB รายนั้นๆ มีมาตร ฐานทัดเทียม CB รายอื่นและสากล

นอกจากนั้น ตามเงื่อนไขสากล หน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็น AB จะไม่สามารถทำหน้าที่เป็น CB ควบคู่กันไป ด้วยได้ เนื่องจากจะทำให้ไม่เกิดความ เป็นกลางอย่างแท้จริง ดังนั้นทาง สมอ. จึงได้โอนถ่ายงานที่มีความเกี่ยวข้องกับ ระบบมาตรฐาน ISO ทั้งหมดไปไว้ที่สถา-บันรับรองมาตรฐาน ISO (สรอ.) หรือ "MANAGEMENT CERTIFICATION INSTITUTE" ซึ่งก่อตั้งเมื่อวันที่ 10 ก.ย. 41 ภายใต้อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ ซึ่งถือเป็นองค์กรอิสระเทียบเท่าเอกชน โดยมี สมรวย หะริณสุต รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นั่งรักษาการ ผู้อำนวยการสถาบันฯ ชั่วคราว

"สถาบันนี้ตั้งขึ้นมาจากงบประ-มาณแผ่นดิน โดยผ่านอุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เป็นระยะเวลา 3 ปี จน สามารถอยู่ได้ด้วยตัวเอง" รองปลัดฯสมรวยชี้แจง

ตั้งแต่ 1 ม.ค. 42 เป็นต้นมา ทาง สรอ.ได้เริ่มต้นรับงานเอง พร้อมกับจะเริ่มทำการตรวจติดตามลูกค้าที่ได้รับการรับรองจาก สมอ. อยู่ก่อนแล้ว ส่วนทาง สมอ. จะหยุดรับงานที่เกี่ยว ข้องกับ ISO ทั้งหมด แต่ยังคงมีงานเกี่ยวพันที่อยู่ในระหว่างกระบวนการตรวจประเมินให้การรับรองค้างอยู่ ทาง สมอ. จะเร่งทำการตรวจประเมินให้เสร็จสิ้นก่อนวันที่ 1 พ.ค. นี้ และนับตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค.เป็นต้นไป สมอ. จะหยุดงานทางด้านการเป็น CB โดยเด็ดขาด

"แผนงานโดยรวมในปีแรก งาน หลักของ สรอ.ยังคงเป็นการให้การรับรองมาตรฐาน ISO 9000 ซึ่งคาดว่าจะ มีคำขอใหม่จำนวนประมาณ 150 ราย และต้องทำการตรวจติดตามผลรายที่ได้อยู่แล้วอีกประมาณ 250 รายที่จะทำการตรวจปีละ 2 ครั้ง" รองปลัดฯสมรวยกล่าวสรุป

การพัฒนาประเทศเริ่มก้าวไปสู่ความเป็นสากลมากขึ้น และสิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้ เป็นสัญญาณอันดีที่จะช่วยลดอุปสรรคในการแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดโลกได้ต่อไป แต่อย่าง ไรก็ตาม ผู้ประกอบการควรศึกษาและทำความเข้าใจในระบบมาตรฐาน ISO ให้เพียงพอก่อน เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายและป้องกันการถูกตุ๋นอีกหนทางหนึ่ง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us